วีดีโอ ธรรมะ .Mp4

วีดีโอ ธรรมะ VDOแจกฟรี สามารถเปิดอ่านได้จาก เครื่องเล่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (.MP4) ทั่วไป เช่น ipad, ipod, iphone , android และอุปกรณ์อื่นๆ

ค้นหา
โทษของการพูดไม่ถูกกาล

AIDhammaforpeople_02.jpg

โทษของการพูดไม่ถูกกาล

มีพระบาลีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มงคลสูตร ว่า 

“สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การกล่าววาจาสุภาษิต เป็นมงคลอันสูงสุด”

การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันนี้ คำพูดนั้นเป็นสื่อที่ใช้มากที่สุดก็ว่าได้ วาจาสุภาษิตนั้นหมายถึงคำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว คิดแล้วคิดอีกจึงพูดออกไป มิได้หมายความว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไปอย่างนั้น โดยขาดการพินิจพิจารณาเสียก่อน แต่น่าสังเกตว่า อวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ อย่างเช่น ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติก็ให้มาถึงสองตา หูมีหน้าที่ฟังอย่างเดียว แต่มีถึงสองข้าง จมูกมีหน้าที่ดมกลิ่น แต่ธรรมชาติก็ให้มาถึงสองรู แต่ปากทำหน้าที่ถึงสองอย่างด้วยกัน คือ ทั้งกินและพูด แต่ธรรมชาติกลับให้มาแค่ปากเดียวเท่านั้น เหมือนกับจะบอกว่า ธรรมชาติปรารถนาจะให้คนดูให้มาก ฟังให้มาก แต่พูดให้พอดีๆ ให้มีสติกำกับเวลาพูด เวลาจะทานอาหาร ก็ทานให้พอดีๆ ถ้าพูดน้อยไปก็จะทำให้การสื่อสารไม่สมบูรณ์ พูดมากไปก็เกิดโทษ ไม่พูดเลยก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้น การรู้จักพูดนั้นจึงเป็นคุณประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้พูดเองและผู้ฟังด้วย

แม้เราจะรับทราบกันมาแล้วว่า วาจาสุภาษิตเป็นสิ่งที่ดี แต่ในชีวิตประจำวัน การใช้วาจาสุภาษิตให้ได้ตลอดเวลาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่ต้องฝึกฝน การรู้จักใช้วาจาสุภาษิตที่สมบูรณ์นั้น ผู้พูดควรจะขบคิดคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง วันนี้หลวงพ่อจะนำองค์ประกอบของวาจาสุภาษิตมาทบทวนให้ได้ทราบกัน องค์ประกอบนั้นมีทั้งหมด ๕ ประการด้วยกันก็คือ

ประการแรก คำที่พูดนั้นต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา ไม่ใช่คำเท็จที่นั่งเทียนพูดกัน เพราะคำจริงแท้ ย่อมจะเป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่มีการต่อเติมเสริมแต่งให้ดูสมจริงสมจัง จริงแค่ไหนก็พูดแค่นั้น นี่ก็เป็นประการแรก

ประการที่สอง ต้องเป็นคำที่สุภาพ เป็นคำพูดที่ไพเราะ ซึ่งได้กลั่นกรองออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่คำที่หยาบคาย ประชดประชัน ส่อเสียด คำหยาบนี่ ฟังแล้วก็ระคายหู คิดถึงก็ขุ่นมัว

ประการที่สาม ต้องก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย คือเป็นผลดีทั้งแก่ผู้พูดและผู้ที่ได้รับฟัง คำพูดนั้นแม้จะเป็นความจริง สุภาพ แต่หากพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ เราก็ไม่ควรพูด เพราะมันจะก่อให้เกิดโทษมากกว่า

ประการที่สี่ ต้องพูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา มีความปรารถนาดีจริงๆ ไม่ใช่เสแสร้งแกล้งทำไป ต้องออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ จากหัวใจของยอดกัลยาณมิตรอยากจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์และมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป

ประการที่ห้า พูดให้ถูกกาลเทศะ เรื่องนี้หลวงพ่ออยากจะยํ้าว่าสำคัญมาก พูดถูกกาล คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนควรนิ่ง พูดถูกเทศะก็คือถูกสถานที่ รู้ว่าสถานที่อย่างนี้ควรพูดหรือไม่ควรพูดอย่างไร เป็นต้น

 

-----------------------------------------

พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

  • มก. เล่ม ๕๘ หน้า ๕๘๙

** ตัวละครนี้ถูกสร้างขึ้นโดย AI

------------------------------------------

 
โทษของการพูดไม่ถูกกาล

วีดีโอรายการธรรมะ อัลบั้ม โทษของการพูดไม่ถูกกาล

สามารถดูได้ทันที หรือ ดาวน์โหลดเก็บไว้ดูภายหลัง

คุณภาพของสื่อ :
2 2


 



สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล