หน้า 2 จบ
นิทานชาดกเรื่อง
เสือพบสิงห์
มาลุตชาดก ว่าด้วยการถือความเห็นตนเป็นใหญ่
ภาพ ป๋องแป๋ง
ลงสี ปูเป้
จบ
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ
มาลุตชาดก
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::
......ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีพระหลวงตาสองรูปชื่อ พระกาฬะ และพระชุณหะ ทั้งสองรูปตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเขตชนบท แคว้นโกศล อย่างไรก็ดี พระทั้งสองรูปยังติดนิสัยตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส มาคนละอย่างคือ พระชุณหะชมชอบความงาม ของพระจันทร์เต็มดวงข้างขึ้น ส่วนพระกาฬะชอบมองหมู่ดาว ที่ส่องแสงระยิบระยับจับตาในคืนข้างแรม
.....วันหนึ่ง พระหลวงตาทั้งสองได้มาพบปะสนทนากันถึงเรื่องลมฟ้าอากาศ พระชุณหะจึงถามพระกาฬะขึ้นว่า " ท่านรู้หรือไม่ว่า คืนไหนอากาศจะหนาวจัด ?" พระกาฬะตอบทันทีว่า " คืนข้างแรมสิ! เราสังเกตมานานแล้ว พบว่าถ้าคืนไหน เป็นคืนข้างแรม คืนนั้นอากาศจะหนาวจัดทุกที " พระชุณหะได้ฟังดังนั้นจึงแย้งว่า" เราก็อยู่ป่ามานาน แต่สังเกตเห็นว่า อากาศหนาวจัดในคืนข้างขึ้นต่างหาก "
.....หลวงตาทั้งสองโต้เถียงกัน ด้วยเรื่องนี้เป็นเวลานาน แต่ไม่อาจจะหาข้อยุติได้ ในที่สุดจึงชวนกันออกเดินทาง ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พระพุทธองค์ตัดสินให้
.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า พระภิกษุสองรูปนี้อุตส่าห์ เดินทางไกลเป็นเวลา แรมเดือนข้ามเขตแดนชนบทน้อยใหญ่ มายังนครสาวัตถี เพียงเพื่อให้พระองค์ตัดสิน ปัญหาอันไม่เป็นสาระ ด้วยต่างฝ่ายต่างถือทิฐิมานะเข้าหากัน หลงยึดมั่นแต่ ความคิดเห็นของตน โดยไม่พิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริง เช่นนี้จึงทรงระลึกชาติ ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสว่า
....." ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติก่อนโน้น เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว แต่เธอจำไม่ได้จึงต้องย้อนมาถามปัญหาเดิมซ้ำอีก " พระหลวงตาทั้งสอง รู้สึกแปลกใจ จึงกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ ทรงเล่าเรื่องราวในอดีตชาติ ของตนให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงแสดง มาลุตชาดก มีเนื้อความดังนี้
:: ข้อคิดจากชาดก ::
.....เมื่อมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใด ๆ เกิดขึ้น ควรพิจารณาดังนี้
.....๑. ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีก่อน โดยไตร่ตรองว่าอะไรเป็นเหตุ
.........อะไรเป็นผล เพื่อประกอบการพิจารณา
.....๒. ฟังทั้งข้อเสนอของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือทิฏฐิมานะ เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่
.....๓. พูดให้ไพเราะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อมิให้อีกฝ่ายมีทิฏฐิมานะมากขึ้น
.........หากยังหาข้อยุติไม่ได้ ควรให้ผู้รู้จริงช่วยตัดสิน