บันไดขั้นที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

วันที่ 09 พค. พ.ศ.2560

อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

บันไดขั้นที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

          ต้นโพธต้นไทร ถ้าปลูกในที่ดินดี ย่อมสามารถโตได้เป็นโอบๆสูงได้๑๐-๒๐ วา แด่ถ้านำไปปลูกในกระถาง จะโตไต้แค่เป็นบอนไซกลายเป็นไม้แคระไป แม้จะปลูกไปเป็นร้อยปีแล้ว ก็สูงได้แค่คืบ

              คนเราก็เช่นกัน แม้จะมีความรู้ดี ความสามารถดี มีปัญญามาก แด่ถ้าไปอยู่ในทำเลทุรกันดาร ไม่มีใครสนับสนุน ถึงจะเก่งแค่ไหน ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน

          พระพุทธศาสนาสอนให้เรารู้มานานแล้วว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อความก้าวหน้าของคนเรา และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาจิตใจ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพกาย สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้าโดยง่าย และเหมาะต่อการสั่งสมคุณงามความดี พระพุทธองค์เรียกว่า ปฏิรูปเทส

ลักษณะของปฏิรูปเทส คือ

๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นที่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ดี เช่น ถ้าเป็นบ้าน ก็ต้องให้มีต้นไม้ร่มรื่น นํ้าไฟสะดวกถ้าเป็นโรงเรียน ก็ต้องมีสุขลักษณะดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มิเสียงอึกทึก มีบริเวณกว้างขวาง มีสนามกีฬา ถ้าเป็นที่ตั้งร้านค้า ก็ต้องเป็นบริเวณที่อยู่ในย่านชุมชน ถ้าเป็นจังหวัดหรือภาค ก็ต้องเป็นบริเวณที่สภาพภูมิศาลตร์ดี เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป

๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นบริเวณที่จัดหาอาหารได้สะดวก เช่น อยู่ใกล้ตลาด หรือบริเวณที่มีเกษตรกรรม สามารถผลิตอาหารได้เองอย่างพอเพียง

๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่อยู่นั้น ต้องไม่มีนักเลง อันธพาล โจรผู้ร้ายไม่ชุกชุม คนส่วนใหญ่ในละแวกนั้น เป็นคนดี มิศีลธรรม มิวินัย ใฝ่ความก้าวหน้า

๔.ธรรมเป็นที่สบาย หมายถึง ความดีงาม ความเหมาะสมใน ๒ ลักษณะคือ

          ในทางโลก หมายถึง ในถิ่นนั้นมีโรงเรียน สถานศึกษาสำหรับให้ความรู้ได้อย่างดี ดลอดจนมีหลักการปกครองที่ดีอีกด้วย

          ในทางธรรม หมายถึง ในถิ่นนั้นมีพระภิกษุ หรือฆราวาสผู้รู้ธรรมเป็นบัณฑิต สามารถให้การอบรมสั่งสอนศีลธรรมได้อย่างดี หรือถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง สามารถให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ ทำสมาธิภาวนาได้เป็นนิจ

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031587266921997 Mins