หนังสือ ศาสตร์แห่งสมาธิ The Science of Meditation
โดย พระมหาสมชาย ฐานวฺฑฺโฒ M.D., Ph.D
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
คำนำ
การศึกษาก้บการพัฒนาศีลธรรมมีความสัมพันธ์ก้นอย่างใกล้ชิด คำว่า "ศึกษา" มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับคำบาลีว่า "สิกขา" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ระบบการศึกษาที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการศึกษาบนหลักการที่ว่า ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ ผู้ที่รักษาศีลดี ใจย่อมปลอดโปร่งไม่มีความเดือดร้อนใจ ทำ ให้ใจเป็นสมาธิได้ง่ายและสมาธิทำให้เกิดปัญญา จะเห็นได้ว่าสมาธิอยู่ในฐานะเป็นแกนกลางของการศึกษา
ระบบการศึกษาในปัจจุบันเน้นการแสวงหาปัญญาจากการอ่าน การจำ (สุตมยปัญญา) การตรึกตรอง การขบคิด การค้นคว้าวิจ้ย (จินตามยปัญญา) โดยละเลย ศีล สมาธิ และภาวนามยปัญญา (ความเห็นแจ้ง) ฐานของปัญญาจึงง่อนแง่น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมายปัจจุบันในโลกตะวันตกเริ่มตระหนักถึงความบกพร่องของระบบการศึกษาที่ใช้กันอยู่และหันมาสนใจสมาธิมากขึ้น เรื่อยๆ จนถึงขึ้นยกสมาธิว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อความสุขความสำเร็จของมนุษย์ทุกคน ข้ามพ้นความเขื้อในศาสนา กลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติ
"ศาสตร์แห่งสมาธิ" ได้สรุปสาระที่น่ารู้เกี่ยวกับสมาธิในฐานะเป็นฐานของการศึกษาที่สำคัญยิ่ง
ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นมรดกธรรมลํ้าค่าที่บรรพบุรุษไทยได้รักษาสืบทอดมาถึงเราในปัจจุบ้น เราจึงควรศึกษาอย่างจริงจังและนำหลักคำสอนของพระพุทธองค์นี้ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ให้เยาวชนไทย เก่ง ดี มีสุข เป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติสิบไป
ฐานวุฑฺโฒ ภิกขุ
วันวิสาขบุชาที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
สารบัญ
สมาธิ ....................................................................... ๗
ปัญญา ๓ ระดับ ........................................................ ๑๒
สมาธิในสังคมตะวันตก ............................................... ๑๘
ชีวิตหลังความตายมีจริงหรือไม่ .................................... ๓๗
กรณีตัวอย่างที่ ๑ สตีฟ จ๊อปส์ ...................................... ๔๗
กรณีตัวอย่างที่ ๒ ดร.สตีเฟ่น โควี่ ................................. ๗๑
วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น ................................................... ๘๑