ฉบับที่ 87 มกราคม ปี2553

๕ ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

พระธรรมเทศนา



ภาคผนวก

อานุภาพ ๕ ห้องชีวิตต่อการฟนฟูศีลธรรมโลก


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นกำเนิดศีลธรรมโลก

             สันติภาพโลกที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างอุทิศชีวิตเป็น เดิมพันจนกระทั่งรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ และบรรลุพระนิพพานในตัว

              พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ในระดับชีวิตประจำวัน และระดับการปราบกิเล ซึ่งในยุคปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดเคยค้นพบมาก่อน พระองค์จึงทรงอยู่ในฐานะผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดศีลธรรมโลกโดยปริยาย

คำแปลและความหมายเชิงปฏิบัติของอริยมรรคมีองค์ ๘

             ๑.สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นชอบในเบื้องต้น หมายถึง ปัญญาอันเกิดจากความ เห็นถูกต้องเกี่ยวกับโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เช่น กรรมดีกรรมชั่ว บาปบุญ คุณโทษ ดีชั่ว ควรไม่ควร โลกนี้โลกหน้า คุณของบุพการี คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณของพระอรหันต์ส่วนสัมมาทิฐิเบื้องสูง หมายถึง การรู้เห็นอริยสัจ ๔

             ๒.สัมมาสังกัปปะ แปลว่า ความดำริชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง ปัญญาอันเกิดจาก ความดำริถูกต้องหรือความคิดถูกต้อง ได้แก่ การคิดออกจากกาม ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน

             ๓.สัมมาวาจา แปลว่า การเจรจาชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การพูดถูกต้อง ได้แก่ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

             ๔.สัมมากัมมันตะ แปลว่า การกระทำชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การทำงาน ถูกต้อง ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพติผิดในกาม

             ๕.สัมมาอาชีวะ แปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง จึงไม่ประพติหลอกลวงผู้อื่นและไม่ทำมิจฉาวาณิช ๕ ประการ ได้แก่ ไม่ค้าอาวุธ ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ค้าสัตว์เพื่อฆ่า ไม่ค้าของมึนเมา ไม่ค้ายาพิษ รวมทั้งไม่ประกอบอาชีพ เกี่ยวกับอบายมุขทั้งปวง

             ๖.สัมมาวายามะ แปลว่า ความเพียรชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การพยายามป้องกันแก้ไข พันาตนเอง เพื่อเหนี่ยวใจให้กลับมาในตัว ให้พ้นจากอำนาจมิจฉาทิฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ ด้วยการทุ่มเททำภาวนาไม่ลดละอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันนิสัยชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อขจัดนิสัยชั่วให้หมดไป เพื่อ สร้างนิสัยดีเพิ่มขึ้นใหม่ และเพื่อรักษานิสัยที่ดีแล้วให้มั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

              ๗.สัมมาสติ แปลว่า ความระลึกชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การระวังประคับประคองใจให้ถูกต้อง เพื่อให้ใจอยู่ในตัว ไม่แล่นออกนอกตัว ทำให้ระลึกรู้ตัว และมีกำลังใจจะทุ่มเท ทำภาวนาอย่างต่อเนื่องให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

              ๘.สัมมาสมาธิ แปลว่า ตั้งจิตมั่นชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การนำใจมาวางไว้ ถูกต้องที่ศูนย์กลางกาย ทำให้เกิดความ ว่างภายในศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่อง

              ความสะอาด ความ ว่าง ความสงบภายในอันเกิดจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิที่ ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ รอบแล้วรอบเล่าตลอดชีวิตนี้เอง ทำให้เกิดการรู้เห็นตรง ตามความเป็นจริงรอบแล้วรอบเล่า เป็นการเพิ่มพูนสัมมาทิฐิให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเกิด การรู้เห็นเป็นอริยสัจ ๔ ชัดเจน ตรงตามความเป็นจริงดุจเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์

หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลกอย่างสมบูรณ์

             มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ข้อปฏิบัติ หรือแนวทางที่เป็นวิธีการอันนำไปสู่ความดับทุกข์ อันประกอบด้วยสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ


             หลักปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘

             ๑. ต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
             ๒. ต้องปฏิบัติทั้ง ๘ ข้อไปด้วยกัน จะแยกข้อใดข้อหนึ่งมาปฏิบัติตามลำพังไม่ได้
             ๓. ต้องปฏิบัติแต่ละข้อให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ
             ๔. ต้องปฏิบัติต่อเนื่องรอบแล้วรอบเล่า จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมรรคมีองค์ ๘

             อุปมาเหมือนการตำน้ำพริก ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องประกอบ ๘ อย่าง ได้แก่ กะปิ กระเทียม พริก น้ำตาล น้ำปลา มะนาว กุ้งแห้ง มะเขือพวง ซึ่งจะขาดอันใดอันหนึ่งไปไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่ครบเครื่องน้ำพริก อีกทั้งต้องใส่ลงไปในครกเดียวกัน ด้วยสัดส่วนที่ พอเหมาะอีกด้วย หากเติมพริกมากไปก็เผ็ดจัด หรือหากเติมมะนาวมากไปก็เปรี้ยวจัด รับประทานไม่ได้ เวลาตำก็ต้องตำให้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงจะได้น้ำพริก ทรงเครื่องมารับประทาน

             การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ก็ต้องปฏิบัติตามหลักดังกล่าวอย่างครบถ้วน พร้อมเพรียง ได้สัดส่วนและต่อเนื่อง จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตลอดชีวิต

             ผู้ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้มีกำลังใจมหาศาลในการทำความดี เพราะใจไม่ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์ ๕ ได้ง่าย ใจจึงไม่เกิดอาการเซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม เพราะกามฉันทะบ้าง เพราะพยาบาทบ้าง เพราะหดหู่เซื่องซึม (ถีนมิทธะ) บ้าง เพราะ ฟุ้งซ่านรำคาญใจ (อุทธัจจกุกกุจจะ) บ้าง เพราะลังเล สงสัย (วิจิกิจฉา) จนกลัดกลุ้มบ้าง

             แต่ในทางตรงกันข้าม ใจกลับมีกำลังใจที่จะปรับปรุง แก้ไข พันาตนเองให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปส่งผลให้ขั้นต้น นิสัยที่ไม่ดีทั้งเก่าและใหม่ย่อมถูกขจัดทิ้งไป นิสัยดีใหม่ ๆ ย่อม เกิดขึ้นมาแทนส่วนนิสัยดีที่มีอยู่แล้ว ก็ตอกย้ำให้มั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ชีวิตจึงจะเกิด ความสุขและความเจริญตามมาอีกมากมาย

             ผลดีที่เกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นนิสัย ได้แก่ ความสุขกายสุขใจใน ชีวิตประจำวัน ความเป็นผู้มีคุณงามความดีต่าง ๆ บังเกิดขึ้นในตน จนกลายเป็นผู้มี จริยธรรมประจำใจ เป็นผู้มีใจสะอาด ว่างสงบ อย่างมั่นคงอยู่ในตัว เป็นผู้รู้เห็นธรรมะ ที่ละเอียดลึกซึ้งตามความเป็นจริงรอบแล้วรอบเล่า ตลอดจนเป็นผู้รู้แจ้งเห็นอริยสัจ ๔ ภายใน ตนอย่างชัดเจน ตรงตามความเป็นจริง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘

             นิสัย คือ ความประพติที่เคยชิน นิสัยเกิดจากการคิด การพูด การทำอย่างซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนติดเป็นโปรแกรมอัตโนมัติประจำตัว

             ความเข้าใจถูกที่เป็นคุณอนันต์ต่อชีวิตมากที่สุด คือสัมมาทิฐิ เพราะเป็นเหตุให้คิดดี พูดดี ทำดีเป็นประจำ อันเป็นผลให้มีนิสัยดีตลอดชีวิต

             ตรงข้ามกับมิจฉาทิฐิ คือ ความเข้าใจผิดที่เป็นโทษมหันต์ต่อชีวิตมากที่สุด เพราะเป็นเหตุให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเป็นประจำ อันเป็นผลให้ได้นิสัยชั่วตลอดชีวิต เช่น นิสัยคิดชั่ว ไม่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้ โลกหน้า ไม่เชื่อเรื่องพ่อแม่มีพระคุณ ไม่เชื่อเรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง ไม่เชื่อเรื่องพระอรหันต์ มีจริง ไม่เชื่อเรื่องการรู้เห็นอริยสัจ ๔ มีจริง

             การเพาะนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ต้องเริ่มจากการปลูกังสัมมาทิฐิ เบื้องต้น โดยอาศัยกัลยาณมิตรทำให้ดูเป็นต้นแบบ พร่ำสอนให้เข้าใจ ย้ำเตือนให้ได้สติ ชมเชยให้เกิดกำลังใจ รอบแล้วรอบเล่า จนกว่าคน ๆ นั้นจะมีนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ ติดตัวไปตลอดชีวิต ได้แก่ นิสัยมีความเข้าใจถูกเป็นสัมมาทิฐิ นิสัยคิดถูกเป็น สัมมาสังกัปปะ นิสัยพูดถูกเป็นสัมมาวาจา นิสัยทำงานถูกเป็นสัมมากัมมันตะ นิสัย เลี้ยงชีพถูกเป็นสัมมาอาชีวะ นิสัยพยายามถูกเป็นสัมมาวายามะ นิสัยระวังใจถูกเป็นสัมมาสติ และนิสัยตั้งใจมั่นถูกเป็นสัมมาสมาธิ นิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เองที่จะนำ ความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต

             สถานที่ที่ใช้กนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตลอดชีวิต คือ ๕ ห้องชีวิตของ แต่ละคน เพราะเป็นแหล่งกำเนิดนิสัยที่คนเราต้องคิด พูด ทำ ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นกิจวัตร ๕ ห้องชีวิต ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องอาหาร และห้องทำงาน

             ในการกนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ใน ๕ ห้องชีวิตให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๔ ประการ ได้แก่

              ๑. มีกัลยาณมิตร คือ มิตรผู้มีใจงาม ทำหน้าที่เป็นต้นแบบความมีสัมมาทิฐิ และครู ผู้กนิสัยปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประจำ ๕ ห้องชีวิตให้แก่คนรอบตัว พ่อแม่เป็น กัลยาณมิตรในบ้าน ครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตรในโรงเรียน พระภิกษุเป็นกัลยาณมิตรในวัด หากสถานที่ใดขาดกัลยาณมิตรแล้ว สถานที่นั้นย่อมมีแต่ความทรุดโทรมตกต่ำ เต็มไปด้วย คนพาลและการกระทำชั่ว

             ๒. มีอุปกรณ์การกนิสัยประจำห้อง ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องมี อยู่ประจำ ๕ ห้อง การเลือกอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะต้องยึดหลักความจำเป็นและความ เหมาะสมแก่ฐานะ อาชีพ และสุขภาพ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุมเฟอย ที่สำคัญจะต้องไม่กระตุ้นให้ เกิดความอยากคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วภายใน ๕ ห้องชีวิตด้วย

             ๓. มีการทำงานประจำ ๕ ห้องชีวิต คือสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำใน ๕ ห้องชีวิต ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ การดูแลรักษาให้สะอาดเป็นระเบียบ การใช้ของให้ถูกวิธี รวมทั้งการกกิริยามารยาทต่าง ๆ ประจำ ๕ ห้อง ตลอดจนศึกษาเรื่องข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโทษมหันต์ในภายหลัง อันเป็นการตัดไฟ แต่ต้นลม

             ๔. มีการพร่ำสอนรอบแล้วรอบเล่า คือ การใช้สัมมาวาจาพร่ำ สอนให้เกิดความเคารพ ความมีวินัย และความอดทนในการทำงานประจำ ๕ ห้องชีวิต ซ้ำแล้วซ้ำอีก รอบแล้วรอบเล่า เพื่อปลูกังให้เกิดความเข้าใจถูก ความคิดถูก คำพูดถูก การทำงานถูก การเพียร ปรับปรุง แก้ไขถูก การระมัดระวังถูก การตั้งใจมั่นถูก จนกระทั่งปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นนิสัยติดตัวไปตลอดชีวิต

(อ่านต่อฉบับหน้า)

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล