ชุดความคิดด้านการฝึกฝนตน
หลังอิงต้นโพธิ์ คือจะทําอะไร
ต้องมีหลักธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยึดเป็นหลักในใจอยู่เสมอ
จับดีผู้อื่น จับผิดตนเอง
ด่าไม่โกรธ ชมไม่ยิ้มเกิน
ไม่ดูเบาสิ่งเล็กน้อย
รักบุญ กลัวบาป สุดหัวใจ
3 ป. ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา
ภาษาต่างประเทศ วิชชาธรรมกาย
สิ่งที่ควรสะสมในโลกใบนี้มีแค่ 2 อย่าง
คือ ความรู้กับความดี
จะไปทะเลาะเบาะแว้งกันไปทำไม
ให้อภัยกันเสียเถิด ยอมๆ กันบ้าง
โกรธกันคนละเวลา
เสน่หาเวลาเดียวกัน หรือดีที่สุด คือ
อย่าโกรธกันเลย
เราเป็นพระ ต้องคิดแบบพระ
พูดแบบพระ ทําแบบพระ
มีสติ กันพลาด มีสัมปชัญญะ กันโง่
ความกตัญญู เป็นสัญลักษณ์คนดี
สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ นอกเหนือจากวิชาชีพแล้ว
ควรจะเรียนวิชชาชีวิตด้วย
คุณธรรมพื้นฐานที่พึงมี คือ เคารพ วินัย อดทน
ยิ้มง่าย ไหว้ก่อน อ่อนน้อมถ่อมตน
เขาไม่ดูว่าคุณเป็นใคร
แต่จะดูว่าใครเป็นอาจารย์คุณ
สิ่งที่ผิดพลาดจะหมดไป ต้องแก้ไขด้วยตนเอง
เรามีกายมนุษย์อยู่ ยังสร้างบารมีได้
ยังแก้ไขสิ่งไม่ดีได้
การรู้จักให้อภัยตนเอง และให้อภัยผู้อื่น
จะทำให้ใจเป็นสุข และสมาธิตั้งมั่นได้ง่าย
ไม่ว่าจะบวชช่วงสั้น หรือช่วงยาว
มีเป้าหมายเดียวกัน
คือการทำพระนิพพานให้แจ้ง
สะอาดระเบียบ ทําด้วยมือตัวเอง
โดยให้ใจอยู่ในตัว
ทรัพย์ คือ อุปกรณ์ในการสร้างบารมี
ไม่ใช่อุปกรณ์ในการประดับบารมี
ฝึกบริหารการใช้ปัจจัย 4 คือ
บทฝึกการฝึกฝนความพอดี
กินพอดี นอนพอดี พูดพอดี วางใจพอดี
ชีวิตในสังสารวัฏ มีแต่บุญกับบาป
เท่านั้น เป็นตัวชักใยอยู่เบื้องหลัง
ผู้แสวงหาบุญย่อมได้บุญ
ผู้แสวงหาบาปย่อมได้บาป
ผู้แสวงหามรรคผลนิพพานย่อมได้มรรคผลนิพพาน
เมื่อมาวัดต้องรักษาใจใสๆ
คนเรื่องมาก มักจะได้บุญน้อย
คนเรื่องน้อย มักจะได้บุญมาก
อย่าไปคอยความพร้อม เราต้องสร้าง
ความพร้อมให้กับตัวเราเอง
ถ้าถือสา มันก็เป็นเรื่องเป็นราว
ไม่ถือสา มันก็เป็นลมเป็นแล้ง
ถือที่มือก็หนักที่มีอ
ถ้าเราวางมันก็เบามือ ถือที่ใจ
มันก็หนักที่ใจ ถ้าเราวาง มันก็เบาใจ
คนบริหารเวลาเป็น ต้องแบ่งเวลาอย่าง
มีคุณภาพ ใน 4 เรื่อง
1. เวลาเพื่อสุขภาพตนเอง
2. เวลาเพื่อครอบครัวและคนรอบข้าง
3. เวลาเพื่อสัมมาอาชีวะ
4. เวลาเพื่อปราบกิเลส
Universal Goodness(UG 5)
ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ คือ คุณลักษณะ
พื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เพื่อพัฒนาตนเอง
ให้มีคุณภาพ และพัฒนาสังคมให้มีความ
เจริญงอกงาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
โดยจะต้องฝึกฝนเป็นประจําทุกวัน
จนเป็นนิสัย ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ คือ
1. ความสะอาด
2. ความเป็นระเบียบ
3. ความสุภาพนุ่มนวล
4. ตรงต่อเวลา
5. จิตตั้งมั่นมีสมาธิ และผ่องใส
ความสะอาดทําให้ใจสะอาด ความเป็นระเบียบ
ทำให้ใจสบาย ความสุภาพทำให้ใจนุ่มนวล
ความตรงเวลาทําให้ใจไร้กังวล ความมีสมาธิ
ทําให้ใจผ่องใส งานที่หนักและเหนื่อยที่สุด
ตลอดชีวิตคือ UG5 เพราะเป็นงานที่สู้กับกิเลส
เพื่อแก้ข้อบกพร่องของตนเอง UG5 ไม่ใช่เป็น
งานของแม่บ้านอย่างที่หลายคนเข้าใจ
บุญเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เป็นพลังงาน
แห่งความบริสุทธิ์ ที่จะขจัดกิเลสอาสาวะ
สิ่งที่เป็นมลทินของใจเราให้หมดไป
ทำไมเราต้องทําบุญบ่อย ๆ เพราะบุญเป็นบ่อเกิด
แห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต
มีบุญมากอุปสรรคก็น้อย
มีบุญน้อยอุปสรรคก็มาก
ฝึกตนยอมตนในทุกสิ่งทุกอย่าง ประดุจผ้าขี้ริ้ว
เช็ดเท้า ที่ใครจะเหยียบย่ำ จะเช็ดถู จะเอา
สิ่งสกปรกมาแปดเปื้อนก็ไม่นำมาเป็นอารมณ์
ทําถูก คือการกระทำอะไรก็ตาม เมื่อทำลงไปแล้ว
ไม่เกิดความเสียหาย ไม่เกิดโทษ ไม่ก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนใจใด ๆ ตามมาในภายหลัง
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นมีแต่เกิดประโยชน์เท่านั้น
เช่นนี้ เรียกว่า “ทำถูก”
การทําถูก จึงเป็นการกระทำที่เป็นไปตาม
ทำนองคลองธรรมและเหตุผล ยิ่งทำมากเท่าใด
ใจจะยิ่งใสยิ่งสว่าง เห็นความสว่างเกิดขึ้นมาจาก
ศูนย์กลางกาย ทั้งหลับตาลืมตา ยิ่งทำก็ยิ่งเป็นสุข
ทําดี คือการกระทำที่รู้อยู่เต็มอกว่าสิ่งนี้เป็น
สิ่งที่ถูกต้อง แล้วตั้งใจทำด้วยความระมัดระวัง
เอาใจจดใจจ่อ ทําด้วยความมั่นใจ ยิ่งทำยิ่งสุข
ทั้งกายทั้งใจทําได้มากเท่าไหร่ก็เห็นบุญเป็นสาย
เกิดขึ้นมาจรดศูนย์กลางกายมากขึ้นเท่านั้น
อดีตที่ผิดพลาด...ลืมให้หมด ชีวิตของเรา
แต่ละคนล้วนเคยพลาดพลั้งกันมาทั้งนั้น
ไม่มากก็น้อย ชีวิตต่อไปอย่าให้พลั้งพลาดอีก
แล้วทำ 5 ข้อนี้ คือ
1. อย่าไปตอกย้ำซ้ำเดิมสิ่งที่ผิดพลาด เดี่ยวดวงบาปจะโต ให้ลืมไปเลยเหมือนเราไม่เคยเจอมาก่อน
2. สิ่งที่เป็นบาปอกุศลทุกชนิด ไม่ทําเพิ่มอีกเด็ดขาด
3. หมั่นนึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด
4. สั่งสมบุญทุกบุญ ทั้งทาน ศีล ภาวนาให้เข้มข้นทับทวี
5. ปลอดภัยที่สุด คือ ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึง พระธรรมกายภายใน หรืออย่างน้อยต้องได้ ดวงใส ๆ เพราะตอนสุดท้ายจิตของเราจะได้ ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สุคติจะได้เป็นที่ไป
ถ้าทำสิ่งใดแล้ว
ไม่ต้องร้อนใจในภายหลัง
จงทําเถิด เพราะเป็นความดี
ถ้าทำสิ่งใดแล้วต้องร้อนใจในภายหลัง
จงอย่าทํา เพราะเป็นความชั่ว
ถ้าทำสิ่งใดแล้ว ร้อนเขา ร้อนเรา
ก็อย่าทํา ร้อนเขา เย็นเราก็อย่าทำ
สิ่งเหล่านี้ เป็นความชั่วทั้งนั้น
แต่ว่าถ้าทำแล้ว เย็นทั้งเขา เย็นทั้งเรา
จงทําเถิด เพราะเป็นความดี
ควรทํา หมายความว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น
ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิด ไม่เสียหาย แต่เรารู้ว่า
ถ้าทำแล้วมันจะดีขึ้น แล้วเราก็ทำ
ลงไป อย่างนี้เรียกว่า “ควร”
ตัดสิน-ติดใจ ในทางโลก คนกล้าตัดสิน
และติดใจ ย่อมทํางานได้ผลดี และ
รวดเร็วกว่าคนอื่น
ถ้าอยู่ทางธรรม จะ “ตัดสิน”
ได้ว่าอะไร ดี-ชั่ว บุญ-บาป ถูก-ผิด
ควร-ไม่ควร แล้วก็กล้า “ตัดใจ”
ที่จะละชั่ว ทำดี ละบาป ทำบุญ
ได้อย่างเฉียบขาดเหนือผู้อื่น
ปัญหามีไว้ให้แก้ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม
ปัญหา แก้ได้ด้วยปัญญา
ปัญญาเกิดจากสมาธิ
สมาธิเกิดจากใจหยุดนิ่ง
เมื่อจะเจอะเจออุบัติเหตุ ให้เก็บคอ
งอเข่า เท้าชิด จิตเข้ากลาง
เราต้องระวังรักษาสุขภาพกาย
โดยการบริหารกำลังกายให้แข็งแรงเสมอ
สุขภาพใจก็ต้องรักษา
อย่าให้ความคิดที่ไม่ดีเข้ามาครอบงำเราได้
เราต้องรักษาใจและความนึกคิดในใจของเรา
ให้เป็นกุศลให้เจริญงอกงามแต่ความดีเท่านั้น
บุญ คือ พลังงานความบริสุทธิ์
ที่จะขจัดพลังงานความไม่บริสุทธิ์
ให้หมดสิ้นออกไปจากกายวาจาใจ
จากธาตุธรรมเห็นจ่าคิดรู้ของเรา
บุญเป็นพลังงานพิเศษ ที่จะทำให้เรา
มีความสุข และความสําเร็จในชีวิต
ทั้งในมนุษยโลก และในเทวโลก
รวมทั้งในสังสารวัฏ