หลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

วันที่ 04 มิย. พ.ศ.2557

 

หลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 


          มีคำสอนที่น่าศึกษาในพระพุทธศาสนาคือ หลักการปฏิบัติเพื่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ถูกต้องดีงามในสังคมทั้งนี้เพราะว่ามนุษย์ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวลำพังในโลก แต่ยังต้องติดต่อและมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นซึ่งบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ต่างก็มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านนิสัย พื้นฐาน แม้กระทั่งมี ถานะที่แตกต่างกันเช่น มี ถานะเป็นเพื่อน เป็นบิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น ดังนั้น การที่บุคคลแต่ละคนจะกระทำ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลอื่นๆ ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษา และนำมาปฏิบัติ เพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีอีกด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงหลักการมีมนุษยสัมพันธ์ดังกล่าวไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้งถือว่าเป็นการวางแบบแผนของสังคมที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ในทุกฐานะ และยังสามารถ นำความ สงบสุขมาสู่สังคมได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่า

 

            แม้พระพุทธองค์จะไม่ได้ประกาศตนว่าเป็นนักปฏิวัติสังคมแต่คำ อนของพระองค์ก็ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม และแ ดงหลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไว้อย่างดีงาม ดังปรากฏในสิงคาโลวาทสูตร(หรือสิงคาลกสูตร)1 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เปรียบเสมือนเป็นวินัยของผู้ครองเรือนทั้งหลาย
สิงคาโลวาทสูตร เป็นเรื่องที่กล่าวถึง ชายคนหนึ่งชื่อสิงคาลกะ บิดาเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศา นา
แต่ตัวเขาศรัทธาในความเชื่ออย่างอื่น แม้จะได้รับการชักชวนจากบิดาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สิงคาลกะเห็นว่าไปแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร ดังนั้น ก่อนที่บิดาจะเสียชีวิตได้บอกสิงคาลกะว่าให้บูชาทิศทั้ง 6 ด้วยหวังว่าการกระทำของสิงคาลกะ จะทำให้เมื่อใดพระอรหันต์ท่านได้มาได้เห็นแล้ว จะได้ชี้แนะว่าการบูชาทิศ

 


           ทั้ง 6 นั้นมีความหมายว่าอย่างไรหลังจากบิดาของสิงคาลกะเสียชีวิตไปแล้ว ปรากฏว่าในเวลาต่อมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปพบสิงคาลกะกำลังไหว้ทิศทั้งที่ตนเองไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไร และพระพุทธองค์จึงได้ตรัสอธิบาย และสั่งสอนถึงการบูชาทิศทั้ง 6 ที่ถูกต้องนั้น เป็นเช่นไร โดยพระพุทธองค์ตรัสอธิบายความ
หมายของ แต่ละทิศไว้ ดังนี้


          1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
          2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์
          3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา
          4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร หาย
          5. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้ คนงาน หรือบริวาร
          6. ทิศเบื้องบน ได้แก่ มณพรหมณ์ หรือพระภิกษุสงฆ์


         บุคคลทั้ง 6 ประเภท ที่เปรียบเสมือนทิศ 6 ทิศรอบตัวมนุษย์นี้ คือ บุคคลที่แต่ละบุคคลต้องมีความสัมพันธ์หรือติดต่อประสานงานกัน ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ของบุคคลกับประเภทบุคคลต่างๆ นั้น ในทางพระพุทธศา นาก็ได้จำแนกรูปแบบ อันเป็นหน้าที่หรือบทบาทที่จะพึงมีแก่กันและกัน ดังต่อไปนี้

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.038428163528442 Mins