สรุปข่าวเด่น ธรรมะ น่ารู้

วัดพระธรรมกาย จัดพิธีถวายพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัยและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

วัดพระธรรมกาย จัดพิธีถวายพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัยและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน


670612_08.jpg

วัดพระธรรมกาย ได้จัดพิธีถวายพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัยและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน "น้อมบูชาธรรม 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย"


670612_07.jpg

          เมื่อวันที่ 1  มิถุนายน ที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนได้พร้อมใจกันมาร่วมประกอบพิธีถวายพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัยและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน "น้อมบูชาธรรม 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย" ณ ห้องแก้วสารพัดนึก 2 สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย โดยได้รับความเมตตาจากพระครูวิบูลนิติธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นประธานสงฆ์ นำคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนที่ทุกท่านจะได้ร่วมกันประกอบพิธีอาราธนาศีล 5 พร้อมกันนี้คณะสงฆ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และนำปฏิบัติธรรม เพื่อกลั่นกาย วาจา และใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ตามเทปเสียงหลวงพ่อธัมมชโย ก่อนที่คณะประธานจะได้นำกล่าวคำถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน ,พิธีกล่าวคำถวายทุนสนับสนุนการสร้างพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย ,พิธีกล่าวคำถวายทุนสนับสนุนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และพิธีกล่าวคำอธิฐานจิต พร้อมกันนี้คณะประธานและพุทธศาสนิกชนทุกท่านก็ได้ถวายทุนสนับสนุนการสร้างพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย และอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานแด่ท่านประธานสงฆ์และคณะสงฆ์ 


670612_06.jpg

          ในการท่านประธานสงฆ์ ก็ได้กล่าวสัมโมทนียกถา โดยมีใจความว่า“ภายหลังที่พระสัมสัมพุทธเจ้าได้ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ในยุคนั้นที่พระภิกษุได้ศรัทธาเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพียรพยายามที่จะรักษาพระธรรมวินัยสืบต่อส่งไปยังรุ่นหลัง ได้เอาชีวิตของตนเองเป็นทางผ่านของคำสอนของพระพุทธเจ้า   ส่งต่อมาตามลำดับแบ่งเป็น 4 ยุค ตามนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ยุคแรกเป็นยุคมุขปาฐะ คือ อาศัยการท่องจำ, ยุคที่ 2 คือการจารลงบนใบลานประเทศแรกคือประเทศศรีลังกา เป็นภาษาสิงหล และเข้าไปสู่ประเทศเมียนมาเป็นภาษาพม่า, ภาษาขอม มาเป็นพระไตรปิฎกประเทศไทยและประเทศกัมพูชา, ภาษาธรรมเป็นพระไตรปิฎกฉบับล้านนา ล้านช้าง และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เรียกว่า 4 สายจารีต, ยุคที่ 3 เกิดนวัตกรรมการพิมพ์ในประเทศไทย โดยเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกคือบาลีอักษรไทย จนมาถึงยุคที่ 4 คือยุคดิจิตอล เมื่อ 14 ปีที่แล้วหลวงพ่อธัมมชโยท่านได้ดำริโครงการพระไตรปิฎกฉบับธรรรมชัยให้เกิดขึ้น ด้วยการส่งทีมงานไปสำรวจทั้ง 4 สายจารีตว่ามีที่ใดบ้างทั้งในประเทศศรีลังกา ประเทศเมียนมา ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และเข้าสู่ขั้นตอนอนุรักษ์คัมภีร์โบราณทำความสะอาดจัดระเบียบและบันทึกภาพเป็นไฟล์ดิจิตอลนำกลับมาสู่ประเทศไทย ที่วัดพระธรรมกาย การแปลงอักษรใบลานเข้าสู่ระบบดิจิตอลเป็นอักษรบาลีโรมัน และฉบับธรรมชัยเป็นการอ้างอิง 4 สายอักษร ซึ่งการสร้างพระไตรปิฎกฉบับธรรรมชัยจะทำให้เราได้มีสายบุญที่หนาแน่นกับพระพุทธศาสนา จะไปเกิดในที่รุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในตระกูลสัมมาทิฐิ จะมีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย และที่สำคัญจะมีดวงปัญญาที่แตกฉานแทงตลอดในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โดยง่าย เมื่อถึงคราวบารมีเต็มเปี่ยมก็จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย”
 

670612_05.jpg

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล