ธรรมานุภาพ

วันที่ 21 กย. พ.ศ.2558

 

ธรรมานุภาพ


สัมมาปฏิบัติวิชชาธรรมกาย

สัมมาสมาธิ
            การปฏิบัติสมาธิมิได้มีแต่เพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีในลัทธิศาสนาอื่นๆ อีกด้วย สมาธิที่จัดเป็นสัมมาสมาธิ ผู้ปฏิบัติต้องน้อมนำใจให้กลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายในกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษ เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดา จึงตรัสวิธีฝึกให้ผู้ปฏิบัติสมาธิคุ้นเคยกับการน้อมนำใจกลับมาตั้งมั่นไว้ภายในกายว่า"มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยวในการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย ติสัมปชัญญะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล"เมื่อหลวงปู่ท่านปฏิบัติสมาธิภาวนาจนได้บรรลุวิชชาธรรมกายแล้ว ท่านชี้ชัดลงไปว่าสัมมาสมาธินั้นผู้ปฏิบัติต้องน้อมนำใจมาตั้งมั่นไว้ภายในกาย ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ศูนย์กลางกายนี้เป็นประตูสู่มรรคผลนิพพาน เมื่อน้อมนำใจมาไว้ ณ จุดนี้ ก็ถูกทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นเครื่องกำจัดกิเล และกระทำพระนิพพานให้แจ้งก็บริบูรณ์ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า"ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้ มณะที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ที่ 4 ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยใด แม้ มณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4หาได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยนี้ มณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจาก มณผู้รู้สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"


            วิชชาธรรมกายเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการบำเพ็ญเพียร เจริญภาวนาด้วยสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายหลักสำคัญ คือ การกำจัดกิเลสอาสวะให้สิ้นไป เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือการบรรลุธรรมของพระสงฆ์สาวกหากมิได้ดำเนินตามหลักสัมมาสมาธิแล้วก็มิอาจจะเป็นไปได้สัมมา อะระหัง"สัมมา อะระหัง" เป็นคำที่หลวงปู่ท่านใช้สำหรับบริกรรมภาวนาในการบำเพ็ญสมณธรรมผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานตามนัยของหลวงปู่ อาศัยคำภาวนานี้บริกรรม ประกอบกับน้อมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เมื่อใจหยุดถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงธรรมกายได้คำว่า "สัมมา อะระหัง" นี้ เป็นบทพระพุทธคุณที่เราใช้ท่องกันอยู่ประจำ "สัมมา" เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับสัมพุทโธ เป็นสัมมาสัมพุทโธแปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค 8 ด้วยโดยมีคำว่าสัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อ เป็นสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เป็นต้นส่วนศัพท์คำว่า"อะระหัง" เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์เมื่อเข้าคู่กันเป็น "สัมมา อะระหัง" ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรมสัมมา อะระหัง ของหลวงปู่วัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสติโดยแท้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าสัมมา อะระหัง เป็นพุทธานุสติ มีประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐานมาก ดังที่ท่านได้อธิบายว่า "พุทธานุสติ เป็นธรรมประการต้นที่หลวงปู่วัดปากน้ำสนใจปฏิบัติและ อนสานุศิษย์เป็นพิเศษ ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะพุทธานุสตินั้นเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิต ว่าง ให้จิตมีกำลัง ให้จิตมีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรม สืบต่อไปเป็นวิสัยอันดีของพุทธศา นิกชนทั่วไป ธรรมดาบุคคลเราถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตย่อมคอยแต่จะฟุ้งซ่าน จะทำให้ สงบอยู่ไม่ได้ จิตจึงต้องมีพุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตามจะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษาทั้งนั้น เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มี สติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ดังพุทธภาษิตว่า


"สุปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เย  ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ พุทฺธคตา สติ
สติที่ไปในพระพุทธเจ้า มีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใด
ทั้งวันทั้งคืน พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้น จะหลับก็ตาม
จะตื่นก็ตาม ชื่อว่าตื่น ตื่นแล้วด้วยดี"


            ความตอนหนึ่งจากหนังสือ "หลวงพ่อ ดวัดปากน้ำ" มีว่า "อาศัยเหตุนี้ พุทธานุสติจึงเป็นคุณธรรมให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นประการแรก ดังนั้นหลวงปู่วัดปากน้ำจึง นใจนัก เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ ว่า อย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยังไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม แต่รับรองว่าตายแล้วก็ไม่ตกนรก ไป วรรค์แน่" ดังพุทธภาษิตว่า


