อรูปภพ
อรูปภพ คือ ภพอันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไปกว่ารูปภพ มีทิพยสมบัติทั้งหลายที่มีความสวยงามประณีตกว่าในรูปภพอรูปพรหม คือ พรหมที่ไม่ใช่รูปพรหม มีกายอัน วยงาม ประณีต ละเอียดสว่างไสวกว่ารูปพรหมอุบัติขึ้นเพราะเหตุแห่งการบำเพ็ญอรูปฌานกุศลสฌานที่บังเกิดขึ้นเรียกว่าอรูปฌาน เมื่อตายลงในขณะที่
ฌานยังไม่เสื่อมย่อมบังเกิดในอรูปภพ พรหมชนิดนี้จัดว่าเป็นอภัพพสัตว์ ไม่สามารถมาตรัสรู้หรือพ้นจากทุกข์ได้ในชาตินั้น (อสัญญีสัตตาพรหม จัดเป็นอภัพพสัตว์เช่นเดียวกัน) อรูปภพแบ่งออกเป็น 4 ชั้นตามความสูงต่ำของอำนาจฌาน ดังนี้
1. อากาสานัญจายตนภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน คือ
บำเพ็ญฌานโดยเอาอากาศ ไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ มีอายุ 20,000 มหากัป
2. วิญญาณัญจายตนภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน คือ
บำเพ็ญฌานโดยเอาความรู้สึกว่า มีอากาศมาเป็นอารมณ์ มีอายุ 40,000 มหากัป
3. อากิญจัญญายตนภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน คือ
บำเพ็ญฌานโดยเอาความว่าง ที่ละเอียดยิ่งกว่าอากาศ (อวกาศ) ที่ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยเป็นอารมณ์ มีอายุ60,000 มหากัป
4. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
คือ บำเพ็ญฌานโดยเอาความรู้สึกว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยละทิ้งไป เอาความรู้สึกที่นิ่ง นิท มีแต่สัญญาอย่างละเอียดเป็นอารมณ์ มีอายุ 84,000 มหากัป
สรุป
การศึกษาเรื่ององค์ประกอบของจักรวาลนี้ ทำให้เราทราบถึง ความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า
ตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่นมิได้มีอยู่ในโลกใบนี้แต่เพียงเท่านั้น เพราะเราได้ทราบชัดถึงโครงสร้างของจักรวาลทำให้เรารู้ว่ายังมี รรพชีวิตอีกมากมายนับไม่ถ้วนที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ตามภพภูมิต่างๆ ในจักรวาลทั้งหลายอันนับประมาณมิได้ เปรียบเสมือนถูกกักขังอยู่ในคุกหรือกรงขัง รรพสัตว์เอาไว้ในภพ ไม่สามารถหาทางออกให้หลุดพ้นไปได้ ต่างต้องเผชิญกับทุกข์ อยู่ในคุกใหญ่ใบนี้ ทั้งทุกข์หยาบและทุกข์ละเอียดสัตว์นรกต้องรับทุกข์ เพราะถูกทรมานด้วยอาการต่างๆ เปรตต้องทนทุกข์เพราะความหิวโหย
อสุรกายต้องทนทุกข์เพราะความหวาดกลัว ไม่มีที่อยู่ที่กินสัตว์เดรัจฉานต้องทุกข์กับการหาอาหาร
มนุษย์นั้นทุกข์เพราะต้องเกิดแก่เจ็บตาย และเศร้าโศกเสียใจ เทวดาก็ทุกข์เพราะมีสมบัติไม่เท่าเทียมเทวดาอื่น
พรหมยังมีทุกข์เพราะต้องแข่งกันเรื่องความ ว่างของรัศมี ไม่มี รรพสัตว์ใดเลยที่มีความสุขแต่เพียง
อย่างเดียว
ดังนั้น เมื่อเราทราบความจริงเช่นนี้แล้ว ควรที่จะเบื่อหน่ายในการเวียนเกิดเวียนตายในภพสาม
ควรแล้วที่จะเลิกท่องเที่ยวอยู่ในคุกแห่งนี้ แล้วแ วงหาหนทางพ้นทุกข์โดยการสั่ง มบุญสร้างความดี
บำเพ็ญบารมีให้มากที่สุด เมื่อบารมีเต็มเปียมย่อมสามารถนำพาตนเองเข้าสู่บรมสุขที่แท้จริง และ
ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรนำพาชาวโลกไปสู่สันติสุขอันไพบูลย์ได้อย่างแน่นอน
กิจกรรมหลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 3 โครงสร้างของจักรวาล จบโดย มบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 3 และกิจกรรม
จากหนังสือ DOU
วิชา GL 101 จักรวาลวิทยา
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต