พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก ประเทศจีน

วันที่ 20 เมย. พ.ศ.2560

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศจีน

      ประเทศในเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ไต้หวัน มองโกเลีย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเป็นนิกายมหายาน โดยเริ่มต้นเผยแผ่จากอินเดียสู่จีน จากจีนสู่เกาหลี และจากเกาหลีสู่ญี่ปุ่น เป็นต้นส่วนประเทศทิเบตนั้นบางตำรากล่าวว่า ได้รับพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งจะได้ขยายความในรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ประเทศจีน
    สาธารณรัฐประชาชนจีน (Peoples Republic of China) มีเมืองหลวงชื่อปักกิ่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ เซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 1,315,844,000 คน (พ.ศ.2548) จำนวนพุทธศาสนิกชนในจีนนั้นยากที่จะประเมินว่ามีอยู่เท่าไร จากข้อมูลในวิกิพีเดียระบุว่ามีอยู่ประมาณ 280350 ล้านคน ในขณะที่เว็บไซต์ www.adherents ระบุว่ามี 102 ล้านคน อย่างไรก็ตามจีนก็เป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดในโลก จีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 4,000 ปี มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันปกครองสืบต่อกันมาหลายราชวงศ์ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์เซี่ย ซาง โจว จิ๋นสั่น จิ้น เหลียง ซุย ถัง สมัย 5 ราชวงศ์ ได้แก่ ซ้อง เหลียว หยวน หมิง และราชวงศ์ชิง นอกจากนี้ยังมีราชวงศ์ย่อยๆ อีกมากในที่นี้จะกล่าวเฉพาะราชวงศ์ที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น

     พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระเจ้าฮั่นมิ่งตี่แห่งราชวงศ์ั่น ตำนานกล่าวว่าคืนหนึ่งพระจักรพรรดิทรงพระสุบินไปว่ามีบุรุษทองคำเหาะไปทางทิศตะวันตก พระองค์จึงสอบถามขุนนางว่า ฝันเช่นนี้มีความหมายว่าอย่างไร ขุนนางผู้หนึ่งตอบว่าทางทิศตะวันตกมียอดคน (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ถือกำเนิดขึ้น เมื่อได้ยินเช่นนั้นพระองค์จึงรับสั่งให้ขุนนาง 18 คน ออกเดินทางเพื่อเสาะหายอดคนผู้นั้นในที่สุดก็เดินทางมาถึงเมืองโขตาน2 ได้พบพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปะมาตังคะ กับพระธรรมรักษ์ ขุนนางจีนจึงนิมนต์พระทั้งสองรูปนี้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศจีน

     เมื่อพระเถระทั้งสองรับนิมนต์แล้ว จึงใช้ม้าขาวบรรทุกพระคัมภีร์และพระพุทธรูปไปยังเมืองโลยางนครหลวงของจีนในขณะนั้น พระเจ้าฮั่นมิ่งตี่ทรงพอพระทัยอย่างมาก และรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นที่ด้านนอกของประตูเมืองหย่งเหมิน โดยให้ชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ แปลว่า วัดม้าขาวเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าที่บรรทุกพระคัมภีร์พระพุทธศาสนามา ถือว่าวัดม้าขาวเป็นปฐมสังฆารามในประเทศจีน และพระเจ้าฮั่นมิ่งตี่เป็นปฐมกษัตริย์จีนที่นับถือพระพุทธศาสนา การอุปสมบทเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.793 โดยพระภิกษุอินเดียชื่อ พระธรรมกาละ เดินทางไปจีนเหนือถึงเมืองโลยาง ทำพิธีผูกพัทธสีมาขึ้นและให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรจีน

     ในยุคราชวงศ์จิ้น พวกมองโกลได้แผ่อิทธิพลมาทางภาคเหนือของจีน เข้ายึดลุ่มแม่น้ำเหลืองไว้หมด ทำให้จีนแบ่งเป็นภาคเหนือ และใต้ เรียกว่า ยุคน่ำปัก (พุทธศตวรรษที่ 811) ภาคเหนือเป็นมองโกลส่วนภาคใต้เป็นจีนแท้ มีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นพรมแดน ในยุคน่ำปักนี้สมณะเสิงเจียนนำคัมภีร์มหาสังฆิกะภิกษุณีกรรมัน และภิกษุณีปาฏิโมกข์ มายังเมืองโลยางและได้อุปสมบทภิกษุณีรูปแรกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.900-904 คือ ภิกษุณีจิงเจียน ณ ภิกษุณี อารามจูหลิน เมืองโลยาง

  ในสมัยพระเจ้างุ่ยบูเต้แห่งจีนเหนือทรงหลงเชื่อลัทธิเต๋าว่า จะทำยาอายุวัฒนะให้เสวยแล้วจะมีพระชนม์ 10,000 ปี แต่นักบวชเต๋าขอให้พระองค์ทำลายพระพุทธศาสนาเสีย พระเจ้างุ่ยบูเต้จึงตรัสสั่งทำลายวัดและประหารพระสงฆ์ ในครั้งนั้นพระราชโอรส ซึ่งเป็นพุทธมามกะได้ส่งสายลับไปเตือนพระสงฆ์ให้หนีไปก่อน พระภิกษุส่วนใหญ่จึงรอดตาย แต่วัดถูกทำลายไป 30,000 กว่าวัด

   หลังจากการ รรคตของพระเจ้างุ่ยบูเต้ พระราชนัดดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อไป กษัตริย์พระองค์นี้ทรงฟนฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.929พ.ศ.1077 ทรงสร้างถ้ำตุนหวงขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระกัมมัฏฐาน ยุคต่อมามีการสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายร้อยปี จนกลายเป็นสถานที่มหัศจรรย์ มีถ้ำน้อยใหญ่กว่า 400 ถ้ำ ถ้ำทั้งหมดขุดด้วยแรงงานคน ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ชาวพุทธในอดีตหาวิธีป้องกันไม่ให้พระสัทธรรมอันตรธาน จึงจารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นผาภายในถ้ำต่างๆ แล้วปิดประตูถ้ำด้วยก้อนศิลา โดยหวังให้คนยุคหลังได้ศึกษา ปัจจุบันถ้ำนี้ตั้งอยู่กลางทะเลทรายโกบี เมืองตุนหวง มณฑลกานสู

     พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนถึงสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ ทรงครองราชย์ พ.ศ.1022 ณ เมืองนานกิง ภาคใต้ของจีน พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็นอโศกแห่งแผ่นดินจีนยุคสมัยของพระองค์มีนักบวชจำนวนมาก เฉพาะเมืองโลยาง มีภิกษุและภิกษุณีถึง 2,000,000 รูป พระต่างชาติอีก 3,000 รูป3 พระเจ้าเหลียงบูเต้ทรงถือมังสวิรัติ ทรงออกกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ทั่วประเทศ พระภิกษุจึงหันมาฉันเจหรือมัง วิรัติตามพระราชาจนเป็นประเพณีมาถึงปัจจุบันพระองค์ทรงศึกษาธรรมะและแสดงธรรมด้วยพระองค์เองอยู่เนืองๆ ทรงอุทิศพระองค์เป็นอุปัฎฐากพระถึง 3 ครั้ง ญาติวงศ์และข้าราชการต้องใช้เงินถึง 1 โกฏิ เพื่อไถ่พระองค์ออกมา

   ปรมาจารย์ตักม้อ หรือพระโพธิธรรม (Bodhidharma) ชาวอินเดียใต้ เข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ ท่านเดินทางไปที่จีนภาคเหนือในปี พ.ศ.1069 สร้างวัดเสี่ยวลิ่มยี่ หรือวัดเส้าหลินขึ้นบนภูเขาซงซัว มณฑลเหอหนัน จากนั้นก่อตั้งนิกายฉานขึ้นฉาน หมายถึง ฌาน ในภาษาบาลี หรือ ธยาน ในภาษาสันสกฤต หรือ เซน ในภาษาญี่ปุ่นตำนานเล่าว่า ขณะอยู่วัดเส้าหลิน ปรมาจารย์ตักม้อนั่งสมาธิผินหน้าเข้าฝาอยู่ 9 ปีไม่ลุกขึ้น

     นิกายเซนเน้นการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซาเซน โดยไม่อาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ จึงมีคำขวัญประจำนิกายว่า "ปุกลิบบุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิมเกียงแส่ เซ่งฮุด" แปลว่า ไม่ต้องอาศัยหนังสือแต่ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์ ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริงแล้วบรรลุเป็นพุทธะ ต่อมานิกายเซนได้ขยายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนามและปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในตะวันตก

    ปรมาจารย์ตักม้อยังเป็นผู้ให้กำเนิดวิชากังฟูวัดเส้าหลินซึ่งโด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วยในตอนนั้นท่านเห็นว่า พระมีสุขภาพอ่อนแอ ไม่สามารถเจริญกรรมฐานได้อย่างเคร่งครัดจึงหาวิธีให้พระภิกษุฝึกฝนร่างกายควบคู่กับปฏิบัติธรรมเริ่มแรกกังฟูจึงไม่ได้ฝึกเพื่อการต่อสู้แต่เป็นหนทางเข้าสู่แก่นธรรมะ ภายหลังถูกดัดแปลงเป็นวรยุทธสำหรับการสู้รบ ในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.11611450) การฝึกวิทยายุทธของวัดเส้าหลินได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักอย่างเต็มที่ถึงขนาดมีกองทัพพระ ยามศึกสงครามจะให้พระภิกษุลาสิกขาไปป้องกันประเทศ พอเสร็จศึกจึงกลับมาบวชใหม่

     มหันตภัยคุกคามพระพุทธศาสนา ในช่วง พ.ศ.11171120 มหันตภัยใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในแคว้นจิว คือ มีการยกเลิกพระพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า บังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขา 2,000,000 รูป ยึดวัดและหลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองคำและทองแดงไปทำทองแท่งและเหรียญกษาปณ์ ในยุคพระเจ้าเฮียนตง ห้ามมีการสร้างวัด หล่อพระพุทธรูปและพิมพ์พระสูตรโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ที่จะบวชต้องสวดพระสูตรได้ 1,000 หน้า หรือเสียค่าบวชให้หลวง 100,000 อีแปะ

     ต่อมาปี พ.ศ.1388 รัชสมัยจักรพรรดิบู่จง ทรงเลื่อมใสลัทธิเต๋า ทรงแต่งตั้งนักบวชเต๋าเป็นเสนาบดี มีการโต้วาทีกันระหว่างพระภิกษุกับนักบวชเต๋า ฝ่ายพระภิกษุได้รับชัยชนะพระเจ้าบู่จงไม่พอพระทัย ทรงสั่งทำลายวัดกว่า 4,600 วัด ทำลายเจดีย์และวิหารกว่า 40,000 แห่ง บังคับให้ภิกษุและภิกษุณีสึกมากกว่า 260,000 รูป มัยพระเจ้าซีจงทรงบังคับให้ภิกษุครองจีวรแบบเต๋า บางยุคหน่วยงานราชการขายบัตรอุปสมบท คนมีศรัทธาแต่ไม่มีเงินก็ไม่ได้บวชพระภิกษุต้องเสียภาษี ยกเว้นผู้พิการหรือมีอายุ 60 ปี เช่น รัชกาลพระเจ้ายินจงในปี พ.ศ.1578

     ราชวงศ์ถังยุคทองของพุทธจักร หลังจากที่พระพุทธศาสนาในแคว้นจิวถูกทำลายไปต่อมาได้รับการฟนฟูขึ้นใหม่ในสมัยราชวงศ์ซุย (พ.ศ.11321161) และได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.11611450) โดยเฉพาะยุคถังไท่จงฮ่องเต้ สมัยนี้มีความเจริญทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร มีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนมากมาย และที่สำคัญมีนักปราชญ์คนสำคัญเกิดขึ้นคือ พระถังซัมจั๋ง และสมณะอี้จิง

     พระถังซัมจั๋ง เป็นนักปราชญ์ชาวพุทธคนสำคัญ คำว่า ถังซัมจั๋ง แปลว่า ผู้ทรงพระไตรปิฎกแห่งราชวงศ์ถัง ท่านถือกำเนิดในตระกูลเฉิน ในปี พ.ศ.1143 ณ เมืองโลยาง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนัน มีนามเดิมว่า เฉินฮุย เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เมื่ออายุได้ 13 ปี มีฉายาว่าฮวนฉาง หรือหยวนฉ่าง หรือเฮี่ยนจัง เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระพุทธศาสนาจนแตกฉานแต่เมื่อศึกษาไปมากเข้าท่านเกิดความสงสัยและขัดแย้งในใจ คัมภีร์ประกอบการค้นคว้าก็มีน้อยท่านจึงมีความคิดที่จะไปศึกษาให้ถึงต้นแหล่งคือ ประเทศอินเดีย

     ในปี พ.ศ.1173 ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทาง เส้นทางไปนั้นอันตรายมาก ต้องผ่านทะเลทรายร้อนระอุและเทือกเขาอันหนาวเหน็บ ก่อนหน้านั้นมีภิกษุนับร้อยๆ รูปเดินทางไปแล้วแต่ส่วนใหญ่สิ้นชีวิตในระหว่างทาง กวีจีนจึงเขียนโคลงไว้ว่า "ขื่อเจี่ยเซ่งแปะ กุยบ่อจับ เอ๋าเจี่ยอังใจ จุ้ยเจี่ยลั้ง" แปลว่า ในยามไปสิ มีจำนวนนับร้อย ครั้นยามกลับเล่าก็เหลือไม่ถึงสิบบุคคลผู้อยู่ภายหลังไฉนเลยจะทราบถึงความยากลำบากของผู้ที่ไปก่อน

    ก่อนเดินทาง มีผู้หวังดีเตือนถึงอันตรายดังกล่าว แต่พระถังซัมจั๋งยืนยันว่า อาตมาตั้งใจจะไปเยือนดินแดนศักดิ์สิทธ์และศึกษาธรรม อาตมาจะไม่เสียใจเลยหากต้องตายระหว่างเดินทาง ในที่สุดท่านจึงออกเดินทาง เส้นทางที่ใช้ต้องผ่านทะเลทรายตะกลามากัน (Taklamakan) ซึ่งแปลว่า เข้าได้แต่ออกไม่ได้ เป็นหนึ่งในทะเลทรายที่อันตรายที่สุดในโลกชาวจีนเรียกว่า ทะเลทรายมรณะ กระบอกน้ำของท่านตกลงบนพื้นระหว่างเดินทาง น้ำที่มีอยู่ก็ไหลออกจมหายไปในผืนทรายจนหมดสิ้น ท่านต้องอดน้ำอยู่ 4 วันครึ่งกว่าจะเจอแหล่งน้ำ

     หลังจากเดินทางมาได้ 1 ปีก็ถึงอินเดีย และพักอยู่ 19 ปี ระหว่างนั้นได้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอยู่ 5 ปี โดยเป็นศิษย์ของอธิการบดีศีลภัทร หลังจากศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉานแล้ว จึงเดินทางกลับประเทศจีนโดยนำคัมภีร์กลับไปกว่าพันเล่ม เมื่อพระเจ้าถังไถ่จงมหาราชทรงทราบว่าท่านมาถึงพรมแดนจีนแล้ว ทรงปีติโสมนัสมาก ให้จัดขบวนเกียรติยศไปรับในฐานะเป็นบุรุษอาชาไนยของชาติ ในวันที่เข้าสู่นครเชียงอาน ทรงรับสั่งให้ราษฎรทุกบ้านที่ขบวนผ่านตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน

     พระถังซัมจั๋งทุ่มเทแปลคัมภีร์ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพันอัญเชิญมาออกสู่ภาษาจีน แปลทั้งหมด 74 คัมภีร์ นับเป็นจำนวนลานได้พันกว่าผูก ในปี พ.ศ.1183 ท่านยังเขียนบันทึกการเดินทางตามหาพระไตรปิฎกไว้ด้วย โดยให้ชื่อว่า "ต้าถังซียู่จี้" หมายถึง จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง บันทึกนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักการศึกษาในยุคหลังสำหรับใช้เป็นคู่มือในการสำรวจวัดโบราณในอินเดีย เพราะเป็นบันทึกที่แม่นยำมากจนได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางที่ไม่เคยพลาดเลยในอินเดีย เมื่อท่านอายุได้ 64 ปีเกิดอาพาธและมรณภาพลงท่ามกลางความเศร้าเสียใจของชาวจีนทั้งชาติ พระเจ้าถังเกาจงทรงให้ข้าราชการทั้งประเทศหยุดงาน 3 วัน เพื่อไว้ทุกข์ ในวันฝังศพมีคนมาร่วมพิธี 2,000,000 คน

  พระไตรปิฎกฉบับแรกของโลก เมื่อราชวงศ์ซ้องได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าไทโจ้วอ่องเต้ในปี พ.ศ.1503 พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการพิมพ์พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา และฎีกา เป็นฉบับแรกของโลก เนื่องจากจีนเป็นชาติแรกที่พิมพ์หนังสือได้ชาวยุโรปได้รับรู้เรื่องกระดาษและการพิมพ์หลังจากจีนเกือบ 400 ปี พระไตรปิฎกฉบับนี้จัดพิมพ์ลงบนแผ่นไม้ทั้งหมด 130,000 แผ่น หอสมุดแห่งชาติประเทศไทยได้จัดเก็บตัวอย่างจำลองของพระไตรปิฎกฉบับนี้ไว้ด้วย หลังจากราชวงศ์ซ้องแล้ว พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงอีกลัทธิขงจื้อมีอิทธิพลสูงกว่า เนื่องจากยุคหลังพระสงฆ์ไม่ค่อยศึกษาหาความรู้จึงไม่มีความองอาจในการเทศน์สอน ปัญญาชนจึงหันไปนับถือขงจื้อที่ส่งเสริมการศึกษา

     กบฏไท้เผง ในสมัยราชวงศ์ชิงหรือแมนจู (พ.ศ.21872455) เริ่มมีนักล่าอาณานิคมตะวันตกเข้ามาและนำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ด้วย มีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ ซิวฉวนเข้ารีตนับถือคริสต์ หาพรรคพวกได้มากจึงตั้งกลุ่มกบฏขึ้นชื่อ ไท้เผง แปลว่า มหาสันติ พวกกบฏโฆษณาว่า พระยะโฮวาสั่งให้ทำลายพระพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อ เต๋า และราชวงศ์แมนจู ให้หมดสร้างโลกคริสเตียนใหม่ในเมืองจีน กบฏไท้เผง ใช้เวลารบ 16 ปี ยึดจีนได้ 1 ใน 3 ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่นานกิง บังคับให้ประชาชนเข้ารีต แล้วทำลายวัดและศาลเจ้า ฆ่าคน 20 ล้านคน วัดในเขตของกบฏจำนวนพันๆสร้างโดยไม่มีทางบูรณะใหม่ขึ้นเลย

    สมัยสาธารณรัฐ ดร.ซุน ยัดเซ็น ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ.2454 เนื่องจากไม่พอใจการปกครองของกษัตริย์ซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ตนมากกว่าประเทศชาติสถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุคสาธารณรัฐนั้นค่อนข้างตกต่ำ ศาสนาพุทธเป็นเหมือนวัตถุโบราณที่ถูกลืม ปัญญาชนรุ่นใหม่หันไปนับถือคริสต์ศาสนาซึ่งมาควบคู่กับระบอบการปกครองใหม่อันเป็นสิ่งทันสมัยสำหรับชาวจีน แต่ยุคนี้ก็ยังมีพระภิกษุและภิกษุณีอยู่มากพอสมควรคือ 738,000 รูป มีวัดประมาณ 267,000 วัด

    ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ยุคสาธารณรัฐอยู่ได้เพียง 38 ปีเท่านั้น ประเทศจีนก็มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งใน พ.ศ.2492 เหมาเจ๋อตุงผู้นำพรรคคอมมิวนิ ต์จีนมีชัยต่อเจียงไคเช็กผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมือง เจียงไคเช็กจึงหนีไปอยู่เกาะไต้หวันพร้อมประชาชนจำนวนหนึ่ง เหมาเจ๋อตุงปกครองด้วยลัทธิมาร์กซิ ซึ่งขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาโดยถือว่า พระเป็นกาฝากสังคม มีการบีบคั้นให้พระลาสิกขา ผู้ไม่สึกก็ให้ทำนาและปลูกชาวัดเกือบทุกแห่งถูกสั่งปิด พระภิกษุหลายรูปหลบหนีไปเกาะไต้หวันและปักหลักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่นั่น จนปัจจุบันไต้หวันเป็นประเทศหนึ่งที่พระพุทธศาสนาแข็งแกร่งมีชื่อเสียงระดับโลก เช่น วัดฝอกวงซัน ซึ่งมีท่านซิงหวินต้าซือเป็นผู้นำ วัดนี้ได้ขยายสาขาออกไปกว่า 250 ประเทศทั่วโลก

    หลังจากเหมาเจ๋อตุงถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2519 เติ้งเสี่ยวผิงเข้ารับตำแหน่งในฐานะผู้นำรัฐบาลแทน ยุคนี้ได้ผ่อนความเข้มงวดลง ทำให้พระพุทธศาสนาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2546 หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ 21 องค์ ที่วัดหวาหลิน เขตลี่วาน นครกวางโจว สื่อจีนระบุว่า พระบรมสารีริกธาตุมักปรากฏเมื่อบ้านเมืองมีสันติสุขและสูญหายเมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน นับตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเป็นต้นมาพระพุทธศาสนาในจีนจึงค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดในโลก

  นิกายในประเทศจีน จีนเป็นต้นแหล่งของพระพุทธศาสนามหายานหลายนิกายซึ่งต่อมาได้เผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยนิกายที่สำคัญๆมีดังนี้คือ นิกายสัทธรรมปุณฑริกหรือเทียนไท้ นิกายสุขาวดี หรือเจ้งโท้วจง และนิกายธฺยาน หรือเซน เป็นต้นสำหรับนิกายเซนได้กล่าวไว้แล้วในประวัติของพระโพธิธรรม ในที่นี้จะกล่าวถึงอีก 2 นิกายดังนี้

   1. นิกายสัทธรรมปุณฑริก เป็นนิกายที่ยึดพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นแม่บท ซึ่งพระสูตรนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าแต่งขึ้นที่ไหน เมื่อใด และด้วยภาษาอะไร ตัวพระสูตรได้รับการแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน 6 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ.798 ฉบับที่ได้รับการยอมรับและนิยมศึกษากันมากที่สุดคือ ฉบับของพระกุมารชีวะซึ่งแปลในปี พ.ศ.949 สัทธรรมปุณฑริกสูตร มีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาเมื่อพระตีเจี้ย (พ.ศ.1081-1140) แห่งภูเขาเทียนไท้ ได้รู้แจ้งสารัตถธรรมของสัทธรรมปุณฑริกสูตรแล้วก่อตั้งเป็นนิกายสัทธรรมปุณฑริก (ฮวบั่วจง) ขึ้นหรือเรียกว่า นิกายเทียนไท้ ตามชื่อสำนัก

    นิกายนี้สอนว่า ด้วยหลักแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตรเท่านั้นที่จะทำให้ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้อย่างเสมอภาคกัน พระสูตรนี้เป็นการเปิดเผยความลี้ลับสุดยอดแก่พระสาวกทั้งปวงก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน

     สัทธรรมปุณฑริกสูตร แปลเป็นภาษาจีนว่า เมียวโฮเร็งเงเคียว คำว่า เมียวโฮ คือ พระสัทธรรม คำว่า เร็งเง แปลว่า ดอกบัวขาว หรือ ปุณฑริก คำว่า เคียว แปลว่าสูตรส่วนในภาษาอังกฤษสัทธรรมปุณฑริกสูตร แทนด้วยคำว่า Lotus Sutra 

    ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่จากจีนไปสู่เกาหลีและจากเกาหลีไปสู่ญี่ปุ่นนิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตรก็ถูกนำไปเผยแผ่ด้วย ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่นิกายนี้ในญี่ปุ่นคือ พระไซโจ แห่งสำนักสงฆ์บนภูเขาฮิเออิ และพระนิชิเร็น

     2. นิกายสุขาวดีนิกายสุขาวดีก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.945 มัยราชวงศ์จิ้นโดยพระฮุยเอี้ยงท่านพำนักอยู่ที่วัดตังนิ่มยี่ บนภูเขาลู้ซัว มณฑลกังไ บนภูเขาขุด ระใหญ่ ปลูกดอกบัวขาวเต็มสระ ท่านุยเอี้ยงพร้อมสาวกหลายพันคนนั่งสวดมนต์หน้าสระนี้ โดย สมมติว่า ระน้ำแห่งนี้เป็น ระทิพย์ในแดนสุขาวดี ซึ่งท่านเหล่านั้นต่างตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิด

   เบื้องต้นสำนักนี้อาศัยข้อความในพระสูตร ชื่อ พุทธธฺยานสาครสูตร คือ เพ่งจิตถึงพระอมิตาภพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ต่อมาได้มีการพันารูปแบบคำสอนไปตามลำดับ นิกายนี้ไม่มีหลักอภิปรัชญาที่ซับซ้อนให้ต้องคิดมาก เหมาะกับสามัญชนทั่วไป

     พระชานเตา (Shan tao) สรุปหัวใจหลักของนิกายนี้ไว้ 3 ประการคือ

1.สิ่ง แปลว่า ความเชื่อ ต้องปลูกศรัทธาอย่างซาบซึ้งในองค์พระอมิตาภะ
2. ง๋วง แปลว่า ตั้งปณิธานอธิษฐานเพื่อไปเกิดในแดนสุขาวดีอย่างแน่วแน่
3. เหง คือ ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกุศลธรรม โดยเฉพาะการเปล่งคำบูชา

    พระอมิตาภพุทธเจ้าว่า นโม อมิตาภาย พุทฺธาย ภาษาจีนว่า นัมบู ออนี ท่อฮุด ภาษาญี่ปุ่นว่า นัมบู อมิดา บุตสึ ภาษาญวนว่า นามโบ อายีด้า เผิก โดยต้องท่องวันละหลายๆ หน ยิ่งมากยิ่งดีภาวนาด้วยการนับลูกประคำ ประคำเม็ดหนึ่งต่อภาวนาบทหนึ่ง

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.045486485958099 Mins