มงคลหมู่ที่ 10 ผลจากการปฏิบัติธรรมจนหมดกิเลส
มงคลหมู่ที่ 10 ผลจากการปฏิบัติธรรมจนหมดกิเลส
มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ 36 จิตไม่โศก
มงคลที่ 37 จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ 38 จิตเกษม
ผลจากการปฏิบัติธรรมจนหมดกิเลสเมื่อเราอาบน้ำชำระร่างกายเรียบร้อยแล้วก็จะมีผลตามมา ซึ่งเราอาจบรรยายได้หลายลักษณะ เช่นไม่สกปรก ไม่เลอะเทอะ ไม่เหนียวเหนอะหนะสะอาดสดชื่นผ่องใส
ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติฝึกฝนตนเองตามลำดับจนกระทั่งทำนิพพานให้แจ้ง กิเลสต่างๆร่อนหลุดไปจากใจ ถึงเป้าหมายสูงสุดของการพันาตนเองตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเราก็อาจบรรยาย ภาพจิตของเราในขณะนั้นได้หลายลักษณะ เช่น
1. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ ภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว มีใจตั้งมั่น มีความหนักแน่น
เหมือนขุนเขา เป็นอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายในลาภ ยศ สรรเสริญสุข หรือเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา
ทุกข์อีกต่อไป
2. จิตไม่โศก คือ ภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว หลุดพ้นจากยางเหนียวแห่งบ่วงสิเน่หา
ไม่ลุ่มหลงในความรักอีกต่อไป มีใจที่อิ่มเอิบ ไม่แห้งผาก ผ่องใสไม่เศร้าหมอง
3. จิตปราศจากธุลี คือ ภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว กิเล ต่างๆ ทั้งหยาบทั้ง
ละเอียดร่อนหลุดไปจากใจหมด เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวอย่างนั้น
4. จิตเกษม คือ ภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว มีความสุข ปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลายอันเนื่องจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสารสามารถตัดโยคะ เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพทั้งสามได้ขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จึงมีอิ ระเสรีเต็มที่ มีความรู้ความสามารถพิเศษเกิดขึ้นหลายประการ มีใจที่สะอาดผ่องใสบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เข้านิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ภูเขาศิลาล้วนย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
เพราะแรงลมฉันใด
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมคืออะไร
จิตหวั่น คือความหวั่นหวาดกังวล กลัวว่าจะประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ
จิตไหว คือความปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักที่ชอบใจ
โลกธรรม คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นประจำโลก ใครๆ ก็ต้องพบหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสบ มีอยู่ 8 ประการ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ก. ฝ่ายที่คนทั่วไปปรารถนาอยากได้ คือ
1. ได้ลาภ คือการได้ผลประโยชน์ เช่น ได้ทรัพย์ ได้ลูก ได้เมีย ได้บ้าน ได้ที่ดิน ได้เพชรนิลจินดาต่างๆ เป็นต้น
2. ได้ยศ คือการได้รับตำแหน่ง ได้รับฐานะ ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
3. ได้สรรเสริญ คือการได้ยินได้ฟังคำชมเชย คำยกยอ คำสดุดีที่คนอื่นให้เรา
4. ได้สุข คือได้รับความสบายกายสบายใจ ได้ความเบิกบานร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ ยังไม่ได้ก็คิดหา ครั้นหาได้แล้วก็คิดหวง หวงมากๆ เข้าก็หึง การที่จิตมีอาการหา หวง ห่วง หึง นี่แหละ เรียกว่า จิตไหว
ข. ฝ่ายที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตน คือ
1. เสื่อมลาภ คือผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วเสียไป เช่น เสียเงิน เสียที่อยู่ ลูกรักตายเสียเมียรักตายจาก
2. เสื่อมยศ คือถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
