ข่าวประชาสัมพันธ์ : กัลยาณมิตร ธรรมะออนไลน์

กฐินธรรมชัย 2556

วันที่ 01 ตค. พ.ศ.2556

กฐินธรรมชัย56

กฐินทาน มหากาลทานที่ไม่ธรรมดา

การทอดกฐินเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทุกยุคทุกสมัยมีความศรัทธาว่า เป็นยอดของมหากุศลที่มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ ด้วยเหตุนี้การทอดกฐินจึงเป็นงานบุญประจำปีที่ธุชนทั้งหลายต่างรอคอย

ประเพณีทอดกฐินถือกำเนิดมาตั้งแต่พุทธกาล โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นความสำคัญในการผลัดเปลี่ยนจีวรเก่าของพระสงฆ์ จึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อผลัดเปลี่ยนจีวรเก่าได้ และเกิดเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาสองพันกว่าปีจนกระทั่งปัจจุบัน

สำหรับความไม่ธรรมดาของกฐินทานนั้นเกิดจากเหตุหลายประการดังนี้   คือ

๑.ในการถวายผ้ากฐินนั้น ต้องถวายภายในกำหนด ๑ เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
๒.ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้นไม่เฉพระเจาะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
๓.พระภิกษุผู้รับผ้ากฐินต้องจำพรรษาที่วัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป
๔.แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
๕.ผ้าที่ถวายต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
๖.เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว ต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น

นอกจากนี้การทำบุญกฐินยังมีความพิเศษกว่าทานทั่วไป เพราะผู้รับและผู้ให้ต่างได้อานิสงส์ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย คือ

ผู้รับ (ฝ่ายสงฆ์) ได้รับอานิสงส์ตามวินัย ทำให้ได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญสมณกิจในช่วงเวลาที่ออกพรรษาแล้ว

ผู้ให้ (ฝ่ายฆราวาส) เมื่อทอดกฐินแล้ว ย่อมได้รับผลบุญอันยิ่งใหญ่จากการสงเคราะห์พระภิกษุผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งผ้าห่มใหม่และได้บุญจากการทะนุบำรุงพระศาสนาด้วย หากการทอดกฐินนั้นมีส่วนในการสร้างหรือบูรณะฏิสังขรณ์วัดวาอารามหรือศาสนาวัตถุ และที่สำคัญการทอดกฐินยังถือเป็นสังฆทาน  ซึ่งการถวายสังฆทานด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และเปียมด้วยศรัทธานั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่ามีผลมาก แม้แต่พระองค์เองก็ยังไม่ทรงเห็นที่ของอานิสงส์จากการถวายสังฆทาน คืออานิสงส์จากการถวายสังฆทานนั้นเป็นปริมาณมาก และส่งผลยาวนานจนพระพุทธองค์ก็ยังไม่ทรงสามารถเห็นที่สิ้นสุดได้

จึงขอเรียนเชิญท่านสาธุชนทั้งหลายไปร่วมทอดกฐินสามัคคีในครั้งนี้โดยทั่วหน้ากัน

ขออานุภาพคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศลในการทอดกฐินสามัคคีครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวเจร็ญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสาร บริวารสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มรรค ผล นิพพาน ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นไปด้วยชอบ ประกอบด้วยกุศล ขอให้ความปรารถนานั้นๆ จงเป็นผลสำเร็จ ทุกประการเทอญ

 

กำหนดการพิธีทอดกฐินสามัคคี
วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖

พิธีภาคเช้า

๐๖.๓๐ น.          พิธีตักบาตร

๐๙.๓๐ น.         ปฏิบัติธรรม / บูชาข้าวพระ

๑๐.๐๐ น.          ถวายภัตตาหาร

พิธีภาคบ่าย

๑๓.๓๐ น.          พิธีทอดกฐินสามัคคี / ปฏิบัติธรรม

๑๕.๓๐ น.          เสร็จพิธีทอดกฐิน

๑๘.๐๐ น.          คณะสงฆ์ทำพิธีกรานกฐิน

ควรสวมชุดขาว เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามของชาวพุทธ

 

อานิสงส์การร่วมบุญทอดกฐิน : จากพระไตรปิฎก

ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  มีชายคนหนึ่งชื่อนายติณบาล เขามีฐานะยากจนมาก แต่มีศรัทธาแรงกล้าอยากร่วมบุญกฐิน ถึงแม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองเลย แต่เค้าก็ขวนขวายหาทางร่วมบุญ

เขาตัดสินใจเอาเสื้อผ้าที่มีอยู่เพียงชุดเดียวไปขาย แล้วนำใบไม้มาเย็บเป็นผ้านุ่งกันอุจาค จากนั้นนำเงินจากการขายเสื้อผ้าไปซื้อด้ายและเข็มมาเป็นบริวารกฐินด้วยความปลื้มปิติเหลือประมาณ

การกระทำของนายติณบาลทำให้ท้าวสักกเทวราชแห่งสรรค์ขั้นดาวดึงส์เกิดความเสื่อมใสอย่างยิ่ง จนต้องเสด็จลงมาให้พร และเมื่อพระราชาทรงทราบเรื่องก็พระราชทานทรัพย์ให้เขาเป็นจำนวนมาก เขาจึงกลายเป็นเศรษฐีทันตาเห็นด้วยผลบุญจากการทอดกฐินด้วยศรัทธาที่เต็มเปี่ยม

เมื่อละโลกแล้ว นายติณบาลได้ไปเสวยทิพยสทบัติในสวรรค์ชั้นดาวดิงส์ ภพชาติสุดท้ายเขาได้ออกบวชในพระพุทธสศาสนาและบรรลุอรหัตผลด้วยอำนาจบุญที่เขากระทำมาดีแล้ว

 

อานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวร : จากพระไตรปิฎก

หากเกิดเป็นชาย ถ้าได้สั่งสมบุญด้านการถวายผ้าไตรจีวรมามากเพียงพอแล้ว จะได้บวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บวชให้ ซึ่งถือเป็นสุดยอดของการบวชในสมัยพุทธกาล

หากเกิดเป็นหญิง จะได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ที่เป็นสุดยอดของเครื่องประดับในยุคพุทธกาล ซึ่งในพระไตรปิฏกบันทึกไว้ว่า ในยุคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีสตรีผู้มีบุญมากเพียง ๓ ท่านเท่านั้นที่ได้ครอบครองเครื่องประดับนี้ คือ

                ๑.มหาอุบาสิกาวิสาขา

                ๒.นางมัลลิกาภรรยาของพันธุลเสนาบดี

                ๓.ลูกสาวเศรษฐีเมืองพาราณสี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล