คำนำ
หนังสือ พระวินัยบัญญัติ เล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็น
คู่มือสำหรับพระบวชใหม่โดยเฉพาะ และสำหรับภิกษุผู้บวชนานแล้ว รวมทั้ง
พุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นส่วนกำไร โดยใช้เวลาในการรวบรวมและเขียนไม่นาน
นัก เพราะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหากระจายอยู่ในหนังสือต่างๆ อยู่แล้ว เพียงไปเก็บ
ประเด็นสาระมาเรียงร้อยใหม่ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
หนังสือนี้ได้โอกาสพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เนื่องในงานฉลองอายุ
วัฒนมงคล ๖ รอบ ๗๒ ปี ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๑
เพื่อถวายเป็นเครื่องปฏิการะสนองน้ำ ใจของพระเถรานุเถระผู้มีน้ำใจรับนิมนต์
ไปในงาน และถวายภิกษุสามเณรหลังจากงานเพื่อเป็นประโยชน์สืบต่อไป โดย
ได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมคณะกัลยาณมิตรทั้งหลายเป็นเจ้าภาพจัด
พิมพ์ เป็นเหตุให้หนังสือนี้มีจำนวนมากและกระจายไปได้ทั่วถึง เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งแก่ภิกษุสามเณรและผู้สนใจ อันถือว่าเป็นบุญใหญ่ เป็นการให้ธรรม
ทาน เป็นการให้ปัญญาความรู้ ซึ่งเป็นเยี่ยมกว่าการให้อามิสทานตามที่รู้กัน
ขออนุโมทนาบุญต่อทุกท่านที่เป็นเจ้าภาพ และท่านที่มีส่วนให้หนังสือ
นี้สำเร็จเรียบร้อย สวยงาม และแพร่หลายไปอย่างทั่วถึง ขอให้ทุกท่านเจริญ
ในปัญญาบารมียิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ.
สารบัญ
ประวัติ (๕)
คำปรารภ (๑๑)
คำนำ(๑๔)
ส่วนที่ ๑ พระวินัย ๑
ไตรสิกขา ๒
หน้าที่และความสำคัญของไตรสิกขา ๖
ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมกับพระวินัย ๗
ความสำคัญของพระวินัย ๑๐
อานิสงส์พระวินัย ๑๒
ความมุ่งหมายในการบัญญัติพระวินัย ๑๓
ประโยชน์ของพระวินัย ๑๓
ประโยชน์ของพระวินัยต่อบุคคลและองค์กร ๑๔
ประโยชน์ของการเรียนรู้พระวินัย ๑๕
ภาคส่วนของพระวินัย ๑๖
ชื่ออื่นที่ใช้เรียกพระวินัย ๑๗
ฐานะพระวินัย ๑๘
วิธีการบัญญัติพระวินัย ๑๘
ความหมายพระวินัย ๒๐
แนวทางการสร้างสันติภาพในพระวินัย ๒๒
พระวินัยปิฎกเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ง่าย ๒๓
ส่วนที่ ๒ พระวินัยบัญญัติ ๒๕
ประเภทพระวินัยบัญญัติ ๒๖
อาบัติและโทษ ๒๘
อาการต้องอาบัติ ๓๑
วิธีปฏิบัติเมื่อต้องอาบัติ ๓๒
อาบัติ ๗ กอง ๓๔
ความหมายของอาบัติ ๗ กอง ๓๕
อนุศาสน์ ๓๖
นิสสัย ๔ ๓๘
อกรณียกิจ ๔ ๔๑
ส่วนที่ ๓ สิกขาบท ๒๒๗ ข้อ ๔๕
ปาราชิก ๔ ๔๙
สังฆาทิเสส ๑๓ ๙๑
อนิยต ๒ ๑๕๓
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ๑๖๑
จีวรวรรค ว่าด้วยจีวร ๑๖๒
โกสิยวรรค ว่าด้วยสันถัตใหม่ ๑๘๗
ปัตตวรรค ว่าด้วยบาตร ๒๐๑
ปาจิตตีย์ ๙๒ ๒๒๓
มุสาวาทวรรค ว่าด้วยการพูดเท็จ ๒๒๔
ภูตคามวรรค ว่าด้วยภูตคาม ๒๔๐
โอวาทวรรค ว่าด้วยโอวาทแก่ภิกษุณี ๒๕๗
โภชนวรรค ว่าด้วยโภชนะ ๒๖๒
อเจลกวรรค ว่าด้วยนักบวชเปลือย ๒๘๐
สุราปานวรรค ว่าด้วยดื่มสุรา ๒๙๕
สัปปาณกวรรค ว่าด้วยสัตว์มีชีวิต ๓๑๑
สหธัมมิกวรรค ว่าด้วยผู้ร่วมประพฤติธรรม ๓๒๙
รตนวรรค ว่าด้วยรัตนะ ๓๔๗
ปาฏิเทสนียะ ๔ ๓๖๓
เสขิยวัตร ๗๕ ๓๗๑
หมวดสารูป ๒๖ สิกขาบท ๓๗๒
หมวดโภชนปฏิสังยุต ๓๐ สิกขาบท ๓๗๘
หมวดธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท ๓๘๕
หมวดปกิณณกะ ๓ สิกขาบท ๓๘๘
อธิกรณสมถะ ๗ ๓๙๑