นิทานอีสป เรื่อง แมวเสียงดัง
แมวที่ชอบส่งเสียงดังตัวหนึ่งบ่นกับเพื่อนของมันว่า "น่าประหลาดที่ผู้คนชอบแมวเงียบๆ อย่างเจ้า แต่พวกเขาใจร้ายกับข้า ไม่ว่าข้าจะไปไหนก็ถูกพวกเขาไล่เสมอ"
"บางทีอาจเป็นเพราะเจ้าทำให้ผู้คนขุ่นเคือง" เพื่อนของมันออกความเห็น
"เปล่า ข้าไม่เคยทำให้พวกเขาขุ่นเคือง"
"ถ้าเช่นนั้นอาจจะเป็นเพราะเจ้าร้องเมี๊ยวๆ ไม่เพราะ"
"เจ้าหมายความว่าอย่างไร" แมวยอดเสียงดังย้อนถาม "เสียงร้องของข้ายิ่งใหญ่มาก!"
"นั่นไงล่ะ ข้าว่าแล้ว" เพื่อนของมันพูด "ข้าจะบอกว่าเจ้านั้นแหละคือตัวปัญหา เจ้าควรทำงานของเจ้า ไม่ใช่เอาแต่ร้องเมี๊ยวๆ"
"แต่ข้าร้องเมี๊ยวๆ ได้ไพเราะมาก" แมวยอดอึกทึกเถียง
"ไม่ว่าเสียงของเจ้าจะไพเราะอย่างไรก็ตาม แต่มันไม่ใช่งานของแมว"
"แต่ข้าขอบอกเจ้าว่าข้าตั้งใจร้องจริงๆ และเมื่อออกไปข้างนอก แม้ว่าข้าจะร้องเมี๊ยวให้ตัวเองฟังเท่านั้น แต่ผู้คนทั้งหมู่บ้านก็ได้ยินเสียงร้องของข้ากันหมด"
"โอ้! สหายของข้า" แมวที่ชอบความเงียบร้อง "ยิ่งเจ้าร้องเสียงดังมากขึ้นเท่าใด เจ้าก็จะยิ่งไร้ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น!"
การกระทำที่ไม่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่หรือสถานการณ์ ไม่เพียงแต่ไร้ประโยชน์ ยังอาจทำให้เกิดความรำคาญและผลเสียต่อผู้ที่อยู่รอบข้าง
สัมมาวาจา (การพูดชอบ):
อัตตสัมปทา (การถึงพร้อมด้วยตนเอง):
สมถะและวิปัสสนา (การสงบและการพิจารณา):
โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาอย่างแยบคาย):