"เยเกจิ พุทฺธ รณ คตาเส
น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
ปหาย มานุสฺส  เทห
เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺติ
ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นแลจำไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละ
ร่างกายนี้แล้ว ก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทว สมาคม"


            ดังนั้น พุทธานุสติจึงเป็นธรรมอารักขากัมมัฏฐาน รักษาใจบุคคลให้ควรแก่งานยิ่งนัก ดังที่หลวงปู่ได้เตือนศิษยานุศิษย์ ให้มีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ จึงเป็นที่น่านิยมน่าระลึกไว้ประจำตนทั่วไปผู้ปฏิบัติตามบทของสัมมา อะระหัง ย่อมจะได้เห็นแจ้งในสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทำลายการเวียนว่ายตายเกิดได้ ทำลายมานะได้ มีความอุตสาหะเต็มที่ มีความยินดีในธรรม คือ พระนิพพาน และฆ่าบาปธรรมได้สำหรับบท "อะระหัง" โดยเฉพาะนั้น คน สมัยก่อนหรือคน สมัยนี้ที่พอรู้เรื่อง นิยมนำไปใช้กับคนไข้หนักก่อนสิ้นลมหายใจ คือ กล่าวนำและเตือนเขาผู้กำลังจะสิ้นใจ ให้ท่องหรือนึกถึง"พระอรหัง"โดยเชื่อกันว่า ถ้าคนไข้มี ติน้อมใจตามคำบอกว่า อะระหัง เพียงใจได้สัมผัสเท่านั้น ก็จะไปเกิดในที่ดีไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จึงนิยมแนะนำกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้ในหนังสือวิสุทธิมรรคภาค 1 อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านให้คำจำกัดความบท
อะระหัง ไว้ชัดแจ้ง ดังบทพระบาลีว่า


"อารกตฺตา หตตฺตา จ กิเลสาริน โสมุนิ
หตสงฺสารกฺกาโร ปจฺจยาทีนมารโห
น รโห กโรติ ปาปานิ อรห เตน วุจฺจติ
"พระมุนีพุทธเจ้าพระองค์น้ัน ทรงนามว่า อรหัง เพราะเป็นผู้ไกลจากข้าศึก
และกำจัดข้าศึกคือ กิเลสได้ 1 เพราะเป็นผู้ทำลายสังสารจักรได้ 1
เพราะเป็นผู้ควรแก่สักการะ มีปัจจัย 4 เป็นต้น 1 เพราะเป็นผู้ไม่ทำความชั่วในที่ลับ "


           คุณค่าของบท "สัมมา อะระหัง" มีความหมายสูงมาก เป็นบทแสดงพระคุณอันสูงสุดของพระพุทธเจ้าโดยตรง การที่พระปรมาจารย์ทรงกรรมฐาน นำพุทธคุณบทนี้ไปใช้ในการบริกรรมฝึกจิต และฝึก สอนศิษย์ของตนนั้น นับว่าท่านเข้าใจ และมีจิตมุ่งสูงส่ง เพราะตลอดเวลาที่บริกรรม "สัมมา อะระหัง"ท่านจะต้องพยายามเข้าถึงบทบริกรรมนี้ให้ได้ กล่าวคือ มีจิตมุ่งทำลายกิเลสประพฤติตนเป็นนาบุญบริสุทธิ์และเว้นขาดจากความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง นับเป็นสุปฏิบัติโดยแท้

 

หยุดเป็นตัวสำเร็จ
            หลวงปู่ท่านสอนการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย โดยให้น้อมนำใจมาหยุดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตลอดเวลา หมั่นตรึกระลึกนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ประหนึ่งว่า ขาดการน้อมนึกอย่างนั้นไม่ได้ดังลมหายใจ กลวิธีที่ท่านใช้เป็นกุศโลบายให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับศูนย์กลางกาย ก็คือให้นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นองค์พระแก้วใสหรือเป็นดวงแก้วกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ มีบางท่านติเตียนท่านว่า สอนให้ติดรูป สอนให้ติดนิมิต เมื่อหลวงปู่ทราบท่านบอกว่า"เมื่อไม่ติดทำไมจึงจะรู้ว่าหลุด เปรียบเสมือนกับการขึ้นบันได ถ้าเราเหยียบบันไดไม่มั่นแล้ว เราจะก้าวต่อไปให้มั่นได้อย่างไร ถ้าเราจะเหยียบบันไดขั้นที่ 2 เหยียบบันไดขั้นที่ 1 ให้มั่นเสียก่อน แล้วเราจึงก้าวต่อไปถึงขั้นที่ 2 เมื่อจะก้าวต่อไปที่ขั้นที่ 3 ก็ต้องเหยียบขั้นที่ 2 ให้มั่น และเราก็ไม่ได้ติดอยู่ที่ขั้นเดียว"หลวงปู่ท่านอธิบายถึงความหมายของคำว่า หยุด ไว้ว่า "หยุดนั่นแหละ เป็นตัว สมถะเป็นตัวสำเร็จ"คือสำเร็จหมดทั้งทางโลกและทางธรรม "โลกที่จะได้รับความสุขได้ ใจก็ต้องหยุดตามส่วนของโลกธรรมที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ หยุดนั่นเองเป็นตัวสำคัญ หยุดคำเดียวเท่านั้นถูกทางสมถะตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆถูกโอวาทของพระบรมศาสดา ถ้าไม่หยุด จะปฏิบัติศาสนาสักกี่ปีก็ช่าง 4050 ปีก็ช่าง แต่ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ เป็นไม่ถูกร่องรอยพระพุทธศาสนา"หลวงปู่ท่านยกตัวอย่างเรื่ององคุลิมาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแก้ไข แ ดงธรรมะจนองคุลิมาลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยคำว่า หยุด คำเดียว เมื่อทำใจให้หยุดได้แล้ว ก็ต้องหยุดในหยุดๆ ไม่มีถอยหลังกลับ หยุดในหยุดๆ ๆ อยู่นั่นเอง ใจที่หยุดนั้นต้องถูกกลาง ถ้าไม่ถูกกลางก็ใช้ไม่ได้พอใจหยุดนิ่ง สนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้ว ก็เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น เรียกว่า ตกศูนย์ พอเห็นศูนย์ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้น กลางดวงในเท่าดวงอาทิตย์ดวงจันทร์นั้น ดวงนี้เรียกว่า ดวงธัมมานุปัสนา สติปัฏฐาน อีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือของพระอรหันต์ทั้งหมดในสากลโลก ท่านจะเข้านิพพานต้องไปทางนี้ทางเดียว ไม่มีทางแตกแยกจากกันไปแนวเดียวกันนี้หมด เพียงแต่ว่าการไปนั้น บางท่านเร็ว บางท่านช้า แล้วแต่วา นานิสัยของบางคนจะสั่งสมอบรมไว้

 

อานุภาพวิชชาธรรมกาย
สิ่งมหัศจรรย์ในวันเวียนเทียน
            อานุภาพของวิชชาธรรมกายนั้นมีมากมายเกินที่จะบรรยายได้หมด เพราะเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพไม่มีประมาณ ซึ่งหลวงปู่ได้ค้นพบกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง จะกล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างและเป็นกำลังใจต่อท่านที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายอย่างจริงจังดังนี้"สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ เมื่อถึงวันเวียนเทียน ท่านจะอาราธนาพระนิพพานให้มาปรากฏในพิธีเวียนเทียน ฉะนั้นในวันเวียนเทียนสาธุชนจึงมาร่วมงานกันจนล้นหลาม
เพื่อจะได้เห็นอานุภาพของวิชชาธรรมกาย ก่อนจะถึงพิธีเวียนเทียน หลวงปู่ท่านจะอธิบายถึง ความสำคัญของวันเวียนเทียนนั้นก่อน แล้ว สอนว่า ในขณะที่กำลังทำพิธีเวียนเทียน ให้ทุกคนทำจิตให้ เป็นสมาธิไปด้วยคือ ทำใจให้หยุดนิ่ง ให้เวียนเทียนด้วยอาการสำรวมระวัง ไม่พูดไม่คุย ไม่แสดงอาการ คึกคะนองอย่างหนึ่งอย่างใด ให้สำรวมกาย วาจา ใจ ให้ สงบ หลังจากนั้นท่านจะนำไหว้พระสวดมนต์"การสำรวมใจหรือการทำใจให้หยุดนิ่ง หลวงปู่หมายถึง การเอาใจไปหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐาน
ที่ 7สำหรับท่านที่เห็นอุคคหนิมิตเป็นดวงกลมใสแล้ว ก็ให้เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางดวงนั้น ท่านที่เห็นกายมนุษย์ละเอียด ก็ให้เอาใจไปหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายมนุษย์ละเอียด ท่านที่เห็นกายที่ละเอียดลึกซึ้งเข้าไปเท่าใด ก็ให้เอาใจไปหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายนั้นๆ ขณะที่เวียนเทียนทักษิณาวรรต 3 รอบ ให้ภาวนาว่า "สัมมา อะระหัง" เรื่อยไปเมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้วให้มองขึ้นสู่ท้องฟ้า เท่าที่เคยปรากฏมาแล้ว บางท่านเห็นพระพุทธรูปลอยอยู่ในอากาศ เป็นองค์ใสบ้าง ไม่ใสบ้าง เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์บ้าง ปางสมาธิบ้าง ปางประทานพรบ้างบางคนก็เห็นครึ่งองค์ บางคนก็เห็นเต็มองค์ บางคนเห็นเป็นกายเนื้อของ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดีสุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) เจ้าอาวา วัดราชโอรสาราม เล่าว่าในสมัยนั้นท่านยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดปากน้ำ เหตุการณ์ในวันเวียนเทียนเช่นนี้ ท่านก็เคยเห็นด้วยตาของตนเององค์พระธรรมกายลอยอยู่เต็มท้องฟ้าไปหมด

