บวชเพื่อถางทางไปพระนิพพาน

วันที่ 15 มิย. พ.ศ.2562

บวชเพื่อถางทางไปพระนิพพาน

          หลวงพ่อขอให้ท่านนึกย้อนกลับไปถึงวันแรกที่บวช พวกท่านทุกรูปได้ปฏิญาณกันต่อหน้าพระประธาน ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์และต่อหน้าคณะสงฆ์ทั้ง ๒๐ รูป ว่า
 

“สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ, นิพพานะ สัจนิกะ'ระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเซถะ ม'ง ภันเต”
แปลว่า “ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ผู้เจริญ ขอท่านจงรับเอาผ้า
กาสาวะ แล้วบวชให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้ประพฤติปฏิบัติ
กำจัดทุกข์ทั้งปวงให้สินไป และกระทำพระนิพพานให้แจ้ง”

 

เพราะเราปฏิญาณว่าจะบวชเพื่อกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปนี้เอง พระอุปัชฌาย์จึงยอมบวชให้ ขอให้จำฝังใจไว้ให้ดีว่า ไม่ว่าจะบวชระยะสั้นแค่พรรษาเดียว หรือบวชตลอดชีวิตก็ตาม เป้าหมายการบวชที่แท้จริงคือ  การบวชเพื่อกำจัดทุกข์ไม่ใช่บวชเพื่อเล่นไมใช่บวชเพื่อเอาสนุก หรือบวชตามประเพณี แต่บวชแล้วต้องเอาจริงเอาจังมุ่งไปพระนิพพาน ด้วยการฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
              เราอาศัยพระธรรมวินัยปฏิบัติตนเพื่อขจัดกิเลสในตัวให้หมดสิ้นไปได้เมื่อไหร่ ทุกข์ก็หมดสิ้นไปได้เมื่อนั้น แล้วก็เห็นพระนิพพานแจ้งสว่างโรในที่สุดโดยอัตโนมัติ ถ้าถามว่า พระนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไร ?
หลวงปู หลวงทวด ท่านตอบไว้ชัดเจนว่า “ลูกเอ๊ย ก้มหน้าก้มตาปฏิบัติไปเถอะ ถ้าดับทกข์ไปได้มากเท่าไหร่ ก็รู้แจ้ง เห็นแจ้งไปตามลำดับชัดมากขึ้นเท่าน้น ว่าพระนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไรอย่ามัวเถียเวลาไปเถียงกันว่า นิพพานเป็นอัดดาหรืออน้ดตาเลยนะลูกนะ”
              เนื่องจากการกำจัดกิเลสกำจัดทุกข์ให้หมดไปนั้นไมใช่เรื่องง่ายแล้วยังมีลักษณะเฉพาะอีกว่า กิเลสนั้นพอกำจัดหมดปีบ เผลอปับกิเลสก็งอกขึ้นมาใหม่อีก เหมือนหญ้าแพรกหญ้าคา จึงต้องกำจัดกิเลสกันทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าเปรียบการเข้าไปรู้แจ้งเห็นแจ้งในพระนิพพานกับการเดินทาง ก็เปรียบเสมือนเดินบนเล้นทางที่ยาวไกลที่แสนจะรกทึบต้องใช้เวลาในการฝึกฝนอบรมตนเองข้ามภพข้ามชาติบางครั้งหลวงปู หลวงทวดท่านถึงกับรำพึงว่า “การบวชเหมือนถางทางไปพระนิพพาน”
               ทำไมท่านจึงใช้คำว่า “ถางทาง” กับการท่าพระนิพพานให้แจ้งมันมีอะไรเป็นความรกขวางทางอยู่หรือ ถึงต้องมาถากมาถางออกไปให้เตียน คำว่า “ถางทาง” เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบที่แสดงออกถึงความ
เอาจริงเอาจังในการสร้างหนทางสายใดสายหนึ่ง เพื่อไปให้ถึงที่หมาย เราเรียนกันมาแล้วใน “นวโกวาท” ว่าทันทีที่เกิดมา แต่ละคน ก็มีสิ่งหนึ่งฝึงอยในใจเราแล้ว ต่างกันแต่ว่า ใครจะมีอยู่มากน้อยกว่ากันแค่ไหน สิ่งนี้มันเป็นความรกอยู่ภายในใจของทุกคน ซึ่งทางธรรม เรียกว่า กิเลส
              กิเลสเป็นเสมือนวัชพืชหรือปารกที่อยู่ในใจ 

              กิเลสมีความรกขนาดไหนจึงขวางทางไปพระนิพพานได้ ?
หลวงปูหลวงทวดท่านพูดเป็นเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า แม้เอาความรกของป่าทั้งหลายในโลกนี้มารวมกัน ก็ไม่รกทึบเท่ากับป่า กิเลสที่อยู่ในใจของแด่ละคนนี่คือ ดีกรีความรกของกิเลสที่ขวางทางไปพระนิพพาน
              การที่ใครจะสามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็ต้องขุดราก ถอนโคนป่ากิเลสในใจออกไปให้หมดสิ้น จนกระทั่งมันไม่สามารถงอกกลับคืนมาใหม่ได้อีก ดังนั้น ใครก็ตามที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว หากจะเป็นพระแท้ให้สมเจตนาในการบวช จึงต้องเอาจริงในการฝึกฝน อบรมตนเองตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จะทำเหยาะๆ แหยะๆไม่ได้ เพราะงานสำคัญที่สุดในชีวิตนักบวช ก็คือ งานถางกิเลสออกจาก
ใจไปพระนิพพาน ผู้ที่เอาจริงเท่านั้น .จึงสามารถถางป่ากิเลสออกจากใจ แล้ว
เปิดหนทางไปพระนิพพานให้ตัวเองได้สำเร็จ
             ถ้าจะถามต่ออีกว่า แล้วพระนิพพานอยู่ที่ไหนหลวงป่ หลวงทวดท่านก็ตอบยิ้มๆ ว่า “ก็อยู่ในด้วคุณเองนั่นแหละ ก้มหน้าก้มตา ถางทางเร็วเข้าเถอะ”

พระธรรมเทศนา โดย
พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

จากหนังสือ บวชไม่เสียผ้าเหลือง สึกไม่เปลืองผ้าหลาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018114328384399 Mins