พระพุทธคุณ 9

วันที่ 09 พย. พ.ศ.2558

พระพุทธคุณ 9


พระพุทธคุณอันประเสริฐของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นประกอบด้วยองค์ 9 คือ
1. ทรงเป็นพระอรหันต์
2. ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
3. ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
4. ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
5. ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก
6. ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
7. ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว
9. ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม


           พระพุทธคุณอันประเสริฐยิ่ง ทั้ง 9 ประการนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายขยายความไว้โดยพิสดาร
ซึ่งอาจกล่าว รุปได้ดังนี้

 ทรงเป็นพระอรหันต์
"อรหันต์" เป็นเนมิตกนาม คือ นามที่เกิดขึ้นตามลักษณะและคุณสมบัติ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อพระพุทธองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อรหันต์เป็นนามเหตุ พระคุณนามอีก 8 ข้อที่เหลือนั้นเป็นนามผล คำว่า อรหันต์ มีความหมายเป็น 4 นัย1 คือ
นัยที่ 1 ไกลจากข้าศึก "ข้าศึก" หมายถึงกิเลสพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งนี้เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคแล้วโดยสิ้นเชิง จึงทรงพ้นจากกิเลสทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องดุจดวงแก้วอันหาค่ามิได้สมดังคำว่า พุทธรัตนะ เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า "พระอรหันต์"
นัยที่ 2 ทรงหักกำจักร "กำจักร" หมายถึงกิเลสทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหักกิเลสเหล่านั้นด้วยศาสตรา คือ ปัญญา เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า "พระอรหันต์"
นัยที่ 3 ทรงควรแก่ปัจจัย ทั้งนี้เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบริสุทธิ์หมดจดด้วยประการทั้งปวง จึงทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอันเลิศยิ่ง ย่อมควรแก่ปัจจัยและการบูชาเป็นพิเศษ ยิ่งกว่าพรหม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า "พระอรหันต์"
นัยที่ 4 ไม่ทรงทำชั่วในที่ลับ โดยเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดกิเลสตัณหา และอวิชชาทั้งปวง ด้วยมรรคและญาณโดยสิ้นเชิงแล้ว พระทัยจึงมั่นคงดังเสาเขื่อน ไม่แปรผันยินดียินร้ายประการใดการทำกรรมชั่วทั้งหลาย แม้ในที่ลับ ย่อมไม่มีแก่พระองค์ผู้คงที่ เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า "พระอรหันต์"

 

 ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สัมมาสัมพุทโธ" แปลตามศัพท์ว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ หรือโดยถูกต้อง เมื่อพิจารณาพระบาลีในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ว่า "จกฺขุ อุทปาทิสาณอุทปาทิ ปฺา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ"จะเห็นว่าคุณวิเศษ 5 อย่าง ดังบาลีที่ยกขึ้นกล่าวนี้ จะเป็นความหมายของคำว่า

"พุทโธ" กล่าวคือ จกฺขุ ความเห็นสาณ ความรู้ ปฺา ความรู้ชัด วิชฺชา ความรู้แจ้ง และ อาโลโก แสง สว่าง ทั้ง 5อย่างนี้ ประมวลเข้าด้วยกันรวมเป็นคำแปลของคำว่า "พุทโธ" ถ้าจะแปลให้สั้นเข้า "พุทโธ" ก็ต้องแปลว่า
"ทั้งรู้ทั้งเห็น" มิใช่รู้เฉยๆ โดยอาศัยคำว่า จกฺขุสาณที่ว่า "เห็น" นั้น มิได้มีความหมายว่าเห็นอย่างตาคนธรรมดาเห็น แต่พระองค์เห็นด้วยธรรมจักษุสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงรู้เห็นนั้น ตรงตามความเป็นจริงทั้งสิ้น มิใช่คาดคะเนหรืออนุมานเอา จึงได้ชื่อว่า
"ตรัสรู้" คำว่า "สัม" ที่นำหน้า "พุทโธ" นั้นแปลว่า ด้วยพระองค์เอง ไม่มีผู้อื่นสั่งสอนส่วนคำว่า "สัมมา"
แปลว่า "โดยชอบ" หรือ "โดยถูกต้อง" ดังนั้นพระองค์จึงเป็น "สัมมาสัมพุทโธ" คือ "ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ"
เพราะทรงรู้เห็นตรงตามความเป็นจริงโดยลำพังพระองค์เอง มิได้มีผู้ใดสอน


            สาเหตุที่พระองค์ทรงสามารถตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้ ก็เพราะความเป็น "อรหันต์" ของพระองค์ดังกล่าวแล้วนั่นเอง เนื่องจากอำนาจสมาธิทำให้จิตของพระองค์สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะทั้งปวงซึ่งนอกจากจะใสว่างแล้วยังหยุดนิ่ง จึงมีสิ่งที่ผุดขึ้นในนิ่ง ทำให้รู้ พระองค์ก็ทรงรู้ไปตามนั้น ทำนองเดียวกับน้ำในโอ่งที่นอนนิ่งสนิท ใสบริสุทธิ์แล้ว แม้มีเข็มอยู่ก้นโอ่งก็สามารถมองเห็นได้ที่กล่าวว่าพระองค์ตรัสรู้โดยถูกต้องนั้น หมายความว่า "ตรัสรู้ทั้งเหตุ ตรัสรู้ทั้งผล" กล่าวคือ ตรัสรู้เหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งสุข เหตุไม่ทุกข์และไม่สุข คือ ภาพเป็นกลางๆ หรือเรียกว่า "อัพยากฤต"เหตุแห่งทุกข์ก็คือ อกุศลมูลทั้ง 3 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือโลภ โกรธ หลง เหตุแห่งสุขก็ตรงกันข้ามกับเหตุแห่งทุกข์ คือ กุศลมูล ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เหตุแห่งไม่ทุกข์ไม่สุขหรืออัพยากฤต ก็คือ ภาพเป็นกลางๆ ไม่เป็นทั้งกุศลหรืออกุศล
สิ่งที่ลึกซึ้งกว่านี้ก็คือ ทรงตรัสรู้เหตุที่ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ในสังสารวัฏโดยมิรู้จบสิ้นรวมทั้งตรัสรู้วิธีดับเหตุเหล่านั้นได้อย่างสิ้นเชิง โดย รุปก็คือ ทรงตรัสรู้ "อริยสัจ" ซึ่งมีทั้งเหตุและผลอย่างสมบูรณ์เนื่องจากทรงรู้และเห็นแจ้งแทงตลอด ในสัจธรรมอันประเสริฐเช่นนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า"สัมมาสัมพุทโธ" คือ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

 

ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
พระพุทธคุณข้อนี้ประกอบด้วยองค์ 2 คือ วิชชา และจรณะวิชชา ในที่นี้หมายถึง "ความรู้ที่กำจัดความมืด" ความมืด หรืออวิชชา หมายถึงความมืดมนอยู่ด้วยกิเลสสรรพสัตว์ที่ยังมืดมนอยู่ด้วยกิเลส ย่อมดำเนินชีวิตผิดพลาด จึงต้องรับผลกรรม เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารโดยหาทางออกไม่ได้ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชา 8 ประการ อันทำให้พระองค์รู้เห็นความเป็นไปของสรรพสิ่ง อย่างถูกต้อตามความเป็นจริง จึงทรงกำจัดความมืดมนได้อย่างสิ้นเชิงวิชชา 8 ประกอบด้วย
1) วิปัสนาญาณ คือ ญาณที่ทำให้เข้าใจสังขารตามความเป็นจริง
2) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ
3) อิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
4) ทิพพโสต คือ หูทิพย์
5) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ทำให้กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
6) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
7) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
8) อา วักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้กิเล อาสวะหมดสิ้น

 

