โครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3
โครงการธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางพระผู้ปราบมาร
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 3
ถวายเป็นพุทธบูชา สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ สร้างบุญใหญ่ให้กับแผ่นดิน
( วันที่ 2 - 28 มกราคม พ.ศ. 2557 )
ในวันที่ 2 -28 มกราคม พ.ศ.2557 จะมีการเดินธุดงค์ของพระธุดงค์ธรรมชัยนับพันรูปบนเส้นทางพระผู้ปราบมาร ผ่านจังหวัดต่างๆ 7 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ
ขอเรียนเชิญผู้มีบุญทุกท่านไปเติมบุญรับศักราชใหม่ ด้วยการต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัยตลอดทั้ง 27 วัน ซึ่งในโอกาสนี้ ท่านจะปลาบปลื้มใจสุดประมาณ เมื่อได้เห็นรูปหล่อหลวงปู่ทองคำหลวงปู่วัดปากน้ำ ประดิษฐานอย่างสง่างามบนเทวรถ นำขบวนพระธุดงค์ธรรมชัยเดินประกาศศาสนาบนเส้นทางพระผู้ปราบมาร ที่มีสาธุชนนับแสนคนมารอรับ
1. หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจาก ในช่วงปีพุทธศักราช 2555 และ 2556 คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ องค์กรทางพระพุทธศาสนา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีกว่า 40 องค์กร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัย ในระหว่างวันที่ 2-25 มกราคม พ.ศ. 2555 และในระหว่างวันที่ 2-27 มกราคม 2556 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดินที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากภาครัฐและเอกชน ประชาชนทุกภาคส่วน
คณะกรรมการจัดงาน จึงได้ร่วมใจกันจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 3 ประจำปี 2557 ในวันที่ 2-28 มกราคม พ.ศ. 2557 โดยพระสงฆ์ทั่วประเทศ จำนวน 1,129 รูป เพื่อให้นักเรียนและประชาชน ได้มาร่วมทำกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์ และปฏิบัติธรรม ปลุกกระแสศีลธรรม ขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อุปสรรคต่างๆ เสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจ รวมทั้งยังได้ปลูกฝังให้นักเรียน และประชาชนได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ยกระดับความคิด และจิตใจให้สูงส่งด้วยศีลธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนสู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างยั่งยืน ฝึกให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักธรรม อปจายนมัย ทำให้สังคมไทย สงบสุข ยั่งยืนด้วยบารมีธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ ฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
2.2 สร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมที่มีคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง และ พัฒนาสู่การเป็นกลุ่ม/เครือข่ายผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.3 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านศีลธรรมให้แก่เครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน ในทุกระดับของสังคมทั่วประเทศ
2.4 ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ให้สมกับที่นานาประเทศเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
2.5 ปลุกกระแสศีลธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และความเป็นสิริมงคล ให้กับประชาชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนชาวไทย ได้สร้างบุญใหญ่ร่วมกัน ได้ตระหนักในหน้าที่ของชาวพุทธ เกิดภาพลักษณ์ ที่ดีแก่ประเทศ สร้างความศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ศีลธรรมโลกได้รับการฟื้นฟู
2. เกิดเครือข่ายและผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม ที่มีคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
3. เครือข่ายบ้าน วัด และโรงเรียน ในทุกระดับของสังคม เกิดความเข้มแข็งทางศีลธรรม
4. หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา เกิดพลังในการขับเคลื่อนงานด้านศีลธรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม
5. วัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ตลอดจนมาตรฐานศีลธรรมของเยาวชนไทย เยาวชนโลก และพลโลก ถูกยกระดับให้สูงขึ้น
6. ประชาชนเกิดกระแสศีลธรรมขึ้นในใจ เกิดความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต มีกำลังใจในการทำสิ่งที่ดีงาม ต่อตนเอง และประเทศชาติ
กำหนดการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3 และเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 3
ระหว่างวันที่ 2 - 28 มกราคม พ.ศ.2557
วันที่ 2 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดพระธรรมกาย เวลา 10.00 น. แวะพักที่ โฮมโปรรังสิต (12.7 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ เทคโนโลยีปทุมฯ/ม.ปทุม (9.4 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 22.1 ก.ม
ประมวลภาพ มหากุศลอันยิ่งใหญ่ ธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางพระผู้ปราบมาร ครั้งที่ 3
วันที่ 2 มกราคม 2557 คลิ๊กดูภาพเลยจ้า
*******************************************************************
วันที่ 3 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก เทคโนโลยีปทุมฯ/ม.ปทุมเวลา 09.30 น. แวะพักที่ โรงเรียนปทุมวิไล (4.2 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดบ่อทอง (11.3 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 15.5 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 4 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดบ่อทอง เวลา 12.30 น. จุดหมายปลายทาง คือ วัดคลองขวาง รวมระยะทางทั้งหมด 13.27 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 5 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดคลองขวาง เวลา 09.30 น. แวะพักที่ อบต.ไทรใหญ่ (8.15 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดตรีพาราสีมาเขต/ร.ร.วัดตรีพาราสีมาเขต (8.776 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 16.926 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 6 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดตรีพาราสีมาเขต/ร.ร.วัดตรีพาราสีมาเขต เวลา 09.30 น. แวะพักที่ ปั๊ม ปตท.บัวหวั่น (12.82 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.บรรหารแจ่มใสวิทยา 5 (4.95 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 17.774 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 7 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.บรรหารแจ่มใสวิทยา 5 เวลา 09.00 น. แวะพักที่ ร.ร.วัดใหม่พิบูลย์ผล (8.25 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ โลตัสแลนด์ (13.8 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 22.05 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 8 ม.ค 57 พัก / ทำกิจกรรมที่โลตัสแลนด์
*******************************************************************
วันที่ 9 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก โลตัสแลนด์ เวลา 09.00 น. จุดหมายปลายทาง คือ วัดสองพี่น้อง/ร.ร.วัดสองพี่น้อง รวมระยะทางทั้งหมด 1.4 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 10 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดสองพี่น้อง/ร.ร.วัดสองพี่น้อง เวลา 09.30 น. แวะพักที่ วัดใหม่พิบูลย์ผล (7.75 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดศิลามูล (11.3 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 19.05 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 11 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดศิลามูล เวลา 09.30 น. แวะพักที่ วัดผาสุการาม (11.7 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดรางกำหยาด (6.6 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 18.3 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 12 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดรางกำหยาด เวลา 09.30 น. แวะพักที่ วัดยอดพระพิมล (8.2 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.ไทรน้อย/ร.ร.วัดไทรใหญ่ (5.5 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 13.71 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 13 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.ไทรน้อย/ร.ร.วัดไทรใหญ่ เวลา 09.00 น. แวะพักที่ อบต.พิมลราช (11.2 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดบางรักใหญ่/ร.ร.วัดบางรักใหญ่ (11.555 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 22.755 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 14 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดบางรักใหญ่/ร.ร.วัดบางรักใหญ่ เวลา 09.00 น. แวะพักที่ วัดนครอินทร์ (10.5 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดโบสถ์(บน)บางคูเวียง/ร.ร.วัดโบสถ์บน (11.1 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 21.6 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 15 ม.ค 57 พัก / ทำกิจกรรมที่วัดโบสถ์(บน) บางคูเวียง (วันพระ)
*******************************************************************
วันที่ 16 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดโบสถ์(บน)บางคูเวียง เวลา 09.00 น. แวะพักที่ วิทยาลัยทองสุข (7.8 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.กาญจนาภิเษก (12.8 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 20.6 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 17 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.กาญจนาภิเษก เวลา 09.00 น. แวะพักที่ วัดนราภิรมย์ (14.1 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดสุขวัฒนาราม (7.5 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 21.6 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 18 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดสุขวัฒนาราม เวลา 08.30 น. จุดหมายปลายทาง คือ วัดบางปลา รวมระยะทางทั้งหมด 8.10 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 19 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก วัดบางปลา เวลา 09.00 น. แวะพักที่ ร.ร.คงทองวิทยา (12.1 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.วัดตาก้อง (9.7 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 21.8 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 20 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.วัดตาก้อง เวลา 09.30 น. แวะพักที่ ร.ร.เทศบาล วัดพระงาม (9.2 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.วัดพระประโทนเจดีย์/วัดพระประโทณเจดีย์ (7.0 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 16.2 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 21 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.วัดพระประโทณเจดีย์/วัดพระประโทณเจดีย์ เวลา 09.00 น. แวะพักที่ วัดตุ๊กตา (12.7 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ สนามกีฬา ภปร. ราชวิทยาลัย (11.3 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 24 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 22 ม.ค 5 เริ่มต้นจาก สนามกีฬา ภปร. ราชวิทยาลัย เวลา 09.00 น. แวะพักที่ วัดศรีสำราญราษฏร์บำรุง (12.8 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ พุทธมณฑล (10 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 22.8 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 23 ม.ค 56 เริ่มต้นจาก พุทธมณฑล เวลา 09.30 น. แวะพักที่ วิทยาลัยทองสุข (10.2 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ที่ดินตลิ่งชัน (8.4 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 18.6 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 24 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ที่ดินตลิ่งชัน เวลา 08.30 น. แวะพักที่ วัดปากน้ำ (14.4 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.วัดนวลนรดิศ (0.7 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 15.1 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 25 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.วัดนวลนรดิศ เวลา 09.00 น. แวะพักที่ สนามหลวง (10.4 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ ร.ร.ศรีอยุธยา (8.7 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 19.1 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 26 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก ร.ร.ศรีอยุธยา เวลา 08.30 น. แวะพักที่ โฮมโปรประชาชื่น (13.6 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ กรมชลประทาน (8.1 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 21.7 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 27 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก กรมชลประทาน เวลา 08.00 น. แวะพักที่ ห้างอิออนหลักสี่ (15.6 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ (10.7 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 26.3 ก.ม
*******************************************************************
วันที่ 28 ม.ค 57 เริ่มต้นจาก สนามกีฬาธูปะเตมีย์ เวลา 08.00 น. แวะพักที่ ม.เพชรอำไพ (13.6 ก.ม) จุดหมายปลายทาง คือ วัดพระธรรมกาย (5.9 ก.ม) รวมระยะทางทั้งหมด 19.5 ก.ม
*******************************************************************
แผนที่รวมทั้งหมดจาก Google.com
ธุดงค์คืออะไร
การประพฤติ...ธุดงค์เป็นวิธีที่สามารถกำจัดกิเลสได้แบบเฉียบพลันทันตาเห็น และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ
รวมทั้งยังมีอานิสงส์ให้บารมี 10 ทัศ เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้น
ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลส, เจตจำนงความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้
ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฏ
ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย ซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมาก เพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้น ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว, ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า, ไม่มีการใช้กลด, ไม่รับเงินเด็ดขาด เป็นต้น.
ธุดงควัตร 13 คืออะไร
หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก ‘ธุดงค์’ และมักจะนิยมเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า ‘พระธุดงค์’
ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
1. การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
2. การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)
หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
1. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน
2. ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
3. ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
4. ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
5. ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
1. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
2. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
3. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
4. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
5. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
6. ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
การถือธุดงค์บำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง
อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระที่จาริกไป ตามสถานที่ต่างๆ อยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในที่ต่างๆ เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ
พระในโครงการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ท่านถือธุดงค์ข้อไหนบ้าง ?
ตามพระวินัย ธุดงควัตรมีพุทธานุญาตไว้ 13 ข้อ พระในโครงการฯ ท่านถือธุดงควัตร 2 ข้อ คือ
1) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม
2) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อเจ้าหน้าที่ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่
ทำไมมาเดินธุดงค์ในเมือง ไม่ไปเดินในป่า ?
การเดินธุดงค์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
1. กระตุ้นให้เกิดกระแสการปฏิบัติธรรม ทำความดีในหมู่ประชาชน เพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อัปมงคลทั้งหลาย ให้หมดไปจากแผ่นดิน โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม
2. เป็นการเดินธุดงค์ตามเส้นทางที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านกำเนิด บรรลุธรรม เผยแผ่ธรรมครั้งแรก และละสังขาร เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า จะดำเนินตามปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านในการสร้างบารมี
พระจะเดินธุดงค์ไปไหนและจะไปพักกันที่ไหนบ้าง?
พระธุดงค์จะไปปฏิบัติธรรมตามเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ ค้นพบวิชชาธรรมกาย ระหว่างวันที่ 2 – 27 มกราคม 2555 โดยเริ่มต้นเดินจากวัดพระธรรมกาย พักปฏิบัติธรรมในสถานที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนีได้แก่ สถานที่เกิด สถานที่บวช สถานที่บรรลุธรรม สถานที่สอนธรรมะ เรื่อยไปจนถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ แล้วเดินกลับมาที่วัดพระธรรมกาย (จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร )
การเดินธุดงค์แล้วได้อะไร , ทำไปทำไม
1.1 ฟื้นฟูจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
1.2 รักษาธุดงควัตรของพระภิกษุ
1.3 ส่งเสริมศีลธรรมให้เกิดขึ้นระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
1.4 สร้างความสามัคคีกลมเกลียว ในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน
1.5 ปลูกฝังเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
1.6 ฟื้นฟูธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา เมื่อรับกฐินแล้ว พระภิกษุจะออกเดินธุดงค์
1.7 ให้เกิดทัสสนานุตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐแก่ผู้พบเห็นทั่วไป
1.8 สร้างความศรัทธาแก่ผู้ที่ยังไม่ศรัทธา และเพิ่มศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นสำหรับผู้ศรัทธาแล้ว
1.9 ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก
1.10 แสดงให้เห็นและตอกย้ำถึงความมีน้ำใจ ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ดังคำพูดที่ว่า
“มีทุกข์ไม่ทิ้งธรรม” ของคนไทย