การถ่ายทอดความดี
การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน การปลูกฝังด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งเข้าอาชีพ การงานแล้ว ขบวนการปฏิรูปมนุษย์ที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จัดอยู่ในการปลูกฝังวิธีนี้ด้วย กล่าวคือบุคคลที่มีปัญญา รู้จักสังเกตพิจารณาผู้คนแวดล้อมอย่างรอบคอบ เมื่อได้มีโอกาสคบหาสมาคมกับเพื่อนดีหรือคนดีมีสัมมาทิฏฐิ ได้ฟังความคิดเห็น ได้สังเกตพฤติกรรมมิตรแท้ของกัลยาณมิตร ก็รู้ว่าตนเองยังมีข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุง จึงพยายามถ่ายทอดซึมซับ ความดีงามของกัลยาณมิตรเหล่านั้นมาเป็นของตน
ขณะเดียวกันก็พยายามเก็บสงวนพฤติกรรมทางกาย และวาจา ที่ไม่งามหรือไม่เหมาะ มของตนไว้ ไม่ยอมให้ปรากฏออกมาเป็นที่น่าอาย น่ารังเกียจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนการถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกันนี้ มีหลักการและวิธีการ ทำนองเดียวกับการใช้ตะแกรงกายสิทธิ์ร่อนหามิตรแท้ ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ 3 การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกันนี้จะได้ผลอย่างแท้จริงในเครือข่ายของกัลยาณมิตร เพราะฉะนั้นการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรขึ้นในบ้าน หมู่บ้าน ชุมชนสังคมทุกระดับจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก (ประเทศที่เจริญแล้ว เครือข่ายกัลยาณมิตรจะอยู่ในรูปองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมมูลนิธิ กลุ่มอาสาสมัคร ตลอดจนวัดวาอารามต่างๆ จึงมีจำนวนมาก บางองค์กรใหญ่มากจนกลายเป็นองค์กรระหว่างประเทศ)
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก