คำนำ
นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว การพัฒนา "เศรษฐกิจ" กับ"จิตใจ" ต้องก้าวไปพร้อมกัน เพราะสองเรื่องนี้เปรียบเสมือนขาทั้งสองข้างของคนเราที่จะต้องมืความสมดุลกัน หากขาดหายไปข้างใดข้างหนึ่ง หรีอพิกลพิการไปข้างใดข้างหนึ่ง ย่อมเกิดความเสืยสมดุล ทำ ให้หกคะมํ่าควํ่าคะเมนได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกัน จึงเท่ากับเป็นการกำหนดชะตากรรมแห่งความอยู่รอดของประเทศ โดยมืความเจริญรุ่งเรืองหรีอตกตํ่าเป็นเดิมพัน
สำหรับในทางปฏิบัตินั้น แท้ที่จริงแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจ ก็คือ การสร้างพลเมืองให้มีทั้งความเก่งและความดีอยู่ในคนๆ เดียวกัน เพราะบ้านเมืองที่มีแต่คนเก่งแต่ไม่มีคนดี ย่อมมีแต่การเอารัดเอาเปรียบชิงดีชิงเด่นเดีอดร้อนวุ่นวาย บ้านเมืองที่มีแต่คนดีแต่ไม่มีคนเก่งย่อมล้าหลังถูกเบียดเบียนรังแกได้โดยง่ายดังนั้น หัวไจสำคัญของบ้านเมืองจึงอยู่ที่ทุกครอบครัวต้องมีคักยภาพในการสร้างคนเก่งและคนดีใหัเกิดขึ้นในวงศ์ตระกูล
แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำไหัการสร้างคนเก่งและคนดีล้มเหลวนั้น ก็คือ อบายมุข โดยเฉพาะข้อที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การคบคนพาล เพราะคนพาลนั้นไม่ว่าไปที่ได ย่อมมีแต่ชักชวนโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นดีเห็นงามกับการดื่มสุรา เที่ยวสถานเริงรมย์ทำผิดประเวณีเล่นการพนัน ประพฤติตนเป็นมิจฉาชีพด้วยการทำมาหากินอยู่บนความทุกข์ความเดีอดร้อนของผู้อื่นไปตลอดทาง คนพาลอยู่ที่ไหนจึงมีแต่ความวิบัติล่มจมอยู่ที่นั่น แม้มีทรัพย์สินเงินทองนับหมื่นล้านแสนล้านก็ล้างผลาญให้หมดไปได้ในเวลาไม่นานนัก
ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาส้มพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อบายมุข คือต้นเหตุแห่งความฉิบหายทั้งปวงใครก็ตามที่ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขแม้เพียงทดลองเล่นๆ เพราะความอยากลอง หรีอทำไปด้วยความคึกคะนองก็ตาม เมื่อไปติดไจกับความสนุกที่ฉุดลงล่ความหายนะอย่างลืมตัวเสิยแล้ว ถึงแม้คนๆ นั้นจะเคยเป็นคนดีแสนดีเพียงใดก็ตาม แต่สุดท้าย ความดีก็จะหมดลง กลายเป็นคนชั่วอย่างสมบูรณ์แบบ โดยพร้อมจะใช้ความเก่งกาจของตนเป็นกำลังในการแพร่ระบาดความชั่วให้กระจายไปทั่วทั้งลังคมทันที
สาเหตุที่ทำให้คนติดอบายมุขกลายเป็นคนชั่วอย่างสมบูรณ์แบบได้นั้น ก็เพราะเมื่อคนเรามีวินิจฉัยชั่ว มองเห็นความวิบัติเสียหายว่าเป็นสิงที่ดีเสียแล้ว คนๆ นั้น ไม่ว่าคิด พูด ทำ สิงใด ย่อมไม่คำนึงถึงศีลธรรมของตัวเอง ศีลธรรมซองสังคม ศีลธรรมของเศรษฐกิจ และศีลธรรมของบุดรหลานที่กำลังมองดูตัวเองเป็นแบบอย่างแม้แต่นิดเดียว นับจากนั้นเป็นต้นไป ย่อมสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยปราศจากความรับผิดชอบต่อความเดือดร้อนเสียหายที่จะติดตามมาในภายหลังทั้งของผู้อื่นและของส่วนรวม
คนที่มีพฤติกรรมไร้ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเช่นนี้ ย่อมไม่หลงเหลือความเป็นมิตรแท้ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไปมิหนัาชํ้า ยังมีแต่จ้องหาทางปอกลอก พูดจาหลอกลวง ประจบประแจงเอาใจ เพื่อชักชวนในทางวิบัติเสียหาย หากมีความผิดพลาดใดเกิดขึ้น ก็พร้อมหนีเอาตัวรอด พร้อมจะทรยศหักหลังพร้อมจะเหยียบยํ่าชํ้าเติมให้จมดินบ้านเมืองที่มีพลเมืองจมอยู่ในอบายมุขนั้น ย่อมไม่มีทางทำ ให้การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกันได้อย่างแน่นอนส่วนคนที่ประกอบอาชีพอบายมุขนั้น ก็คือคนที่ทำมาหากินอยู่บนความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่น โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
อบายมุขจึงเป็นตัวการทำลายชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริงเพราะทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว คนเก่งกลายเป็นคนชั่ว ตราบใดที่ปล่อยให้อบายมุขครองเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจย่อมไม่มืวันทำได้สำเร็จอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้เอง นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว การสร้างวัดเพื่อเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมให้เต็มแผ่นติน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ตัองสร้างขึ้นมา โดยให้กระจายอยู่ประจำทั่วทุกหมู่บ้าน เพราะบรรพชนชาวพุทธในยุคก่อน ต่างตระหนักดีว่า
"ความเก่งที่เกิดขึ้นกับคนพาล ซึ่งเป็นอบายมุขข้อที่ร้ายแรงที่สุด ย่อมมืแต่นำความวิบัติเสียหายมาให้แก่บ้านเมือง"
สารบัญ
คำนำ ......................................................................................................................(๑)
วัด แดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อการบรรลุธรรม ...................................................................๓
วัดคือสถานที่ชนิดใด.............................................................................................. ๓
เป้าหมายแท้จริงในการสร้างวัด.............................................................................. ๔
วัดเป็นรากฐานการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ประจำท้องถิ่น ..............................๕
วัดเป็นรากฐานการพัฒนาบ้านเมือง .....................................................................๗
วัดเป็นสัญสักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง............................................................. ๑๐
วิวัฒนาการการสร้างวัด........................................................................................ ๑๕
๑. วัดเพื่อการเผยแผ่.............................................................................................. ๑๖
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดเพื่อการเผยแผ่ ...............................................๑๗
เวฬุวนาราม : พุทธอารามแห่งแรกในพระทุทธ-
ศาสนา .....................................................................................................................๑๙
เชตวนาราม : ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของ
พระพุทธศาสนา.......................................................................................................๒๑
บุพพาราม : ต้นแบบพุทธอาราม เพื่อการฝึก
นักเผยแผ่พระพุทธศาสนา ........................................................................................๒๒
๒. วัดเพื่อการศึกษา................................................................................................ ๒๓
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดบ้าน ๒๓
อัมพาฏกวัน : พุทธอารามเพี่อความมั่นคงของ
พระพุทธศาสนา .........................................................................................................๓๒
๓. วัดเพื่อการบรรลุธรรม ...........................................................................................๓๖
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดป่า........................................................................ ๓๗
วัดป่ามาติกคาม : สังฆารามเพี่อการบรรลุอรหัตผล................................................. ๔๐
ปัญหาวัดร้าง ................................................................................................................๕๑
๑. วัดที่ไม่มีวันร้าง....................................................................................................... ๕๒
๒. หน้าที่สำคญฃองวัดต่อสังคม................................................................................... ๕๕
ฅ. ความเกือกูลต่อพระพุทธศาสนาของพระภิกษุและ
ญาติโยม....................................................................................................................... ๕๗
๔. เหตุแห่งความสิ้นสูญของพระพุทธศาสนา.............................................................. ๖๑
๔. หัวใจแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ...................................................๖๓
๕.๑) โอวาทสำหร้บพระนวกะ ........................................................................................๖๓
๕.๒) โอวาทสำหรับพระมัชฌิมะ.................................................................................... ๖๕
๕.๓) โอวาทสำหร้บพระเถระ.......................................................................................... ๖๙
๖. ความเคารพในธรรมอย่างอุทิศสิวิตเป็นเติมพัน..........................................................๗๔
๖.๑) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า........................................................................................................................ ๗๕
๖.๒) การอุทิศชีวิตเบนเดิมพันของพระปัจเจก
พุทธเจ้า.............................................................................................................................. ๗๗
๖.๓) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระอรหันต
สาวกในยุคพุทธกาล ..........................................................................................................๗๙
๖.๔) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระภิกษุผู้
ปรารภความเพียรในยุคพุทธกาล ......................................................................................๘๐
๖.๕) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระภิกษุในยุค
ปัจจุบัน.................................................................................................................................. ๘๓
๖.๖) การปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
เป็นเส้นทางเก่าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์.................................................................................................................................. ๘๘
๗. วัดย่อมไม่มีวันร้าง เมื่อยังมีพระภิกษุผู้บำเพ็ญ
ภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน ........................................................................................๙๑
ป่างามด้วยพระภิกษุผู้ปรารภความเพียร............................................................................. ๙๑
วัดงามด้วยหมู่สงฆ์ผู้รู้ชัดโลกุตรธรรม..................................................................................๙๕