จรณะ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา มีองค์ 15 ได้แก่
1) ศีลสังวร คือ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์
2) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้อารมณ์ส่วนที่จะชักนำไปทางชั่วเข้าติดอยู่ได้สังวรเหล่านี้มีประจำพระองค์เป็นปรกติอยู่เสมอ ไม่จำต้องพยายามฝนอย่างปุถุชนทั้งหลาย
3) โภชเนมัตตัญุตา คือ การรู้ประมาณในการบริโภคให้พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยาที่เราควรเจริญรอยตามว่า การบริโภคอาหารถ้ามากเกินไป แทนที่จะเป็นคุณแก่ร่างกาย กลับเป็นโทษ
4) ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้ตื่นอยู่เสมอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้สึกพระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได
5)สัทธา คือ ความเชื่อมั่นในความจริงและความดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยสัทธาอย่างอุกฤษฏ์ ดังปรากฏในชาดกต่างๆ ที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมี โดย ละทั้งทรัพย์สินอันเป็นของนอกกาย ละทั้งเนื้อเลือด และ ละได้แม้ชีวิตมาแล้วอย่างสมบูรณ์ เพื่อการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
6) หิริ คือ ความละอายต่อความชั่ว
7) โอตตัปปะ คือ ความกลัวบาป กลัวทุจริต และความชั่วต่าง ๆ คุณธรรมทั้ง 2 ประการ คือ หิริและโอตตัปปะนี้ เป็นจรณะประจำพระองค์อย่างสมบูรณ์
8) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ฟังมาก เรียนรู้มาก คุณธรรมข้อนี้ มีประจำพระองค์มาตั้งแต่ครั้งยังสร้างบารมี ทรงเอาพระทัยใส่ฟังธรรมในสำนักต่างๆ เป็นลำดับมา ได้ศึกษาจนกระทั่งเจนจบศิลปะ 18ประการ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสิทธัตถะราชกุมาร
9) วิริยารัมภะ คือ การทำความเพียรอย่างไม่ลดละ ดังเช่นทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 เป็นประจำ คือเวลาเช้าบิณฑบาต เวลาเย็นทรงแสดงธรรม เวลาค่ำทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุ เวลาเที่ยงคืนทรงเฉลยปัญหาแก่เหล่าเทวดา เวลาใกล้รุ่งทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด
10) สติ คือ การคุมใจไว้กับงานหรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เผลอหรือหลงลืมสติเป็นเครื่องกั้นความอยาก เป็นเครื่องระวังอารมณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีสติอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสติที่ตรึกเข้าไปในกาย เวทนา จิต ธรรม
11) ปัญญา คือ ความรอบรู้ในกองสังขาร เพราะมองเห็นตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีความรู้ ความเห็นกว้างขวาง ทรงสามารถหยั่งรู้เหตุผลถูกต้อง ตามความเป็นจริง ไม่มีผิดพลาด
12) ปฐมฌาน
13) ทุติยฌาน
14) ตติยฌาน
15) จตุตถฌาน


             รูปฌานทั้ง 4 ข้อหลังนี้ คือ ภาวะที่จิต งบ เป็นสมาธิ ประณีต ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นตามลำดับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงอาศัยรูปฌาน 4 นี้ ขยับขยายโลกียปัญญาไปสู่โลกุตตรปัญญา บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุทโธยิ่งกว่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงทราบว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดไร้ประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย นอกจากจะทรงเลือกปฏิบัติเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทรงถ่ายทอดคุณธรรมที่เป็นประโยชน์เหล่านั้น ให้แก่เหล่าสาวกทั้งหลาย ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่อีกด้วย เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า "ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ"

 

ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สุคโต" แปลว่า "ผู้เสด็จไปดีแล้ว" มีความหมายเป็น 4 นัยคือ
1) เสด็จไปดี
2) เสด็จไปถูกต้อง
3) เสด็จไปสู่ฐานะที่ดี
4) เสด็จไปงาม


1) เสด็จไปดี หมายความว่า พระองค์ทรงประพฤติดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ทรงประพฤติสม่ำเสมอมาเป็นอเนกชาติ จนเมื่อพระบารมีเต็มเปียมสดับขันธ์จากชาติหนึ่งก็ไปสู่สุคติทุกชาติ ไม่ไปสู่ทุคติเลย เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า "สุคโต"


2) เสด็จไปถูกต้อง หมายความว่า พระองค์ทรงดำเนินกาย วาจา ใจ ไปในแนวอริยมรรค ได้แก่มรรคมีองค์ 8 ซึ่งย่อลงเป็น ศีลสมาธิ ปัญญาในเบื้องต้น พระองค์ทรงอบรมกายและวาจาด้วยศีล เรียกว่า ทรงดำเนินทางศีล ทรงมีศีลสะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จนปรากฏผลในการปฏิบัติเป็น "ดวงศีล" มีลักษณะเป็นดวงใสอยู่ที่ศูนย์กลางกายจากนั้น ทรงอบรมใจด้วยสมาธิ โดยนำใจไปหยุดอยู่ตรงกลางดวงศีลนั้น หยุดสงบ จนราคะ โทสะโมหะ อภิชฌา พยาบาท เข้ามาครอบงำพระทัยของพระองค์ไม่ได้ พระทัยจึงใสบริสุทธิ์ เป็นสมาธิ หยุดนิ่งจนกระทั่ง "รู้" ผุดขึ้น เรียกว่า "ปัญญา" หยุดนิ่งเข้าไปเช่นนั้น จนเข้าถึงกายภายใน ที่ละเอียดประณีตยิ่งๆ ขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึงธรรมกายแล้วอาศัยธรรมกาย เข้าสมาบัติเห็นแจ้งอริยสัจต่อไปเมื่อถูกส่วนแล้วจึงตกศูนย์ เข้าถึงความเป็นโสดาบันบุคคลสกิทาคามีบุคคล อนาคามีบุคคลตามลำดับ จนเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า "สุคโต"


3) เสด็จไปสู่ฐานะที่ดี หมายความว่า เสด็จไปสู่ฐานะอันประเสริฐ และเป็นอมตะตลอดไป ดังพระบาลีว่า เขม ทิ  คจฺฉมาโน แปลว่า ไปสู่แดนอันเกษม คือ นิพพาน ในขณะทรงมีพระชนม์อยู่ ก็เข้าอุปาทิเสนิพพาน หรือ นิพพานเป็น ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของธรรมกาย และเมื่อจะดับขันธ์ พระองค์ก็เข้าสมาบัติ อนุปาทิเสนิพพาน หรืออายตนนิพพานก็จะดึงดูดธรรมกายของพระองค์เข้าสู่นิพพานไป เช่นนี้เรียกว่า เสด็จไปสู่แดนอันเกษม หรือเสด็จไปสู่ฐานะที่ดี เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า "สุคโต"


4) เสด็จไปงาม หมายความว่า ทรงพระดำเนินงาม เช่น เมื่อครั้งเสด็จพระดำเนินไปโปรดปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนะนั้น เสด็จพระดำเนินไปโดยพระบาท มีฉัพพรรณรัง สีรุ่งโรจน์ จนแม้แต่สัตว์จตุบาททวิบาทที่ได้แลเห็น ต่างก็งงงันพากันหยุดนิ่งตะลึงไปหมด ทรงพระดำเนินงามหรือเสด็จไปงามเช่นนี้ จึงทรงพระนามว่า "สุคโต"

 

ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก
          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โลกวิทู แปลว่า "ผู้รู้แจ้งโลก" คำว่า โลก ในที่นี้มีความหมายเป็น 2 นัย คือ
นัยที่ 1 "โลก" หมายถึงชีวิตร่างกายของเรา ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
"...อาวุโสในร่างกายซึ่งมีประมาณวาหนึ่ง มีพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจนี้แลเราบัญญัติโลกไว้ บัญญัติเหตุเกิดโลกไว้ บัญญัติความดับโลกไว้ และบัญญัติทาง อันจะให้ถึงความดับโลกไว้"


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงสภาพอันแท้จริงของชีวิตคนเราว่า ต้องมีความแก่เฒ่าเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องกระทบกับความเย็น ร้อน หิว กระหาย ประสบกับสิ่งที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ทรงบัญญัติเรื่องนี้ว่า "ทุกขอริยสัจ"ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงเหตุแห่งการเกิดของชีวิต ซึ่งทรงบัญญัติว่า "ทุกขสมุทัยอริยสัจ"
ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงการหยุดเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ซึ่งทรงบัญญัติว่า "ทุกขนิโรธอริยสัจ"ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงวิธีปฏิบัติ เพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งทรงบัญญัติว่า "ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจ" หรือ "มรรคอริยสัจ"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียก "นิโรธ" ว่า "ที่สุดแห่งโลก" ณ ที่สุดแห่งโลกนั้น ไม่ต้องเกิดไม่ต้องแก่ ไม่ต้องตาย บุคคลที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ย่อมไม่สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ที่สุดแห่งโลกนั้น ไม่สามารถไปถึงได้ด้วยยวดยานใดๆ ทั้งยังไม่ปรากฏว่า มีบุคคลอื่นใดจะพึงทราบ พึงเห็น พึงถึงที่สุดของโลกเลย แต่พระองค์นั้นทรงทราบชัดด้วยญาณทัสนะอันเกิดจากการปฏิบัติธรรม และทรงถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ทรงอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว2 ทรงสงบด้วยประการทั้งปวง มิได้ทรงหวังโลกนี้และโลกหน้าอีกเลย เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า "โลกวิทู" คือ "ทรงรู้แจ้งโลก"


นัยที่ 2 "โลก" หมายถึงโลก 3 ซึ่งประกอบด้วย
1)สังขารโลก หมายถึง ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณ
2)สัตวโลก หมายถึงสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดโดยอาศัยขันธ์ 5
3) โอกาสโลก หมายถึง โลกภายนอก คือ แผ่นดิน มหาสมุทร จักรวาลทั้งปวง ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยขันธ์ 5 ก็อาศัยอยู่ในโอกาสโลกนี้อีกชั้นหนึ่งที่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก จึงหมายถึงการที่พระองค์ทรงรู้ถึงจริต อัธยาศัยอินทรีย์ กรรม ทิฏฐิ ธรรมอันทำให้เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายอย่างกระจ่างแจ้ง ทรงรู้ถึงลักษณะของขันธ์ 5อันเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ และแม้โครงสร้าง องค์ประกอบแห่งจักรวาล โลกภายนอกที่ล้อมรอบตัวเราอยู่ พระองค์ก็ทรงรู้โดยสิ้นเชิง

 

ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ" แปลว่าสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า อาจแยกพิจารณาพระนามของพระองค์เป็น 3ส่วน คือ
1) อนุตตโร
2) ปุริ ทัมม
3)สารถิ
1) อนุตตโร หมายความว่า ยอดเยี่ยมอย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เหตุที่ทรงมีพระนามนี้ก็เพราะทรงพระคุณอันประเสริฐ บริบูรณ์ด้วยศีลสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ อย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ไม่ว่าจะเป็นพรหม เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
2) ปุริสทัมม หมายถึง ผู้ที่ฝึกได้หรือควรฝึก ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือติรัจฉานก็ตาม
3)สารถิ หมายถึง ผู้บังคับ หรือผู้ฝึกปุริสทัมมสารถิ จึงหมายความว่า พระองค์ทรงสามารถฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ ไม่ว่าจะเป็นติรัจฉาน มนุษย์หรืออมนุษย์ก็ตาม ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า แม้สัตว์ติรัจฉาน เช่น พญานาค หรือช้าง พระองค์ยังทรงฝึกให้สัตว์เหล่านั้นละพยศ แล้วตั้งอยู่ในศีล แม้มนุษย์ เช่น อัมพัฏฐมาณพที่ไปรุกรานพระองค์ ในที่สุดก็ต้องไปกราบทูลขอขมาโทษ พร้อมกับโปกขรสาติพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ หรือแม้อมนุษย์ เช่น อาฬวกยักษ์ พระองค์ยังทรงแนะนำสั่งสอน จนอาฬวกยักษ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเมื่อนำคำ "อนุตตโร" และ "ปุริสทัมมสารถิ" มารวมกัน จึงมีความหมายว่า พระองค์ทรงพระคุณอันประเสริฐอย่างหาใครเสมอเหมือนมิได้ จึงทรงสามารถฝึกอบรมผู้ที่ควรฝึก ให้มีคุณธรรมและมีดวงตาเห็นธรรม แม้บุคคลที่ผู้อื่นฝึกไม่ได้ พระองค์ก็ทรงฝึกได้ เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า "ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า"

 

ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สัตถา เทวมนุสานัง" แปลว่า "ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย" เหตุที่ทรงพระนามว่า "สัตถา" คือ "ศาสดา" ก็เนื่องจากพระองค์ทรงประกาศพระศาสนาและพระธรรมเทศนาที่ทรงแ ดงแต่ละครั้งๆ แม้จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายเป็นแนวเดียวกัน คือ มุ่งประโยชน์ในภพนี้ ภพหน้า และประโยชน์สูงสุด คือ นิพพานการแสดงธรรมของพระองค์นั้น นอกจากทรงมีพระมหากรุณาอย่างยิ่งใหญ่แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ พระองค์จึงทรงสั่งสอนอบรมเหล่าสัตว์โลก ได้อย่างกว้างขวาง ดังปรากฏในพุทธกิจประจำวันว่า เวลาเย็นทรงแสดงธรรม เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ เวลาเที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดาด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า "ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"


 ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พุทโธ" แปลว่า "ผู้เบิกบานแล้ว" บางแห่งแปลว่า "ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว"ที่แปลว่า "ผู้ตื่น" นั้น มีความเป็น 2 นัย คือ
นัยที่ 1 พระองค์ตรัสรู้ไญยธรรม หรือธรรมอันควรรู้หมดสิ้นทุกประการ พระองค์จึงทรงเป็น"ผู้ตื่น" คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติผิดๆ ทั้งหลาย ที่ยึดถือปฏิบัติกัน มานานแสนนานอีกทั้งยังทรงปลุกผู้อื่น ให้พ้นจากความหลงงมงายกับคำสอนผิดๆ ซึ่งถ่ายทอดต่อๆ กันมาด้วย
นัยที่ 2 พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระญาณอันยิ่งของพระองค์เอง พระองค์จึงทรงเป็น"ผู้ตื่น" คือ ทรงตื่นจากความไม่รู้ แล้วทรงสั่งสอนสัตว์โลกทั้งหลายให้รู้และปฏิบัติตาม จนกระทั่งบรรลุอรหัตตผล เข้านิพพานตามพระองค์ไปมากมายส่วนที่แปลว่า "ผู้เบิกบาน" ก็เพราะนำไปเปรียบกับดอกบัว กล่าวคือ การที่พระองค์ทรงประกอบ
ความเพียรด้วยประการต่างๆ มานานถึง 6 พรรษา ขณะที่ยังมิได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณย่อมเปรียบได้กับดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ครั้นเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเปรียบได้กับดอกบัวที่บานแล้วยามต้องแสงอาทิตย์อุทัย พระหฤทัยของพระองค์ย่อมผ่องแผ้ว เบิกบานเต็มที่

        ความหมายทั้ง 2 นัย ดังกล่าวแล้วนี้ คือ คำแปลของ "พุทโธ" ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า "ทรงเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว"

 

 ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "ภควา" ศัพท์คำนี้มีความหมายหลายอย่าง คือ
1) ผู้มีภาคย์
2) ผู้หักกิเล
3) ผู้มีภคธรรม
4) ผู้จำแนกธรรม
5) ผู้คบวิหารธรรมฝ่ายดี
6) ผู้คายตัณหาในภพ


1) ผู้มีภาคย์ คำว่า "ภาคย์" แปลว่า โชคดี หรือบุญกุศล ผู้มีภาคย์จึงหมายความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบริบูรณ์ด้วยกุศลธรรม ผลบุญจึงทำให้พระองค์ได้รูปกายที่เปียมด้วยบุญลักษณะครบถ้วนทรงได้รับความสุขอันประณีต ทั้งฝ่ายโลกียะ และโลกุตตระ ทรงเป็นผู้ประสบแต่โชคดี ด้วยบุญบารมีของพระองค์


2) ผู้หักกิเลส หมายความว่า พระองค์ทรงกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อวิชชา ตลอดจนอกุศลธรรมทั้งปวงออกจากพระทัยได้เด็ดขาดแล้ว โดยสรุปก็คือ พระองค์ทรงเป็น ผู้บริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอาสวะใดๆ ทั้งสิ้น จึงทรงพระนามว่า "ภควา"


3) ผู้มีภคธรรม ศัพท์ว่า "ภคะ" หมายถึง คุณสมบัติ 6 ประการ คือ
1. อิสริยะ ได้แก่ ความเป็นใหญ่ หรือความเป็นเจ้า
2. ธัมมะ ได้แก่ โลกุตตรธรรม หรือเหนือโลก
3. ยศ ได้แก่ ชื่อเสียง
4.สิริ ได้แก่ มิ่งขวัญ หรือความ ง่าผ่าเผย
5. กาม ได้แก่ ความสำเร็จตามที่ปรารถนา
6. ปยัตตะ ได้แก่ ความขะมักเขม้น หรือความตั้งใจ
          ด้วยคุณสมบัติทั้ง 6 ประการนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมยังประโยชน์ ให้สำเร็จได้ตามปรารถนาทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของพระองค์เอง หรือประโยชน์ของผู้อื่น เพราะเหตุนี้พระองค์จึงทรงพระนามว่า "ภควา"


4) ผู้จำแนกธรรม หมายความว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้แจ้งธาตุธรรมทั้งปวงด้วยญาณของธรรมกาย จึงทรงสามารถจำแนกแยกแยะธรรมส่วนที่ละเอียดๆ ให้เห็น เช่น ทรงจำแนกขันธ์ ธาตุ อายตนะ จิต อินทรีย์ ปฏิจจ มุปบาท อริยสัจเป็นต้น ทรงจำแนกอริยสัจออกเป็น "ทุกข์" มีความหมายว่าเป็นเครื่องบีบคั้น ปัจจัยปรุงแต่งให้เร่าร้อนแปรปรวน เป็น "สมุทัย" มีความหมายว่า เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็น "นิโรธ" มีความหมายว่า เป็น ภาพที่ทุกข์ดับไป เป็นความสงัด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ยังผลให้ "หยุด" ตลอดไป เป็น "มรรค" มีความหมายว่าเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ เมื่อทรงจำแนกธรรมแล้ว ก็ทรงนำไปสั่งสอนตลอดเวลาแห่งการประกาศพระศาสนา

          อนึ่ง ภาวะที่พระองค์ทรงเป็นที่นับถือของชาวโลก อย่างกว้างขวาง การที่พระองค์ทรงบำบัดทุกข์ทางกาย และใจให้แก่หมู่ชนที่เข้าไปเฝ้า การที่ทรงอุปการะชนเหล่านั้นด้วยอามิสทาน และธรรมทานตลอดจน ทรงพระปรีชาสามารถชักนำให้สัตว์ทั้งหลายประสบความสุข ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระคุณสมบัติเหล่านี้คืที่มาของพระนามว่า "ภควา"


5) ผู้คบวิหารธรรมฝ่ายดีหมายความว่า พระองค์ทรงเสพทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร ทรงเสพความสงัดทางกาย ทางใจ สงบอยู่ในธรรมกาย ทรงเสพรสแห่งอมตธรรม หรือนิพพาน เพราะเหตุนี้พระองค์จึงทรงพระนามว่า "ภควา"


6) ผู้คายตัณหาในภพ หมายความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ หมดจดจากอาสวกิเลส ทั้งปวง ย่อมบรรลุนิพพาน ไม่มีการเวียนกลับไปสู่ภพ 3 อีก เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า"ภควา"

-----------------------------------------------

SB 304 ชีวิตสมณะ

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014493664105733 Mins