คำนำ
การแปลภาษามคธ(บาลี)เป็นไทย เป็นเรื่องยุ่งยากลำบากใจ โดยเฉพาะนักเรียนใหม่เพราะจำศัพท์ได้น้อย และยังไม่มีความชำนาญในการเดินรูปประโยค การหาคู่มือประกอบการเรียน จึงเป็นเรื่องจำเป็นลำหรับนักเรียนใหม่ๆ เป็นอย่างมาก ในอันที่จะหาคู่มือมาใช้ประกอบการแปลให้ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าเห็นว่าหนังลีอที่ออกมาส่วนมากจะอธิบายเกี่ยวกับไวยากรณ์เบื้องต้นส่วนหนังลีอคู่มีอหลักเกณฑ์การแปลประโยค ๑-๒ และ ป.ธ.๓ ยังไม่ค่อยมี ด้วยเหตุนี้เองเมื่อข้าพเจ้าเป็นครูสอนบาลี จึงได้รู้ความยุ่งยากในการเรียน-การสอน ของครูและนักเรียนเพราะไม่มีหนังลีอที่วางหลักเกณฑ์ตามแนวการเรียน-การสอนเอาไวให้ค้นคว้า ช้าพเจ้าจึงได้จัดทำคู่มือการแปลโดยนำเอาหลักสัมพันธ์ส่วนมากมาประยุกต์ พร้อมทั้งได้วางหลักเกณฑ์การแปลบางอย่างเอาไว้ ซึ่งได้เขียนจากประสบการณ์ที่ได้สอนมาเป็นเวลานาน เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการใช้ประกอบการเรียน-การสอน
หนังสือคู่มือหลักเกณฑ์การแปลมคธเป็นไทยเล่มนี้ ช้าพเจ้าได้อนุญาตให้โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง นำ ลิขสีทธิ์พิมพ์ออกจำหน่าย ๒ ครั้งที่ผ่านมา เห็นไค้ว่า ครูและนักเรียนต่างให้ความสนใจต้องการจนเป็นที่แพร่หลาย ทำให้หนังลีอที่จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ หมดลง ทางโรงพิมพ์ประสงค์จะจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ช้าพเจ้าไค้เล็งเห็นความลำคัญในการจัดพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไป เพราะบาลีมีความพิถีพิถันในการจัดพิมพ์แต่ละครั้ง ต้องมีมาตรฐานทั้งโรงพิมพ์และคณาจารย์ผู้ตรวจทานเป็นสำคัญ โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงถือไค้ว่ามีมาดรฐานจัดพิมพ์หนังลีอนักธรรมและบาลีออกมาเป็นอันดับ ๑ เป็นที่ยอมรับของวงการศึกษาคณะสงฆ์ไทย จนพระภิกษุและสามเณรผู้ศึกษารู้จักไปทั่วประเทศ ช้าพเจ้าได้รู้จักกับคุณถนอมศักดิ้ผู้อยู่ฝ่ายผลิตบาลีนักธรรมมาเป็นเวลานานได้รับความช่วยเหลือทุกอย่างจากโรงพิมพ์ด้วยดีเสมอมา จึงขอมอบลิขสิทธิ์คู่มือหลักเกณฑ์การแปลบาลีประโยค ๑-๒ และ ป.ธ.๓ ให้คุณถนอมศักดิ์ จงพิพัฒน์ยิ่ง ได้จัดพิมพ์ตลอดไป
อนึ่งในการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละครั้งที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ที่ปรึกษาทุกรูปด้วยดีเสมอมา คุณความดีอันเกิดจากหนังลีอเล่มนี้มีอยู่ ขอบุญกุศลจงมีแก่คณาจารย์ทุกรูปโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนช้าพเจ้า มีพระมหากระจาย อธิปัญโญ เป็นต้น ที่ได้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดมา
สารบัญ
ความรู้เบื้องต้น ...................................................................๑
หลักการแปลมคธเป็นไทย ..................................................๔
หลักการเปิด อิติ ศัพท์...................................................... ๑๔
หลักการแปลประโยค อตฺโถ.............................................. ๒๓
หลักการแปล ต ปัจจัย......................................................... ๒๔
หลักการลังเกตรูปประโยค ..................................................๒๗
หลักการแปล บทที่มีวิภัตติ วจนะเสมอกัน .........................๒๙
หลักการขึ้นบทประธาน........................................................ ๓๐
หลักการแปลโครงสร้างวาจก................................................ ๓๒
หลักการแปลประโยค กัตนอก-กัมใน ...................................๓๕
หลักการแปลรวบถอน ...........................................................๓๖
ประโยค อนาทร .....................................................................๓๘
ประโยค ลักขณะ.................................................................... ๓๙
วิธีการแปลประโยค แทรก .....................................................๔๐
หลักการแปล วิกติกัตตา .......................................................๔๑
หลักการแปล อิติ ศัพท์ ..........................................................๔๗
หลักการแปลประโยค กึ .........................................................๔๘
หลักการแปลประโยค กิมงฺคํ ปน........................................... ๕๐
หลักการแปล อิตถัมภูต...........................................................๕๑
หลักการแปล เสยฺยถีทํ............................................................ ๕๒
หลักการแปลประโยค อุปมา ..................................................๕๓
กิริยาคุมพากย์ฟิเศษ ..............................................................๕๗
หลักการแปลประโยคกิริยาปรามาส ......................................๖๑
หลักการแปล สัตตมีวิภัตติ....................................................... ๖๒
หลักการแปล สัมภาวนะ ...........................................................๖๓
หลักการแปล วิเสสลาภี ............................................................๖๔
หลักการแปล สรูป.......................................................................๖๖
หลักการแปล อนุต, มาน ปัจจัย ...............................................๖๗
หลักการแปล ต ปัจจัย ...............................................................๖๘
หลักการแปล ตูนาทิ ปัจจัย ........................................................๗๐
หลักการแปล ประโยคกิริยาปธานนัย....................................... ๗๒
หลักการรวบ ๑๒ ประการ ..........................................................๗๓
หลักการเติมรูปประโยคต่าง ........................................................๗๖
หลักการแปลพิเศษ ......................................................................๗๙
พิเศษ กิริยาอาขยาต ...................................................................๘๒
หลักการกำหนดรูปคาถา.............................................................๘๓
คำ แปลคาถา.................................................................................๘๔
รวม ๒ คาถา .................................................................................๘๕
ประโยคตัวอย่าง.............................................................................๘๘
หลักการแปล ชื่อว่า........................................................................ ๙๐
หลักการแปล วิวริยะ วิวรณะ .........................................................๙๑
หลักการแปลโดยอรรถ ...................................................................๙๓
วิธืแปลเอกัตถประโยค.................................................................... ๙๔
วิธีแปลอเนกัตถประโยค ..................................................................๙๖
วิธีแปลสังกรประโยค........................................................................ ๙๗
การแปลประโยค ย,ต ......................................................................๙๘
การแปลอรรถกถา ............................................................................๙๙
สำนวนการแปล............................................................................... ๑๐๑
ข้อควรจำในการแปลภาษามคธ..................................................... ๑๐๒
รวบรวมพิเศษ ...................................................................................๑๐๓
พิเศษหลักล้มพันธ์............................................................................ ๑๐๖
บุรพภาค ...........................................................................................๑๑๘