หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf คลังหนังสือธรรมะ วารสาร นิตยสาร รายเดือน แจกฟรี . pdf อีบุค (ebooks)

คลังหนังสือธรรมะ วารสาร นิตยสาร รายเดือน แจกฟรี .pdf อีบุค (ebooks)

หนังสือแจกฟรี สามารถเปิดอ่านได้จาก เครื่องอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) ทั่วไป เช่น ipad, ipod, iphone และอุปกรณ์อื่นๆ เปิดอ่านได้ทันทีจากที่ไหนก็ได้

ชื่อหนังสือ สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf

สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก

 

สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก

คำนำ
          ผู้เขียนใช้เวลาศึกษาและเรียบเรียงสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกเล่มนี้เป็นเวลาประมาณ 1 ปี โดยเริ่มต้นจากการอ่านและเก็บข้อมูลศาสตร์ในทางโลกจากนั้นก็พยายามอ่านพระไตรปิฎกในส่วนพระวินัยและพระสูตรให้ครบทุกเล่ม ซึ่งมีอยู่ 33 เล่ม  สำหรับพระอภิธรรมอีก 12 เล่มอ่านเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้ เพราะเนื้อหาส่วนสำคัญในพระอภิธรรมลงลึกเรื่องจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
          เป้าหมายของการอ่านในเบื้องต้นคือ การรวบรวมและแยกข้อมูลออกเป็นศาสตรต์ต่างๆ โดยดูว่าเนื้อหาส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ใดก็จัดไว้ในศาสตร์นั้นเมื่อรวบรวมข้อมูลได้มากพอเเล้ว จึงนำข้อมูลเเต่ละศาสตร์มาจับระบบระเบียบ ศุกษาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์เเล้วเรียบเรียง
        สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกเล่มนี้จะมีการเปรียบเทียบกับศาสตร์ต่าง ๆ ในทางโลกโดยเปรียบเทียบกับศาสตร์ต่างๆในทางโลก โดยเปรียบเทียบในเเง่ของความสอดคล้องบ้างเเละความต่างบ้าง ความจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องตระหนักคือ ความรู้ต่าง ๆ ที่เราได้รับนั้นมาจากการเปรียบเทียบโดยมาก การเปรียบเทียบนี้ยังเป็นหลักการพื้นฐานแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์จากหน้ามือเป็นหลังมือมาแล้ว
       เราไม่รู้หรอกว่าตัวของเราสูงหรือต่ำหากเราไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่น ถ้าเราเกิดเเละเติบโตในป่าโดยไม่ได้เจอคนอื่นเลย เราจะขาดความรู้ต่างๆมากมาย คำว่าตัวเราขาว ดำ หล่อ สวย ขี้เหร่ เป็นต้น จะไม่มีอยู่ในความคิดเรา เพราะในความรู้สึกของเรานั้นโลกทั้งโลกมีเราอยู่คนเดียวเราไม่ได้เห็นคนที่ต่างจากเรา ทำให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเราเองบางประการไม่เเจ่มชัด
       เวลาที่เรามองดูกระจกหลายท่านอาจจะเคยคิดว่าตัวเองดูดีแล้ว แต่เมื่อใครก็ตามมายืนอยู่ข้างหลังเรา ความคิดเราอาจจะเปลี่ยนไป บางคนอาจจะรู้สึกว่า ตัวเองดูดียิ่งขึ้น บางคนอาจจะเฉยๆ เเต่บางคนอาจจะรู้สึกเเย่ลงเนื่องจากได้เห็นความจริงอย่างชัดเจน เพราะในกระจกไม่ได้มีภาพเราคนเดียว เเต่มีภาพ 2 คนให้เปรียบเทียบกัน จริงๆ เเล้วหน้าตาก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เเต่ความรู้สึกของเราอาจจะเปลี่ยนเพระได้รู้ตำเเหน่งที่เเท้จริง "หน้าตาของเราอยู่ตำเเหน่งไหน" คือดีกว่าเขา เท่าเขาหรือด้อยกว่าเขา
       การศึกษาพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน หากได้เปรียบเทียบกับศาสตร์อื่นหรือศาสนาอื่นบ้าง เราจะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้แจ่มชัดขึ้น และจะเห็นคุณค่าของพระธรรมคำ สอนมากขึ้น
      หนังสือเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยความรู้อันล้ำค่าจากครูอาจารย์ทุกท่านตั้งเเต่ พระบรมครูคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เเม้จะทรงปรินิพพานไปนานเเล้วเเต่พระธรรมคำสอนยังมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกให้ได้ศึกษาเป็นเเสงสว่างนำทางชีวิต        ผู้เขียนได้ความรู้อย่างมากจากหนังสือมรดกธรรม69 กัณฑ์ ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ด้วยเหตุที่หลวงปู่เชี่ยวชาญทั้งปริยัติเเละปฏิบัติ ทำให้พระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้งยิ่ง ช่วยให้ผู้เขียนเข้าใจคำสอนในพระไตรปิฎกได้ดียิ่งขึ้น
     เเละที่สำคัญต้องกราบขอบพระคุณ พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี(หลวงพ่อธัมมชโย) ผู้เป็นต้นบุญต้นเเบบให้ผู้เขียนได้เลือก
ดำเนินชีวิตในเส้นทางนักบวช เเละอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์อย่างมีความสุขภายใต้บารมีธรรมของหลวงพ่อมาได้ 18 พรรษา 
     ผู้เขียนกราบขอบพระคุณ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาจาย์(หลวงพ่อทัตตะชีโว) ผู้เป็นเเรงบันดาลใจ เป็นต้นบุญต้นเเบบในการอ่านพระไตรปิฎกเเละให้เเนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์พระไตรปิฎกได้อย่างเเจ่มชัด
    คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกของหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านธรรมะปฏิบัติมาก คำสอนของท่านเรียบง่ายเเต่ลึกซึ้ง เป็นอุปการะเเก่ผู้เขียนอย่างมาก
     นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้รับความรู้ เเนวคิด หลักการศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ หลักการเรียบเรียง ตลอดจนได้รับความเมตตาใน
การตรวจเเก้ไขต้นฉบับจากพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D.,Ph.D.) ผู้ช่่วยเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย เเละอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมกาย เเคลิฟอร์เนีย (Dhammakaya OpenUniversity, California, USA)
   ผู้เขียนขอบคุณผู้ประสานงานจัดทำหนังสือ ได้เเก่ กัลฯเขมิกา วรสันต์โต, กัลฯ สุภาพร ประสิทธิ์ เเละเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมกาย เเคลิฟอร์เนีย ทุกท่าน ขอบคุณ กัลฯ สันทัด ศักดิ์สาคร ซึ่งได้ช่วยจัดรูปเล่มเเละงานศิลปกรรม (Artwork)เเละขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่านซึ่งมีส่วนสำคัญให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จ
   หากมีข้อบกพร่องอันใดในหนังสือเล่มนี้ ขอความกรุณาผู้อ่านช่่่วยให้คำเเนะนำมาด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูง เพื่อที่ผู้เขียนจะได้นำมาปรับปรุงให้หนังสือสมบูรณืยิ่งๆขึ้นไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยเเผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาให้กว้างไกลจะได้เป็นประทีปส่องทางชีวิตให้เเก่ชาวโลกทั้งหลายสืบไป

สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ......................................................................................15    
บทที่ 2 สรรพศาสตร์ในทางโลก............................................................... 19
2.1 ภาพรวมสรรพศาสตร์ในทางโลก......................................................... 19
2.2 หลักการเบื้องต้นของแต่ละศาสตร์ .......................................................24
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ............................................................ 61
3.1 ความหมายของเอกภพ..................................................................... 61
3.2 ทฤษฎีสำคัญสำหรับศึกษาเอกภพ .......................................................62
3.3 การกำ เนิดและโครงสร้างของเอกภพ ..................................................79
3.4 หลุมด สิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ............................................................ 83
3.5 จีโนมหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต .........................................................85   
บทที่ 4 หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก.................................................... 89
4.1 ภาพรวมหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก.............................................. 89
4.2 นิพพาน ........................................................................................90
4.3 ความไม่ประมาท............................................................................. 91
4.4 ละชั่ว ทำดี ทำ ใจให้ผ่องใส............................................................... 93
4.5 มรรคมีองค์ 8 ................................................................................ 94
4.6 ไตรสิกขา..................................................................................... 96
4.7 พระไตรปิฎก.................................................................................. 97
4.8 นิยาม 5......................................................................................... 97
บทที่ 5 มนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎก......................................................... 103
5.1 ภาพรวมมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎก.................................................. 103
5.2 ประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ........................................................ 105
5.3 ความหมายและองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ ..........................................116
5.4 ความสำคัญและธรรมชาติของใจ ..........................................................121
5.5 วงจรของกิเลส กรรม และวิบาก ...........................................................125
5.6 นิสัย : ปัจจัยสร้างกรรมอย่างต่อเนื่อง...................................................133
5.7 กรรมลิขิตชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย......................................... 139
5.8 เป้าหมายชีวิตของมนุษย์ ...................................................................140
5.9 ความสำคัญของการเป็นมนุษย์........................................................... 147
บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก.............................................................. 151
6.1 ภาพรวมรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก........................................................ 151
6.2 การกำเนิดรัฐ................................................................................... 153
6.3 เป้าหมายของการเมืองการปกครอง .....................................................155
6.4 ธรรมาธิปไตยหัวใจของรัฐศาสตร์ .........................................................155
6.5 ธรรมาธิปไตยไม่ใช่ระบอบการปกครอง..................................................157
6.6 หลักธรรมสำคัญในการปกครอง ...........................................................159
6.7 ความสำคัญของเศรษฐกิจต่อการปกครอง ..............................................172
6.8 ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช......................................... 174
6.9 บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช ....................................179
6.10 เปรียบเทียบรัฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม.......................................... 193
บทที่ 7 นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก............................................................. 199
7.1 ภาพรวมนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก....................................................... 199
7.2 ความเป็นมาของกฎหมายในพระไตรปิฎก............................................. 201
7.3 พระวินัย คือ กฎหมายในพระไตรปิฎก ..................................................203
7.4 องค์ประกอบของสิกขาบท................................................................. 212
7.5 ขั้นตอนการบัญญัติสิกขาบท.............................................................. 214
7.6 หมวดหมู่และจำนวนสิกขาบท ............................................................218
7.7 ตัวอย่างสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ......................................................221
7.8 สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์............................................ 223
7.9 การประชุมทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน ................................................227
7.10 อธิกรณ์ในพระไตรปิฎก.................................................................. 229
7.11 อธิกรณสมถะ : ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ .............................................234
7.12 พระวินัยธร : นักกฎหมายในพระธรรมวินัย............................................242
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก .......................................................245
8.1 ภาพรวมเศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก................................................. 245
8.2 ทรัพย์ 2 ประการในพระไตรปิฎก ........................................................246
8.3 เศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาคในพระไตรปิฎก........................................... 254
8.4 เศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคในพระไตรปิฎก........................................... 267
8.5 เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม .....................................272
บทที่ 9 วาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก ............................................................289
9.1 ภาพรวมวาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก.................................................... 289
9.2 วาจาสุภาษิตหลักพื้นฐานของการพูด................................................... 291
9.3 อานิสงส์การกล่าววาจาสุภาษิต ..........................................................296
9.4 โทษของการกล่าววาจาทุพภาษิต ......................................................299
9.5 องค์แห่งธรรมกถึก : หลักพื้นฐานของการแสดงธรรม .............................301
9.6 หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ...........................302
9.7 หลักการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...................................... 323
9.8 การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท...................... 333
บทที่ 10 วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก ......................................................341
10.1 ภาพรวมวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก.............................................. 341
10.2 เจตคติต่อความรู้ในพระไตรปิฎก.................................................... 343
10.3 ลักษณะของความรู้ในพระไตรปิฎก................................................ 347
10.4 วิธีการแสวงหาความรู้ในพระไตรปิฎก............................................. 348
10.5 สมาธิกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์.......................................... 351
10.6 นิยาม 5 กฎแห่งสรรพสิ่งในอนันตจักรวาล....................................... 356
10.7 การพิสูจน์คำสอนในพระไตรปิฎก.................................................. 383
บทที่ 11 แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก................................................... 389
11.1 ภาพรวมแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก ............................................389
11.2 การดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก ....................................................391
11.3 การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก.................................................. 398
11.4 เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กับการแพทย์ยุคปัจจุบัน...................................................................... 425
บทที่ 12 บทสรุป............................................................................... 435
บรรณานุกรม ....................................................................................439
ประวัติผู้เขียน ...................................................................................443


 



หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf
หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf

ชื่อหนังสือ สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
ลำดับเรื่อง : พระมหาสมคิด ชยาภิรโต   จำนวนหน้า 450 หน้า

ขนาดไฟล์ 42MB

ช่องทางที่ 2 ขนาดไฟล์ 42MB
คุณภาพของสื่อ :
คะแนนปัจจุบัน : 17
บริการสั่งออนไลน์
  • หนังสือใช้โปรแกรม Acrobat อ่าน ถ้าท่านยังไม่มีโหลดได้ที่นี่
    แจ้งเสีย


  • สรรพศาสตร์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
    ไม่สามารถ ดาวน์โหลด หนังสือ ได้ ครับ

    [email protected]

    สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

     ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล