ลักษณะความสัมพันธ์ของอินทรีย์ในลำดับของเทศนา

วันที่ 18 สค. พ.ศ.2558

 

 

 ลักษณะความสัมพันธ์ของอินทรีย์ในลำดับของเทศนา

อินทรีย์ทั้ง 22 มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องและเชื่อมต่อกันไปเป็นลำดับ ดังที่กล่าวไว้ในอภิธรรมภาชนีย์กล่าวคือ7)

1.ในลำดับนั้น การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิ ย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์ เป็นต้น ซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน

2.ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือเป็นชายเพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคือ อัตภาพนี้

3.ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์

4.เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง 2 นั้นมีความเป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์

5.ตราบใดที่ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวย แล้ว(เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่

6.เพื่อให้ทราบว่า สุขและทุกข์ทั้งหมดนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งที่เสวยแล้ว ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงสุขินทรีย์ เป็นต้น

7.อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า “    ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับสุขินทรีย์เป็นต้นนั้น”

8.ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น เพื่อทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่ง ข้อปฏิบัติว่า “    ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อมปรากฏในตนก่อน”

9.ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ พระองค์ทรงแสดงอัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์นั้น เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น

10.เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า “    การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา(การเจริญ) ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไรๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกย่อมไม่มี” จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้ายนี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้

 

------------------------------------------------------------

7) อินทริยวิภังคนิเทศ วรรณนา อภิธรรมภาชนีย์, มก. เล่มที่ 77 หน้า 412.

MD 408 สมาธิ 8: วิปัสสนากัมมัฏฐาน

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011457840601603 Mins