 

อานุภาพพระของขวัญ
            เรื่องการสร้างพระของขวัญนี้ หลวงปู่มีดำริให้สร้างขึ้น เพื่อหาทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมด้วยการมอบให้กับญาติโยมที่มีกุศลศรัทธาร่วมบริจาคเงินทำบุญตั้งแต่ 25 บาทขึ้นไป ท่านจะมอบพระผงให้ 1 องค์ เพื่อไว้สักการบูชา เป็นเครื่องระลึกนึกถึงพระพุทธคุณ และระลึกนึกถึงบุญที่ได้ร่วมสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม พระผงที่สร้างขึ้นนี้เป็นรูปองค์ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางประทานพรด้านหลังจารึกเป็นอักษรขอมว่า ธรรมขันธ์ โดยท่านตั้งชื่อว่า "พระของขวัญ"ส่วนผสมของพระผงที่หลวงปู่สร้างขึ้น ได้แก่ ผงแป้ง ดอกไม้หอมที่ได้บูชาพระประจำเช้าเย็น ดอกบัวดอกมะลิ เกสรดอกไม้ เป็นต้น นำมาตากแดดให้แห้ง เอามาป่นแล้วผสมกับผงแป้ง ที่สำคัญ คือ เส้นเกศาของหลวงปู่ส่วนผสมทั้งหมดนี้นำมาปันเป็นก้อนแล้วอัดเป็นบล็อกออกมาในการรับพระของขวัญ ผู้รับจะรับได้เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะทำบุญเท่าไรก็ตาม หลวงปู่จะแจกให้เพียงองค์เดียว จะฝากรับแทนกันก็ไม่ได้ เมื่อรับไปแล้ว หากทำหายจะมารับอีกหลวงปู่ก็ไม่ให้เหมือนกัน สมเด็จป๋าเคยถามหลวงปู่ว่า "เมื่อเขามาทำบุญตั้งพันบาทเช่นนั้น จะให้ของขวัญสัก 5 องค์10 องค์ ไม่ได้หรือ" หลวงปู่ตอบว่า "พระของเรามีคุณภาพสูงยิ่งกว่าราคาใดๆ เงินพันบาทหมื่นบาทยังไม่เหมาะสมกับคุณภาพของพระเสียอีก"แม้กระทั่ง สมเด็จป๋าเองได้รับพระจากหลวงปู่มาองค์หนึ่ง ต่อมาได้มอบพระของขวัญให้แก่เด็กคนหนึ่งไป เมื่อคราวที่พ่อแม่มาขอให้ตั้งชื่อให้ วันหนึ่งไปขอพระของขวัญกับหลวงปู่ใหม่ หลวงปู่ไม่ยอมให้ท่านบอกว่าต้ององค์เดียว ต่อมาไปพูดเลียบเคียงจะขออีกครั้ง หลวงปู่นิ่งเฉยไม่ยอมตอบ เป็นอันว่าไม่ให้แน่การแจกพระผงนั้น หลวงปู่ไม่ให้ใครนำออกไปแจกนอกวัด ต้องมารับที่วัดปากน้ำ และต้องรับจากมือหลวงปู่เท่านั้น ใครจะแจกแทนไม่ได้ แม้ว่าในบางครั้งท่านจะให้พระแก่ผู้ใดเป็นการส่วนตัวท่านก็ยังต้องบริจาคปัจจัยทำบุญสร้างโรงเรียนพระปริยัติให้แก่วัดเหมือนกัน เพราะท่านถือว่าท่านทำให้แก่วัด มิใช่ทำเพื่อส่วนตัว จะเอาเปล่าๆ ไม่ได้
ครั้งหนึ่ง สมเด็จป๋าพูดกับหลวงปู่ว่า จะขอพระของขวัญจากหลวงปู่ จะเอาติดตัวไปตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อใครต้องการจะได้ให้เป็นของขวัญแก่เขา หลวงปู่พูดว่า "ทำอย่างนั้นไม่ได้ พระของเรามีคุณภาพจริง ผู้อยากได้ต้องมาเอง ถ้าเอาไปอย่างนั้น ของดีก็กลายเป็นของเก๊ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส" หลวงปู่ยังพูดแถมท้ายอีกว่า "อย่ากลัวเลย แปดหมื่น สี่พัน 2 หนก็ไม่พอแจก" และก็เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่พูดไว้ ทั้งๆ ที่ทางวัดไม่ได้ทำใบปลิวแจ้งข่าว ในช่วงแรกจะรู้ข่าวกันเฉพาะภายในวัดปากน้ำก่อน เมื่อเกิดอานุภาพขึ้นกับตัวผู้ที่ได้รับพระไป ก็ทำให้ข่าวความศักดิ์สิทธิ์ของพระของขวัญแพร่กระจายออกไปทั่วประเทศเองโดยอัตโนมัติ ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลกันมากราบหลวงปู่เพื่อขอรับพระของขวัญกันมากมาย ที่เหมาเรือมาจากต่างจังหวัดนั้นมีเป็นประจำ ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก็มากในปี พ.ศ. 2493 ได้จัดพิมพ์พระของขวัญรุ่น 1 เป็นจำนวน 84,000 องค์ มีเจ้าของทุกองค์

 

            คนที่เป็นเจ้าของ เมื่อถึงเวลาไม่ว่าอยู่ไกลแค่ไหนก็จะข้ามน้ำข้ามทะเลมาเอา เมื่อแจกพระของขวัญไปได้ครึ่งหนึ่ง หลวงปู่ก็สั่งให้ทำพระของขวัญรุ่น 2 ขึ้นอีกเป็นจำนวน 84,000 องค์ ในปี พ.ศ. 2494 และหลังจากที่แจกพระของขวัญรุ่น 2 หมดไปครึ่งหนึ่ง หลวงปู่ก็อาพาธ (พ.ศ. 2499) จึงได้มอบหน้าที่นี้ให้แก่พระครู สมณธรรม สมาทาน (ธีระ คล้อสุวรรณ)1 ในระหว่างที่หลวงปู่อาพาธ ท่านได้สั่งทำพระของขวัญรุ่น 3 อีกจำนวน 84,000 องค์ พระของขวัญที่หลวงปู่ทำจึงมีเพียง 3 รุ่นเท่านั้น แล้วก็หมดทุกองค์ไม่พอแจกจริงๆพระของขวัญรุ่น 1 ได้ทำพิธีบรรจุอานุภาพพระธรรมกายตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลอดพรรษา หลวงปู่นำออกมาแจกให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมในวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2493 ในอภิลักขิต มัยคล้ายวันเกิดของท่าน ณ พระอุโบสถวัดปากน้ำพระของขวัญรุ่น 2สร้างเมื่อ พ.ศ. 2494 แต่นำออกมาแจกเมื่อ พ.ศ. 2497พระของขวัญรุ่น 3สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 นำออกมาแจกเมื่อ พ.ศ. 2505ใน สมัยนั้นหลวงปู่ท่านลงแจกพระตามเวลาดังนี้เช้า หลังฉันภัตตาหารเช้ากลางวัน หลังฉันภัตตาหารเพล ตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป บางวันมีคนมามาก แจกถึง3 โมงเย็นก็มีเย็น หลัง 5 โมงเย็นเป็นต้นไปในช่วงที่มีคนมารับพระมาก หลวงปู่ย้ายไปแจกพระที่พระอุโบสถ โดยท่านจัดให้มีพระภิกษุคอยจัดคนเข้าออกคนละประตู คือ ประตูหน้าสำหรับเข้าไปรับพระ ออกทางประตูหลัง พอคนเต็มหลวงปู่จะสั่งให้ปิดประตูพระอุโบสถ คอยจนกว่าคนที่ข้างในเริ่มน้อยลงแล้วจึงเปิดประตูหน้าให้คนเข้าไปใหม่ทำให้ใน สมัยนั้นวัดปากน้ำคึกคักเหมือนมีงานมหรสพในวันหนึ่งๆ หลวงปู่ต้องอธิบายให้ผู้ที่จะรับพระของขวัญได้ทราบถึงวิธีอาราธนา และใช้พระของขวัญเป็นร้อยเป็นพันครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันวิสาขบูชา มีคนเดินทางมารับพระของขวัญประมาณ 1,500 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ทางวัดได้ซื้อเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงของหลวงปู่ไว้ เป็นการแบ่งเบาภาระของท่าน ได้บันทึกเสียงการอธิบายของหลวงปู่ไว้ 2 แบบ แบบแรกใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ท่านจะอธิบายโดยละเอียดถี่ถ้วน แบบที่ 2 ใช้เวลาอธิบายประมาณ 15 นาทีสำหรับเปิดในกรณีที่มีผู้คนมาเป็นจำนวนมาก และผู้มารับพระมีเวลาน้อย รีบร้อนจะกลับ หลวงปู่ถึงกับออกปากว่า การใช้เครื่องบันทึกเสียงนั้นดีมากสามารถช่วยแบ่งเบาภาระได้มากในการรับพระของขวัญนั้น หลวงปู่ท่านได้เมตตาให้คำอธิบายพระของขวัญ และยังได้เล่าถึงอานุภาพพระของขวัญที่ผู้ที่ได้รับไปแล้วประสบกับตัวเองไว้ด้วย ดังนี้"บัดนี้ ท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ได้เสียเวลา สละให้เป็นส่วนของพระพุทธศาสนาโดยตรงมา สมทบทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติ ที่ท่านได้เสีย ละโลกียทรัพย์สร้างโรงเรียนพระปริยัติอย่างนี้ ได้ชื่อว่าทำถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นศาสนสมบัติให้ศาสนาแล้ว ท่านผู้สร้างสมบัติให้ศาสนานั่นแหละ จักเป็นเหตุที่ตั้งให้มีสมบัติไม่รู้จักสิ้นเสื่อมเหตุนี้ ท่านทั้งหลายที่ได้เสียสละทรัพย์ลงไปแล้ว 25 บาท 30 บาท 50 บาท ตามศรัทธาของตนที่สละลงไปนั้น ก็ได้ชื่อว่าทำผลถาวรให้แก่เจ้าของ เจ้าของทรัพย์นั่นเองได้รับผลต่อไปภายภาคหน้า ที่ฝากไว้ในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ไม่เสื่อมทรามนับชาติไม่ถ้วน เพราะท่านบริจาคของ ท่าน ละทรัพย์ จะส่งผลให้ท่าน ในมนุษย์ก็จะส่งผลของมนุษย์ให้ ในทิพย์ก็จะส่งผลที่เป็นทิพย์ให้ ในกามภพนี้จะได้ สบสมบัติในภายหน้านับประมาณไม่ได้ เหตุนี้ดังนี้ ท่านทั้งหลายได้เป็นผู้อุปถัมภ์พระศาสนาเช่นนี้
ฝ่ายทางพระศาสนาที่ได้รับสมบัติของท่าน ก็จะมีของตอบแทนแก่ท่าน คือ ของศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งซึ่งเราทั้งหลายยังไม่เคยพบเคยเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ อาจจะเป็นได้จริงหรือคาดคะเนไม่ถูกผู้พูดนี้เองเป็นผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าในนิพพานมีธรรมกายมากด้วยกันได้ไปอาราธนาพระพุทธเจ้ามานับพระนิพพานไม่ถ้วน นับอสงไขยก็ไม่ถ้วน มาผลิตของขวัญนี้ให้ปรากฏขึ้นในมนุษย์

 

            ธรรมกายในมนุษย์นี้ก็ได้เข้า สมทบด้วยดูแลการงานนั้นๆ ท่านทำอย่างไรก็ทำไปตามท่าน พระพุทธเจ้าท่านจัดแจงทำทั้งนั้นตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนกระทั่งถึงวันออกพรรษาวินาทีหนึ่งมิได้หยุดเลย ท่านกระทำความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
พอออกพรรษาแล้ว พอได้อรุณก็สำเร็จด้วยความประสงค์ของท่านในการผลิตของขวัญ องค์ต้นทรงรับสั่งว่า"ของศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก" แล้วก็หับพระโอษฐ์ทีเดียว เมื่อรับสั่งดังนี้แล้วเราก็คำนวณว่า ศักดิ์สิทธิ์เพียงแค่ไหนเพียงใดคำนวณไม่ถูกผู้พูดนี้ก็ได้ลงมือแจกในวันแรม 6 ค่ำ เป็นวันเกิดของผู้พูดนี้ ได้แจกของขวัญออกไป อัศจรรย์ต่างๆ
ความศักดิ์สิทธิ์ของของขวัญนั้น ผู้ที่ได้รับไปแล้ว นางเขียว บางไผ่ เป็นผู้หญิงอายุ 80 กว่า ได้รับพระ เอาไปแล้วเอาไปไว้บนหลังมุ้ง พอค่ำลงเท่านั้นเปล่งรัศมี ว่างเต็มบ้านเต็มช่อง พากันตกตะลึงเพราะไม่รู้เรื่องอะไรกัน ทะเลือกทะลักไปตามกันพักใหญ่นานอยู่ แล้วแสงนั้นก็ค่อยโทรมลงไป โทรมลงไป ก็มารวมอยู่ที่ว่างหลังมุ้ง นางเขียวก็รู้ว่าพระของขวัญเอาไว้ที่นั่น แสงสว่างนี้ออกจากพระของขวัญนั้นเอง แต่เช้าเชียวมาหาผู้พูดนี้ บอกว่าท่าน เมื่อคืนนี้แสงสว่างเกิดที่บ้านดิฉัน พระท่านเปล่งรัศมีสว่างเชียว เดิมทีก็ไม่รู้ว่าอะไร แล้วก็มารวมอยู่ที่พระจึงรู้ว่าพระ รูปร่างนางเขียวเมื่อวันมารับพระของขวัญนั้น มีโรคภัยไข้เจ็บเป็นประจำอยู่ คืนเดียวเท่านั้น เวลามาบอกเช้าร่างกายเปล่งปลั่งไปหมด แปลกกว่าปกติเดิมทีเดียว ผิวพรรณเกลี้ยงเกลาไปหมด ดูสะอาดสะอ้าน มีผิวพรรณวรรณะ เขารู้สึกว่าของขวัญนี้อัศจรรย์ แปรชั่วเป็นดีได้ขนาดนี้เชียวหนอ เรารู้สึกว่า ศักดิ์สิทธิ์เพียงแค่นี้แลหรือ"ผู้ที่ได้รับพระของขวัญไปแขวนประจำตัว ต่างก็ประสบความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหารของพระของขวัญกันมากมายหลายแบบ บางคนก็ทำมาค้าขึ้น ร่ำรวยจนตัวเองก็แปลกใจ บางคนตกต้นตาลสูงๆแล้วไม่เป็นอะไรก็มี บางคนประสบอุบัติเหตุร้ายแรง คนอื่นๆ เสียชีวิตหมด มีแต่ผู้ที่แขวนพระของขวัญเท่านั้นที่รอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารที่ออกรบในสมัยสงครามเกาหลี หลวงปู่ท่านเล่าว่า "ที่เขาเล่าในทางเกาหลี ทหารอังกฤษ อเมริกัน ทหารฝรั่งกำลังคุยกันอยู่ มีทหารไทยอยู่บ้างลูกระเบิดทำลายมันตกลงกลางประชุมกำลังคุยกันอยู่นั้น ปึงเดียวเท่านั้นตายหมด เหลือไทยคนเดียวมีของขวัญอยู่ในตัว ฝรั่งให้เหรียญกล้าหาญแก่ไทยคนนั้นยังปรากฏอยู่ นี่ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น"เรื่องอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของพระของขวัญนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ปีที่ 6สัปดาห์ที่ 280 วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ได้เสนอข่าวตีพิมพ์จดหมายของสิบตรี วาสนา อาคมวัฒนะแห่งกรมผสมที่ 21 ที่เขียนมาจากเกาหลี เล่าถึงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระของขวัญที่ตนและเพื่อนอีกคนหนึ่งได้รับไปจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ว่ากระสุนปืนใหญ่ของข้าศึกยิงถูกคลังกระสุน ไฟไหม้ถังน้ำมันจนเกิดเป็นแสงอร่ามไปทั่วผู้ที่พักอยู่ในที่นั้นต้องกระจัดกระจายไป ปืนและเครื่องเหล็กละลายไปกับกองไฟใหญ่นั้น เพื่อนทหารคนหนึ่งทิ้งห่อพระไว้ ตอนสายๆ เพลิงค่อย สงบลงจึงรีบรุดไปยังที่นั้นกัน ก็เห็นพระอันน่าประหลาดที่ห่อผ้าเช็ดหน้าแขวนเด่นอยู่กับเสาเหล็ก เป็นที่ประหลาดใจแก่ทหารทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะแม้แต่เหล็กก็ยังละลาย แต่ผ้าขาวที่ห่อพระไม่ได้ลงเลขยันต์อะไร กับพระอีกองค์หนึ่งยังคงอยู่ใน สภาพปกติมิได้เสียหายเลย เป็นพระเครื่องวัดปากน้ำ ภาษีเจริญส่วนพระเครื่องของอาจารย์ต่างๆ แหลกละเอียดอีกทั้งตนเองนั้นก็รอดตายจาก สมรภูมิหลายต่อหลายครั้ง เนื่องจากมีการยิงขนาดเผาขนกันไม่เว้นแต่ละวันก็รอดมีชัยมาได้ทุกครั้ง บางครั้งอยู่ในวิถีปืนที่ยิงมาอย่างหนัก ถ้าไม่มีโอกาสเพ่งศูนย์กลางตัวได้ก็เพียงภาวนาดังกล่าว และระลึกถึงอาจารย์ คือ หลวงปู่ ก็พอแล้วสามารถคุ้มกันได้และพลอยคุ้มเพื่อนฝูงไปได้อีกด้วย

 

ยุทธการปัดระเบิด
            สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงปู่ท่านคุมลูกศิษย์ที่ได้ธรรมกายทุกคนให้ใช้วิชชาธรรมกายช่วยประเทศ ด้วยการซ่อนเมือง ซ่อนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ พรางตาให้เห็นเป็นป่า เป็นทะเล ให้เห็นป่าเห็นทะเลว่าเป็นเมือง เป็นจุดยุทธศาสตร์ หลวงปู่คุมการทำงานนี้ด้วยตัวเองทั้งวันทั้งคืน ลูกศิษย์ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปกป้องประเทศด้วยวิชชาธรรมกายท่านหนึ่ง คือ อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง(ปัจจุบันเหล่าศิษยานุศิษย์เรียกท่านว่า คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง)คราวหนึ่งหลวงปู่ถามว่าเครื่องบินข้าศึกจะมากี่โมง คุณยายตรวจดูด้วยญาณก็เห็นว่าเป็นตีหนึ่งจึงตอบไปตามนั้น พอถึงเวลาตีหนึ่ง เสียงสัญญาณเตือนภัยก็ดังขึ้น คุณยายก็ใช้วิชชาธรรมกายปัดระเบิดลงทะเลตามคำสั่งของหลวงปู่ ในสมัยนั้นหนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวว่า มีคนหลายคนมองเห็นแม่ชีเหาะขึ้นไปปัดลูกระเบิด ภายหลังมีผู้ไปสอบถามผู้สูงอายุแถวสะพานพุทธ ซึ่งอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นก็ยืนยันกันว่ามีคนเห็นกันหลายคน และหนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวไว้ด้วยหลังจากสงครามสงบได้สองวัน หลวงปู่เรียกประชุมศิษย์แล้วได้กล่าวชมคุณยายว่า "ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง" เป็นครั้งเดียวที่คุณยายได้รับคำชม ซึ่งหลวงปู่ก็ไม่ค่อยชมใครในเรื่องทำวิชชา

 

-------------------------------------------------------------------

GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022116502126058 Mins