ฉบับที่ 82 สิงหาคม ปี2552

เหลาใจ

คอลัมน์ท้ายเล่ม

เรื่อง : โค้ก อลงกรณ์

 

 

วันหนึ่งเมื่อหลวงพ่อปิดประตูห้องปฏิบัติธรรมออกมาแล้ว เห็นผมนั่งรอท่านอยู่หน้าห้อง ท่านได้บอกกับผมว่า ช่วงที่รอท่านก็ให้ผมหัดเหลาใจไปด้วย

           ความเข้าใจของผมในตอนนั้น การเหลาใจก็คือการนั่งหลับตาปฏิบัติธรรมเหมือนที่เคยทำเป็น ประจำทุกครั้ง ผมจึงรับปากกับท่านไปว่า "ครับผม"

           คำว่าเหลาใจ ผมคุ้นกับคำ ๆ นี้ เพราะได้ยินหลวงพ่อพูดกับหมู่คณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ บ่อย ๆ จนรู้สึกว่าเป็นคำที่เข้าใจง่าย มีความหมายชัดเจนในตัว แต่เพื่อความมั่นใจว่าที่เราเข้าใจนั้น ถูกต้องจริง ๆ หรือเปล่า จึงทำให้คีดอยากกราบเรียนถามจากหลวงพ่อ

       แต่พอจะถามจากท่านโดยตรงแบบซื่อ ๆ ก็เกรงจะถูกเข้าใจว่า อะไรกัน อยู่ใกล้หลวงพ่อได้ยินได้ฟังเป็นประจำ ทำไมยังไม่รู้เรื่องเลยหรือ ผมจึงเลี่ยงโดยหาคำตอบจากทางอื่นเสียก่อน

    ผมถามจากหลวงพี่หลาย ๆ รูป ที่ปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเป็นประจำ ซึ่งท่านก็ได้เมตตาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ แต่เป็นเพราะอาจเข้าใจว่าผมคงต้องการคำตอบสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรม ในขั้นสูงระดับขั้นอุดมศึกษาเช่นเดียวกับท่านก็เป็นได้ คำตอบที่ได้รับจึงมีความลุ่มลึกเป็นพิเศษ

           ด้วยความที่อยากได้คำจำกัดความ เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบาย ให้ผู้เรี่มต้นปฏิบัติธรรมเข้าใจได้ง่ายๆ ทำให้ผมกลับมาเลือกวิธีที่จะถามจากหลวงพ่อโดยตรง และเพื่อป้องกันความเข้าใจว่าผมนี่ไม่เอาถ่าน จึงได้กราบเรียนเพี่มเติมไปว่า ผมขอคำตอบแบบที่หลวงพ่อตอบให้เด็กอนุบาล อย่างผมฟัง
      แล้วนักเรียนอนุบาลอย่างผมก็ได้รับคำตอบว่า การเหลาใจก็เหมือนกับการเหลาดินสอ ที่เรา เหลาให้ปลายดินสอแหลม ๆ เพื่อที่เวลาปฏิบัติธรรมจะได้เข้ากลางได้คล่อง ๆ

        ฟังแล้วทำให้ผมนึกย้อนถึงที่ได้ยินได้ฟังหลวงพ่อสอนธรรมะที่ผ่านมา ไม่ว่าจะสอนผ่านทาง โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันฯ ทางช่อง DMC หรือสอนในวันอาทิตย์ บ่อยครั้งที่หลวงพ่อถามว่าใครนึกองค์พระ นึกดวงได้บ้าง นึกให้ย่อได้ ขยายได้ นึกให้ใส ใสเป็นแก้ว ใสเป็นเพชรได้

           คำถามที่หลวงพ่อถามเหล่านี้ ฟังเพลิน ๆ เหมือนการสนทนาทักทายทั่วไป

           แต่ทว่า นี่คือขั้นตอนหนึ่งที่หลวงพ่อกำลังฝึกลูก ๆ ทุกคนในการเหลาใจ

           การเหลาใจก็เพื่อเหลาให้ใจยึดเกาะกับสี่งที่เราต้องการ อย่างให้เกาะเกี่ยวกับดวงใส ๆ หรือ องค์พระ เพื่อไม่ให้ใจที่ซัดส่ายไปเกาะเกี่ยวกับสี่งอื่น

           การเหลาใจเป็นการเตรียมความพร้อม ถ้าเปรียบเป็นนักกีฬาก็เป็นเหมือนกับการฟิตซ้อมร่างกายให้แข็งแรง ก่อนที่จะลงสนามแข่ง แต่สำหรับนักปฏิบัติธรรม คือการซ้อมใจให้พร้อมเพื่อลงสนามทางใจในการทำหยุดทำนี่ง
           ...............................................................

ผมพยายามอธิบายกับตัวเองว่า แล้วทำไมหลวงพ่อถึงให้ความสำคัญและต้องการให้ผมหมั่นเหลาใจ อยู่เรื่อย ๆ

            เป็นไปได้ว่า ถ้าเราจะวาดภาพสักภาพหนึ่ง ขั้นตอนเล็ก ๆ ที่ต้องเรี่มต้นลงมือทำอันดับแรก คือ การเหลาดินสอ

            การจะเรี่มวาดภาพ ก็คงต้องเรี่มต้นจากการเตรียมอุปกรณ์ในการวาดภาพให้พร้อม

            เช่นกันกับภาพภายในที่จะปรากฏแจ่มชัดได้นั้น เราต้องเหลาใจเตรียมไว้ให้พร้อม

            ถ้า ใจ เปรียบเหมือน ดินสอ

  ดินสอใจของเราแท่งนี้ ก็เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการปฏิบัติธรรม ที่เราต้องเหลาให้แหลม ให้คมอยู่เสมอ เพื่อจะได้เข้ากลางได้คล่อง ๆ

            และเมื่อเราเตรียมอุปกรณ์จนพร้อมและเรี่มลงมือวาด ขณะที่เราวาดภาพไปเรื่อย ๆ ปลาย แหลมของดินสอจะหดสั้นและค่อย ๆ ทู่ลง

            ภาพที่ใช้ดินสอทู่ ๆ วาด จะได้ลายเส้นที่ทื่อ ๆ หยาบใหญ่ และไม่คม

            หากฝืนวาดต่อไป ภาพที่ได้ก็เป็นภาพที่มัว ๆ เลือนราง ไม่คมชัด

            ถึงตอนนั้นเราจึงต้องกลับมาเรี่มต้นเหลาดินสอกันใหม่

            มีน่า หลวงพ่อถึงบอกให้หมั่นเหลาใจไว้เสมอ ๆ เพราะขั้นตอนนี้มีความสำคัญยี่งที่จะมอง ข้ามไปไม่ได้เลย
            ...............................................................

ผมชอบคำแต่ละคำที่หลวงพ่อนำมาใช้สอน เพราะเป็นคำที่สั้นกระชับ เข้าใจง่าย เข้ากับยุคสมัย และวัยของผู้ฟัง                                     สำคัญคำที่หลวงพ่อเลือกมาใช้นั้น ฟังแล้วชวนให้ทำตาม

           อย่างคำว่า เหลาใจ คำนี้กระตุ้นให้เราเกิดสนุกและอยากเหลา เพราะยี่งถ้าเราสามารถเหลาให้แหลมให้คมได้เหมือนเข็ม เราก็จะสามารถแทงทะลุทุกอย่างได้หมด ความละเอียดของใจ อยู่ลึกถึงไหน เราก็สามารถแทงไปถึงได้จนสุด

            หลวงพ่อบอกว่า ใจที่ทื่อ ๆ ทู่ ๆ ย่อมเข้ากลางได้ไม่สะดวก

        ในบรรดาถ้อยคำมากมายทั้งหมด การที่หลวงพ่อจะนำถ้อยคำใดถ้อยคำหนึ่งมาใช้ ผมว่าท่านคงต้องเลือกมาอย่างดีแล้ว และคงไม่ใช่แค่เลือกอย่างเดียว ผมรู้สึกว่าก่อนที่จะนำมาใช้สอน ท่านคงจะต้องนำคำที่เลือก แล้วนั้นมาเหลาอีกที เหลาเอาเสี้ยนของคำออก ให้ราบเรียบลื่นมนเหลือแต่แก่นของคำ เพื่อว่าเมื่อถ้อยคำเดีนทางเข้าสู่ผู้ฟังแล้ว นอกจากจะไม่ทำให้รู้สึกระคาย ยังสามารถซึมผ่านพุ่งเป้าเข้าไปสู่ใจได้ในทันที
              ...............................................................

กว่าภาพที่เราวาดจะเสร็จสมบูรณ์ได้นั้น แน่นอนว่าพอวาด ๆ ไปเราคงต้องย้อนกลับมาเหลาดีนสอ เหลาซ้ำ ๆ เช่นนี้อยู่หลายครั้ง

        หากหลักของการเหลาใจ คือ การย้อนกลับมายังจุดเรี่มต้น กลับมายังจุดแรก ซึ่งเป็นจุดที่เราคุ้นเคย จุดที่เรามั่นใจ กลับมาอยู่ในจุดที่เรามีความสุข

           ผมคิดว่าการหาโอกาสกลับมาเอาใจใส่ในกิจกรรมพื้นฐานชีวิตเดิม ๆ ให้มากขึ้น กิจกรรม ที่เราห่างหายไปเพราะความเร่งรีบในการดำรงชีวิต ที่นับวันมีแต่จะแข่งขันกันสูงยี่งขึ้น หรือห่างหาย เพราะมีสี่งอำนวยความสะดวกสบายที่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น หรือห่างไปเพราะมายาต่าง ๆ ที่ลวงล่อให้เราเข้าไปยึดติด หากเราได้ถากถางเอาสี่งที่เกาะกุมใจเหล่านี้ให้หลุดลอกออกไปบ้าง ผมว่าคงช่วยให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบันของเรานั้นมีสุขมากขึ้น

        ถ้าลองเรี่มปล่อยวาง แล้วลองเหลาเอาเปลือกหนา ๆ ในชีวิตออกไปเสียบ้าง เหลาให้เหลือ แต่แก่นที่สำคัญแท้ของชีวิต คงจะช่วยทำให้ความสุขที่สว่างใสจากใจภายในเผยออกมาปรากฎชัด ได้ง่ายยี่งขึ้น

           เราจะรู้สึกเบาและทำให้เราก้าวต่อไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น ในไม่ช้าก็จะถึงจุดหมายที่เราต้องการ ถ้าเราหมั่นเหลาใจและเหลาชีวิตของเราอยู่เสมอ
              ...............................................................

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล