บทความ ตำนาน พญานาคสองฝั่งโขง ๓ ตอน(ความเป็นอยู่และการปกครอง)

วันที่ 16 ตค. พ.ศ.2548

 
 

"พวกกำเนิดแบบโอปปาติกะนั้น เป็นพญานาคชั้นปกครองปกครองประชากรนาคด้วยระบบบุญญาธิปไตร โดยถือหลักผู้มีบุญมาก ปกครองผู้มีบุญน้อย "

ความเป็นอยู่และการ ปกครองของนาคราชในอาณา จักรต่างๆ ของภพบาดาลใต้ แม่น้ำโขง ครอบคลุมมาถึงใต้ แผ่นดินที่เป็นปริมณฑลกว้าง ใหญ่ ทั้งฝั่งไทยและลาว ยาว ตลอดลำน้ำโขง บริเวณสะดือ แม่น้ำโขงซึ่งอยู่ตรงกับอำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ถือว่า เป็นศูนย์กลางการปกครองของ ภพบาดาล ทั้งใต้น้ำและใต้ดิน
การปกครองของพญานาค 
พญานาคมีการปกครองด้วยระบอบ บุญญาธิปไตย คือ ผู้มีบุญมากปกครองผู้มี บุญน้อย ลำดับชั้นปกครอง ได้แก่

พวกกำเนิดแบบโอปปาติกะ ปกครอง พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ

พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ ปกครอง พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ

พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ ปกครอง พวกกำเนิดแบบอัณฑชะ เป็นไปตามลำดับ
ลักษณะของพญานาคแต่ละกำเนิด

พวกกำเนิดแบบอัณฑชะ คือ เกิดใน ฟองไข่ ส่วนใหญ่เป็นงูชั้นล่าง เช่น งูเหลือม งูเห่า งูจงอาง เป็นต้น
พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ ดีขึ้นมาหน่อย คือ เกิดในครรภ์ เป็นงูขนาดใหญ่มากขนาดท่อนซุงหลายสิบต้นต่อกันยาวเป็น ร้อยเมตร อยู่ใต้น้ำลึก คนมักจะเรียกว่า งูเทพเจ้า
พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ ก็ดีขึ้นมาอีก พวกนี้จะเป็นกึ่งสัตว์เดรัจฉานและกึ่งทิพย์ เมื่อ อยู่ในเมืองบาดาลสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ ได้ โดยจะทำหน้าที่เป็นบริวารรับใช้อยู่ในวิมาน ที่ภพบาดาลของพวกโอปปาติกะ
ส่วน พวกกำเนิดแบบโอปปาติกะ นั้น เป็นพญานาคชั้นปกครอง ปกครองประชากรนาคด้วยระบอบบุญญาธิปไตย โดยถือหลักผู้มี บุญมาก ปกครองผู้มีบุญน้อย

อายุขัยของพญานาค

พญานาคใต้แม่น้ำโขง เป็นพญานาค ระดับภุมเทวาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอายุแตกต่าง กันตามกำลังบุญ พวกกำเนิดแบบโอปปาติกะจะมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ปี
พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ เกิดจาก เหงื่อไคล ในน้ำที่หมักหมม จะมีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี

พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ เกิดในครรภ์ หรือประเภทงูเทพเจ้า จะมีอายุประมาณ ๑๐๐ - ๕๐๐ ปี

พวกกำเนิดแบบอัณฑชะ เกิดในไข่ เป็นงูสามัญ จะมีอายุ ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง
การแปลงกายเป็นมนุษย์

พวกเกิดแบบโอปปาติกะ สามารถแปลงกายได้ทั้งขณะอยู่บนบกและอยู่ในน้ำ

พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ ซึ่งเกิดในเมืองบาดาล แปลงกายได้เฉพาะขณะอยู่ในเมืองบาดาล ถ้าหากออกพ้นเมืองบาดาลก็จะกลายร่างเป็นนาคเหมือนเดิม

พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ และอัณฑชะล้วนแปลงกายไม่ได้ เพราะบุญน้อย ฤทธิ์ก็น้อย ตาม จึงอยู่ในสภาวะของงูตลอดไป

อาหารของพญานาค 

พวกกำเนิดแบบอัณฑชะ หรืองูทั่ว ๆ ไป จะกินพวกกบเขียดปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ หรืองูเทพเจ้า จะกินปลาใหญ่เป็นอาหาร

พวกกำเนิดแบบสังเสทชะ และโอปปา ติกะ จะกินอาหารทิพย์ที่เกิดจากบุญภายใน วิมานตนเองใต้ภพบาดาล

วิมานในภพบาดาล 
เป็นทองคำ พื้นรอบนอกวิมานจะเป็นทรายเงิน ทรายทอง ทรายแก้ว ตามกำลังบุญของเจ้าของวิมาน ภายในวิมานจะมีคลังเก็บสมบัติ ทั้งที่เป็นหีบแก้วแหวนเงินทอง และรัตนชาติ บางส่วนก็เป็นสมบัติโบราณ ที่ตนเองมีหน้าที่เก็บรักษา เช่น พระพุทธรูปโบราณที่จมลงไปในดิน หรือสิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดวาอารามที่ปรักหักพัง หรือเทวรูปต่างๆ
มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับอดีต ชาติของพระรัฐปาล๕ ซึ่งคัดย่อเฉพาะเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับพญานาคว่า มีพระดาบสองค์ หนึ่งได้เห็นสมบัติอันอลังการของพญานาค ก็ กลับไปเล่าให้โยมอุปัฏฐากฟัง โยมอุปัฏฐาก ก็เชื่อพระดาบสนั้น จึงปรารถนาสมบัติพญานาค เมื่อทำบุญก็จะอธิษฐานให้ไปเกิดในภพพญานาค เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็น พญานาคสมดังใจที่ได้อธิษฐานไว้

 

หน้าที่ของพญานาค
นาคพวกกำเนิดแบบอัณฑชะ มีความเป็นอยู่เหมือนงูทั่วไป

พวกกำเนิดแบบชลาพุชะ เป็นงูเทพเจ้า มีหน้าที่เฝ้าสถานที่สำคัญ เช่น วัดวาอาราม เก่าๆ หรือเฝ้าสมบัติโบราณ นักขุดสมบัติมักจะ เจองูใหญ่ประเภทนี้ไล่ขบกัด ต้องวิ่งเผ่นหนีกัน กระเจิดกระเจิง บางทีก็มาเข้าฝันเจ้าของสมบัติ ว่า อยากจะไปเกิดแล้ว ให้มาขุดเอาสมบัติไป ก็มี เชˆนสั่งว่า ให้ไปคนเดียว ห้ามชวนคนอื่นไปด้วย เพราะไม่ใช่เจ้าของ ตอนตี ๒ ก็ไปขุดตามที่ฝัน แล้วเจอไหสมบัติพร้อมกับงูตัวโตมหึมา แต่งูก็ไม่ทำร้าย ยินดียกสมบัติให้

 

พวกกำเนิดแบบสังเสทชะและโอปปา ติกะ มีชีวิตประจำวันเสวยสุขอยู่ในวิมานใต้ ภพบาดาล รายล้อมไปด้วยนางนาคมาณวิกา สาวสวยวัยกำดัดคอยฟ้อนรำปรนเปรอไม่ ห่างกาย

พวกกำเนิดแบบโอปปาติกะ เป็นนาค ชั้นผู้ปกครอง มีหน้าที่เป็นผู้พิพากษา คอยตัดสินคดีความต่างๆ ในสายการปกครองของตนไปด้วยในตัว ดังเช่น คดีตัวอย่างต่อ ไปนี้

 

ครั้งหนึ่งมีนาคบริวารออกไปว่ายน้ำที่ธอจมน้ำตาย แล้วร่ายมนต์บังคับ ฉุดเอาวิญญาณมา โดยเจ้า ลำน้ำโขง ได้พบหญิงสาวผู้หนึ่งกำลังว่ายน้ำ เล่นอยู่ ก็เกิดหลงรัก แต่เธอเป็นมนุษย์ อยู่ร่วม กันไม่ได้ จึงเข้ารัดร่างแล้วดึงลงไปใต้น้ำ ทำให้ เของร่างไม่ยินยอมพร้อมใจ เพราะอยู่ๆ ก็จะเอาไปเป็นเจ้าสาว อย่างนี้ยอมรับไม่ได้ แตˆกายละเอียดของเธอถูกมนต์บังคับไว้ ไม่สามารถดิ้นหนีไปไหน

ฝ่ายญาติของหญิงสาวที่อยู่เมืองมนุษย์ ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ บุญนั้นมากพอที่ จะส่งผลให้วิญญาณของหญิงสาวผู้นั้น ให้ได้ไป เกิดในภพภูมิที่ดีกว่านาค แต่นาคหนุ่มไม่ยอม ได้ดึงรั้งวิญญาณของเธอไว้ ทำให้เธอไปไม่ได้

การที่นาคหนุ่มดึงรั้งเธอเอาไว้ ถือว่าเป็น ความผิดขั้นร้ายแรงของนาคหนุ่ม เหตุการณ์ นี้ ร้อนถึงเจ้าหน้าที่เขตที่เป็นกุมภัณฑ์ (ยักษ์ ประเภทหนึ่ง) ต้องลงมาร้องเรียนพญานาค ผู้ปกครอง
พญานาคผู้ปกครองจึงต้องตัดสินให้นาค หนุ่มปล่อยวิญญาณหญิงผู้นั้นไป และทำโทษ ด้วยการกักบริเวณ โดยให้นาคหนุ่มไปอารักขา พระพุทธรูปโบราณ หรือเจดีย์โบราณที่จมอยู่ ใต้ดินเป็นเวลาร้อยๆ ปี การลงโทษทำนองนี้ ก็แล้วแต่ว่าจะไปอยู่นานแค่ไหน พิจารณาตาม ความหนักเบาของพฤติกรรมในแต่ละรายๆ ไป

 

อีกคดีหนึ่ง พญานาคหนุ่มบริวารของ เมืองหนึ่ง ไปหลงรักนางนาคมาณวิกาซึ่ง เป็นบริวารของพญานาคอีกเมืองหนึ่ง เหตุเกิด ขณะที่นางนาค ออกจากเมืองบาดาลของตน มาว่ายน้ำเล่น นาคหนุ่มบังเอิญออกมาว่ายน้ำ เล่นอยู่ตรงนั้นพอดี เมื่อพบนาคสาวเข้าก็เกิดความรัก ขึ้นมาท่วมท้นหัวใจ ใคร่จะร่วมอภิรมย์ สมสู่กับนางขึ้นมาทันที จึงจู่โจมเข้ารัดร่างนาคสาว ที่กำลังเล่นน้ำเพลิน อยู่ไม่ทันระวังตัว


นางนาคตกใจดิ้นสุดแรง สะบัดตัวเพื่อให้หลุดออกจากการรัดนั้น ในที่สุดก็หลุดรอดออกมาได้ พุ่งตัวหนีไปอย่างรวดเร็ว แต่นาคหนุ่มไม่ยอมเลิกรา ไล่กวดตามไปไม่ลดละ พยายามตีคู่ และเบียดตัวเข้าประชิดร่างของนาคสาว จนผิวเนื้อสัมผัสกัน เธอเบี่ยงตัวหลบหลีก แต่ไม่พ้นหนุ่มนาค จอมเจ้าชู้ แล้ว นาคหนุ่มก็ใช้คำหวานป้อยอจนเธอใจอ่อน

"ก็เธอสวยออกอย่างนี้ ใครจะอดใจไหว รูปร่างสมส่วนงดงาม เนื้อนุ่มเนียนน่าลูบไล้ เกล็ดแวววาวจับตา ตาก็สวย กลิ่นตัวก็หอม ปากก็หอม เห็นแล้วนึกรักขึ้นมาทันที เธอมีเสน่ห์น่าหลงใหล อย่าโกรธเลยนะ ไปว่ายน้ำเล่นทางโน้นกันดีกว่า มีดอกไม้สวยๆ น้ำเป็นสีเขียวมรกตใสเย็น

ว่าพลางเจ้านาคหนุ่ม ก็ว่ายคลอเคลีย ไม่ยอมห่าง ออดอ้อนจนสาวนาคยอม ตกลงปลงใจรับรักเจ้าหนุ่มนาค แล้วก็แอบมาพลอดรักกัน นอกเมืองบาดาลบ่อยๆ

อยู่มาวันหนึ่ง มีนางนาคบริวารตนหนึ่งมาเจอเข้า ความลับก็แตก รู้ไปถึงสามีของนางนาค จึงมีการไปร้องเรียน กับหัวหน้าของตน แต่หัวหน้าเขตไม่สามารถตัดสินลงโทษได้ เพราะคู่กรณีเป็นพลเมืองของอีกเมืองหนึ่ง ต้องไปร้องเรียนกับผู้ปกครองใหญ่ คือ สุวรรณ มธุรนาคราช


 

สุวรรณมธุรนาคราช จึงสั่งให้นาค ทั้งสองซึ่งกระทำผิดศีลข้อ ๓ คือ กาเมฯ ให้เลิกกัน อย่าได้ประพฤติผิดเยี่ยงนี้อีก แต่ ทั้งสองไม่อาจทำใจ ให้เลิกราจากกันได้ เพราะเกิดรักฝังใจเสียแล้ว สุวรรณมธุรนาคราชจึงต้องสั่งลงโทษทั้งสอง โดยให้แยกกันกักบริเวณ ตนหนึ่งให้ไปเฝ้า พระพุทธรูปโบราณ ที่อยู่ใต้ดิน อีกตนหนึ่ง เฝ้าสถูปโบราณ ที่ปรักหักพัง ห้ามฝ่าฝืน หรือหนีมาพบกันเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะมี บทลงโทษอย่างหนัก โดยจะให้หัวหน้าเขต ที่เป็นกุมภัณฑ์ควบคุมตัวไปรับโทษที่ยมโลก บังคับให้ปีนต้นงิ้วได้รับทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0021344145139058 Mins