3. ถูกนินทา คือถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่าในที่ต่อหน้าหรือลับหลัง
4. ตกทุกข์ คือได้รับความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางใจ
ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้วก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก
จิตไม่หวั้นไหวในโลกธรรมหมายถึง อะไร
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึง ภาพจิตของผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว มีใจตั้งมั่นเกิดความมั่นคงหนักแน่นดุจขุนเขา เป็นอุเบกขาวางเฉยได้
เมื่อพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ จิตก็ไม่หวั่น
เมื่อพบกับความได้ลาภ ได้ยศ ได้ รรเสริญ เป็นสุข จิตก็ไม่ไหว
เพราะรู้เท่าทันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนอะไร ลาภ มีได้ก็เสื่อมได้ยศตำแหน่งใหญ่โตก็ไม่ใช่ของเราตลอดไปสรรเสริญ นินทาสุข ทุกข์ ทุกคนต้องพบทั้งนั้น และในที่สุดก็ต้องเสื่อมหายไปเป็นธรรมดาตามกฎของไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสามัญลักษณะ คือลักษณะประจำของทุกสรรพสิ่งในโลก
ของต่างๆ ในโลกก็มีคุณสมบัติต่างกันไป เช่น ทองก็มีสีออกเหลืองๆสะท้อนแสงมีประกายแวววาวกระจกก็ใสคนเราก็มีชีวิตจิตใจรู้จักคิด เพชรก็แข็ง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม จะมีลักษณะ 3 ประการ ที่เหมือนกันหมดคือ
1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่หยุดอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่น บ้านเรือนก็ต้องเก่าคร่ำคร่าทรุดโทรมไป คนเราวันนี้กับเมื่อวานก็ไม่เหมือนกัน มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เป็นธรรมดา
2. ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเป็นทุกข์ร้องไห้น้ำตาตกเท่านั้น แต่หมายถึง การคงอยู่ใน ภาพเดิมไม่ได้ ต้องแตกดับเพราะเมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้ว มันต้องแตกดับ เช่น บ้านต้องพังคนเราต้องตาย แม้โลกที่เราอยู่นี้ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และวันหนึ่งจะต้องถูกทำลายลง
3. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เช่น ตัวเราจะบังคับไม่ให้แก่ก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้ป่วยไข้ก็ไม่ได้ บ้านบังคับไม่ให้เก่าก็ไม่ได้ แต่ตัวของเราถ้ามาแยกธาตุกันจริงๆ แล้วก็จะพบว่าประกอบขึ้นด้วยเลือด เนื้อ กระดูก ฯลฯ เท่านั้น หาตัวตนจริงๆไม่เจอ เป็นเพียงการประชุมแห่งธาตุประกอบกันขึ้นมาชั่วคราว พอตายธาตุต่างๆ ก็แยก ลายจากกัน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
คนทั้งโลกมองไม่เห็นไตรลักษณ์ จึงลุ่มหลงมัวเมายินดียินร้ายหวั่นไหวในโลกธรรม ต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอดมา
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ท่านเห็นธรรมกายเห็นนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมขันธ์อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์มีลักษณะเป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พ้นการเวียนว่ายตายเกิดเป็นตัวตนที่แท้จริงบังคับบัญชาได้ตามใจนึก จึงไม่ใยดีในโลกธรรม ไม่ขุ่นมัว ไม่หลงใหล ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมซึ่งเป็นของไม่เที่ยงอยู่ในกฎของไตรลักษณ์
ท่านจะได้ลาภ ได้ยศ มีคน รรเสริญยกย่อง หรือเป็นสุข ท่านก็เฉยๆ จิตไม่ไหว
ท่านจะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้าย หรือตกทุกข์ ท่านก็เฉยๆ จิตไม่หวั่น
คนทั่วไปเวลาป่วยไข้ มักเกิดความทุกข์ทั้งกายทั้งใจ แต่ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ใจจรดอยู่ในนิพพานจะเกิดความทุกข์อะไรอันเนื่องมาจากสังขารนี้ก็ตาม ทุกข์นั้นจะหยุดอยู่แค่กาย กินเข้าไปไม่ถึงใจท่านท่านมีจิตที่มั่นคงตลอด
ข้อเตือนใจ
โบราณท่านสอนว่า อยากจะรู้ว่าใครถึงคราวตกทุกข์ได้ยากแล้วจะพิลาปรำพันโอดครวญแค่ไหนให้ดูอย่างนี้
ถ้าคนนั้นเวลาดีใจ ได้ของถูกใจ ก็หัวเราะฮ่าๆ ก็รู้เลยว่า เมื่อถึงคราวเสียใจ เสื่อมลาภ เขาก็จะร้องไห้โๆ เหมือนช้างร้อง ตรงกันข้าม ถ้าเวลาดีใจเขาก็แค่ยิ้มๆ ก็รู้ได้เลยว่าถึงตอนเสียใจ อย่างมากก็คงจะแค่กัดฟัน หรืออึดใจสักอึด องอึดแล้วก็หาย นี่เป็นอย่างนี้
ท่านจึงให้ข้อเตือนใจไว้ว่า ถ้าดีใจก็จงยิ้มเพียงมุมปากเดียว เมื่อถึงคราวเสียใจจะได้ไม่ถึงกับ ร้องไห้และยังให้กำลังใจสำหรับผู้ตกอยู่ในความทุกข์อีกว่า ยิ่งมืดเท่าไร แสดงว่ายิ่งดึก ยิ่งดึกเท่าไร ก็แสดงว่ายิ่งใกล้สว่าง
เพราะฉะนั้นจะเจอความทุกข์ขนาดไหน ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาปานใดสู้ทนทำความดีไปเถิด ยิ่งเจอหนักมากขึ้นแสดงว่ามันใกล้จะพ้นแล้ว เหมือนยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง
นอกจากนี้เราทุกคนจะต้องตั้งใจฝึกสมาธิภาวนากัน จนใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกาย เข้าถึงธรรมกายในตัว ใช้ธรรมกายพิจารณาอริยสัจ 4 และทำนิพพานให้แจ้งให้ได้ จึงจะมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างแท้จริง
มงคลที่ 36 จิตไม่โศก
สัตว์ทั้งหลายแม้พญาราชสีห์
หากติดบ่วงนายพราน ก็ย่อมสิ้นกำลังและอำนาจ
ได้รับแต่ความทุกข์ทรมานฉันใด
คนทั้งหลายแม้มีฤทธิ์อำนาจมากเพียงใด
หากติดบ่วงสิเน่หา ก็ย่อมสิ้นฤทธิ์หมดอำนาจ
มีจิตโศก เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานฉันนั้น
จิตโศกคืออะไร
คำว่า โศก มาจากภาษาบาลีว่า โสกะ แปลว่า แห้ง
จิตโศก จึงหมายถึง ภาพจิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้งหมดความชุ่มชื่น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้งหม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใดไม่อยากทำการงาน
เปมโต ชายตี โสโก
ความโศกเกิดจากความรัก
ขุ. ธ. 25/26/43
ไม่ว่าจะเป็นรักคนสัตว์ หรือสิ่งของ ก็ทำให้เกิดความโศกได้ทั้งนั้น แต่ที่หนักก็มักจะเป็นเรื่องคนโดยเฉพาะความรักของชายหนุ่มหญิงสาว
ปกติใจของคนเราซนเหมือนลิง ชอบคิดโน่นคิดนี่ รับอารมณ์อย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวจะฟังเพลงเพราะๆ เดี๋ยวไม่เอาอีกแล้ว กินขนมดีกว่า กินอิ่มแล้ว นอนดีกว่า เดี๋ยวเที่ยวดีกว่า เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่อยู่ในอารมณ์ใดนานๆ
แต่แปลก พอใจของเราไปเจออารมณ์รักเข้าเท่านั้นแหละ มันไม่เปลี่ยน ติดหนับเลยเหมือน ลิงติดตังพูดถึงลิงติดตัง บางท่านอาจไม่เข้าใจ ตัง ก็คือ ยางไม้ที่เขาเอาไปเคี่ยวจนเหนียวหนับ แล้วเอาไปป้าย ไว้ตามต้นไม้ ตามที่ต่างๆ ไว้ดักนก ดักสัตว์เวลาสัตว์มาเกาะติดเข้าจะดิ้นไม่หลุด
ลิงเวลามาเจอตังเข้า มันจะใช้ขาข้างหนึ่งแหย่ดูตามประสาซน พอติดหนับดึงไม่ขึ้น ก็จะใช้ขาอีกข้างจะมาช่วยยัน ขาข้างนั้นก็ติดหนับเข้าอีก จะใช้ขาอีก 2 ข้างมาช่วย ก็ติดตังหมดทั้ง 4 ขา ใช้ปากช่วยดัน ปากก็ติดตังอีก ตกลงทั้ง 4 ขา และปากติดตังแน่นอยู่อย่างนั้น ดิ้นไม่หลุดรอให้คนมาจับไป นี่ลิงติดตัง
คนเราก็เหมือนกัน ลงได้รักละก็ หนุ่มรักสาวสาวรักหนุ่มก็ตาม ทีแรก ก็บอกว่าจีบไปอย่างนั้นเองพักเดียวถอนตัวไม่ออก ร้องไม่เห็นหน้าเจ้า กินข้าวบ่ลงกันเชียวละ
คำว่า เสน่ห์ ในภาษาไทยเราแปลว่า ความน่ารัก แต่คำคำนี้มาจากภาษาบาลีว่าสิเนหะ แปลว่า ยางเหนียว ตรงตัวเลย ถ้าใครมาบอกเราว่า แม่คนนั้นเสน่ห์แรงจัง ให้รู้ตัวไว้เลยว่าแม่นั่นน่ะยางเหนียวหนับเลย อย่าไปเข้าใกล้ เดี๋ยวติดยางเหนียวเข้าเป็นลิงติดตัง แล้วจะดิ้นไม่หลุด
ตอนรักเขายังไม่เท่าไร แต่ว่ารักเขาแล้วเขาไม่รักเราสิ หรือเมื่อความรักกลายเป็นอื่นเข้าหรือเขาตายจากเราไปก็ตาม ใจมันจะแห้งผากขึ้นมาทีเดียว แต่ก่อนเคยชอบรับอารมณ์อย่างนั้นอย่างนี้พอถึงตอนนี้ใครจะมาร้องเพลงให้ฟังก็รำคาญ จะชวนไปเที่ยวดูหนังก็รำคาญ จะร้อง จะรำ จะเล่นอะไร รำคาญไปหมด ข้าวยังไม่อยากจะกิน ใจมันแห้งผาก ซึมเซารับอารมณ์ไม่ไหว คืออาการที่เรียกว่า จิตโศก
บางคนอาจนึกว่า ก็แล้วถ้าความรัก มหวัง ก็คงไม่เป็นไร จิตไม่โศกละซี แต่ในความเป็นจริงน่ะมันเป็นไปไม่ได้ เพราะเราก็รู้อยู่แล้วว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แตกดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นลงว่าใครได้รักอะไรเข้าละก็ ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ ก็ให้เตรียมตัวโศกเอาไว้ได้ ถ้ารักมากก็โศกมาก รักน้อยก็โศกน้อย รักหลายๆ อย่าง ก็โศกถี่หน่อยนี่เป็นอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือน ติไว้ว่า
ผู้ใดมีความรักถึง 100 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 100
ผู้ใดมีความรักถึง 90 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 90
ผู้ใดมีความรักถึง 80 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 80
ผู้ใดมีความรักถึง 40 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 40
ผู้ใดมีความรักถึง 20 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 20
ผู้ใดมีความรักถึง 10 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 10
ผู้ใดมีความรักถึง 5 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 5
ผู้ใดมีความรักถึง 4 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 4
ผู้ใดมีความรักถึง 3 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 3
ผู้ใดมีความรักถึง 2 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 2
ผู้ใดมีความรักถึง 1 ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง 1
ผู้ใดไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้น ไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากกิเลสธุลีไม่มีอุปายา คือความตรอมใจ ความกลุ้มใจ
ขุ. อ. 25/176/225
โบราณท่าน รุปเป็นข้อเตือนใจไว้ว่า
มากรักก็มากน้ำตา หมดรักก็หมดน้ำตา
มากรักก็มากทุกข์ หมดรักก็หมดทุกข์
ข้อควรปฏิบัติ
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ขณะที่ใจท่านจรดอยู่ในนิพพาน ความรักเข้าไปรบกวนท่านไม่ได้ตัดรักได้ ใจท่านจึงไม่แห้ง ไม่มีโศก
พวกเราปุถุชนทั่วไป แม้ยังไม่สามารถตัดรักได้เด็ดขาด แต่ถ้าหมั่นทำสมาธิ เจริญมรณานุสติเป็นประจำ ก็จะทำให้ความรักมามีอิทธิพลเหนือใจเราไม่ได้มาก มี ติดี มีความเด็ดเดี่ยว ก็จะมีจิตโศกน้อยกว่าคนทั่วไป อาการ ไม่หนักหนาสาหั นัก เพราะนึกถึงความตายแล้วทำให้ใจคลายออกจากรัก ซึ่งเป็นต้นทางของความโศก พอคิดว่าเราเองก็ต้องตาย จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ เท่านี้ก็เริ่มจะได้คิด ความโศกความรักเริ่มหมดไปจากใจ มี ติมาพิจารณาตนเอง ไม่ประมาท ขวนขวายในการสร้างความดี จากนั้นตั้งใจเจริญสมาธิภาวนา
เต็มที่ ก็จะสามารถทำนิพพานให้แจ้งได้ และตัดความรัก ตัดความโศกออกจากใจได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด
ข้อเตือนใจ
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ อันมากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ เหล่านี้ย่อมไม่มี
ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก
เพราะเหตุนั้น ผู้ใดปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเล ดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารใดในโลกไหนๆ ให้เป็นที่รักเลย
ขุ. อุ. 25/176/225-226
มงคลที่ 37 จิตปราศจากธุลี
บัวย่อมมีใบ
อันหยาดน้ำไม่อาจเกาะติดได้ฉันใด
ผู้ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
ก็ย่อมมีจิต
อันธุลีกิเล ไม่อาจเกาะติดได้ฉันนั้น
จิตปราศจากธุลีคือออะไร
ธุลี แปลว่า ฝุ่นละอองที่ละเอียดมาก ในที่นี้หมายถึง กิเสอย่างละเอียดที่เกาะ ซึม แทรก หุ้มใจของเราอย่างซ่อนเร้นบางๆ ทำให้ความผุดผ่อง ความใสะอาดเสียไป ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็นไม่รู้
จิตปราศจากธุลี หมายถึง จิตที่หมดกิเลสแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด อย่างถอนรากถอนโคน ไม่มีทางฟื้นกลับเข้ามาในใจได้อีก ทำให้จิตสะอาดผ่องใสนุ่มนวลควรแก่การงาน ได้แก่จิตของพระอรหันต์
ประเภทของกิเลส
กิเลสในใจคนมีอยู่ 3 ตระกูลใหญ่ คือตระกูลราคะ โทสะ โมหะ กิเลสแต่ละตระกูลก็มีหลายระดับตั้งแต่ที่หยาบมากๆ เห็นได้ชัดเจนเหมือนขยะมูลฝอย และเล็กลงเหมือนฝุ่นผง จนถึงที่ละเอียดมากๆ เหมือนธุลีบางคนเจอแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นกิเลสมองไม่ออก ดังนี้
1. ตระกูลราคะหรือโลภะ คือความกำหนัดยินดี รัก อยากได้ ในคนสัตว์สิ่งของ หรืออารมณ์ที่น่าใคร่ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้
1.1 อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภอย่างแรงจนกระทั่งแสดงออกมา เช่น ปล้นจี้ ลักขโมย
1.2 อภิชฌา ความเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น จ้องๆ จะเอาของเขาละ แต่ยังสงวนท่าที ไม่แสดงออก
1.3 โลภะ ความอยากได้ในทางทุจริต อยากได้ในทางที่ไม่ชอบ แต่ยังไม่แสดงออก
1.4 ปาปิจฉา ความอยากได้โดยวิธี กปรก เช่น อยากได้ ตางค์เลยไปเล่นการพนันไม่รักษาเกียรติ ไม่รักษาชื่อเสียงของตน
1.5 มหิจฉา ความอยากใหญ่ ความมักมาก เช่น รับประทานอาหารวงเดียวกันก็เลือกเอากับข้าวอร่อยๆ ไปรับประทานเสียคนเดียว ไม่เกรงใจคนอื่น ไม่รู้จักประมาณ
1.6 กามราคะ ความพอใจในกาม รักเพศตรงข้าม ยังมีความรู้สึก ทางเพศ
1.7 รูปราคะ ความยินดีในอารมณ์ของรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้รูปฌานแล้ว
1.8 อรูปราคะ ความยินดีในอารมณ์ของอรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้อรูปฌานแล้ว
ข้อ 68 นี้แหละที่จัดเป็นกิเลละเอียด ที่เรียกว่า ธุลีในตระกูลราคะ
2. ตระกูลโทสะ คือความไม่ชอบใจ ความคิดร้าย คิดทำลายผู้ที่ทำให้ตนโกรธ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้
2.1 พยาบาท ความผูกอาฆาต จองเวร อยากแก้แค้น ไม่ยอมอภัย บางทีข้ามภพข้ามชาติก็ยังไม่ยอม เช่น พระเทวทัตผูกพยาบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ภพในอดีตมา
2.2 โทสะ ความคิดร้าย คิดทำลาย เช่น คิดจะฆ่า คิดจะเตะ คิดจะด่า คิดจะเผาบ้าน คิดจะทำให้อาย ฯลฯ
2.3 โกธะ ความเดือดดาลใจ คือคิดโกรธแต่ยังไม่ถึงกับคิดทำร้ายใคร
2.4 ปฏิฆะ ความขัดใจ เป็นความไม่พอใจลึกๆ ยังไม่ถึงกับโกรธ แต่มันขัดใจ
ข้อ 4 นี้แหละที่จัดเป็นธุลี กิเล ละเอียดในตระกูลโทสะ
3. ตระกูลโมหะ คือความหลง เป็นอาการที่จิตมืดมน ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักบุญบาปส่วนความไม่รู้วิทยาการต่างๆ ไม่ใช่โมหะ คนที่มีความรู้วิทยาการมากเพียงใด มีปริญญากี่ใบก็ตาม หากยัง ไม่รู้จักบุญบาป ไม่รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำละก็ ได้ชื่อว่าตกอยู่ในโมหะทั้งนั้น กิเล ตระกูลโมหะ มีตั้งแต่หยาบถึงละเอียดดังนี้
3.1 มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มี เป็นต้น ไม่เพียงแต่ไม่รู้เท่านั้นยังคิดเห็น ผิดอีกด้วย
3.2 โมหะ ความหลงผิด ความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
3.3สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เช่น คิดว่าร่างกายนี้เป็นของเราจริงๆ
3.4 วิจิกิจฉา ความลังเล งสัยในการปฏิบัติธรรม เช่น ยังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าบุญบาปมีจริงไหม ทำสมาธิแล้วจะหมดกิเล จริงหรือ
3.5 สีลัพพตปรามา ความติดอยู่ในศีลพรตอันงมงาย เช่น เชื่อหมอดู เชื่อศาลพระภูมิเชื่อว่ากินเจแล้วได้บุญ เชื่อพระเจ้า
3.6 มานะ ความถือตัว ถือเขาถือเรา
3.7 อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นอาการที่จิตไหวกระเพื่อมน้อยๆ ยังไม่จรดศูนย์กลางกายแนบสนิท ไม่ได้หมายถึงความฟุ้งซ่าน ไม่รู้เหนือรู้ใต้อย่างที่คนทั่วไปเป็น
3.8 อวิชชา ความไม่รู้พระสัทธรรม เช่น ไม่รู้ว่าตัวเรามาจากไหน เกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน
ตั้งแต่ข้อ 38 เป็นธุลี กิเลสอย่างละเอียดในตระกูลโมหะ
โดยสรุป ธุลี หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดของทั้ง 3 ตระกูล รวม 10 ประการ ได้แก่
1.สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามา
4. กามราคะ
5. ปฏิฆะ
6. รูปราคะ
7. อรูปราคะ
8. มานะ
9. อุทธัจจะ
10. อวิชชา
ทั้ง 10 ประการนี้เรียกว่าสังโยชน์ 10 พระโ ดาบันจะสามารถละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามา ได้ มีความเชื่อมั่นในคุณของพระรัตนตรัยเต็มที่ ไม่มีความลังเลเลยส่วนพระ กิทาคามีละได้ 3 ข้อแรก เช่นเดียวกับพระโสดาบัน แต่กิเลสข้อที่เหลือเบาบางลงส่วนพระอนาคามี สละได้เพิ่มอีก 2ข้อ คือกามราคะและปฏิฆะ เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่มีใจจรดอยู่ในนิพพานตลอดเวลา จึงละสังโยชน์ธุลีกิเลสทั้ง 10 ประการ ได้อย่างสิ้นเชิง มีจิตผ่องใสบริสุทธิ์ตลอด
เหตุที่พระโ ดาบัน พระ กิทาคามี และพระอนาคามี ยังละสังโยชน์ทั้ง 10 ได้ไม่หมดนั้นก็เพราะใจยังจรดอยู่ในนิพพานได้ไม่ตลอดเวลา
ระดับโทษของกิเลสทั้ง 3 ตระกลู
ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า คนจะรักกัน อยู่กันฉันสามีภรรยา ถือว่าไม่ผิดศีลธรรม ขออย่าไปนอกใจหรือไปมีชู้ก็แล้วกัน โทษของราคะไม่ค่อยหนักนัก แต่ว่าจะให้เลิกละก็ยากมาก คลายช้า คนลองรักกันแค่ไม่เห็นหน้า ไม่กี่วันก็ทำท่าจะตายเอาให้ได้ บางทีตายแล้วเกิดใหม่ใจยังผูกพันกันอยู่เลย จะให้เลิกรักเลิกยาก
โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว เวลาโกรธขัดใจขึ้นมาฆ่ากันได้ บางที ถึงขนาดฆ่าพ่อฆ่าแม่ทำอนันตริยกรรมก็ยังได้ มีโทษมาก แต่ทว่าคลายเร็ว ถ้าเขามาขอโทษขอโพย เอาอกเอาใจไม่นานก็หาย โทสะ คลายเร็วอย่างนี้
โมหะ มีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย ความหลง ความไม่รู้พระสัทธรรม นี้มีโทษมาก ทำให้เราหลงไปทำบาปตกนรกเสียย่ำแย่เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏ งสารกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทนทุกข์กันตลอดมาก็เพราะโมหะนี่เอง และแถมเจ้าโมหะความหลงนี้ยังคลายช้าอีกด้วย หากคนไม่รู้จัก บาปบุญคุณโทษละก็ กว่าจะแก้ได้ท่านว่ายาก บางทีก็ต้องรอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อๆ ไปมาโปรดยังไม่รู้ว่าจะแก้หายหรือเปล่า
ข้อควรปฏิบัติ
เราต้องทราบว่ากิเล ทั้ง 3 ตระกูลนี้ มันฟู มันงอกงามได้ เช่น คนบางคนเดิมอาจจะเป็นคนไม่โลภอะไร พอใจอยู่กับของของตน แต่ไม่ระวังตัว เผลอไปหน่อยเดียว มีลาภยศมาล่อมากๆ เข้า อาจกลายเป็นคนโลภไปทำบาป ทำชั่วเพราะความอยากได้ก็มี บางคนเดิมอาจเป็นคนใจเย็น แต่ถูกยุ ถูกแหย่มากๆเข้ากิเล ก็อาจงอกงาม กลายเป็นคนเจ้าโทสะไปได้เหมือนกัน หรือเดิม ก็เป็นคนธรรมดาทั่วไป เข้าใจธรรมะบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง บุญบาปก็แค่ งสัยว่า มีหรือไม่ แต่ไปคบคนพาลเข้ากลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาปปฏิเสธ นรก วรรค์ คิดว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณต่อตัวเอง เป็นไปได้เหมือนกัน
เราจึงต้องระวังตัวไม่ประมาทในการทำความดี ตั้งใจทำสมาธิภาวนาไปตามลำดับ ไม่ย่อท้อสักวันหนึ่งก็คงจะทำใจหยุดใจนิ่งเข้าศูนย์กลางกาย เข้าถึงธรรมกายในตัว ทำนิพพานให้แจ้งได้ และกำจัดธุลีกิเล ทั้งหลายให้ร่อนหลุดไปจากใจ เป็นพระอรหันต์ เสวยสุขอันเป็นอมตะได้เหมือนกัน
ผู้ใดกำจัดโลภะได้แล้ว
ไม่โลภในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ความโลภย่อมหมดไปจากใจผู้นั้น
เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว
ผู้ใดกำจัดโทสะได้แล้ว
ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
โทสะย่อมหมดไปจากใจผู้นั้น
เหมือนผลตาลสุกหล่นจากขั้ว
ผู้ใดกำจัดโมหะได้แล้ว
ไม่หลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
ผู้นั้นย่อมกำจัดความหลงได้
เหมือนอาทิตย์อุทัย ขจัดความมืดให้หมดไปฉะนั้น
ขุ. อิติ. 25/268/295-296
มงคลที่ 38 จิตเกษม
ผู้ที่ถูกตีตรวนคุมขังอยู่
เมื่อได้รับอิสรภาพหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ
ย่อมมีอิสระเสรี มีความสุขกายสบายใจฉันใด
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย
ก็ย่อมมีจิตเกษมฉันนั้น
ภัยของมนุษย์
ทันทีที่เกิดมาลืมตาดูโลก เราก็ต้องผจญกับภัยต่างๆ นานาชนิดที่พร้อมจะเอาให้ถึงตายอยู่ ทุกวินาทีเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางความมืดอยู่กลางทะเล มหาโหด ภัยทั้งหลายเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ภัยภายใน พอเกิดมาเราก็มีภัยชนิดนี้มาผจญคอยดักอยู่ตลอดเวลารุมล้อมรอบตัว
ข้างหลัง คือชาติภัย ภัยจากการเกิด
ข้างขวา คือชราภัย ภัยจากความแก่
ข้างซ้าย คือพยาธิภัย ภัยจากความเจ็บ
ข้างหน้า คือมรณภัย ภัยจากความตาย
ภัยเหล่านี้รุมล้อมเราทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง ทุกด้านเลยทีเดียว ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ภัยภายนอก มีอยู่นับไม่ถ้วน เช่น
ภัยจากคน เช่น ผัวร้าย เมียเลว ลูกชั่ว เพื่อนที่ไม่ดี คนพาล คนเกเร นับไม่ถ้วน
ภัยจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า
ภัยจากบาปกรรมตามทัน ถูกล้างผลาญทุกรูปแบบ เคยเบียดเบียนสัตว์ก็ทำให้ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยพิการ เคยโกหกไว้มากก็ทำให้ความจำเลอะเลือน ไปลักขโมยโกงเขา เขาจับได้ถูกขังคุกลงโทษ ก็สารพัดล่ะทำไมเราจึงต้องพบกับภัยเหล่านี้
การที่เราต้องตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของภัยทั้งหลาย ดิ้นไม่หลุด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดก็ยังต้องรับทุกข์รับภัยกันอยู่ไม่รู้กี่แสนกี่ล้านๆๆ ชาติมาแล้ว ทั้งนี้เพราะถูกผูกด้วย โยคะ แปลว่า เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. กามโยคะ คือความยินดีพอใจในกามคุณ อยากฟังเพลงเพราะๆ อยากกินอาหารอร่อยๆ ได้สวมใส่เสื้อผ้าสวยๆ นุ่มนวลสวม บาย อยากเห็น รูปสวยๆ ได้สัมผัส ที่นุ่มนวล ได้แฟนสวยๆ มีสมบัติเยอะๆ ความใคร่ทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหมือนเชือกเกลียวแรกที่ผูกมัดตัวเราไว้
2. ภวโยคะ คือความยินดีพอใจในรูปฌานและอรูปฌาน คนที่พ้นเชือกเกลียวแรก พ้นกามโยคะมาได้ก็มาเจอเชือกเกลียวที่ 2 นี้ คือเมื่อได้เจอความสุขจากการที่ใจเริ่ม งบ ทำสมาธิจนได้รูปฌานหรือ อรูปฌาน ก็พอใจ ยินดีติดอยู่ในความสุขจากอารมณ์ของฌาน ตายไปก็ไปเกิดเป็นรูปพรหม หรืออรูปพรหม ซึ่งก็ยังไม่พ้นภัย หมดบุญก็ต้องลงมาเกิดเจอภัยกันอีก นี่เป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 2
3. ทิฏฐิโยคะ คือความยึดถือความคิดเห็นที่ผิดๆ ของตนเอง เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณต่อตนบ้างเห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มีจริงบ้าง เห็นว่าตนเองจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวง รวงอ้อนวอนบ้าง ใจยังมืดอยู่ยังไปหลงยึดความเห็นผิดๆ อยู่สิ่งนี้เลยเป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 3
4. อวิชชาโยคะ คือความไม่รู้แจ้งในพระสัทธรรม ความ ว่างของใจยังไม่พอ ยังไม่เห็นอริยสัจ 4 ไม่เห็นทางพ้นทุกข์พ้นภัย นี่ก็เป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 4
ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นเหมือนเชือก 4 เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารโดยไม่รู้จบสิ้น ทำให้ต้องมาพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุดทีเดียว
จิตเกษม คือ อะไร
เกษม แปลว่า ปลอดภัย พ้นภัยสิ้นกิเลส มีความสุข
จิตเกษม จึงหมายถึง ภาพจิตที่หมดกิเล แล้ว โยคะเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ เชือกทั้ง 4 เกลียวได้ถูกฟันขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จิตเป็นอิ ระเสรี ทำให้คล่องตัวไม่ติดขัด ไม่อึดอัดอีกต่อไป ไม่มีภัยใดๆมาบีบคั้นได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริง พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้ที่จะมีจิตเกษมได้อย่างแท้จริงคือผู้ที่มีใจจรดนิ่งแช่อิ่มอยู่ในนิพพานตลอดเวลา ซึ่งก็ได้แก่พระอรหันต์นั่นเอง
จิตของพระอรหันต์นั้น นอกจากจะหมดกิเล แล้ว ก็ยังทำให้มีความรู้ความสามารถพิเศษอีกหลายประการ เช่น
อภิญญา 6
อภิญญา 6 คือความรู้อันยิ่งยวด เหนือความรู้จากการตรองด้วยหลักเหตุผลธรรมดา ได้แก่
1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อขยายตัวได้หายตัวได้ ฯลฯ
2. ทิพยโสต มีหูทิพย์
3. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
4. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
5. จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุ) มีตาทิพย์
6. อาสวักขยญาณ ทำกิเลส ให้สิ้นไปได้
ในอภิญญา 6 นี้ 5 ข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อที่ 6 เป็นโลกุตตรอภิญญา คุณวิเศษเหล่านี้เป็นผลที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงด้วยการบอกเล่าหรือสั่งสอนกันผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนั้นๆ แล้วจึงจะประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง
พระอรหันต์บางรูปได้คุณสมบัติหมดกิเลส ได้วิชชา 3 แต่ไม่ได้อภิญญา 6 เนื่องจากแม้จะฝึกตนเองข้ามภพข้ามชาติมาพอสมควร แต่ไม่ได้ทำอย่าง อุกฤษฏ์ คือไม่ได้ทำถึงขั้นสูงสุด จึงเพียงแต่หมดกิเลสอย่างไรก็ตาม พระอรหันต์ทุกรูปจะต้องได้วิชชา 3
วิชชา 3
วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษอันลึกซึ้งด้วยปัญญา ได้แก่ ญาณ คือความหยั่งรู้ ซึ่งเกิดจากการทำสมาธิสุดยอดเข้าถึงธรรมกาย คือ
1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติตัวเองได้
2. จุตูปปาตญาณ คือตาทิพย์ ระลึกชาติคนอื่นได้
3. อาสวักขยญาณ คือความรู้ที่ทำให้หมดกิเลส
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น บางรูปมีญาณแก่กล้าขึ้นไปอีก คือบางรูปได้อภิญญา 6 บางรูปได้วิชชา 8 บางรูปได้ปฏิสัมภิทาญาณ 4
วิชชา 8
วิชชา 8 คือความรู้แจ้ง หรือความรู้วิเศษ 8 อย่าง คือ
1. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์
2. มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ
3. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ ขยายตัวได้หายตัวได้ ฯลฯ
4. ทิพยโสต มีหูทิพย์
5. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
7. ทิพยจักษุ มีตาทิพย์
8. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำกิเลส ให้สิ้นไปได้
ปฏิสัมภิทาญาณ 4
ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือความสามารถพิเศษในการสั่ง อนคนอื่น ได้แก่
1. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้ โดยพิ ดาร
2. ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรมสามารถ รุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่อง ภาษาทุกภาษา ทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์สามารถเข้าใจได้
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดีสามารถอธิบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดี ตอบคำถามได้แจ่มแจ้ง
การปฏิบัติธรรมมีอานิสงส์มากมายถึงปานนี้ เราทุกคนจึงควรตั้งใจฝึกฝนตนเองตามมงคลต่างๆดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ช้าเราก็จะเป็นผู้รู้จริงทำได้จริงผู้หนึ่ง มีจิตเกษมปลอดภัยจากภัยต่างๆ และมีความรู้พิเศษสุดยอด ตามเยี่ยงอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งหลายได
จากหนังสือ DOU กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
วิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง