ธุรกิจเมาไม่ควรเข้าตลาดหลักทรัพย์เพราะเหตุใด

วันที่ 12 พย. พ.ศ.2548

       

ธุรกิจเมาไม่ควรเข้าตลาดหลักทรัพย์เพราะเหตุใดน้ำ

(ตอนที่ 1)

ข้อเท็จจริงที่สำคัญ๑)

๑. ในปี ๒๕๔๓ คนไทยดื่มน้ำเมามากที่สุดในทวีปเอเชียและมากเป็นอันดับ ๕ ของโลก

และหากยังขาดมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการดื่มน้ำเมาปริมาณเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก ๓ ปี

๒. เยาวชนเป็นกลุ่มที่มีอัตราการดื่มน้ำเมาเพิ่มมากที่สุด ในเวลาเพียง ๗ ปี (๒๕๓๙-

๒๕๔๖) วัยรุ่นหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี มีอัตราการดื่มเพิ่มขึ้นถึง ๕.๖ เท่า

๓. ร้อยละ ๗๒.๗ ของผู้บาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาล“ดื่มน้ำเมา” ก่อนเกิดเหตุ

๔. จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) และธนาคารโลก (World Bank)

        พบว่า อัตราการตายและความพิการทั่วโลกที่เกิดจากการดื่มน้ำเมามากกว่ายาเสพติดถึง ๕ เท่า และส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิตและอายุขัยเฉลี่ย สูงกว่าผลจากการสูบบุหรี่

๕. ธุรกิจน้ำเมาทุ่มเงินจำนวนมหาศาลโฆษณากระตุ้นให้คนไทยดื่มน้ำเมามากขึ้น โดยในปี ๒๕๔๓ มียอดเงินโฆษณาของธุรกิจน้ำเมาถึง ๒,๗๕๑.๖ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ๓๑๗ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๓ กว่า ๘ เท่าตัว

๖. การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการดื่มน้ำเมาในประเทศไทยหย่อนยานมาก เช่น ทั้งที่มี

       พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ห้ามมิให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ ซื้อหรือเสพสุรา แต่ในความเป็นจริง เยาวชนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ทั้งซื้อและเสพสุรากันอย่างเกลื่อนกลาด หรือแม้จะมีป.ว. ฉบับที่ ๒๕๓ (พ.ศ.๒๕๑๕) กำหนดเวลาจำหน่ายสุราไว้ว่า จะทำได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๑๑.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ - ๒๔.๐๐ น. เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง คนไทยสามารถซื้อสุราได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ในแทบทุกหัวระแหง คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า มีกฎหมายจำกัดระยะเวลาการจำหน่ายสุราอยู่วิเคราะห์เหตุผลของผู้สนับสนุนให้นำธุรกิจน้ำเมาเข้าตลาดหลักทรัพย์๑. ผู้ประกอบธุรกิจน้ำเมาอ้างว่า จะเข้าหรือไม่เข้าตลาดหุ้น เหล้าก็มีขายอยู่แล้ว การนำธุรกิจน้ำเมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่มีผลทำให้คนไทยดื่มน้ำเมามากขึ้น ควรไปรณรงค์ให้คนเลิกดื่มน้ำเมาจะเป็นการแก้ปัญหาตรงจุดกว่า

        ความจริงก็คือ ข้ออ้างข้างต้นไม่ถูกต้อง เพราะหากธุรกิจน้ำเมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้จะทำให้คนไทยดื่มน้ำเมามากขึ้นแน่นอน เนื่องจากธุรกิจน้ำเมาจะสามารถระดมทุนคิดเป็นเม็ดเงินหลายหมื่นล้านบาท ใช้ในการส่งเสริมการขาย ขยายการผลิตได้อย่างเต็มที่ (supply induce demand) การควบคุมกำลังทุนของธุรกิจน้ำเมา โดยไม่ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ส่วนการรณรงค์ให้คนเลิกดื่มเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งต้องทำคู่ขนานกันไป แต่ทั้งนี้งบประมาณเพื่อการรณรงค์มีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบกับงบโฆษณาที่ผู้ประกอบการสามารถอัดงบโฆษณาและสื่อส่งเสริมการขาย

๒. ผู้ประกอบธุรกิจน้ำเมาอ้างว่า ธุรกิจน้ำเมาเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ในปี ๒๕๔๖ เสียภาษีให้รัฐเป็นเงินถึง ๖๒,๖๓๓ ล้านบาท

        ความจริงก็คือ ธุรกิจน้ำเมาสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศมหาศาลภาษีที่รัฐได้ไม่คุ้มค่าเลยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนี้

        ก. ภาษีที่รัฐได้จำนวน ๖๒,๖๓๓ ล้านบาทนั้น มาจากรายจ่ายประชาชนที่จ่ายให้กับบริษัทน้ำเมาจำนวนกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และยังพบว่าครอบครัวยากจนมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการดื่มน้ำเมาสูงมาก เช่น ในการสำรวจครัวเรือนยากจนในศรีลังกาและกรุงนิวเดลลี พบว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเมาต่อรายได้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ ๓๐ และร้อยละ ๒๔ ตามลำดับ๒) ลองคิดดูว่า ครัวเรือนของคนไทยโดยเฉพาะครัวเรือนระดับรากหญ้าที่มี

        รายได้น้อยถูกสูบเงินออกไปจำนวนมหาศาลถึงปีละ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วเขาจะเอา

เงินที่ไหนมาเป็นทุนตั้งเนื้อตั้งตัว สร้างฐานะ ยอดขายสินค้า OTOP รวมทั้งประเทศโดยไม่หักต้นทุน ยังไม่พอครึ่งหนึ่งของค่าเหล้าด้วยซ้ำ หากไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างฐานะแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศของรัฐบาลจะไม่มีทางสำเร็จได้เลยก. จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยพบว่า มูลค่าความสูญเสีย

       ทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทยในปี ๒๕๔๕ เท่ากับ ๑๒๒,๔๐๐ -๑๘๙,๐๔๐ ล้านบาท หรือ ร้อยละ ๒.๒๕ - ๓.๔๘ ของ GDP๓) ซึ่งส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากการดื่มน้ำเมาดังกล่าวแล้ว

ข. จากการวิจัยพบว่า ผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย

        กำลังผลิต (Productivity lost) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health expenditure) และค่าเสียหายรวมรายจ่ายของรัฐจากอาชญากรรมและความรุนแรง (Crime and violence) ที่มีสาเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศพัฒนาแล้ว คิดเป็นมูลค่าสูงถึง ประมาณ ๒% ของGDP คือ ๑๘๕ พันล้านเหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๔๑)๔)

๑๕.๔ พันล้านปอนด์ในสหราชอาณาจักร (พ.ศ. ๒๕๔๕)๕) ทั้งที่ประเทศเหล่านี้มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการดื่มน้ำเมาอย่างเข้มงวด ส่วนในประเทศไทยซึ่งมีอัตราการดื่มสูงกว่า และการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการดื่มน้ำเมาไม่เข้มงวด คาดว่ามีความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า ๕ แสนล้านบาทต่อปี๖)

        จะเห็นได้ว่า ธุรกิจน้ำเมาสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง ภาษีที่เข้ารัฐเป็นเพียงเศษเงินจากหายนะของประเทศ เราจึงไม่ควรสนับสนุน

๒) Room R.,Jernige D., Carlini Cotrim B., et al. Alcohol in developing societies: a public health approach. Helsinki and Geneva, Finnish Foundation for Alcohol studies and W

๓) รศ.นพ.ยงยุทธ ขจรธรรม และ บังอร ฤทธิภักดี, นโยบายและมาตรการในการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์, ๒๕๔๗

๔) Harwood H. Updating Estimates of the Economic Costs of Alcohol Abuse in the United States: Estimates, Update Methods and Data. Report prepared by the Lewin Group for the National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism, 2000.

๕) Alcohol Harm Reduction Strategy. UK Prime Minister’s Strategy Unit, London, March 2004.

๖) รศ.นพ.ยงยุทธ ขจรธรรม, นพ.บัณฑิต ศรไพศาลและดร.พิมพา ขจรธรรม, ประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ๒๕๔๗

HO, 2003.

เครือข่ายเยาวชนคนรักชาติ และ172 องค์กรเครือข่ายงดเหล้า

                                

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.028748917579651 Mins