ความหมายของวิบาก

วันที่ 12 สค. พ.ศ.2558

 

ความหมายของวิบาก

คำว่า วิบาก แปลว่า ผลที่เกิดขึ้น หมายถึง ผลแห่งกรรม

            กรรมที่บุคคลประพฤติผ่านทางกาย วาจาและใจ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ย่อมมีผล แห่งการกระทำเสมอ วิบากจะเป็นประดุจเงาติดตามกรรม โดยมีกรรมเป็นเหตุและวิบากเป็น ผลเสมอ กรรมและวิบากย่อมติดอยู่ในใจบุคคลผู้กระทำกรรม เปรียบดังโปรแกรมอันเป็นภาพ แห่งการกระทำและภาพแห่งผลของการกระทำ เมื่อใดที่บุคคลฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เป็นสมาธิ หลุดพ้นจากกิเลส เมื่อนั้นย่อมสามารถรู้และเห็นกรรมและวิบากที่มีอยู่ในใจของตนและคนอื่นได้ ทั้งกรรมที่มีมาแต่อดีต และวิบากกรรมที่จะส่งผลต่อไปในอนาคต ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

 

“    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส จิตอ่อนควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย

 

เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า

 

หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ- อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

 

หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็น อยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

 

เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม ด้วยประการดังนี้”12)

------------------------------------------------------------------------

12) วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค, มก. เล่มที่ 1 หน้า 8.

MD 408 สมาธิ 8: วิปัสสนากัมมัฏฐาน


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010514338811239 Mins