นิทานอีสป พร้อมคติสอนใจ

ลากับหมาน้อย

นิทานอีสป เรื่อง ลากับหมาน้อย
ผู้แต่ง : อีสป

นิทานอีสป เรื่อง ลากับหมาน้อย , ลากับหมาน้อย , นิทานอีสป , อีสป , นิทานสอนใจ , นิทานอีสปสอนใจ , นิทาน , aesop fables , aesop , พุทธภาษิต , นิทานสั้น , นิทานสั้นพร้อมข้อคิด , นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า , พุทธพจน์ , นิทานพื้นบ้าน , นิทานเด็ก , นิทานสอนเด็ก , นิทานการ์ตูน , การ์ตูน , การ์ตูนธรรมะ , การ์ตูนสี่สี , นิทานสี่สี , สัตว์น่ารัก , นิทานสัตว์ , การ์ตูนสัตว์ , การ์ตูนไทย , ธรรมะ , ธรรมะออนไลน์ , พุทธประวัติ , การ์ตูนเด็กดี , ศาสนาพุทธ , พระพุทธศาสนา , สื่อธรรมะ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สื่อสีขาว , Tale , cartoon , กัลยาณมิตร , นิทานธรรมะออนไลน์ , การ์ตูนเด็ก , ภาพการ์ตูนสวย , การ์ตูนคุณธรรม , รักการอ่าน , บันทึกรักการอ่าน , อีสป , นิทานอีสป รวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ ข้อคิดสอนใจ , fairy tale , อีสป , อีสบ, THE ASS AND THE LAP DOG

         กาลครั้งหนึ่ง มีลาตัวหนึ่งซึ่งเจ้านายของมันเลี้ยงหมาตัวเล็กๆ เอาไว้ด้วย เจ้าหมาตัวนี้เป็นที่โปรดปรานของเจ้านายมาก เขาลูบหัวมันอีกทั้งยังพูดจาดีๆ กับมัน แยังให้ของกินเล็กๆ น้อยๆ จากในจานของเขาอีกต่างหาก ทุกวันเจ้าหมาจะวิ่งไปหาเจ้านาย กระโดดโลดเต้นด้วยความรื่นเริงและกระโจนเลียมือตลอดจนใบหน้าของเขา

        เจ้าลาเห็นทั้งหมดนี้ด้วยความรู้สึกขุ่นเคืองใจยิ่งนัก แม้ว่ามันจะได้กินอย่างดีแต่มันก็ต้องทำงานหนัก ในขณะที่เจ้านายแทบไม่เคยเห็นหัวมันเลย

        ดังนั้นลาขี้อิจฉาจึงนึกเอาเองด้วยสมองโง่ๆ ของมันว่า ทั้งหมดที่ต้องทำเพื่อเอาชนะใจเจ้านายคือทำตัวให้เหมือนหมา ดังนั้นวันหนึ่งมันจึงออกจากคอกของมันแล้วเดินกุบกับเข้าไปในบ้านด้วยความกระตือรือร้น

        ครั้นเห็นเจ้านายนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหาร มันก็ดีดส้นเท้าพลางส่งเสียงร้องดังแหบแห้งกระโดดโลดเต้นไปมารอบๆ โต๊ะอย่างน่าเวียนหัวสร้างความรำคาญใจยิ่งนัก จากนั้นมันก็วางขาหน้าลงบนเข่าของเจ้านายแล้วแลบลิ้นออกมาเลียใบหน้าของเขา อย่างที่มันเคยเห็นเจ้าหมาทำ แต่น้ำหนักตัวของมันทำให้เก้าอี้หัก แล้วทั้งเจ้าลาและเจ้านายก็ล้มกลิ้งลงไปกองท่ามกลางจานชามที่หล่นแตกกระจายลงมาจากโต๊ะ

        ผู้เป็นนายตื่นตกใจกับพฤติกรรมแปลกๆ ของเจ้าลามากจึงร้องขอความช่วยเหลือ ไม่นานคนรับใช้หลายคนก็ได้ยินเสียงร้อง เมื่อพวกเขาเห็นเจ้านายกำลังตกอยู่ในอันตรายจากเจ้าสัตว์งุ่มง่าม พวกเขาก็ช่วยกันฉุดลากเจ้าลาขึ้นมา ลงมือเตะและตีมันกลับไปเข้าคอก พวกเขาก็ปล่อยมันไว้ ณ ที่นั้น ทิ้งให้มันคร่ำครวญกับความโง่เขลาซึ่งไม่ได้นำอะไรมาให้มันเลยนอกจากการกระหน่ำทุบตี

 

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::
พฤติกรรมซึ่งยอมรับได้สำหรับคนหนึ่งอาจหยาบคาย และเสียมารยาทกับอีกคนหนึ่ง
จงอย่าพยายามทำให้ผู้อื่นชื่นชอบด้วยการทำตัวขัดกับ บุคลิกและธรรมชาติของตัวเอง

 

:: พุทธภาษิต ::
"บัณฑิตย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว
เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน
สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง แม้พลาดพลั้งไป
ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติและโทสาคติ"

ชาตกฏฺฐกถา ๗/๓๘๘

 


 

THE ASS AND THE LAP DOG

      There was once an Ass whose Master also owned a Lap Dog. This Dog was a favorite and received many a pat and kind word from his Master, as well as choice bits from his plate. Every day the Dog would run to meet the Master, frisking playfully about and leaping up to lick his hands and face.

      All this the Ass saw with much discontent. Though he was well fed, he had much work to do, besides, the Master hardly ever took any notice of him.

      Now the jealous Ass got it into his silly head that all he had to do to win his Master's favor was to act like the Dog. So one day he left his stable and clattered eagerly into the house.

     Finding his Master seated at the dinner table, he kicked up his heels and, with a loud bray, pranced giddily around the table, upsetting it as he did so. Then he planted his forefeet on his Master's knees and rolled out his tongue to lick the Master's face, as he had seen the Dog do. But his weight upset the chair, and Ass and man rolled over together in the pile of broken dishes from the table.

      The Master was much alarmed at the strange behavior of the Ass, and calling for help, soon attracted the attention of the servants. When they saw the danger the Master was in from the clumsy beast, they set upon the Ass and drove him with kicks and blows back to the stable. There they left him to mourn the foolishness that had brought him nothing but a sound beating.

 

 Behavior that is regarded as agreeable in one is very rude and impertinent in another.
Do not try to gain favor by acting in a way that is contrary to your own nature and character.

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล