การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแบบวัชรยาน

วันที่ 29 พค. พ.ศ.2557

 

การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแบบวัชรยาน

 


สมาธิแบบทิเบต


          การฝึกสมาธิตามแบบทิเบตเป็นวิธีการปฏิบัติแนวหนึ่งที่นอกจากต้องการจิตใจที่บริสุทธิ์แล้วยังต้องการอำนาจจิตด้วย รูปแบบการฝึกจึงมุ่งเพ่งความคิดให้แน่วแน่ลงไปในสิ่งเดียว หากสามารถรวมพลังจิตทำนองเดียวกับการรวมแสงอาทิตย์ จะทำให้ได้พลังจิตอย่างมหาศาล3การปฏิบัติสมาธิแบบนี้จะต้องหลอมรวมร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผั เข้าด้วยกัน ด้วยดวงจิตที่มีสติควบคุมจดจ่อ เป็นอารมณ์เดียวและจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน จึงจะบังเกิดผลขึ้นมาได้ในเวลาอันควร การปฏิบัติทุกขั้นตอนจะต้องไม่รีบร้อน ให้ทำแบบช้าๆ เพื่อให้ทั้งร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัสามารถผสมผสานเข้าสู่กระบวนการได้อย่างถูกต้อง ผลที่เกิดขึ้นจะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง4
ซึ่งขั้นตอนการฝึกสมาธิแบบนี้ จะมีลำดับในการปฏิบัติคือ

1. การพักผ่อน


2. การกำหนดลมหายใจ


3. การฝึกความสงบ


4. การภาวนา


5. การเพ่งกสิณ


            กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า การฝึกสมาธิแบบทิเบต เป็นการฝึกโดยเริ่มต้นจากความผ่อนคลายทั้ง
ร่างกายและจิตใจ แล้วค่อยฝึกลมหายใจให้ยาวและลึก พร้อมกับคำภาวนา เมื่อใจสงบดีแล้วก็มาฝึกเพ่ง
กสิณกันต่อ ซึ่งกสิณที่ชาวทิเบตนิยมทำกันมากก็คือ กสิณแสง สว่าง และการเพ่งลูกแก้ว โดยมุ่งให้เกิด
อำนาจทางจิตมี ตาทิพย์ เป็นต้น

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.019435167312622 Mins