ธรรมะที่เเท้จริง

วันที่ 28 มิย. พ.ศ.2562

ธรรมะที่เเท้จริง
เรื่องต่อไปก็คือ คำว่า ธรรมะ ในภาคปฏิบัติ
ถ้าถามว่า ธรรมะคืออะไร ? เราคงสามารถตอบในแง่ทฤษฎีได้อย่างมากมายแต่สำหรับความหมายของธรรมะในภาคปฏิบัติ ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมะในต้วนี้ให้ได้หลวงพ่อขอให้ความหมายไว้ ๓ประการ ดังนี้

 

๑) ธรรมะ ตามนัยที่ ๑ หมายถึง ธรรมชาติบริสุทธิ์อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากใครเข้าถึงได้แล้ว ย่อมทำให้ใจเกิดความบริสุทธิ์ผุดผ่องตามธรรมะ นั้นไปได้ และหากใจของใครสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะที่เข้าถึงนี้ได้ กิเลสย่อมหมดสิ้นไปจากใจทุกข์ทั้งปวงย่อมถูกดับจนหมดสิ้นไปด้วย ใครก็ตามที่เข้าถึงธรรมะในตัวนี้ได้แล้วย่อมทราบถึงคุณวิเศษของธรรมะนี้ด้วยตัวเอง ส่วนว่าธรรมะหรือธรรมชาติที่บริสุทธิ์ที่พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นนี้ มีมากมายขนาดไหน

พระพุทธองค์เคยตรัสว่า มีมากมายยิ่งกว่าธรรมะที่พระองค์นำมาสอนเสียอีก ธรรมะที่พระองค์ทรงนำมาสอนนั้น อุปมาเหมือนกับใบไม้แคในกำมือ แต่ธรรมะที่พระองค์ทรงรู้ทรงเห็น แต่ไม่ได้นำมาสอนนั้น มีมากกว่าใบไม้ทั้งป่าเสียอีก แล้วธรรมะหรือธรรมชาติบริสุทธิ์ที่มากมายขนาดนั้น เข้าไป
รวมอยู่ด้วยกันในตัวมนุษย์ได้อย่างไร

 

พระพุทธองค์ก็ทรงตอบว่า ถ้าใครปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมในตัวแล้ว ย่อมเห็นธรรมในธรรม คือเห็นว่าในธรรมะแต่ละดวงนั้น ยังมีธรรมะอึ่นอีกหลายดวง ที่ซ้อนต่อๆ กันไปอีกนับไม่ถ้วน
สำหรับตรงนี้หลวงพ่อขอยกตัวอย่างในทางโลกมาเทียบเคียงให้ฟัง เมื่อสมัยที่เราเรียนชั้นมัธยมคืกษา เราได้ทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยการฉายแสงเข้าไปในแท่งแก้วปริซึม แล้วเราก็พบว่า แท่งปริซึมนั้นสามารถแยกสำแสงปกติให้ออกมาเป็นสีรุ้งถึงเจ็ดสีได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่ตามองไม่เห็น แต่ว่าถ่ายรูปติด เขาเรียกว่า รังสีเหนือม่วง (Ultraviolet-Ray) กับ รังลืใต้แดง (Infrared-Ray)
นั้นคือ ในยามปกติ เราก็เห็นว่าในแสงสว่าง มีเพียงสีเดียว แต่
เมื่อผ่านแท่งปริซึม กลับแยกออกมาได้เจ็ดสี และยังมีแสงสีอื่นๆ อีกที่ตามองไม่เห็นอีก แต่เครื่องมือวิทยาศาสตร์สามารถแยกสีออกมาได้เยอะ

กลมกลืนนี้ ก็อุปมาเหมือนกับ การซ้อนๆ กันอยู่ของธรรมในธรรมที่อยู่ในตัว ซึ่งถึงแม้จะมีมากมายยิ่งกว่าใบไม้ทั้งป่า แต่ก็สามารถซ้อนๆอยู่ภายในร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและนี่คือลักษณะของธรรมะ ที่อยู่ในตัวที่เราต้องตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพี่อเข้าไปรู้ไปเห็นของจริงด้วยตัวเองให้ได้และเมื่อปฏิบัติจนเข้าถึงธรรมะในตัวได้เมื่อไหร่ ก็ต้องเอาใจของตัวไปจรดอยู่ในธรรมที่เข้าถึงนั้น จนกระทั่งเห็นธรรมในธรรมทำอย่างนี้ต่อไปเรึ่อยๆ จนกระทั่งใจของเรากับธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัวนั้น สามารถหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น
กิเลสทั้งหลายย่อมถูกความสว่างภายในที่เกิดจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของใจกับธรรมนั้น กำจัดให้หมดสิ้นไปตลอดกาล

 

การอาศัยความสว่างของธรรมะภายในกำจัดกิเลสให้หมดไปนี้ก็อุปมาเหมือนดวงอาทิตย์ที่มีแสงสว่างเจิดจ้าฆ่าความมืดให้หมดสิ้นไปจากโลก ถ้าหากการเข้าถึงธรรมะภายในของเรา ยังไม่สามารถฝึกใจให้เป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในได้ ก็สามารถกำจัดกิเลสออกไปได้เพียงเป็นครั้งเป็นคราว อุปมาเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างได้แต่ในเวลากลางวัน แต่พอเวลากลางคืน ดวงอาทิตย์ก็ลับโลกไป ทำให้โลกนี้ถูกปกคลุมด้วยความมืดไปตลอดคืน แต่ถ้าหากการเข้าถึงธรรมะภายในของเรา สามารถหลอมรวมใจให้เป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในได้ตลอดไป ก็ย่อมสามารถกำจัดกิเลสให้หมดไปจากใจได้อย่างถาวร อุปมาเหมือน

กับดวงอาทิตย์ค้างฟ้าที่ส่องแสงสว่างฆ่าความมืดให้หมดสิ้นไปจากโลกได้ตลอดกาล
 

๒) ธรรมะ ตามนัยที่ ๒ หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้มนุษย์พ้นจากทุกข์ทั้งปวง โดยสรุปแล้วสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ เรื่องใหญ่ คือ
๒.๑) ทรงสอนให้เข้าใจถูกในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตและลักษณะของธรรมะอันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัวดังกล่าวข้างต้น
๒.๒) ทรงสอนให้ดั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถเข้าไปรู้ไปเห็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัว
๒.๓) ทรงสอนให้สามารถทำใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัว เพื่อกำจัดกิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจมาหลายภพหลายชาติให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร

 

สำหรับธรรมะในความหมายนี้ หมายถึง คำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกทั้งหมด ซึ่งหากไม่ตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง เพี่อให้เกิดความเข้าใจถูกในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตมาก่อนแล้ว ย่อมเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่บุคคลนั้นจะมืศรัทธาหักห้ามใจตัวเองออกจากความชั่ว แล้วหันมาทุ่มชีวิตปฏิบัติ
มรรคมีองค์ ๘ เพี่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นตามรอยบาทของพระพุทธองค์ไป

เพราะฉะนั้น ธรรมะที่บันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกนี้ จึงเปรียบเหมือนแผนที่ขุมทรัพย์ที่บอกให้รู้เรึ่องราวความจริงของชีวิต บอกวิธีการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ และบอกผลลัพธ์ที่ได้จากกำจัดกิเลสและทุกข์ทั้งปวงหมดสิ้นไป
ที่สำคัญก็คือ กว่าที่พระพุทธองค์จะทรงสามารถสรุปคำสอนทั้งหมดมาสอนเราได้ทรงต้องใช้เวลายาวนานถึงยี่สิบอสงไขยกับแสนมหากัป และการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย นานๆ จะมีบังเกิดขึ้นสักพระองค์หนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ก็คือโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังธรรมะของพระพุทธองค์ก็เป็นเรื่องยาก ก็ขนาดในโลกยุคนี้ พระพุทธองค์ได้มาบังเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีบางคนที่ตลอดชีวิตไม่เคยได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธองค์มาก่อนเลย

 

เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกอันเป็นที่บรรจุคำสอนของพระพุทธองค์ที่เปิดเผยความลับประจำชีวิตให้ชาวโลกได้รู้นี้ เราต้องพยายามอ่านพระไตรปิฎกให้จบหลายๆ เที่ยว อ่านให้ซาบซึ้งใจในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ แล้วเราจะได้มีกำลังใจทุ่มชีวิตปฏิบัติธรรมตามรอยบาทของพระพุทธองค์ยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วก็จะเป็นเหตุให้เราสามารถเข้าถึงธรรมะภายในไปตามลำดับ จนกระทั่งใจกับธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สำเร็จ
 

๓) ธรรมะ ตามนัยที่ ๓ หมายถึง นิสัยดีๆ ที่เกิดจากการตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างจริงจัง ด้วยการละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใส เพื่อการเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัวและการกำจัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงให้หมดสิ้นไป


ในระหว่างที่เราตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อยู่นั้น แม้ว่าตอนนี้ เราจะยังไม่เห็นธรรมะในตัวก็ตาม แต่ว่ากิเลสก็ได้ถูกยับยั้งไม่ให้กำเริบต่อ สิงที่ได้กลับมาก็คือ เราได้มีนิสัยดีๆ เกิดขึ้นมาในตัวหลายอย่างโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะนิสัยรักการทำทานนิสัยรักการรักษาศีล นิสัยรักการทำภาวนา เป็นตัน นิสัยเหล่านี้ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ใจสงบนิ่งได้เร็ว
 

เมื่อเราฝึกฝนอบรมตนเองตามเส้นทางมรรคมีองค์ ๘ ไป ตามลำดับ นิสัยดีๆ ก็มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ ใจก็มีความคุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยอัตโนมัติ พอวางใจถูกส่วนเข้า เดี๋ยวก็เห็นธรรมะที่อยู่ในตัว พอเอาใจจรดกับธรรมจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ใจก็สว่างโพลงเหมือนอย่างดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ทั้งในยามลืมตาและหลับตา นิสัยดีๆ ที่ได้จากการฝึกฝนอบรมตนเอง นี้เรียกว่า นิสัยรักธรรมะ หรือนิสัยมีความเป็นธรรม หรือนิสัยเป็นคนเที่ยงธรรม เหมือนกัน เพราะล้วนเป็นผลลัพธ์ที่เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตามลำดับ จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในตัวของเรานั่นเอง

พระธรรมเทศนา โดย
พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

จากหนังสือ บวชไม่เสียผ้าเหลีอง สึกไม่เปลืองผ้าหลาย
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.006507416566213 Mins