นิทานชาดกเรื่อง
ลูกกวางหัวดื้อ
ขราทิยชาดก ว่าด้วยโทษของการว่ายากสอนยาก
ภาพ ป๋องแป๋ง
ลงสี ปูเป้
จบ
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ
ขราทิยชาดก
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::
.....พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อแรกบวช มีความตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ครั้นนานเข้า ก็เกิดความเบื่อหน่าย คลายความเพียร เมื่อพระเถระและเพื่อนพระภิกษุด้วยกันตักเตือนเท่าไร ก็ไม่เชื่อฟังกลับดื้อรั้นโต้เถียงไม่ลดละ
..... ความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ทรงซักถามได้ความเป็นจริงแล้ว จึงตรัสว่า
....."ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ได้เป็นคนดื้อเฉพาะแต่ในชาตินี้เท่านั้นหรอกนะ แม้เมื่อชาติก่อน เธอดื้อด้านเสียจนกระทั่งต้องไปติดบ่วงตายมาแล้ว"
.....จากนั้น พระพุทธองค์ทรงนำ ขราทิยชาดก มาตรัสดังนี้
:: ข้อคิดจากชาดก ::
.....๑. ลูกดื้อๆ มักจะทำให้พ่อแม่เสียใจอยู่เนืองๆ และหากความดื้อรั้นนั้นเป็นเหตุทำให้ลูกถึงแก่ความตาย ก็จะทำให้เสียใจทวีขึ้นเป็นลำดับ เพราะลูกจะดื้อรั้นสักเพียงใด พ่อแม่ก็รักดังดวงใจ พ่อแม่และผู้ใหญ่ควรยึดถือแนวทางต่อไปนี้ในการอบรมบุตรหลาน คือ
.....๑. ควรฝึกให้ลูกหลานรู้จักกราบไหว้ รู้จักแสดงความเคารพ และสวดมนต์ก่อนนอนเป็นประจำ จะทำให้มีจิตใจอ่อนโดย ไม่หัวดื้อ ว่ายาก
.....๒. ทำความดีให้ลูกหลานดู เด็กจะได้จดจำยึดถือเป็นแบบอย่าง
.....๓. ไม่ทำชั่วเด็ดขาด เช่นไม่ดื่มเหล้า
.....๔. ไม่เข้าข้างลูกหลานเมื่อเขาทำผิด
.....๕. หาเพื่อนที่ดีให้ลูกหลาน อย่าปล่อยให้เที่ยวเล่นกับเพื่อนเกเร มิฉะนั้น จะติดนิสัยพาลเกเรมา
.....๖. หาหนังสือที่ดีมีสาระมาให้อ่าน
.....๗. หาครูบาอาจารย์ที่ดีมาอบรมสั่งสอนลูกหลาน
.....๒. นิสัยของคนเรา ไม่ว่าดีหรือเลว จะติดตัวข้ามภพข้ามชาติได้ คนที่มีนิสัยดื้อรั้นควรรีบแก้ไขเสีย มิฉะนั้นจะไม่มีใครอยากแนะนำตักเตือน ควรถือว่า บุคคลที่ชี้โทษว่ากล่าวตักเตือนเรา เป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ เพราะทำให้เรารู้จุดที่ควรจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น
....๓. เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดที่แปลกใหม่ อย่ารีบปฏิเสธ อันเป็นวิสัยของคนดื้อ ว่ายาก แต่ก็ไม่เชื่อฟังทันที เพราะจะเข้าลักษณะคนหูเบา หลงงมงาย ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน จึงค่อยตัดสินใจว่าควรเชื่อหรือไม่
.....๔. ให้คิดเสมอว่า ตนเป็นผู้ไม่รู้ พึงต้องมีครู