ชาดก 500ชาติ

จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

 ชาดก 500 ชาติ
จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

      ครั้งเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน  ครั้งนั้นได้มีภิกษุรูปหนึ่งมักมีจิตโกรธแค้น ฉุนเฉียวอยู่เป็นประจำ แม้ใครจะเตือนหรือห้ามปรามก็ไม่เป็นผล “ ท่านจะมีจิตโกรธแค้นไปทำไมเล่า โกรธไปใจท่านเองก็จะเป็นทุกข์ ”

      “ ท่านอย่ามายุ่งกับเรื่องของเรานักเลย เราจะโกรธใครก็เป็นเรื่องของเรา เราไม่ชอบใจนักหรอกนะ ที่ใครจะมายุ่งวุ่นวายกับเรื่องของเราอย่างนี้ ” “ ช่างเขาเถอะท่านในเมื่อพวกเราได้บอกเขาแล้ว เขาไม่ยอมเชื่อเรา ก็คงจะทำอะไรไม่ได้ ” “ นั่นสินะ เสียดายแท้ๆ ที่พระธรรมไม่อาจทำให้จิตใจท่านสงบได้ ”

 

   ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

     “ เออ ไปเลย ไปให้พ้น เลย เบื่อนักเชียวพวกที่ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้านเนี่ย ” ภิกษุมักโกรธรูปนี้ ด้วยความโกรธฉุนเฉียว จึงทำให้ไม่สามารถที่จะสงบจิตใจให้สงบได้เมื่อจิตใจไม่สงบก็ไม่สามารถที่จะศึกษาพระธรรมได้ แม้กิจใดๆ ของสงฆ์ก็ไม่สามารถทำได้ดีเลย“ โอ้ย อารมณ์ไม่ดี วันนี้ไม่มีอารมณ์จะนั่งสมาธิ(Meditation)หรือทำอะไรทั้งนั้น แหม มาว่ากันได้ว่าเราจิตใจไม่สงบ โธ่เว้ย ”

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

      องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ตั้งจิตอธิษฐานก็สามารถรู้เห็นความโดยหมด ด้วยจิตอานิสงส์อยากให้ภิกษุรูปนี้เห็นโทษของความโกรธ จึงตรัสเรียกให้มาเฝ้า

     “ ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอ เป็นคนมักโกรธจริงหรือ ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าความโกรธ เธอควรจะห้ามเสีย อันความโกรธเห็นปานนี้ ที่จะทำประโยชน์ให้ในโลกนี้และโลกหน้าเป็นไม่มี เธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่โกรธแล้ว เหตุไรจึงยังโกรธเล่า จริงอยู่ โบราณบัณฑิตทั้งหลาย แม้บวชแล้วในลัทธินอกพระพุทธศาสนาก็ยังไม่ทำความโกรธ ”

      ครั้งนั้นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาทกดังต่อไปนี้ ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

       ณ นิคมของชาวกาสีแห่งหนึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มากแต่ไม่มีบุตร “ นี่เราก็อายุมากขึ้นทุกวัน ทรัพย์สมบัติก็มากมาย แต่งงานมาก็นานหลายปีแล้ว ทำไมถึงไม่มีลูกสักทีนะ หือ ”

     ความทุกข์ใจในตัวของเศรษฐีนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับความความทุกข์ของผู้ที่เป็นภรรยาเลย “ น้องเอ๋ย เราแต่งงานกันมาก็หลายปีดีดักแล้ว เหตุใดกันนะ เราถึงยังไม่มีบุตรให้เชยชมสักที ” “ น้องเองก็ทุกข์ใจไม่แพ้พี่เลยนะจ๊ะ ความสุขที่สุดของผู้หญิงก็คือ การได้เป็นแม่ คงยังไม่มีบุญวาสนาพอที่จะได้พบความสุขนั้นกระมัง ”

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

      วันเวลาผ่านไปอีกหลายปี ในที่สุดภรรยาของพราหมณ์มั่งคั่งผู้นี้ก็ตั้งครรภ์ สร้างปีติยินดีแก่เศรษฐียิ่งนัก แม้แต่บ่าวไพร่ในบ้านก็ล้วนยินดีกันถ้วนหน้า “ ไหน ขอพี่ดูท้องเจ้าหน่อยสิ เฮอะๆๆ ลูกของเรา ในที่สุด พี่ก็จะได้เป็นพ่อคนแล้วเฮอะๆๆ ” “ใช่จ๊ะ น้องก็จะได้เป็นแม่แล้วเช่นกันจ๊ะพี่จ๋า ”

      เมื่อตั้งครรภ์จนครบกำหนด ภรรยาเศรษฐีก็ให้กำเนิดบุตรเป็นเพศชาย สร้างความปีติให้กับเศรษฐียิ่งนัก “ โอ้ ลูกรักของพ่อ พ่อจะให้เจ้าชื่อว่า โพธิกุมาร ” โพธิกุมารได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างดีจากผู้เป็นพ่อและแม่ เติบโตเป็นเด็กเฉลียวฉลาด เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของเศรษฐี ภรรยาและบ่าวไพร่ทุกคนในบ้าน

 
 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

      เมื่อเจริญวัยครบสิบห้าปีบริบูรณ์ เศรษฐีก็ให้บุตรชายเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองตักศิลา “ เจ้าจงตั้งใจเรียนนะลูกเอ๋ย ” “ ครับพ่อ ลูกลาพ่อกับแม่ไปก่อนพ่อกับแม่รักษาสุขภาพด้วยนะครับ ” ด้วยความเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด โพธิกุมารจึงเล่าเรียนวิชาศิลปะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

      เมื่อสำเร็จวิชาต่างๆ หมดแล้ว จึงลาอาจารย์กลับมาบ้าน “ ดูนั่นสิ ลูกชายเศรษฐีกลับมาแล้ว เห็นว่าศึกษากลับมา แล้วก็ช่วยงานท่านเศรษฐีเค้าหน่ะ ” “ หน้าตาก็หล่อเหลาฐานะทางบ้านก็มั่งคั่งร่ำรวย สติปัญญาก็เฉลียวฉลาด เฮ้อ ครบถ้วนสมบูรณ์แบบอย่างนี้ ใครได้แต่งงานด้วยต้องโชคดีแน่ๆ เลย ”

      “ น้องเอ๋ย เจ้าจะว่าอย่างไรบ้าง หากพี่คิดที่จะให้โพธิกุมารลูกของเราสมรสกับลูกสาวของเพื่อนพี่ ” “ ก็ดีสิจ๊ะ ลูกของเราตอนนี้ก็ถึงวัยที่จะมีคู่ครองแล้วนะจ๊ะพี่หากได้คู่ที่สมกันด้วยฐานะก็ยิ่งเป็นการดีสิจ๊ะพี่จ๋า ” “ พ่อกับแม่เรียกลูกมา มีอะไรจะคุยด้วยเหรอครับ ”


 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

       “ โพธิกุมารเอ๋ย พ่อกับแม่เห็นว่า เจ้าถึงวัยที่จะมีคู่แล้ว เลยหาหญิงที่เหมาะสมไว้ให้กับเจ้า ” “ แต่ลูกไม่อยากมีครอบครัว ลูกไม่อยากสมรสกับใคร ” “ อย่าขัดใจพ่อเค้าเลยลูกแม่ก็ว่าดีแล้วนะ ที่เจ้าจะมีคู่ไว้เชยชม ไว้เป็นคู่คิด เอาเถอะ ถ้าเกิดเจ้าได้พบกับหญิงที่พ่อกับแม่หามาให้ เจ้าอาจจะเปลี่ยนใจ ชอบนางขึ้นมาก็ได้นะ ”

      มารดาบิดาได้นำกุมาริกา ผู้มีตระกูลเสมอกันมาให้โพธิกุมาร แม้เขายังไม่ปรารถนาเลยก็ตาม “ เฮอะๆๆ ดีใจจริงๆ เลยที่เรากับเพื่อนรักได้ครองญาติกัน ลูกสาวของท่านงดงามเพียบพร้อมไม่มีใครทัดเทียมได้จริง ” “ ลูกของเราก็ถือว่าโชดดีนักที่จะได้คู่ครอง เป็นชายที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างลูกท่าน ” 

 
 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

     กุมาริกาผู้ที่จะมาเป็นคู่ครองของโพธิกุมารนั้น มีรูปร่างงามเลิศ เปรียบด้วยเทพอัปสร แต่นางเองก็ไม่ปรารถนาที่จะมีคู่เช่นกัน “ เฮ้อ ทำไมท่านพ่อกับท่านแม่ต้องบังคับจิตใจลูกด้วยน่ะชีวิตที่ดีพร้อมสมบูรณ์ ไม่เห็นจำเป็นจะต้องมีคู่เสมอไปหรอก ” โพธิกุมารกับนางกุมาริกา ต่างก็ไม่ปรารถนาเป็นสามีภรรยากัน แต่ญาติทั้งหลายก็จัดการอาวหะ วิวาหะมงคลให้ด้วยถือว่าเป็นเรื่องอันสมควร 

        “ แม่ดีใจจริงๆ ที่เจ้าได้ภรรยาที่ดี ที่เหมาะสมกับเจ้าโพธิกุมารเอ๋ย ลูกรักของแม่ ต่อจากนี้ไปเจ้าคงจะมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไปนะลูกนะ ” แม้ทั้งสองจะแต่งงานและอยู่ด้วยกันแล้วแต่ก็ไม่เคยมีความฟุ้งซ่านด้วยกิเลส เพียงแต่จะแลดูกันด้วยอำนาจราคะก็ไม่มี ขึ้นชื่อวาเมถุนธรรมไม่เคยประสบแม้ในฝัน ทั้งสองได้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ต่อมาภายหลังเมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมแล้วโพธิกุมารก็ได้จัดการปลงศพของท่านเรียบร้อยแล้ว คิดว่าถึงเวลาที่เขาจะได้ทำตามใจปรารถนาเสียที

 
 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

        “ ที่รัก เธอจงรับทรัพย์แปดสิบโกศนี้ไว้เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด ” “ แล้วตัวท่านล่ะจะทำเช่นไร ” “ พี่ไม่มีกิจด้วยทรัพย์ พี่จะเข้าไปในถิ่นหิมพานต์ บวชเป็นฤาษีทำที่พึ่งแห่งตน ” “ ถ้าเช่นนั้นน้องก็จะไม่ขอรับทรัพย์นี้ด้วยเหมือนกัน หากปราศจากด้วยทรัพย์นี้แล้ว น้องก็จะออกบวชเช่นกัน ” เมื่อทั้งสองได้ตัดสินใจที่จะออกบวชพร้อมกัน จึงได้บริจาคทรัพย์ทั้งหมดที่มีนั้นให้กับบ่าวไพร่ผู้ขัดสน

       “ รับสิ่งนี้ไว้เถิด มันคงทำให้ท่านสุขสบายขึ้น จากนี้ไปพวกท่านก็จงนำทรัพย์เหล่านี้ ไปเป็นทุนเลี้ยงชีพเถิด ” เขาทั้งสองได้ให้ทานเป็นการใหญ่ แล้วออกไปสร้างอาศรมในภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ บวชแล้วเที่ยวหาผลาผลเลี้ยงชีพอยู่ในที่นั้นประมาณสิบปี ฌานสมาบัติก็ไม่ได้เกิดขึ้นแก่เขาทั้งสอง ฤาษีทั้งสองอยู่ในที่นั้นสิบปีด้วยความสุขเกิดแต่บรรพชา เมื่อต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยว จึงเที่ยวจาริกไปตามชนบทพระนครพาราณสีตามลำดับ อาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

         นักบวชทั้งสองพักอยู่ในนพระราชอุทยานอย่างสงบ จนเมื่อถึงวันหนึ่งก็ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น ครั้งนั้นเมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นบุรุษผู้เฝ้าสวนถือเครื่องบรรณาการมาเฝ้าก็เกิดความคิดที่จะเสด็จชมสวน “ เราอยากจะไปชมสวน เจ้าจงชำระสวนให้สะอาด ” “ เฮ้อ สวนนี้ก็ทำความสะอาดอยู่ ทุกวันอยู่แล้ว พระราชาคิดอย่างไรกันนะทำไมถึงคิดจะมาชมสวนขึ้นมา เฮ้อเหนื่อย ”

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

        เวลาต่อมาพระเจ้าพรหมทัตก็เสด็จมายังพระราชอุทยานที่นายอุทยานบาลนั้นชำระเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก ขณะนั้นนักบวชทั้งสองก็ยังนั่งให้กาลล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดแต่บรรพชาอยู่ ณ ด้านหนึ่งของพระราชอุทยาน “ ไม่ได้มาชมอุทยานนี้ตั้งนานแล้ว สบายใจจริงๆ ”

     ลำดับนั้นพระราชาเสด็จประพาสพระราชอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็นชน แม้ทั้งสองนั้นผู้นั่งอยู่แล้ว “ อ้าวในอุทยานนี้มีนักบวชด้วยรึ ทำไมเราไม่เคยรู้มาก่อน ” “ นักบวชทั้งสองนี้ได้มาพักที่อุทยานนี้ได้สักระยะหนึ่งแล้วพะยะค่ะ ” พระราชาเมื่อทรงได้แลดูนางปริพาชิกาผู้มีรูปร่างงามเลิศน่าเลื่อมใสยิ่ง ก็มีพระทัยปฏิพัทธ์

         พระองค์ทรงสะท้านอยู่ด้วยอำนาจแห่งกิเลส “ เราจักถามดูก่อน นางปริพาชิกานี้ เป็นอะไรกับดาบสนี้ ข้าแต่บรรพชิต นางปริพาชิกานี้เป็นอะไรกันกับท่าน ” “ มหาบพิตรไม่ได้เป็นอะไรกัน เป็นแต่บวชด้วยกันอย่างเดียว ก็แต่ว่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ นางนี้ได้เป็นบาทบริการิจาของอาตมาภาพ ” “ มิได้เป็นอะไรกันแล้วก็ดี ดูก่อนพราหมณ์ถ้าจะมีบุคคลมาพาเอานางปริพาชิกาผู้มีในตากว้าง งามน่ารักมีใบหน้าอมยิ้ม ของท่านไปด้วยกำลัง ท่านจะทำอย่างไรเล่า ”

       “ ข้าแต่มหาบพิตร ถ้าใครๆ พานางนี้ไปความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่อาตมาภาพภายใน ความโกรธนั้น ครั้นเกิดขึ้นแก่อาตมาภาพในภายในแล้ว ไม่พึงเสื่อมคลายไป ตราบเท่าที่อาตมาภาพยังมีชีวิตอยู่อาตมาภาพก็จักไม่ให้ความโกรธนั้นตั้งอยู่ข้างในโดยการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนได้โดยแท้แล อาตมาภาพจะข่มห้ามกันเสียด้วยเมตตาภาวนาโดยพลัน เหมือนเมล็ดฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลีที่เกิดขึ้นแล้วโดยพลันฉะนั้น ”

 

 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

    ฝ่ายพระราชาเมื่อได้ทรงสดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์แล้วก็ไม่อาจจะห้ามพระทัยของพระองค์ที่ทรงปฏิพัทธ์ได้ เพราะเป็นอันธพาล ทรงบังคับอำมาตย์คนหนึ่งให้นำนางปริพพาชิกานี้ไปยังพระราชนิเวศน์ “อธรรมกำลังเป็นไปในโลกไม่สมควรเลย อย่าทำกับเราอย่างนี้เลย พระองค์ได้โปรดเถอะ ”

      ดาบสสดับเสียงคร่ำครวญของนาง แลดูครั้งเดียวแล้วไม่ได้แลดูอีก พวกราชบุรุษก็นำนางผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ไปสู่พระราชนิเวศน์แล้ว พระราชาพาลแม้นั้น ก็มิได้เนิ่นช้าอยู่ในพระราชอุทยาน เมื่อเสด็จถึงพระราชวังพระเจ้าพรหมทัต รับสั่งให้พานางปริพพาชิกานั้นมาแล้วเชื้อเชิญให้ยศอันยิ่งใหญ่ แต่นางได้พรรณนาโทษของยศและคุณของบรรพชาอยู่เรื่อย 

 
 ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

     พระราชาทรงใช้วิธีการต่างๆ ก็ไม่สามารถจะผูกใจนางไว้ได้ จึงรับสั่งในขังนางไว้ในห้องหนึ่ง “ ปล่อยหม่อมฉันไปเถิด หม่อมฉันไม่ประสงค์ลาภยศอันใดทั้งนั้น หม่อมฉันต้องการศึกษาทางธรรมอย่างเป็นสุขเท่านั้น ” “ นางปริพพาชิกานี้ มีศีล มีกัลยาณธรรม ไม่ปรารถนายศปานนี้ แม้พระดาบสนั้น เมื่อคนเขาพานางมาที่นี้ เห็นปานนี้ไป ก็มิได้แลดูด้วยความโกรธ แต่ธรรมดาบรรพชิตย่อมมีมายามาก ประกอบอะไรๆ ขึ้นแล้วก็จะพึงทำความพินาศให้แก่เรา เราจะต้องดูให้รู้ก่อนว่าแกนั่งทำอะไรอยู่ ”

     พระราชาดำริดังนี้แล้วก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จึงเสด็จไปพระราชอุทยาน เมื่อเสด็จถึงอุทยานก็ทอดพระเนตรเห็นดาบสได้นั่งเย็บจีวรอยู่ พระราชาพร้อมด้วยบริวารเล็กน้อยค่อยๆ เสด็จเข้าไปไม่ให้มีเสียงพระบาท พระโพธิสัตว์ไม่ได้แลดูพระราชา เย็บจีวรเรื่อยไป “ ฮึ ดูสิ ทีแรกอวดอ้างว่าจะไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นจะข่มเสียโดยเร็วบัดนี้เป็นผู้กระด้างด้วยความโกรธ ไม่ปราศรัยกับเรา ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไรหนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่เห็นนั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้ ”

     “ มหาบพิตร อาตมาภาพได้ทำลายความโกรธนั้นเสียสิ้นแล้ว อันแต่คนเรา เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น เมื่อความโกรธไม่เกิดขึ้นบุคคลย่อมเห็นได้ดี ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้ปัญญา ผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละทิ้งกุศลเสีย ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟ อันบุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใดย่อมเผาไม้นั้นเองให้ไหม้ ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนพาลผู้โฉดเขลาไม่รู้จริง เพราะความแข่งดี แม้เขาก็ถูกความโกรธนั้นนั่นแหละเผาลนความโกรธย่อมเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ดุจไฟเจริญขึ้นในกองหญ้าแลไม้ฉะนั้น ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมไปเหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น ความโกรธของผู้ใดสงบลงได้ ประดุจไฟที่ไม่มีเชื้อฉะนั้น ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น” “ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โดยที่ไม่มีความโกรธ ขอท่านทั้งสองจงดำรงอยู่ด้วยความสุขเกิดแต่บรรพชา อยู่แต่ในพระราชอุทยานนี้เถิด ข้าพเจ้าจะช่วยพิทักษ์รักษาโดยชอบธรรมแก่ท่านทั้งสอง ”


  ชาดก 500 ชาติ จุลลโพธิชาดก-ชาดกว่าด้วยความโกรธ

     พระราชาได้ขอขมาโทษนมัสการแล้วเสด็จหลีกไป รับสั่งให้อำมาตย์ปล่อยตัวนางปริพพาชิกาแล้วพามาที่อุทยาน ให้บรรพชิตทั้งสองนั้นให้อยู่ ณ พระราชอุทยาน เมื่อนางปริพพาชิกาถึงมรณภาพ แล้วดาบสก็เข้าถิ่นหิมพานต์ไป ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิด เจริญพรหมวิหาร 4 แล้วไปสู่พรหมโลก พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุมักโกรธได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า
 

 

นางปริพพาชิกา กำเนิดเป็น มารดาพระราหุล
พระราชา กำเนิดเป็น พระอานนท์
ดาบสโพธิกุมาร เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

 


 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล