ฉบับที่ ๑๓๙ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗

พิธีอัญเชิญพระบรมธาตุ ประดิษฐานในยอดเจดีย์น้อยดอยสวรรค์

สร้างคนให้เป็นคนดี

เรื่อง : มาตา

 

 

พิธีอัญเชิญพระบรมธาตุ

ประดิษฐานในยอดเจดีย์น้อยดอยสวรรค์

วัดแม่ขิง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

 

    หลังจากหอบลูกจูงหลานเดินทางผ่านป่าเขา ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นระยะทางไกลถึง ๒๐ กว่ากิโลเมตร เพื่อไปทำบุญที่หมู่บ้านอื่นกันมาเป็นเวลาช้านาน ทุกวันนี้ชาวบ้านบนดอยสวรรค์ มีวัด มีเจดีย์ มีศาสนสถาน ที่พวกเขาช่วยกันสร้างขึ้นมาเป็นศูนย์รวมใจแล้ว 

 

    เรื่องราวจากที่สูงของคนจิตใจสูงต่อไปนี้ ได้รับการถ่ายทอดจากช่างภาพคนหนึ่ง ที่ไปใช้ชีวิตอยู่บนดอยสวรรค์เป็นเวลาเกือบเดือน เพื่อเก็บภาพภารกิจสร้างเจดีย์น้อยดอยสวรรค์          โดยเฉพาะ

 

 

    “ดอยสวรรค์” บ้านแม่โขง ตำบล   นาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยง และเป็นพื้นที่ที่อยู่ไกลจากความเจริญทางวัตถุ ในหมู่บ้านแห่งนี้ไม่มีการซื้อขาย พวกเขาปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครอบครัวและนำมาแลกเปลี่ยนกัน เสื้อผ้าส่วนใหญ่ก็ทอใช้เอง เครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ทำขึ้นเอง ชาวบ้านไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีไฟฟ้า และไม่มีอีกหลายอย่างที่สื่อถึงความเจริญทางวัตถุ แต่ความสุขสงบและความเจริญทางจิตใจของพวกเขามีมากอย่างไม่น่าเชื่อ

 


    นอกจากนี้ พวกเขายังมีความรักพระพุทธศาสนาอย่างสุดซึ้ง และฝักใฝ่ในการทำบุญมาก เมื่อสร้างวัดแล้ว ก็ตั้งใจทำบุญกันเต็มที่ เพราะประสบการณ์จากการเดินทางไปทำบุญด้วยเท้าเปล่าไกลถึง ๒๐ กิโลเมตร (กิโลดอย) ทำให้เขาเห็นคุณค่าของ “บุญ” ว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากขนาดไหน

    ในวันพระพวกเขาจะหยุดงานทุกอย่าง เพื่อไปทำบุญที่วัด ทุกเช้าก็จะรีบตื่นขึ้นมาคอยพระ จะได้ตักบาตรกับท่าน ตอนเย็นก็ไปสวดมนต์ทำวัตรเย็น แม้บางคนอ่านหนังสือไม่ออก พูดไทยไม่ชัด ก็ยังสวดมนต์คล่องแคล่ว

    นอกจากตั้งใจสร้างบุญให้ตัวเองแล้ว พวกเขายังพร้อมที่จะทำทุกอย่างให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองเป็นที่พึ่งของชาวดอยในแถบนี้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อได้รับการสนับสนุนจาก   พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)    เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และคณะสงฆ์ใน
พื้นที่ รวมทั้งคณะกัลยาณมิตร “วัดแม่ขิง”จึงเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นลำดับ

 

 

    หลังจากพระเทพญาณมหามุนีทราบข่าวการสร้างบารมีของชาวบ้านตำบลนาเกียนแล้ว เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ท่านจึงมอบพระประธาน “ยิ่งมอง       ยิ่งงาม” ไปประดิษฐานที่วิหารพระมงคล    เทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลังจากที่มีพระประธานแล้ว ชาวบ้านก็ตื่นตัวมารวมกันสวดมนต์ทำวัตรเย็นและนั่งสมาธิเต็มศาลาทุกวัน 


    หลังจากนั้น โครงการสร้างเจดีย์น้อยดอยสวรรค์ก็เริ่มขึ้นตามความต้องการของ  ชาวบ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ   บนยอดดอย

 


    ชาวบ้านบนดอยสวรรค์ต่างพากันปลื้มปีติที่ฝันกำลังจะเป็นจริง หรือจะเรียกว่าเกินฝันก็ได้ เพราะไม่เพียงแต่จะได้เจดีย์มาประดิษฐานบนดอยเท่านั้น แต่พวกเขายังมีส่วนในการสร้างเจดีย์ด้วยมือของตนเอง ดังนั้นในแต่ละขั้นตอนของการสถาปนาเจดีย์น้อยองค์นี้ พวกเขาจึงทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และแรงสติปัญญาทุกหยาดหยดเพื่อภารกิจนี้      ดังภาพที่ปรากฏ

 


       หลังจากสรุปกันว่าจะสร้างเจดีย์แล้ว ความคืบหน้าในด้านต่าง ๆ ก็ตามมาเป็นระยะ ๆ 

    เริ่มจากผู้ใหญ่บ้านนาเกียนบริจาคที่ดินผืนใหญ่ เพื่อแลกกับที่ดินบริเวณที่ตกลงกันว่าจะสร้างเจดีย์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าที่ดินที่นำไปแลก 

      เมื่อได้ที่ดินแล้ว ชาวบ้านก็พากันมาช่วยขุดดิน ปรับพื้นที่ที่ขรุขระลาดชันให้เรียบ เตรียมสร้างเจดีย์น้อยดอยสวรรค์ 

 


    ต่อมา หลังจากพระครูสังวรสิทธิโชติ(วิชาญ อิทฺธินาโค) เจ้าอาวาสวัดบ้านขุน  รองเจ้าคณะอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่     รับเจดีย์น้อยดอยสวรรค์องค์จำลองจากพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)  มาแล้ว ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗    ก็มีพิธีอัญเชิญเจดีย์น้อยดอยสวรรค์องค์จำลองมายังวัดแม่ขิง 
    


    วันที่ ๒๖ - ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗มีพิธีกลั่นแผ่นดิน ตอกเสาเข็ม เทฐานรากเจดีย์ โดยมีชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านนาเกียนและหมู่บ้านใกล้เคียงพากันมาอยู่ธุดงค์กลั่นแผ่นดินสถาปนาเจดีย์ 

    ใบหน้าของชาวบ้านในยามนี้ดูเบิกบานแจ่มใสเหมือนเทพบุตรเทพธิดา ราวกับ ว่าความสุขช่างเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายจริง ๆ บนดอยสวรรค์แห่งนี้

 


    ในการก่อสร้างเจดีย์ ชาวบ้านรับ    เป็นเจ้าภาพหินกับทราย ถึงแม้พวกเขา       ไม่มีเงิน แต่ก็มีเรี่ยวแรง มีความศรัทธา และมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายรออยู่


    ในแต่ละวัน พวกเขาต้องเดินไปขนทรายจากลำธาร ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ๑ กิโลเมตร ขณะไปขนทราย ดวงตาทุกคู่    ของชาวบ้านมีแต่ความเบิกบาน ไม่มีแววของความเหนื่อยล้าให้เห็นเลย 

 


    ที่ลำธารแห่งนี้ นอกจากอบอวลไปด้วยความสมานสามัคคีของชาวบ้านแล้ว ยังมีกระแสธารแห่งความมุ่งมั่นและศรัทธาที่จะรังสรรค์ผลงานฝากไว้ในพระพุทธศาสนา      อีกด้วย


    สำหรับหินที่จะนำมาก่อสร้างเจดีย์นั้น พวกเขาช่วยกันแบก ช่วยกันหาม และช่วยกันทุบ ในช่วงนั้นชาวบ้านทุบหินกันทุกวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เตรียมไว้สำหรับผสมกับปูน ทราย และน้ำ เพื่อทำคอนกรีต 
        


        
     หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ก็สามารถจัดพิธีประกอบพระเจดีย์เป็นปฐมเริ่มได้แล้ว และในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ มีพิธีอัญเชิญส่วนประกอบพระเจดีย์ชิ้นสุดท้ายมาประกอบกับองค์เจดีย์จนเสร็จ เหลือแค่บรรจุพระบรมธาตุลงไปเท่านั้นก็จะเสร็จสมบูรณ์

 

    

 

    หลังจากรับพระบรมธาตุจากพระเทพญาณมหามุนีแล้ว วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ พระภิกษุ สามเณรกว่า ๕๐๐ รูป เดินธุดงค์อัญเชิญพระบรมธาตุบริเวณใจกลางเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและ  ชาวต่างชาติร่วมสักการะ 

 


    ขบวนเริ่มขึ้นที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร สิ้นสุดการเดินธุดงค์ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง ๖.๓ กิโลเมตร โดยมีพระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา

 

 

     วันที่ ๑๓ - ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะพระธุดงค์ จำนวน ๓๕๐ รูป เดินธุดงค์อัญเชิญพระบรมธาตุจากวัดบ้านขุนไปยัง          วัดแม่ขิง  

 


    วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งตรงกับวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ที่สุดบนดอยสวรรค์ก็เกิดขึ้นท่ามกลางสายฝน โดยมีพระภิกษุสามเณรหลายร้อยรูปพี่น้องชาวบ้านนาเกียน และหมู่บ้านใกล้เคียงรวมทั้งคณะกัลยาณมิตร อาทิเช่น คุณบรรณพจน์คุณบุษบา ดามาพงศ์ เดินทางมาร่วมพิธี

 


    หลังประดิษฐานพระบรมธาตุบนเจดีย์น้อยเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาของการประทับฝ่ามือลงบนแผ่นปูน เพื่อสร้างผนังยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังเจดีย์ เพื่อเป็นเครื่องตรึกระลึกว่า ทุกคนคือผู้สถาปนาเจดีย์น้อยดอยสวรรค์แห่งนี้ เป็นแสงสว่างแก่พี่น้องชาวดอย และเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาตราบสิ้น     กาลนาน

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล