สกุณชาดก นกหัวดื้อ ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นกหัวดื้อ สกุณชาดก ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก ตอนจบ

ตอนจบ


นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ

สกุณชาดก 
ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

ผลงานของนักเรียนการ์ตูน: บี,มิ้ง,มิ้น,ฝนและฝน

 

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก

นิทานชาดกเรื่อง นกหัวดื้อ  สกุณชาดก  ชาดกว่าด้วยการเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก



จากหนังสือนิทานชาดกของหลวงพ่อทัตตะชีโว เล่ม4

 

สกุณชาดก

.....สาเหตุที่ตรัสชาดก

.....ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่งตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐาน จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ครั้งใกล้เวลาเข้าพรรษาจึงได้กราบลาพระพุทธองค์ไปเจริญภาวนาตามลำพังในเขตชนบทแคว้นโกศล โดยอาศัยศาลาแห่งหนึ่งพักพิง

.....แต่ต่อมาไม่กี่วัน ศาลานั้นถูกไฟไหม้ไปส่วนหนึ่งไม่สามารถใช้คุ้มแดดคุ้มฝนได้ พระภิกษุรูปนั้นจึงขอร้องชาวบ้านให้ช่วยซ่อมแซมให้ แม้จะข้อร้องอยู่หลายครั้ง แต่ชาวบ้านก็ขอผลัดไปก่อนเสียทุกครั้ง โดยอ้างว่าขอระบายน้ำเข้านาก่อนบ้าง ขอหว่านข้าวก่อนบ้าง ขอเก็บเกี่ยวก่อนบ้าง เป็นอยู่เช่นนี้ จนกระทั่งเวลาล่วงเลยไปถึง ๓ เดือน ท่านจึงไม่สามารถเจริญภาวนาให้ก้าวหน้าได้ดังที่ตั้งใจไว้

.....ครั้งออกพรรษาแล้ว พระภิกษุรูปนั้นจึงกลับไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เชตวันมหาวิหาร พระพุทธองค์ตรัสถามถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม พระภิกษุรูปนั้นจึงกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้เจริญก้าวหน้าได้ เพราะไฟไหม้ศาลาที่พักไปแถบหนึ่ง ต้องอยู่ด้วยความลำบากตลอดพรรษา พระพุทธเจ้าข้า”

.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สดับดังนั้น จึงทรงตำหนิว่า “ ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานยังรู้จักเลือกที่อยู่ให้สบาย เหตุใดเธอจึงไม่รู้ว่าที่ไหนควรอยู่ ที่ไหนไม่ควรอยู่ ” ตรัสดังนี้แล้ว ทรงนำ สกุณชาดก มาตรัสเล่าเปรียบเทียบ ดังนี้


.....เนื้อหาชาดก

.....ในอดีตกาล ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีพญานกตัวหนึ่งได้พาบริวารนับพันๆ ตัวเข้ามาอยู่ที่ต้นไม้ใกล้ๆ กัน นกทั้งหลายต่างหากินอยู่กันในป่าด้วยความผาสุขตลอดมา อยู่มาวันหนึ่ง มีลมพัดแรงจัดเป็นเวลานาน ทำให้กิ่งไม้แห้งในบริเวณนั้นเสียดสีกันจนเกิดควันขึ้น พญานกเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่าสักวันหนึ่ง ไฟจะต้องลุกไหม้ต้นไม้เหล่านี้อย่างแน่นอน จึงบอกกับบริวารทั้งหลายว่า

.....“ นกทั้งหลายเอ๋ย ใครอาศัยต้นไม้ต้นใด บัดนี้ต้นไม้ต้นนั้นจะเกิดไฟไหม้ขึ้นแล้ว พวกเจ้าทั้งหลายจงพากันไปอยู่ที่อื่นเถิดภัยกำลังจะเกิดจากที่พึ่งของเราแล้ว ” บริวารที่เชื่อฟังก็พากันบินตามพญานกไปหาที่อยู่ใหม่ แต่บริวารอีกส่วนหนึ่งกลับดื้อดึง อวดดี ไม่ยอมทิ้งรังตามไปด้วย ซ้ำยังกล่าวว่า

.....“ โธ่เอ๋ย ทำเป็นขี้ขลาดตาขาวไปได้ แค่เห็นน้ำหยดเดียวก็กลัวว่าจะมีจระเข้เสียแล้ว ” บางตัวก็ทำเป็นอวดรู้ว่า “ ธรรมดาไฟไหม้ป่า ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เราอยู่มาตั้งแต่เกิดแล้ว ไม่เห็นจะมีอันตรายอะไรเลย ” 

.....ต่อมาไม่นาน มีลมพายุพัดอื้ออึงมาเป็นเวลานาน กิ่งไม้ถูกลมพัดเสียดสีไปมาจนเกิดเป็นสะเก็ดไฟ กระเด็นไปถูกใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นอยู่ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เปลวไฟจึงลุกโชติช่วงขึ้นและลามติดต้นไม้ในบริเวณนั้นอย่างรวดเร็ว นกทั้งหลายเหล่านั้นต่างบินออกจากรังไปคนละทิศคนละทาง แต่ไม่ว่ามันจะบินไปทางใด ก็เห็นแต่ควันไฟหนาทึบปิดกั้นไว้ทุกทาง นกเหล่านั้นต่างสำลักควันไฟสิ้นแรงตกลงในกองเพลิงอย่างอเนจอนาถ

 

.....ประชุมชาดก

.....ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชาดกจบลง ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยอเนกปริยายไปตามลำดับ พระภิกษุรูปนั้นสามารถทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ได้เข้าถึงธรรมกายพระโสดา บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ณ ที่นั้นเอง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า

นกทั้งหลายที่เชื่อฟังในครั้งนั้น            ได้มาเป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้
พญานก                                     ได้มาเป็นพระองค์เอง


.....ข้อคิดจากชาดก

.....๑. การจะทำกิจทั้งหลายทั้งทางโลกและทางธรรมให้สำเร็จลุล่วงได้ผลดีนั้น ที่อยู่อาศัยตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่สบาย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง จึงสมควรศึกษาให้รู้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องและรู้จักเลือกให้เหมาะสมกับตนเอง

.....๒. หมั่นฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักระวังภัยเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นอย่าเพิกเฉย ต้องตื่นตัว รู้จักคิดพิจารณาถึงเหตุถึงผลที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าแล้วหาทางป้องกันและแก้ไขเสีย ดังเช่น พญานกเห็นควันไฟเพียงเล็กน้อยก็สามารถพิจารณาเห็นภัยที่จะตามมา และตัดสินใจแก้ไขโดยไม่รอช้า

.....๓. ไม่ควรยึดถือในวิ่งที่คุ้นเคย เช่น ที่อยู่ที่สุขสบาย จนไม่ตระหนักถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ดังเช่น พญานกตัดสินใจทิ้งต้นไม้ที่ตนเคยอยู่อย่างสุขสบาย โดยไม่อาลัยอาวรณ์เพื่อไปหาที่อยู่ใหม่

.....๔. การเป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยากเป็นการทำลายประโยชน์ตน และเป็นโทษต่อตนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่โง่แล้วยังอวดฉลาด ในที่สุดมักจะได้รับโทษภัยอย่างมหันต์ จนอาจถึงแก่ชีวิติได้

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * นิทานชาดก แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล