กิเลส ๓ ตระกูล

วันที่ 17 มิย. พ.ศ.2562

กิเลส ๓ ตระกูล

           เมื่องานสำคัญของชีวิต คือ งานถางกิเลสออกจากใจให้หมดสิ้นไป
คำถามที่ตามมาก็คือ กิเลส คือ อะไร ?
กิเลสนี้ มีอยู่ในใจเราตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ในทางการแพทย์ มีการคันพบว่า ร่างกายของแต่ละคน ล้วนมีโรคฝังติดตัวกันมาแต่กำเนิด หลังจากคลอดแล้วโรคเหล่านี้ก็รอวันที่จะปะทุขึ้นมา มีทั้งโรคเกิดจากตับ จากไต จากไล้ จากพุง และจากอีกสารพัดอวัยวะ ยิ่งการแพทย์ก้าวหน้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งคันพบว่าโรคร้ายเหล่านั้นมันฝังตัวอยู่ลึกในรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (DNA), อาร์เอ็นเอ (RNA) ถ้าเจ้าตัวไม่ระมัดระวัง โรคร้ายที่ฝังตัวอยู่ก็จะปะทุขึ้นมาได้ง่าย อาจทำให้ร่างกายพิการ หรือถึงแก่ชีวิตได้
          ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาล้มพุทธเจ้าได้ทรงคันพบว่า โรคทางกายที่ว่าหนักหนาสาหัสแล้ว ยังร้ายกาจไม่จริง ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจ แต่แพทย์ทั่วไปมองไม่เห็น เรียกว่า กิเลส

         กิเลส เป็นโรคร้ายฝังอยูในใจที่คอยบีบคั้นให้มนุษย์คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วผลของความชั่วที่ทำไว้ก็ไม่หายไปไหน มันได้กลายเป็นมารร้ายย้อนกลับมา ตามจองล้างจองผลาญเราข้ามภพข้ามชาติให้เดือดร้อนอย่างแสนสาหัสในอนาคต เด็กเมื่อแรกเกิดดูเหมือนบริสุทธไร้เดียงสา แต่จริงๆ แล้วมีเชื้อกิเลสฝังลึกอยู่ในใจ รอเวลากำเริบเมื่อพบเหยื่อล่อ กลายเป็นว่าทันทีที่เราทำความชั่ว มันก็ฉุดให้เราตกเข้าไปล่วงจรกฎแห่งกรรมที่มีอยู่ประจำโลกนี้ทันที คือต้องเป็นทุกข์ตลอดชาตินี้ ตายไปก็ทุกข์ต่อไปอีกเพราะตกนรก พ้นโทษจาก
นรกกลับมาเกิดเป็นคน ก็จะเป็นคนมีทุกข์มากนี่คือวงจรของกฎแห่งกรรมที่มันมีอยู่ประจำโลกโดยมีกิเลสใน
ใจแต่ละคนเป็นตัวบีบคั้นให้ผู้นั้นเข้าไปติดอยู่ในวงจร
           พระสัมมาล้มพุทธเจ้าทรงเห็นทรงรู้อย่างลึกซึ้งอีกด้วยว่า ถ้าแต่ละคนยังปราบกิเลสในใจได้ไม่หมด ความทุกข์มันจะไม่จบลงง่ายๆเพราะในขณะที่วิบาก คือผลแห่งกรรมชั่วเก่า กำลังส่งผลให้เป็นทุกข์อยู่นั้น กิเลสในใจก็ย้งคอยบีบคั้นให้คนสร้างกรรมชั่วใหม่เพิ่มชื้นต่อไปอีก
            มนุษย์จึงต้องตกอยู่ในสภาพวิบากกรรมเก่ายังไม่ทันหมดไป วิบากกรรมใหม่ก็กระโจนเข้ามาขย้ำข้าอีกอยู่ตลอดเวลา ชีวิตของมนุษย์จึงประสบแต่ความทุกข์เดือดร้อนสารพัดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพราะตกอยู่ในอำนาจกิเลส สมกับคำที่ว่า ชีวิดนี้มีแด่ทุกข์
            การที่ใครจะให้ตัวเองหลุดพ้นจากวงจรแห่งทุกข์ได้ จึงมีทางเดียว คือ ต้องกำจัดกิเลสออกไปจากใจให้หมดโดยสิ้นเชิง กิเลสจึงเป็นเสมือนโรคร้ายทางใจที่อันตรายกว่าโรคร้ายทางกายอย่างนับเท่าไม่ถ้วน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงความร้ายกาจของกิเลสเป็นอย่างดี ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดภพชาติอันยาวนานที่พระองค์ยังทรงเวียนว่ายในวัฏสงสาร พระองค์ทรงรู้ดีว่าที่ต้องเป็นทุกข์อยู่ตลอดมา เพราะถูกกิเลสในไจบีบคั้นให้คิด พูด ทำ ในสิงที่ไม่เหมาะไม่ควร แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อพระองค์ยังมองไม่เห็น
กิเลสว่า มันมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ชุกช่อนอยู่ตรงส่วนไหนของใจเพราะแม้แต่ใจเป็นอย่างไร พระองค์ก็ยังมองไม่เห็น จนกระทั่งมาถึงพระชาติสุดท้าย เมื่อคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา พระองค์ทรงได้เค้ามูลมากพอแล้วว่า การจะเห็นใจ เห็นกิเลส กำจัดกิเลสให้หมดสินไปได้นั้นมีทางเดียว คือต้องทำใจให้หยุดให้นิ่งอย่างถาวรให้ได้ทำอย่างไรใจจึงจะหยุด? ทรงตัดสินพระทัยทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันเจริญภาวนาทันทีที่ทรงลดพระวรกายลงประทับนั่งขัดสมาธิเจริญภาวนาพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า“แม้เลือดเนื้อในร่างกายต้องแห้งเหือด
หายไป เหลือแต่หนังเอ็นหุ้มกระดูกก็ดามที หากอังไม่บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องต้บทุกข์ทั้งปวงแล้ว ก็จะไม่ขอลุกขึ้นจากที่นื้”นั่นคือพระองค์ทรงเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อกำจัดกิเลสให้สินซาก ในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถปราบกิเลสให้หมดสิน และตรัสรู้
               ธรรมเป็นพระอรห้นตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สำเร็จด้วยพระองค์เองพร้อมกันนั้นก็เป็นการกำจัดสรรพทุกข์ไปด้วยโดยเด็ดขาดเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วก็ไม่ได้ทรงหวงแหนความรู้ในการกำจัดกิเลสแม้แต่น้อยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาต่อชาวโลกยิ่งน้ก ใครที่พอมีแววว่าจะสามารถกำจัดกิเลสตามพระองค์ไปได้ แม้อยู่ไกลแสนไกลแค่ไหน พระองค์ก็เสด็จไปสังสอนวิธีการขจัดกิเลสให้แก่เขา
              พระองค์ทรงทุ่มเทชีวิตตลอดวันตลอดคืน เพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง ด้งนั้น ในสมัยพุทธกาล จึงมีชาวโลกที่สามารถกำจัดกิเลสได้หมดสิน บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ติดตามพระองค์
เข้าพระนิพพานไปจำนวนมาก อาทิเช่น พระปัญจวัคคีย์ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นต้น
พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวโลกรู้ความจริงว่า กิเลส
ที่สิงอยู่ในใจมนุษย์ มีอยู่ ๓ ตระกูลใหญ่
กิเลสตระกูลที่ ๑ เรียกว่า โลภะ
กิเลสตระกูลที่ ๒ เรียกว่า โทสะ
กิเลสตระกูลที่ ๓ เรียกว่า โมหะ
         โลภะ คือ กิเลสที่หากกำเริบขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ใจของผู้นั้นคิดอยากได้ของคนอื่นในทางที่ผิด เช่น คิดสักขโมย หลอกลวง ฉ้อโกงเขา เป็นต้น
         โทสะ คือ กิเลสที่หากกำเริบขึ้นมาแล้ว ย่อมทำให้ใจของผู้นั้นคิดทำลายคนอื่นให้เสิยหายย่อยยับ เช่น เมื่อไม่ชอบใครขึ้นมา ก็คิดต่อยตีเขาให้ยับเยิน จนกระทั่งอาจถึงกับคิดฆ่า คิดเผาทำลายทรัพย์สิ่งของของเขา เป็นต้น
        โมหะ คือ กิเลสที่หากกำเริบขึ้นมาแล้วย่อมทำให้ใจของผู้นั้นลุ่มหลงในสิงผิดว่าเป็นถูก คิดอะไรก็คิดอย่างโง่ๆ ไม่มีครามรอบคอบเช่น คิดอิจฉาตาร้อนเขาบ้าง คิดลุ่มหลงว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษกว่าคนอื่นบ้าง เป็นต้น

กิเลสทั้ง ๓ ตระภูลนี้ล้วน หมักดอง-ห่อหุ้ม-เอิบอาบ-แช่อิ่ม-บีบคั้น-บังคับ-กัดกร่อนใจของมนุษย์ให้คิดพูดทำแต่ในสิงที่ชั่วช้าต่างๆจนกระทั่งผู้นั้นคุ้นเคยต่อความชั่วทั้งหลาย ในที่สุดก็กลายเป็นนิสัยไม่ดีติดตัวแต่ละคน ทำความชั่วชํ้าแล้วชํ้าเล่าจนเป็นสันดาน เป็นเหตุให้ต้องจมอยู่ในห้วงทุกข์มานับภพนับชาติไม่ถ้วน

พระธรรมเทศนา โดย
พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

จากหนังสือ บวชไม่เสียผ้าเหลือง สึกไม่เปลืองผ้าหลาย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015349618593852 Mins