ลูกศิษย์ของพญามาร
จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด กุสีตํ เขาแปลว่าคนเกียจคร้าน คนไม่ศรัทธา มาอยู่วัดก็นอนอืด อยู่บ้านก็นอนอืด ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน เช่นนี้แล้วล่ะก็ บัณฑิตเกลียดนัก
ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่นขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจคร้านเป็นไม่ชอบ
หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลว ทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเอาใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์แก่ตัว
ในจำพวกเรานี้ได้ชื่อว่าไม่พ้น มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามารมารจะต้องการอย่างไรก็ได้ สมความปรารถนาของมาทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอดชาติ ไม่ขยันตัวจำศีลภาวนาได้ จะต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ
เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุกพลภาพอยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็พอเข้าไปเข้าไปใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรงนักหรอก กระพรือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวม เห็นอารมณ์งามไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเรานี้เป็นลูกศิษย์ของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความปรารถนา
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "สังวรคาถา"
๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