อุโบสถ
การทำอุโบสถเป็นสังฆกรรมอันสำคัญอย่างหนึ่ง ภิกษุทุกรูปต้องกระทำทุกกึ่งเดือน ถ้าใครละเลยเสียก็ต้องทุกกฏาบัติ และการกระทำนั้น ถ้าบกพร่องก็เสียกรรมใช้ไม่ได้ อนึ่ง บุพพกรณ์บุพพกิจซึ่งเป็นกิจที่ต้องทำก่อนประชุมสวดปาฏิโมกข์นั้น ๒ อย่าง คือ
อย่างที่ ๑ ต้องประกาศสมมติภิกษุเป็นผู้ถาม ๑ รูป เป็นผู้วิสัชนา ๑ รูป วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้อยู่แพร่หลายทั่วไป ฯ
อย่างที่ ๒ ไม่ต้องปุจฉาวิสัชนาเป็นแต่สวดเรื่องนั้นนำ พอได้บอกฤดูบอกจำนวนภิกษุและบอกวันอุโบสถเท่านั้น (สวดรูปเดียว) ฯ
ในอย่างที่ ๑ เป็นวิธีทำยาก เพราะถ้าผู้มิได้เคยเล่าเรียนภาษาบาลีบ้างแล้วมักจะทำผิดพลาดโดยมากในเรื่องเปลี่ยนฉายา ฯ
อย่างที่ ๒ เป็นวิธีง่ายกว่า เพราะสวดรูปเดียว ไม่ต้องปุจฉาวิสัชนาฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงนำแบบอย่างวิธีที่ ๒ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กันอยู่ในวัดทองนพคุณพร้อมทั้งวิธีทำ และอรรถธิบาย ซึ่งเก็บรวบรวมได้จากบุพพสิกขา และที่อื่นบ้างมารวมไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นแนวทางช่วยทำความสะดวกให้แก่ท่านตามสมควร ดังต่อไปนี้
อุโบสถว่าโดยวันมี ๓ คือ
วันพระจันทร์เพ็ญ ๑
วันพระจันทร์ดับ ๑
และสามัคคี ๑
ในคราวที่ภิกษุแตกกัน แล้วกลับปรองดองกันเข้าได้ เช่น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วันเช่นนั้นทรงอนุญาตให้ทำอุโบสถได้ เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ ฯ
อุโบสถว่าโดยบุคคลผู้ที่มี ๓ คือ
สังฆอุโบสถ ๑
คณะอุโบสถ ๑
บุคคลอุโบสถ ๑
ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป พึงทำสังฆอุโบสถ คือสวดปาฏิโมกข์ได้ ฯ
ภิกษุ ๒ รูป ๓ รูป พึงทำคณะอุโบสถ คือบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ๆ
ภิกษุรูปเดียว พึงทำบุคคลอุโบสถ คืออธิษฐานเอาเอง ๆ
อุโบสถว่าโดยอาการอันทิจทำ มี ๓ คือ
สวดปาฏิโมกข์เรียกว่า สุตถุเทศอุโบสถ ๑ บอกความบริสุทธิ์เรียกว่าปาริสุทธิอุโบสถ ๑ และอธิษฐาน เรียกว่า อธิษฐานอุโบสถ ๑
โดยนัยนี้รวมเป็นอุโบสถ ๙ ด้วยกัน ๆ
การทำอุโบสถกล่าวโดยย่อก็คือ เพื่อรักษาขนบธรรมเนียม และเพื่อให้การสามัคคี ฉะนั้น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุทุกรูปจึงต้องทำอุโบสถทุกวันอุโบสถถ้าไม่ทำต้องทุกกฏาบัติ ฯ
เมื่อถึงวันอุโบสถ หรือวันปวารณา พึงทำซึ่งกิจที่จะพึงทำก่อน ดังจะกล่าวต่อไปนี้
บุพพกรณ์ คือกิจที่จะพังทำก่อน แต่ประชุมสงฆ์มี ๔
กวาดโรงอุโบสถ ๑ ถ้าค่ำให้ตามไฟ ๑ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ๑ หรือตั้งปูอาสนะไว้ ๑ กิจ ๔ อย่างนี้เรียกว่าบุพพกรณ์ ภิกษุทุกรูปต้องช่วยกันทำ หรือพระเถระเจ้าอาวาสจะสั่งให้ภิกษุหนุ่มผู้ไม่เป็นไข้ผลัดวาระกันทำก็ได้ ถ้าไม่ทำต้องทุกกฏาบัติ
บุพพกิจ คือกิจที่จะพึงทำก่อนสวดปาฏิโมกข์มีอีก ๕
นำฉันทะของผู้อาพาธมา ๑ นำปาริสุทธิของเธอมาด้วย ๑ บอกฤดู ๑ นับภิกษุ ๒ สั่งสอนนางภิกษุณี ๑ กิจ ๕ อย่างนี้ เรียกว่าบุพพกิจ ๆ
การนำฉันนะปาริสุทธินั้น ใช้แต่เฉพาะในอาวาสที่มีสีมาใหญ่รอบวัดเท่านั้น เช่น วัดราชบพิธ เป็นต้น ๆ
ส่วนวัดที่มีสีมาเล็ก โดยเฉพาะรอบโรงอุโบสถ เช่นนี้ มีกุฏิสงฆ์อยู่ภายนอกสีมา จึงไม่ต้องนำฉันทะปาริสุทธิ ฯ
ฤดู มี ๓
คิมหฤดู ฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน ๔ ถึงเดือนเพ็ญ ๘ รวม ๔ เดือนมีวันอุโบสถ ๘ วัน
ถ้ามีอธิกมาส ต้องนับเลื่อนไปถึงเพ็ญเดือน ๘ หลังฤดูร้อนรวมเป็น ๕ เดือน มีวันอุโบสถ ๑๐ วันฯ
วัสสานฤดู ฤดูฝน ๔ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ มีอุโบสถ ๘ วัน
เหมันตฤดู ฤดูหนาว ๔ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงเพ็ญเดือน ๔ มี ๘ อุโบสถ ๆ
วิธีนับภิกษุตามปกติสังขัยา
สั่งสอนนางภิกษุณี
ในบัดนี้ นางภิกษุณีไม่มีแล้ว กิจที่จะให้โอวาสสั่งสอนนั้นก็เป็นอันไม่มี ฯ
วิธีทำปุคคลอุโบสถ
ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียวเมื่อถึงวันอุโบสถแล้ว พึงทำกิจเบื้องต้นเสียก่อนซึ่งเรียกว่าบุพพกรณ์ แล้วท่านให้คอยภิกษุอื่นสิ้นเวลา เห็นว่าไม่มาแล้วฟังทำบุคคลอุโบสถด้วยตั้งใจว่า
"อซฺช เม อุโปสโถ ปณฺณรโส" วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ของเรา แล้วกล่าวว่า "อธิฏฺฐามิ" (พึงดูในกังขาวิตรณีเผด็จ หน้า ๒๓ โดยจันทร์ไพจิตรป.๙ ฉบับของโรงพิมพ์วัฒนาพานิช)
ถ้าปักษ์ขาดให้เปลี่ยน "ปณฺณรโส" เป็น "จาตุทฺทโส" = คือวัน = แรม ๑๔ ค่ำ
วิธีทำคณะอุโบสถของภิกษุ ๒ รูป
ในอาวาสที่มีภิกษุน้อยกว่า ๔ รูป ท่านไม่ให้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามี ๒ รูปท่านให้บอกปาริสุทธิแก่กันและกัน คือเมื่อถึงวันอุโบสถแล้ว ให้พึงทำบุพพกรณ์ ซึ่งเป็นกิจเบื้องต้นเสียก่อน แล้วภิกษุผู้เถระห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือบอกความบริสุทธิ์ (ไม่ต้องตั้งญัตติ) ว่า
"ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรหิ" "ดูก่อนท่านผู้มีอายุเราเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ท่านจงจำเราว่า เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วดังนี้"
ผู้อ่อนบอกว่า "ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ" "กระผมเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วขอรับ ท่านจงจำกระผมว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ดังนี้เถิด" ๆ รูปละ ๓ จบ
วิธีทำคณะอุโบสถของภิกษุ ๓ รูป
ถ้าภิกษุ ๓ รูป เมื่อถึงอุโบสถให้พึงทำบุพพกรณ์เสียก่อน ดังกล่าวแล้วใน ๓ รูปนั้น รูปใดเป็นผู้ฉลาด รูปนั้นพึงตั้งญัตติว่า
"สุณาตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ มยํ อญฺญมญฺญํ ปาริสุทฺธิอุโบสถํ กเรยฺยาม" ท่านผู้มีอายุทั้งหลายเจ้าข้า จงฟังคำแห่งข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันอุโบสถที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านผู้มีอายุทั้งหลายถึงแล้วไซร้ เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถ" ฯ
ถ้าผู้สวดแก่กว่าเพื่อน ให้ว่า "อาวุโส" แทน "ภนฺเต" ถ้าวันที่ ๑๔ ให้ว่า “จาตุทฺทโส” แทน “ปณฺณรโส” ครั้นสวดประกาศคณะญัตติแล้วภิกษุผู้เถระจึงห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือบอกความบริสุทธิ์ของตนว่า
"ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ" ๓ จบ "ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลาย จงจำฉันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ดังนี้เถิด" ฯ รูปที่ ๒ ที่ ๓ ให้ว่ารูปละ ๓ จบ เหมือนกันตามลำดับพรรษา พึงบอกว่า
"ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ" ดังนี้ เมื่อได้ทำดังกล่าวมาฉะนี้แล้ว ได้ชื่อว่าทำคณะอุโบสถ หรือปาริสุทธิอุโบสถ ฯ
สังฆอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้นต้องเป็นวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ นับแต่อุโบสถหลังมา หรือเป็นวันสามัคคี ฯ
๒. ชุมนุมภิกษุในกรรมนั้น ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ รูป และต้องเป็นภิกษุโดยบริสุทธิ์ คือไม่ต้องปาราชิกหรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแต่ทั้ง ๒ ประเภทนี้หมายเอาเป็นที่ ๔ อยู่ในสงฆ์ คือรูปนั้นบรรจบเป็น ๔ จึงใช้ไม่ได้ ถ้าไม่เป็นที่ ๔ คือเป็นที่ ๕ ที่ ๖ ต่อๆ ไปแล้ว ใช้ได้ ฯ
๓. ภิกษุเหล่านั้น ต้องไม่มีใครต้องสภาคาบัติเลย หรือถ้ามีต้อง ก็ให้ภิกษุสวดประกาศตามแบบที่ท่านวางไว้ให้สงฆ์ทราบเสียก่อน ๆ
๔. ต้องไม่มีวัชชนียบุคคลในหัตถบาสนั้น ๆ
เมื่อพร้อมด้วยองค์ทั้ง ๔ ข้อนี้แล้ว จึงทำสังฆอุโบสถ คือสวดปาฏิโมกข์ได้ ๆ
วัชนียบุคคลควรเวันนั้นคือ
๑. คนไม่ใช่ภิกษุ เช่นอนุปสัมบันน์ เป็นต้น
๒. เป็นภิกษุอยู่ก่อน แต่ต้องอาบัติปาราชิก
๓. เป็นภิกษุ แต่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฯ
ในจำนวนหลัง (ข้อ ๓) ไม่เป็นที่ ๔ ในสงฆ์ไม่เป็นอะไร แม้ภิกษุที่ต้องสังฆาทิเสสแล้ว บอกไว้แก่ภิกษุ แม้รูปหนึ่งแล้วก็ฟังปาฏิโมกข์ได้ ฯ