เทคนิคการจำ

วันที่ 03 กพ. พ.ศ.2559

เทคนิคการจำ

             ความหมายของ "ความจำ" เป็นคำที่ใช้อธิบายวิธีการที่ข้อมูล หรือสิ่งที่เรียนรู้ถูกบันทึกและเก็บไว้ถาวรในความจำระยะยาวสามารถที่จะค้นหรือเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการได้ความรู้ที่เราเรียนรู้แล้วแต่จำไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์คนส่วนมากจะไม่มีวิธีการเรียนและวิธีจดจำที่มีประสิทธิภาพวิธีทั่วๆไปที่มักใช้อยู่เสมอ เช่น การอ่านทบทวน การสรุป และการขีดเส้นใต้ใจความสำคัญ เป็นต้น ซึ่งความจริงนั้น ยังไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยความจำ

         ความจริงแล้วมนุษย์เราได้ค้นพบวิธีช่วยความจำ (Memonic Device) ที่ได้ผลดีมากมานานนับพันๆปีแล้วโดย เยสท์ ลูเรีย ฮันท์และเลิฟ (Yates, 1966 Luria, 1968 Hunt and Love, 1972)พบว่า การสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นานขึ้น 

เทคนิคช่วยความจำ
1. การสร้างเสียงสัมผัส เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมาก สิ่งที่จดจำจะอยู่ในความทรงจำเป็นเวลานาน เหมือนบทกลอนที่ครูให้ท่องเราจะจำได้นานกว่าบทความทั่วไป เพราะมีเสียงสัมพันธ์ในการแต่งกลอนเป็นเครื่องช่วยจำ ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะจำอะไร ลองนำมาแต่งเป็นคำสัมผัสจะทำให้จำง่ายขึ้น

2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ ตัวอย่างเช่น การจำชื่อทะเลสาบที่ใหญ่ทั้งห้าของอเมริกาเหนือสร้างคำว่า Homes ซึ่งหมายถึงทะเลสาบ Huron, Ontario,Michigan, Eric, Superior ตามลำดับการท่องจำทิศทั้ง 8 ก็มีผู้คิดว่า ควรจะท่องจำ "อุ-อี-บู-อา-ทัก-หอ-ประ-พา"ซึ่งหมายถึงทิศอุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ (คือเริ่มจากทิศเหนือแล้ววนขวาตามลำดับ)

3. การสร้างประโยคที่ความหมายช่วยความจำ ตัวอย่างการใช้ประโยคที่มีความหมายสร้างจากอักษรตัวแรกของการจำชื่อ 9 จังหวัดที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยว่า "ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์" ซึ่งศาสตราจารย์สมุน อมรวิวัฒน์ได้คิดขึ้น ถ้าถอดคำออกมาจะเป็นชื่อจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน หรือที่จำได้ติดปากขึ้นใจทุกคน เช่น ไก่จิกเด็กตาย เฎ็กฏายบนปากโอ่ง คือ พยัญชนะเสียงกลาง

 

             ไม่ว่าเราจะเลือกใช้เทคนิคการจำแบบไหน สิ่งที่เราขาดไม่ได้คือ อิทธิบาท 4 ในเรื่องนั้นๆ ของเราเอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ฉันทะ (ความพอใจ) ในการจำสิ่งไหน หากเราไม่ชอบสิ่งนั้นเราก็คงไม่หยิบวิธีการใดๆ มาใช้แน่ๆ
วิริยะ (ความเพียร) เพราะถ้าคิดวิธีจำซะดิบดี แต่ไม่พยายามท่องก็จำไม่ได้
จิตตะ (ใจจดจ่อ) ขึ้นชื่อว่า การท่องจำต้องมีการย้ำบ่อยๆเป็นธรรมดา
วิมังสา (สังเกต) เพื่อพัฒนาตัวเราเองยิ่งๆขึ้นไป

 

----------------------------------------

"หนังสือ 5 ห้องชีวิตเนรมิตนิสัย ฉบับสร้างแรงบันดาลใจ

ทีมงานหลักสูตรโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก"

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.045780217647552 Mins