การท่องเที่ยวในภพภูมิต่าง ๆ

วันที่ 20 ธค. พ.ศ.2562

กรณีศึกษาการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลก

การท่องเที่ยวในภพภูมิต่าง ๆ


                                        มนุษย์เราเกิดมาอย่างไร เกิดมาจากไหน ก่อนเกิดมาเป็นอะไรมาก่อน และหลังจากละจากโลกแล้วเราจะไปอยู่ ณ ที่ใด มีความเป็นอยู่เช่นไร โดยที่ความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับบุญและบาปหรือกุศลกับอกุศลที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป

 

                                          ซึ่งเราคงทราบกันมาจากบทเรียนที่ผ่านๆ มาข้างต้นแล้ว เราจะเห็นว่าโลกมนุษย์เรา หรือภพมนุษย์นี้ ถ้ากล่าวไปแล้วก็เปรียบเสมือนตลาดกลาง หรือสถานที่ในการ แลกเปลี่ยนสินค้า เพียงแต่ว่าเป็นการค้าบุญค้าบาป เพราะก่อนเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ละคนก็มาจากภพภูมิที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นจากมนุษย์ สวรรค์ พรหม อรูปพรหม หรืออบายภูมิ

 

                                          ที่ประกอบด้วย นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน แต่ทันทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์สิ่งที่ทุกคนได้เหมือนกัน คืออัตภาพหรือร่างกายที่เป็นมนุษย์ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องรายละเอียด เป็นต้นว่า ความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์ ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย สติปัญญาความสามารถ หรือแม้กระทั่งชาติตระกูลและฐานะความเป็นอยู่ ถึงอย่างนั้นทุกคนก็ได้

 


                                           ชื่อว่าเป็น มนุษย์เหมือนกัน มีโอกาสเท่าเทียมกันในเรื่องของบุญและบาป
ด้วยเหตุว่า ภพมนุษย์เปรียบเสมือนตลาดกลางในการค้าบุญค้าบาป ดังนั้นเมื่อสิ่งใดที่เราทำลงไปไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาปก็ตาม ย่อมมีผลด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อทำสิ่งที่เป็นบุญผลก็เป็นบุญ เป็นความผาสุก ในทางกลับกันถ้าทำในสิ่งที่เป็นบาป ผลที่ได้ก็เป็นบาปเป็นความทุกข์ทรมานต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ผู้เป็นเจ้าของชีวิตจะลิขิตชีวิตของตนให้เป็นเช่นไร

 

เรื่องจริงจากกรณีตัวอย่างชีวิตหลังความตาย


                                         การที่แต่ละคนประกอบกรรม คือการทำบุญและบาป หรือกุศล อกุศล ขณะที่มีชีวิตอยู่นั้นนอกจากจะส่งผลทำให้ไปบังเกิดในภพภูมิต่างๆ หลังจากละโลกไปแล้ว ยังทำให้เกิดความแตกต่างกันในสิ่งต่างๆแม้จะเกิดในภพภูมิเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะประกอบกรรมแตกต่างกันไป ดังนั้นแม้ว่าผู้ที่เคยรู้จักกัน คุ้นเคยกันเป็นญาติหรืออยู่ในครอบครัวเดียวกัน หากว่ามีวิถีชีวิตที่ต่างกัน ประกอบกรรมต่างกัน เมื่อละจากโลก


                                         ไปแล้วย่อมมีความเป็นไปที่ต่างกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในสาเกตชาดก ว่าในครั้งนั้น พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ พระวิหารอัญชนวัน เมืองสาเกต วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาเกตพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ ขณะที่ทรงดำเนินอยู่นั้น มีพราหมณ์แก่คนหนึ่งกำลังจะออกไปนอกเมือง เห็นพระพุทธองค์ที่ระหว่างประตูเมือง จึงหมอบลงแทบพระยุคลบาทและยึดข้อพระบาททั้งสองไว้แน่น แล้วกราบทูลว่า


                                            พ่อมหาจำเริญ ธรรมดาว่าบุตรต้องปรนนิบัติมารดาบิดาในยามแก่ มิใช่หรือเหตุไรพ่อจึงไม่แสดงตนแก่เรา ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ "จากนั้นพราหมณ์ได้พาพระพุทธองค์ไปยังเรือนของตน เมื่อเสด็จถึงเรือน นางพราหมณีได้เข้ามาหมอบแทบบาทยุคลของพระพุทธองค์ แล้วร่ำไห้ว่า"พ่อคุณทูนหัว พ่อไปไหนเสียนานถึงปานนี้ ธรรมดาบุตรต้องบำรุงมารดาบิดายามแก่มิใช่หรือ"แล้วบอกให้บุตรและธิดาพากันมาไหว้พระพุทธองค์ด้วยคำว่า "พวกเจ้าจงไหว้พี่ชายเสีย"


                                              จากนั้นพราหมณ์สามีภรรยาได้ถวายมหาทาน พระศาสดาครั้นเสวยแล้วได้ตรัสชราสูตร แก่พราหมณ์ทั้งสอง ในเวลาจบพระสูตร ทั้งสองได้ตั้งอยู่ในพระอนาคามิผลเมื่อกลับสู่พระวิหาร เหล่าภิกษุต่างประชุมสนทนากันว่า เหตุไรพราหมณ์จึงบอกว่าพระศาสดาเป็นบุตรของตน และพระศาสดาก็ทรงรับ ทั้งที่พระบิดาของพระพุทธองค์ คือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือพระนางมหามายา

 

                                             เมื่อพระพุทธองค์ทราบเรื่องที่ภิกษุ สนทนากัน จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสแก่เหล่าภิกษุว่าในอดีตกาล พราหมณ์เคยเป็นบิดาของพระองค์ 500 ชาติ เป็นอา 500 ชาติ เป็นปู่ 500 ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสายส่วนนางพราหมณีเคยเกิดเป็นมารดาของพระองค์ 500 ชาติ เป็นน้า 500 ชาติ เป็นย่า 500 ชาติ

                                              จากเรื่องราวที่ปรากฏในสาเกตชาดก ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกนั้น ทำให้เราทราบชัดว่า มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วน เคยเกิดตายกันมาแล้ว หลายครั้งในแต่ละครั้ง ก็มีความเป็นไปของแต่ละบุคคล ที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับวิบากกรรมที่ตนได้กระทำ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

จากหนังสือ DOU
           วิชา GL 101 จักรวาลวิทยา
                                 กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0048552513122559 Mins