หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖) ข้อคิดในการจัดกิจกรรม

วันที่ 14 พย. พ.ศ.2560

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖)
ข้อคิดในการจัดกิจกรรม

คำสอน , ธรรมะ , พระพุทธศาสนา , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อทัตตชีโว , วัดพระธรรมกาย , คุณยายอาจารย์ , ธรรมกาย , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖) ข้อคิดในการจัดกิจกรรม

      สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินไปของวัดต่าง ๆ คือ การจัดกิจกรรม ซึ่งจะพบเห็นว่ามีหลายรูปแบบตามแต่แนวทางของคณะกรรมการวัดหรือผู้บริหารวัด 

      จากการเข้าไปร่วมกิจกรรมหลาย ๆ แห่ง ทั้งจากวัดไทยด้วยกัน องค์กรศาสนาของต่างชาติหรือแม้กระทั่งเพื่อนต่างศาสนิก จึงเกิดคำถามขึ้นในหมู่เพื่อนสหธรรมิกว่า 

      “ในเรื่องการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด หลวงพ่อได้ให้แนวทางไว้อย่างไรบ้าง”


คำสอน , ธรรมะ , พระพุทธศาสนา , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อทัตตชีโว , วัดพระธรรมกาย , คุณยายอาจารย์ , ธรรมกาย , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖) ข้อคิดในการจัดกิจกรรม

      จากบันทึกเก่า ๆ ที่อาตมาเคยจดไว้เมื่อหลายปีแล้ว ได้พบว่า ในเรื่องนี้หลวงพ่อธัมมชโยและหลวงพ่อทัตตชีโว เคยให้แนวทางไว้ดังนี้

      จำได้ว่าเมื่อครั้งที่อาตมาอยู่ที่แคลิฟอร์เนียได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกันขององค์กรพุทธจากหลายนิกาย ซึ่งบางชาติก็ได้นำเอาศิลปะประจำชาติมาแสดงในงานด้วย เมื่อได้นำภาพกิจกรรมไปถวายให้หลวงพ่อธัมมชโยได้ชม หลวงพ่อได้ให้แนวทางสั้น ๆ ว่า

      “ในการจัดงานครั้งต่อไป หากใช้ที่วัดของเรา ให้แจ้งท่านว่า เราไม่สะดวกที่จะให้มีการละเล่นนะลูกนะ แต่หากจะมาร่วมกันปฏิบัติธรรมนี่ ได้ตลอดเวลาเลยนะ เรายินดีให้ใช้สถานที่เต็มที่”


คำสอน , ธรรมะ , พระพุทธศาสนา , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อทัตตชีโว , วัดพระธรรมกาย , คุณยายอาจารย์ , ธรรมกาย , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖) ข้อคิดในการจัดกิจกรรม+

      ส่วนหลวงพ่อทัตตชีโวเคยให้แนวทางไว้ว่า

      "ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด สิ่งที่ลูก ๆ จะต้องคำนึงถึงคือ 
        ประการแรก วัตถุประสงค์ของการจัดงานต้องชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น หากมีวัตถุประสงค์อยากให้คนมาทำทาน รักษาศีล หรือทำสมาธิภาวนา กิจกรรมต่าง ๆ ก็จะตามมา เช่น อยากให้เขาทำทาน ก็มีกิจกรรม ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ถวายสังฆทาน ตักบาตร อยากให้เขารักษาศีล ก็มีการอาราธนาศีล มีการบวชอุบาสกแก้ว อุบาสิกาแก้ว อยากให้เขาทำภาวนา ก็ให้เขานั่งหลับตา 
         อย่างที่วัดพระธรรมกายทำคือ ในช่วงเช้ายังไม่ต้องทำอะไร มากลั่นใจให้ใสกันเสียก่อน

       ประการที่สอง ขอให้จำไว้ว่า จะทำอะไร จะจัดอะไรก็ตามต้องให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมได้บุญเต็มที่ หากคนมาเป็นร้อยเป็นพัน แต่ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่นั่งหลับตากัน หลวงพ่อไม่เอา ตรงข้ามแม้โยมจะมากันไม่กี่สิบคน แต่ทุกคนมาถึงแล้ว ตั้งใจนั่งกันตัวตั้ง อย่างนี้หลวงพ่อดีใจ คุ้มค่ากับการลงแรงสร้างวัด

      ประการที่สาม ในการจัดกิจกรรมอะไรก็ตาม ยิ่งเราไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ต้องไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียง เรื่องที่จอดรถจอดรา เพราะหากเขาไปแจ้งเจ้าหน้าที่ เราจะอยู่ลำบาก อยู่ที่ไหนต้องให้เขารักเรานะ 

      ประการสุดท้าย ในการจัดกิจกรรมนั้น ๆ หากตัดสินไม่ได้จริง ๆ ว่าจะทำหรือไม่ทำ หรือจะทำอย่างไร ก็ให้นึกง่าย ๆ ว่า หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ และพระองค์ประทับอยู่ตรงนั้น พระองค์จะตำหนิหรือจะชื่นชมอนุโมทนาในการจัดงานนั้น


คำสอน , ธรรมะ , พระพุทธศาสนา , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อทัตตชีโว , วัดพระธรรมกาย , คุณยายอาจารย์ , ธรรมกาย , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๑๐๖) ข้อคิดในการจัดกิจกรรม

      จากหลักการที่หลวงพ่อทั้งสองได้ให้ไว้ ทำให้ตลอดเวลาของการสร้างวัดกันมา เป็นที่ยอมรับของชาวท้องถิ่นและหลายแห่งเมื่อถึงเวลาจัดงานสำคัญ ๆ ก็จะมีแขกผู้ใหญ่ของเมือง เช่น นายกเทศมนตรีหรือหัวหน้าส่วนงานในบ้านเมืองนั้นมาร่วมงานเป็นประจำ

 

 

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๔ ต.ค. ๖๐

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.030108384291331 Mins