โครงการด้านการศึกษา

วันที่ 11 กพ. พ.ศ.2559

โครงการด้านการศึกษา

 

โครงการด้านการศึกษา

 

โครงการมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
(Dhammakaya Open University, California : DOU)

          โครงการมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (Dhammakaya Open University, California : DOU)
เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ในระบบการศึกษาทางไกล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามรัฐบัญญัติการอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาเอกชนมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดสอนใน 4 หลักสูตร คือ 1. หลักสูตรสัมฤทธิบัตร 2. หลักสูตรประกาศนียบัตร 3. หลักสูตร ปริญญาตรี และ 4. หลักสูตรปริญญาโท เป็นการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในระดับอุดมศึกษา ทางไกลและขึ้นทะเบียนเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2546 ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

โครงการอนุรักษ์คัมภีร์พระไตรปิฎก สถาบันธรรมชัย
          โครงการพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ภาษาบาลี อักษรโรมัน โดยผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก 51 ท่าน จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน 14 ประเทศ เป็นที่ปรึกษาเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2527 และเสร็จสมบูรณ์ออกเผยแพร่ทั่วโลกเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2539


โครงการโรงเรียนพระปริยัติธรรม
          ปลายปี พ.ศ. 2528 มีการเปิดรับสามเณรเข้ามาอยู่ในวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก จำนวน 5 รูป ปัจจุบันมีอาคารเรียน 2 ชั้นทั้งหมด 3 อาคาร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2556 มีพระภิกษุ สามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 65 รูป และปี พ.ศ. 2543 ถึง 2552 มีอุบาสิกา สอบผ่านบาลีศึกษา 9 ประโยค จำนวน 5 ท่าน


โครงการนักธรรมและธรรมศึกษา
          เริ่มปี พ.ศ. 2528 เปิดการเรียนการสอนนักธรรม และธรรมศึกษาเฉพาะชั้นตรี และต่อมาในปี พ.ศ. ถึง 2531 ได้เปิดการเรียนการสอนครบทั้ง 3 ชั้น คือ ตรี, โท, เอก ได้มีการปรับปรุง และพัฒนา การเรียนการสอนมาตามลำดับ โดยเฉพาะในปีการศึกษา 2555 มีจำนวนนักเรียนนักศึกษา 4,915 รูป/คน โดยแบ่งเป็นพระภิกษุสามเณร 1,976 รูป (นักธรรม) และฆราวาส 2,939 คน (ธรรมศึกษา) นอกจากนี้ยังจัดให้มีการเรียนการสอนนักธรรมและธรรมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และสาธุชนผู้สนใจแล้ว ยังจัดให้มีการเรียนการสอน และจัดสอบธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนเทศบาลท่า โขลง 1, โรงเรียนสวนกุหลาบรังสิต , โรงเรียนสังข์อ่ำ วิทยา และโรงเรียนคลองสอง (เศวตสมบรู ณ์อุปถัมภ์) อีกด้วย


โครงการอภิธรรมศึกษา
          เริ่มใน พ.ศ. 2542 เปิดการเรียนการสอนพระอภิธรรม มี 2 หลักสูตร ดังนี้
          1. หลักสูตรพระอภิธรรมบัณฑิต 9 ระดับชั้น ศึกษาคัมภีร์อภิธรรมมัตถะสังคหะ คัมภีร์ธัมมสังคณีธาตุกถา ยมกะ, มหาปัฏฐานในพระไตรปิฎก, ชั้นอาจารย์ คืออภิธรรมกถิกะ 3 ระดับชั้น และอภิธรรมาจริยะ 3 ระดับชั้น มีผู้สอบผ่านตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นสูงสุด จากปีที่เริ่มต้น พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันพ.ศ. 2556 จำนวน 1,191 ท่าน
          2. หลักสูตรอภิธรรมศึกษาทางไกล สำหรับสาธุชนและผู้ที่สนใจศึกษาพระอภิธรรม เป็นหลักสูตร 4 ชั้นปี สามารถศึกษาทางไกลและเข้าฟังการบรรยายได้ในวันอาทิตย์ตามสถานที่ตามวันเวลาที่กำหนด มีผู้ผ่านการศึกษาเบื้องต้นจนถึงชั้นสูงสุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน กว่า 2,000 ท่าน

 

โครงการโรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์
(ร.ร.พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา)

          เริ่ม พ.ศ. 2543 ณ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ โดยจัดการเรียนการสอนสำหรับสามเณรในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 6 ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีทัศนศิลป์ จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย


โครงการสถาบันภาษาดวงตะวันสันติภาพ (The Sun of Peace)
          เริ่ม พ.ศ. 2550 มอบ “ทุนการศึกษาตะวันธรรม” ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ให้กับเยาวชนที่สนใจเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศทางด้านภาษาและแลกเปลี่ยนศีลธรรมวัฒนธรรมชาวพุทธกับชาวต่างชาติ ใน 6 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส

 

โครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน
          ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2551


โครงการความร่วมมือทำพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์
          ระหว่างมูลนิธิธรรมกาย และสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2539


โครงการความร่วมมือทางวิชาการ
          ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับ มหาวิทยาลัยเฉวียนจั้ง ประเทศไต้หวัน เพื่อแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา ในปี พ.ศ. 2552 และสถาบันธรรมชัย ประเทศไทยกับ สมาคม SAT แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2552


โครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสิงหล
          ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทยกับสถาบันซีบ้า (SIBA) ประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2553


โครงการอนุรักษ์คัมภีร์พระไตรปิฎก สถาบันธรรมชัย
          ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
          1. เพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ใบลานให้คงอยู่เป็นมรดกธรรมของโลกไปตลอดชั่วกาลนาน
          2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎก ที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อความกับตัวภาพถ่ายคัมภีร์ใบลาน เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั่วโลก ในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจากคัมภีร์ใบลานโดยตรง
          3. เพื่อเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ด้วยการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาต่างๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
          ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โครงการพระไตรปิฎก สถาบันธรรมชัย วัดพระธรรมกาย ได้จัดงานสัมมนาวิชาการ พร้อมทั้งจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “การสืบทอดพุทธธรรม: จากพุทธกาลสู่โลกปัจจุบัน” เพื่อนำเสนอพระไตรปิฎกบาลี ฉบับธรรมชัยเล่มสาธิต คือ คัมภีร์สีลขันธวรรค และรับฟังความคิดเห็น และข้อแนะนำจากนักวิชาการและผู้เชี้ยวชาญ พร้อมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาของพระไตรปิฎกบาลีแก่ผู้สนใจ ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

 

โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ 3 สถาบันการศึกษาประเทศอังกฤษ
          มีการร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ 3 สถาบันการศึกษาประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนาเถรวาท: ความต่อเนื่องและความหลากหลาย” ได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด, มหาวิทยาลัยลอนดอน คิงส์คอลเลจ และมหาวิทยาลัยคอลเลจ คอร์ก โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2554 ถึง 2556

 

 

จากหนังสือ 70 ปี พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)   กับ 100 กว่าโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก 44 ปี วัดพระธรรมกาย มโนปณิธาน...อันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเปลี่ยน  สร้าง...วัด...ให้เป็น “วัด” สร้าง...พระ...ให้เป็น “พระแท้” สร้าง...คน...ให้เป็น “คนดี”


จากหนังสือ 70 ปี พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)

กับ 100 กว่าโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
44 ปี วัดพระธรรมกาย มโนปณิธาน...อันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเปลี่ยน

สร้าง...วัด...ให้เป็น “วัด”
สร้าง...พระ...ให้เป็น “พระแท้”
สร้าง...คน...ให้เป็น “คนดี”

 

70 ปี ของบุคคลทั่วไป เป็นวัยแห่งการพักผ่อนหลังจากทำงานมาทั้งชีวิต

70 ปี ของพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านยังคงปฏิบัติธรรมสอนสมาธิ และมุ่งหน้าทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก

เป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดมาจาก คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ที่ได้รับคำสั่งมาจากพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผู้ปราบมาร

ในฐานะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ท่านเป็นผู้นำทางจิตใจ ของเหล่าพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สาธุชน เหล่ากัลยาณมิตรทั่วโลก ในการเป็นต้นบุญต้นแบบทั้งด้านการบำเพ็ญสมณธรรม ตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และด้านการสร้างบารมีโดยเอาชีวิต
เป็นเดิมพัน โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลาย

ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมกาย โครงการต่างๆ ที่ได้ดำริขึ้น เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก และ สร้างสันติภาพภายนอกด้วยเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน ด้วยการสอนสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงศูนย์กลางกาย และเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัวเป็นการเผยแผ่พระพทุธศาสนาเชิงรุก ซึ่งมีรูปแบบที่แปลก
แตกต่างจากวิถีเดิมๆ จึงมีคำวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา

หลวงพ่อธัมมชโย ท่านได้ให้ข้อคิดว่า เป็นเพราะเรายังอธิบายให้เขาเข้าใจได้ไม่ดีพอ จึงยังมีผู้ไม่เข้าใจอยู่บ้าง 

หนังสือเล่มนี้ ทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
1. พยายามอธิบายว่าหลวงพ่อธัมมชโย ทำอะไร เพื่องานทำนุบำรุง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาบ้าง ซึ่งรวบรวมเบื้องต้นได้ 100 กว่าโครงการ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
2. โครงการต่างๆ ที่ทำขึ้นมาทั้งหมดนั้น มิได้มีเจตนาอื่นใดเลย เป็นไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก มุ่งสอนสมาธิให้ทุกคนได้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้พบกับคำว่า “สันติภาพภายนอกเริ่มจากสันติสุขภายใน” นั่นเอง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0044776519139608 Mins