ศาสนาอิสลาม

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2559

ศาสนาอิสลาม

1. ประวัติความเป็นมา

     ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสำคัญ 1 ใน 3 ของศาสนาโลก เกิดในประเทศซาอุดิอารเบีย เมื่อ พ.ศ. 1133 โดยคิดตามปีเกิดของนบีมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ คำว่าอิสลาม1) มาจากคำศัพท์ว่า อัสลามะ แปลว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนยอมจำนนต่อพระเจ้า ดังนั้นเมื่อว่าโดยใจความก็คือการมอบกายถวายชีวิตต่อพระอัลลอฮ์อย่างสุดจิตสุดใจ ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า มุสลิม คือผู้ยอมมอบกายถวายชีวิตต่อพระอัลลอฮ์อย่างสิ้นเชิง

    อิสลามเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ถือว่ามีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียวคือ พระอัลลอฮ์ พระองค์ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ทรงกำหนดชะตากรรมของมนุษย์และสรรพสัตว์ ทรงเป็นผู‰รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มีมหิทธิฤทธิ์เหนือกว่าสิ่งใด ครอบงำทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือพระองค์ มุสลิมเชื่อว่าพระอัลลอฮ์ทรงมีรูปร่างตัวตนไม่ใช่เป็นนามธรรมแต่เป็นร่างทิพย์ จึงไม่มีใครสามารถเห็นพระองค์ได้ พระองค์ทรงโปรดผู้ที่เคารพพระองค์ แต่ทรงโกรธกริ้วต่อ ผู้ตั้งภาคี (ซีริก) คือยกผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมาเทียบเทียมพระองค์ ดังมีข้อความในคัมภีร์อัลกุรอาน2)ว่า

     “โอ! พระอัลลอฮ์ย่อมไม่ทรงอภัย ในข้อที่ใครถามถึงผู้อื่นเทียบเทียมพระองค์ พระองค์ทรงอภัยให้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดเท่านั้น ผู้ใดพรรณนาถึงผู้อื่นเสมอเหมือนพระอัลลอฮ์ ผู้นั้นถือได้ว่าทำบาปอันยิ่งใหญ่Ž”

    มุสลิมถือว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของพระอัลลอฮ์เท่านั้น ดังโองการในคัมภีร์ อัลกุรอาน3)ว่า ”แท้จริงศาสนาของพระอัลลอฮ์นั้น คือศาสนาของอิสลามŽ” หรือ ”วันนี้เราได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าครบถ้วน…เราให้อิสลามเป็นศาสนาของสูเจ้าŽ”4)

  นบีมุฮัมมัดหรือใครๆ ไม่อาจตั้งศาสนาอิสลามได้ ดังนั้นมุสลิมจึงไม่ชอบที่ใครมาเรียกศาสนาอิสลามว่า ศาสนามุฮัมมัด (Mohamedanism) ดังที่ชาวตะวันตกเรียก และมุสลิมถือว่าอิสลามเป็นศาสนาที่องค์อัลลอฮ์ประทานให้มนุษยชาติโดยผ่านนบีมุฮัมมัด เพราะฉะนั้นศาสนาอิสลามจึงเป็นศาสนาที่ดีที่สุด ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรบกพร่อง เป็นศาสนาของพระเจ้า ส่วนนบีมุฮัมมัดเป็นเพียงศาสดาที่นำศาสนาอิสลามมาเผยแผ่แก่มนุษย์อีกทอดหนึ่งเท่านั้น

     ศาสนาอิสลามสมัยเริ่มแรกมีคนนับถือน้อย เพราะไปขัดกับความเชื่อของคนในสมัยนั้น แต่ต่อมาอาศัยความเด็ดเดี่ยวกับความเอาจริงเอาจังของนบีมุฮัมมัด ในการออกประกาศศาสนา ก็ทำให้ได้ศาสนิกมากขึ้นตามลำดับ และยิ่งในช่วงบั้นปลายชีวิต นบีมุฮัมมัดหันไปใช้กำลัง ทหารเข้าสนับสนุนด้วย ก็เป็นเหตุให้ศาสนาอิสลามเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เพียงช่วงเวลาที่นบีมุฮัมมัดมีชีวิตอยู่ก็สามารถแผˆขยายศาสนาไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ และหลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว กาหลิบ5)คนต่อมาได้ดำเนินนโยบายตามนบีมุฮัมมัด เช่น ยึดกรุงดารŒมัสกัสได้ในปี พ.ศ. 1178 ยึดเปอร์เซียได้ในปี พ.ศ. 1179 ยึดเยรูซาเล็มได้ในปี พ.ศ. 1181 ยึดอียิปต์ได้ในปี พ.ศ. 1183 ยึดทวีปแอฟริกาตอนเหนือได้ทั้งหมดภายใน คริสตศตวรรษที่ 7 และยึดสเปนได้ในปี พ.ศ. 1254 เหล่านี้ เป็นต้น ทำให้ศาสนาอิสลามยิ่งแผ่กว้างไกลออกไปอย่างมาก จนศาสนาอิสลามจากเป็นศาสนาของกลุ่มชน มาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศซาอุดิอารเบีย และจากศาสนาประจำชาติซาอุดิอารเบีย กลายเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศต่างๆ ทั่วอาหรับเพียงชั่วเวลาภายใน 100 ปีเท่านั้น จากนั้นก็ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา เลยมายังทวีปเอเชีย เชˆน ประเทศปากีสถาน บังกลาเทศ อินเดีย จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

 

2. ประวัติศาสดา

2.1    การเกิด

     นบีมุฮัมมัด หรือมะหะหมัด เกิดที่เมืองเมกกะ เมื่อปี พ.ศ. 1113 บิดาชื่อ อับดุลลอฮŒ มารดาชื่อ อามีนะฮ์ บิดาถึงแก่กรรมกˆอนที่ทˆานจะเกิดได‰ 2 เดือน ภายหลังทˆานเกิดได้ไม่นาน มารดาของทˆานก็ถึงแก่กรรม ทˆานต้องอาศัยอยูˆกับปู่ซึ่งชราอายุร่วม 100 ปี ไม่นานปู่ก็ถึงแก่กรรม ต้องไปอาศัยอยู่กับลุง ซึ่งเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย ลุงฝึกสอนให้นบีมุฮัมมัดทำการค้าขาย นบีมุฮัมมัด มีนิสัยช่างนึกตรึกตรองมาตั้งแต่เด็ก บางครั้งจึงเป็นเหมือนคนใจลอย สนใจไปทางอื่น ไม่ใช่เรื่องการขาย ตลอดชีวิตไม่ได้เรียนหนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่การท่องเที่ยวค้าขายก็ทำให้ได้ความรู้มาก เพราะได้เดินทางไปจนถึงประเทศอียิปต์ และซีเรีย ได้พบคนหลายชาติ หลายภาษา

2.2    การแต่งงาน

    นบีมุฮัมมัดดำเนินชีวิตเช่นนี้จนกระทั่งอายุ 25 ปี ได้รับคำแนะนำจากลุงว่าให้ไปสมัครทำงานกับหญิงหม‰ายคนหนึ่ง ชื่อ เคาะดีญะฮ์ หรืออาอิชะฮ์ ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน มีอายุแก่กว่า 18 ปี แต่เป็นหญิงมั่งคั่งและใจดี นบีมุฮัมมัดปฏิบัติตามคำแนะนำของลุง เคาะดีญะฮ์ก็รับไว้ให้นำขบวนสินค้าเดินทางที่เรียกกันว่าคาราวาน นบีมุฮัมมัดทำงานได้ผลดี มีกำไรมาก และจากการแนะนำของแมˆสื่อ ภายหลังนบีมุฮัมมัดจึงได‰แตˆงงานกับนางเคาะดีญะฮŒ

2.3    การรับเทวโองการและมีพระเจ้าองค์เดียว

   เมื่อแต่งงานแล้ว นบีมุฮัมมัดก็กลายเป็นคนมั่งคั่ง มีความสำคัญขึ้นในชีวิตและสังคมของเมกกะ หรือมัักกะฮŒ และโดยที่เป็นเชื้อสายกุเรช จึงต้องทำการเคารพบูชากะอŒบะฮŒ หรือกาบะด้วย ที่กะอŒบะฮยังคงมีเทพเจ้า 360 องค์อยู่เสมอ เมื่อมีฐานะมั่งคั่งขึ้น นบีมุฮัมมัด มีเวลาที่เป็นนักคิดมากขึ้น การเคารพบูชากะอŒบะฮŒนี้ก็ดี การเดินทางท่องเที่ยวค้าขายก็ดี ทำให‰นบีมุฮัมมัดสนใจใฝ่คิดและตั้งปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับชีวิต บางครั้งก็ขึ้นไปบนยอดเขา หาที่สงบสงัดเพื่อตรึกตรอง

    ครั้งหนึ่งนบีมุฮัมมัดขึ้นไปบนเขาที่ถ้ำฮิรอซึ่งอยูˆใกล‰ภูผารัศมี และที่ถ้ำฮิรอนี้เอง ความคิดเรื่องถือพระเจ้าองค์เดียวได้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับโมเสสได้รับบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้าที่ภูเขาซีไน หรือซีนาย มีเรื่องเลˆาวˆา ทูตสวรรคŒ(ญิบรีล)ทˆานหนึ่งมาปรากฏตัวแก่ มุฮัมมัดบอกให้รู้ว่า พระเจ้าที่แท้จริงมีอยู่พระองค์เดียว คือ พระอัลลอฮŒ และพระอัลลอฮŒ นอกจากจะนำทางให้แกˆนบีมุฮัมมัดแล‰ว ยังได‰เลือกมุฮัมมัดให‰เป“นนบีและศาสนทูต (รอซูล) เพื่อเผยแผ่วจนะของพระอัลลอฮ์มายังโลกที่ได‰หลงผิดมาเป“นเวลานานแล‰ว เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1153 ขณะที่นบีมุฮัมมัดมีอายุ 40 ปี และภายหลังที่แต่งงานกับเคาดีญะฮ์ มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข มีทรัพย์สมบัติมากมายแล้วถึง 15 ปี จึงมีเวลาพอที่จะสนใจใฝ่ศึกษาศาสนาต่างๆ และมุˆงหน‰าหาสัจธรรม

2.4    การได้สาวก

 การที่นบีมุฮัมมัดจะเผยแผ่ศาสนาเรื่องพระเจ้าองค์เดียวขึ้นในเมกกะนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะคนสˆวนใหญˆเคารพเทพเจ้าหลายองคŒ การที่จะทำให้คนเหล่านั้นทิ้งเทพเจ้า หันมานับถือพระอัลลอฮ์องค์เดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้ นบีมุฮัมมัดจึงใช้วิธีเผยแผ่อย่างค่อยๆ ทำ เริ่มจากคนใกล้ชิดคนแรกคือ เคาะดีญะฮŒภรรยาของทˆานเป็นสาวกคนแรก คนที่สองคือ เซอิด เป็นทาสและนับถือศาสนาคริสตŒมาก่อน คนที่สามชื่อ อบูบักร์ เป็นพ่อค้าอยู่ที่เมกกะ คนที่สี่ชื่อ โอมา หรืออุมัร เป็นนักรบอย่างฉกาจฉกรรจ์ สาวกทั้ง 4 คนนี้จึงนับเป็นสาวกเริ่มแรกของทˆาน

    การประกาศศาสนาเป็นคนๆ เช่นนี้ ทำให้ได้ผลช้ามาก เวลา 3 ปี ได้สาวกเพียง 13 คน แต่ความพยายามอย่างไม่ลดละก็ประสบความสำเร็จ ได้สาวกจากคนรวยเป็นจำนวนมาก มีชื่อเรียกกันว่า อิสลาม แปลว่า พลีตนถวายพระเจ้า ซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อของศาสนา

2.5    ให้คำขวัญเรื่องศานติ

    นบีมุฮัมมัดได้ให้คำขวัญแก่สาวกไว้ทักทายกันว่า ขอให้ศานติจงมีแก่ท่านŽ แสดงว่าเดิมนบีมุฮัมมัดประสงค์ให้ศาสนานี้ เป็นศาสนาศานติอย่างแท้จริง แต่เหตุการณ์ได้บีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเป้าหมายไป เนื่องจากทˆานและสาวกถูกรังแกข่มเหงอย่างร้ายแรงจากพวกที่นับถือเทพพระเจ้า โดยเรียกนบีมุฮัมมัดและสาวกว่า โมสเลม (Moslem) เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า ทรยศ ต่อมาภายหลังนบีมุฮัมมัดก็รับเอาคำนี้และกลายเป็นคำที่มีความหมายดีของมุสลิม

2.6    ไปปักหลักที่ยาตะเร็ม

    แม้ว่าการเผยแผ่ศาสนาจะถูกกีดกัน ขัดขวางและต่อต้านในเมืองเมกกะ แต่ในตำบลใหญ่ตำบลหนึ่งชื่อ ตำบลยาตะเร็มเป็นที่ที่ชาวยิวและชาวอาหรับอาศัยอยู่รวมกัน จึงมีการแก่งแย่ง การทำมาหากิน เป็นศัตรูกันตลอดเวลา มีชาวอาหรับพวกหนึ่งเดินทางเข้าไปในเมกกะมาพบนบีมุฮัมมัดเข้า ได้ฟังคำสอนและมองเห็นความยิ่งใหญ่ของท่านผู้นี้จึงเกิดความคิดขึ้นว่า จะต้องรีบเอาตัวผู้นี้ไป ถ้าช้าพวกยิวต้องมาเอาไปเป็นเมสสิอาห์แน่ จึงรีบเชิญให้นบีมุฮัมมัดไปอยู่ที่ตำบลยาตะเร็ม ขอเวลาไปเตรียมคน 1 ปีจะมารับตัว เมื่อครบเวลา 1 ปี ชาวอาหรับจำนวน 73 คน ลอบเข้าเมืองเมกกะเวลากลางคืนเข้าพบนบีมุฮัมมัดแล้วพานบีมุฮัมมัดและสาวกเดินทางออกจากเมกกะ โดยให้สาวกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนตัวเองกับสาวกคู่ใจคืออบูบักร์เดินทางระวังหลัง เมื่อนบีมุฮัมมัดและสาวกเดินทางถึงหมู่บ้านยาตะเร็มแล้วได้รับการต้อนรับทั้งจากชาวอาหรับและชาวยิว ทˆานนั่งอยู่หลังอูฐปล่อยบังเหียนอูฐแล้วบอกว่าอูฐพาไปที่ไหน จะพักที่นั่น อูฐก็เดินไป คนจำนวนมากก็เดินตามเรื่อยไป พอไปถึงต้นอินทผลัมอูฐก็หยุด นบีมุฮัมมัดจึงประกาศว่าจะพักที่นั่น ขอให้ประชาชนสร้างมัสยิดให้

2.7    การกˆอตั้งศาสนาอิสลาม

    มัสยิดหลังแรกของศาสนาอิสลามจึงได้เกิดขึ้น ณ ที่นี้ ศาสนาอิสลามได้กˆอตั้งขึ้น ณ ที่นี้ในปี พ.ศ. 1165 เป็นการเริ่มนับศักราชอิสลาม เวลานี้นบีมุฮัมมัดมีอายุได้ 52 ปี ตำบลยาตะเร็มได้กลายเป็นเมืองใหญ่ขึ้นเรียกว่า เมดินา (มะดีนะฮ์) แปลว่า มุนี การที่นบีมุฮัมมัด เดินทางออกจากเมกกะไปเมดินานี้เรียกว่า ฮิจญŒเราะฮŒ (การอพยพ) หลักฐานบางแหˆงกลˆาววˆา นบีมุฮัมมัดนอกจากเป็นศาสดาแล้ว ยังเป็นเจ้าครองเมือง และด้วยเหตุผลนี้เองคัมภีร์ในศาสนาอิสลามคือ อัลกุรอาน จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายอยู่ในตัว คัมภีร์อัลอุรอาน หรือโกหร่านไม่ได้เป็นเฉพาะบัญญัติทางศาสนา แต่เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง วางข้อบัญญัติเกี่ยวกับสังคม เช่น เรื่องครอบครัวและมรดก เป็นต้น

    คำสอนและพระบัญญัตินั้น นบีมุฮัมมัดบอกให้คนจดไว้บนใบลานบ้าง บนแผ่นหนังบ้าง สลักบนแผ่นไม้ แผ่นหิน และบางทีสลักไว้บนหน้าอกของตน บางทีก็เป็นคาถากวีนิพนธ์ ที่ไพเราะที่เป็นคำร้อยแก้วที่เป็นภาษาที่ดี ภาษาที่สูง และด้วยเหตุนี้ สาวกทั้งหลายจึงเชื่อมั่นว่า คำของนบีมุฮัมมัดนั้นเป็นคำของพระเจ้าจริงๆ คนไม่เชื่อว่านบีมุฮัมมัดจะประพันธ์คำพูดหรือบัญญัติอย่างนั้น เพราะท่านไม่รู้หนังสือ เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก แต่คำสอนและบทบัญญัติเป็นของสูง ของไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง ประชาชนจึงเชื่อกันว่า นบีมุฮัมมัดต้องได้ยินได้ฟังมาจากพระเจ้า

    นบีมุฮัมมัดเองก็ยืนยันอยู่เสมอว่า คำสอนและข้อบัญญัติทั้งหลายนั้นได‰ยินได้ฟังมาจากพระเจ้า ทˆานส่งจิตของตัวเองขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าด้วยวิธีการทำสมาธิ

2.8    เมกกะยกทัพมาตี

   การกˆอตั้งศาสนาลงในตำบลยาตะเร็มซึ่งกลายเป็นเมืองใหญ่ ชื่อเมืองเมดินานั้นเป็นไปได้โดยมีรากฐานมั่นคง แต่นบีมุฮัมมัดก็มิได้ประมาท เพราะที่เมืองเมกกะยังมีศัตรูอยู่ทั้งเมือง นบีมุฮัมมัดนอกจากจะเป็นประมุขของศาสนาแล้ว ยังมีฐานะอย่างผู‰ปกครองบ้านเมืองด้วย จำเป็นต้องป้องกันเมืองเอาไว้ จึงได้สั่งเตรียมการป้องกัน ซึ่งตˆอมาทางเมกกะได้ยกทัพมาโจมตี นบีมุฮัมมัดเป็นแม่ทัพออกสู้รบ แพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่ครั้งสุดท้ายแพ้อย่างราบคาบ นบีมุฮัมมัดล้มลงนอนราบอยู่กับพื้น ข้าศึกนึกว่าตายกันหมดแล้วจึงถอยทัพกลับ

2.9    จุดเปลี่ยนแปลงคำสอน

    เมื่อถึงตอนนี้ ความแปรผันได้เกิดขึ้น เดิมศาสนาอิสลามสอนเรื่องความสงบศานติความเมตตากรุณา จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธ เพื่อความอยู่รอดและ แผ่ขยายของศาสนา ฉะนั้นเมื่อมาถึงตอนนี้ จึงเกิดมีคำสอนใหม่ขึ้นมาคือ ดาบคือลูกกุญแจไขประตูสวรรค์Ž เสียเลือดหยดหนึ่งที่หลั่งออกเพื่อพระเจ้าเป็นการบริจาคที่มีคุณค่าที่ยิ่งกว่า สิ่งใดๆŽ การแรมศึก 1 คืน เพื่อพระเจ้ามีอานิสงส์แรงกว่าการจำศีลอดอาหาร 2 เดือนŽ ผู้ใดตายในสนามรบเพื่อพระเจ้าจะได้รับการอภัยโทษในบาปกรรมต่างๆ จนหมดสิ้นŽ

2.10    ยึดเมกกะได้

     นบีมุฮัมมัดเริ่มลงมือทำงานด้วยการใช้กำลังปราบพวกยิวในเมืองเมดินา ก่อนทำเมืองเมดินาให้เป็นของชาวอาหรับโดยสมบูรณ์ ครั้นแล้วก็ยกทัพเข้าล้อมเมกกะ ชาวเมกกะยอมอ่อนน้อมโดยไม่มีการต่อสู้ นบีมุฮัมมัดเข้าเมืองเมกกะได้อีกครั้ง ขี่อูฐขาวเป็นพาหนะนำคนไปที่สถานกะอŒบะฮŒ ทุบทำลายเทวรูปทั้งหลายจนหมดสิ้น และจัดให้มีการประชุมสวดมนต์ตามแบบลัทธิศาสนาใหม่ โดยให้แขกนิโกรคนหนึ่งซึ่งเป็นทาส เป็นหัวหน้านำสวดมนต์ เพื่อแสดง ว่าศาสนาอิสลามให้ความเสมอภาคโดยไม่ถือผิวพรรณวรรณะ

2.11    เมกกะกลายเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์

    นบีมุฮัมมัดยึดเมืองเมกกะได‰อย่างเด็ดขาด เมื่อปี พ.ศ. 1173 ขณะที่มีอายุ 60 ปีสืบเนื่องจากพิธีกรรมที่ทˆานนำปฏิบัติครั้งหลังสุดนี้ เมืองเมกกะจึงกลายเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม และเป็นยอดปรารถนาของมุสลิมทุกคนที่จะได้มีโอกาสไปประกอบศาสนกิจประจำปี ซึ่งเรียกวˆา ฮัจญŒ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เมืองเมกกะสักครั้งหนึ่งในชีวิต

    ต่อมา นบีมุฮัมมัดก็ได‰ทำหน้าที่อย่างผู‰ปกครองเมือง คือ หน้าที่บัญชาการรบ ส่งกองทัพไปตีเมืองใกล้เคียงต่างๆ เมืองที่ยึดได้ก็ไม่บังคับให้นับถือศาสนาอิสลามโดยตรง แต่ให้ทางเลือกคือใครนับถือศาสนาอิสลามเสียภาษีน้อย ใครไม่นับถือก็ต้องเสียภาษีมากหน่อย

    นบีมุฮัมมัดเสียชีวิตที่เมืองเมดินา ในปี พ.ศ. 1175 เมื่ออายุได้ 61 ปีกว่า

 

3 ผู้สืบทอดศาสนา

  หลังจากที่นบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว ทายาทผู้สืบทอดศาสนาคือ อบูบักร์ ซึ่งเป็นสาวกผู‰ใกล‰ชิดที่สุด เรียกตำแหน่งนี้ว่า กาหลิบ จากภาษาอาหรับวˆา กาลิฟา (เคาะลีฟะฮ์) แปลว่า ผู้สืบตำแหน่งแทน อำนาจหน้าที่ของกาหลิบสูงกว่ามหากษัตริย์ธรรมดา เพราะเป็นผู้มีอำนาจทั้งศาสนาจักรและอาณาจักร เป็นวิธีการใหม่ของอิสลาม เพื่อป้องกันการแก่งแย่งแข่งดีกันระหว่างบ้านเมืองกับศาสนา ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ศาสนาอิสลามจึงทรงไว้ทั้งพระคุณและพระเดช

     สำหรับตำแหน่งกาหลิบ1 นี้ มีผู้สืบทอดกันตามลำดับดังนี้

    1.    อบูบักร์ หรืออาบูบากร์ อยู่ในตำแหน่ง 2 ปี เสียชีวิตในปี พ.ศ. 1177

    2.    โอมา หรืออุมัร ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ 10 ปี ยกกองทัพไปตีซีเรีย เปอร์เซีย และอียิปตŒได้ แต่ความผิดอันร้ายแรงที่คนผู้นี้กระทำคือ การเผาหอสมุดใหญ่ที่เมืองอเล็กซานเดีย ทำลายหนังสือกรีกและอียิปต์อันชาวโลกถือว่าเป็นมหาสมบัติล้ำค่า ท่านผู้นี้ถูกฆ่าตายในปี พ.ศ. 1187

   3.    อุษมาน (พ.ศ. 1189-1199) ได้รับเลือกให้เป็นเคาะลีฟะฮŒ หรือกาหลิบองค์ที่ 3 อุษมานได้ดำเนินงานเผยแผ่ศาสนาอิสลาม โดยนำกองทัพมุสลิมไปปราบปรามมอาณาจักรคาบูลฆาชนี ดินแดนบริเวณบอลข่านเฮราต

    4.    อะลี บุตรเขยของนบีมุฮัมมัดเองได้ขึ้นเป็นกาหลิบและเกิดเรื่องแตกแยกจนเป็นเหตุให้เกิดนิกายขึ้น

 การสืบทอดตำแหน่งกาหลิบมีมาจนกระทั่งตุรกีแผ่อำนาจมากขึ้น สุลต่านตุรกีจึงประกาศให้พระองค์เป็นกาหลิบเสียเอง และตำแหน่งกาหลิบก็เป็นตำแหน่งคู่กับสุลต่านตุรกี ตลอดจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติขึ้นครั้งใหญ่ ตุรกีเปลี่ยนระบอบการปกครอง ยกเลิกตำแหน่งสุลต่าน ตำแหน่งกาหลิบก็เหลือแต่ตำแหน่งไม่มีคน ต่อมาตุรกีก็ประกาศยกเลิกตำแหน่งนี้ ในปี พ.ศ. 2467

 

4. การแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม

4.1    สาวกขยายศาสนา

   หลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว พวกสาวกทำการขยายศาสนาโดยใช้สงครามนำ ยกทัพไปทางทิศตะวันออกรุกเข้าเปอร์เซีย เตอรŒกีสถาน ส่วนทางทิศตะวันตกได้ยกกองทัพ เข้าเขตซีเรีย ปาเลสไตน์ และอียิปต์ เลยไปถึงภาคเหนือของทวีปแอฟริกา ทริโปลี ตูนีเซีย อัลบาเนีย และโมร็อกโก การขยายศาสนาอิสลามโดยใช้สงครามนำเป็นไปอย่างรวดเร็วและ ได้ผล ทุกประเทศประกาศยอมแพ้และรับนับถือศาสนาอิสลาม

    การทำสงครามของสาวกนบีมุฮัมมัด สามารถรบชนะขยายดินแดนออกไปได้อย่างกว้างขวางเช่นนี้ ก็เพราะมีแรงจูงใจกระตุ้นให้เกิดความเสียสละกล้าหาญ จากคำสอนของ นบีมุฮัมมัดที่สอนปลุกใจไว้ดังนี้

1) ดาบคือลูกกุญแจไขประตูสวรรค์
2) การตายในสมรภูมิเพื่อพระเจ้า เป็นการล้างบาปทั้งหลายให้หมดสิ้น
3) เสียเลือดหยดหนึ่งที่หลั่งออกเพื่อพระเจ้า เป็นการบริจาคที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดๆ
4) การแรมศึก 1 คืน เพื่อพระเจ้ามีอานิสงส์แรงกว่าการจำศีลอดอาหาร 2 เดือน
5) ผู้ใดตายในสมรภูมิเพื่อพระเจ้าจะได้อภัยโทษในบาปกรรมต่างๆ ทั้งสิ้น
6) การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า ญีฮัจ ถ้าประมุขศาสนาประกาศญีฮัจขึ้นมาเมื่อไร ถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องทำการต่อสู้ เป็นการทำสงครามเพื่อพระอัลลอฮ์

4.2    บุกเข้ายุโรป

    ในเวลาต่อมาอิสลามไม่หยุดอยู่แค่นั้น ยังขยายอาณาเขตต่อไปอีก ในปี พ.ศ. 1264 ได้ยกกองทัพเข้าตีถึงยุโรป โดยข้ามจากทวีปแอฟริกาทางช่องยิบรอลตาร์เข้าไปในประเทศสเปน และต่อมาอีก 8 ปี ได้รุกเข้าไปถึงดินแดนประเทศฝรั่งเศส เข้าไปจนถึงเมืองลียอง แต่ต่อมาอีก 3 ปี ก็มีเจ้าองค์สำคัญของฟรังก์ ชื่อ ชาร์ลส์ มาร์เตล รบชนะกองทัพอิสลาม เป็นการหยุดยั้งกองทัพอิสลามไม่ให้เข้าไปในยุโรปทั้งทวีป

4.3    เปลี่ยนเป้าหมาย

    เมื่อกองทัพอันเกรียงไกรของอิสลามบุกเข้ายุโรปไม่ได้ ก็ได้เปลี่ยนเป้าหมายโดยบุกเข้าทางเอเชียตะวันออก บุกเข้าอินเดีย ได้ปกครองอินเดียอยู่เป็นเวลานาน จนกลายเป็นอิสลามไปหลายส่วน เช่น ปากีสถาน บังกลาเทศ และอัฟกานิสถานในปัจจุบัน เมื่อปกครองอินเดียนานพอควรแล้ว กองทัพอิสลามก็ข้ามมหาสมุทรอินเดียไปหมูˆเกาะชวา และสุมาตรา ขับไล่ศาสนาพุทธออกจากอาณาจักรศรีวิชัย ในที่สุดศาสนาอิสลามก็เข้าครอบครองหมูˆเกาะชวา หมูˆเกาะสุมาตรา ศาสนาพุทธถึงการลˆมสลาย คงเหลือไว้แต่ปูชนียสถานบางแหˆงที่บอกให‰รู‰วˆา ดินแดนแหˆงนี้ศาสนาพุทธเคยเจริญรุˆงเรือง เช่น เจดียŒบรมพุทธโธ หรือบุโรบุโด และต่อจากเกาะชวากองทัพอิสลามก็ยกเข้าแหลมมลายู แผ่เลยมาถึงอาณาจักรปักษ์ใต้ของไทยมาหยุดอยู่แค่นครศรีธรรมราช

 

5. คัมภีร์ในศาสนา

5.1    อัลกุรอาน

     คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม คือ คัมภีร์อัลกุรอาน (Al-Quran) ฝรั่งเรียกว่า โกหรˆาน (Koran) คำว่า ”อัลŽ” เท่ากับ The ในภาษาอังกฤษ คำว่า ”กุรอานŽ” แปลว่า สิ่งที่จะต้องอ่าน (That which is to be read) บ้างแปลว่า บทอ่าน หรือบทท่อง (The Reading) ถอดความง่ายๆ ก็คือแปลว่า พระคัมภีร์ เพราะเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนจะต้องอ่านต้องศึกษาให้เข้าใจ รวมทั้งให้สามารถอ่านด้วยทำนองที่ไพเราะและมีศิลปะได้

   คัมภีร์อัลกุรอานกำเนิดมาจากการเขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของนบีมุฮัมมัดผู้อ้างว่าได้รับวจนะมาจากญิบรีล (ทูตสวรรค์) บ้าง จากพระอัลลอฮ์โดยตรงบ้าง โดยที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานมาให‰โดยตรง ซึ่งการได‰รับวจนะจากพระเจ‰านี้เรียกวˆา วะฮีย์ (เผยโองการ) เพื่อให้ใช้เป็นข‰อบัญญัติในการดำเนินชีวิตของมุสลิมทั่วโลก มุสลิมทุกคนถือว่า คัมภีร์อัลกุรอานเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องแสดงความเคารพอย่างเคร่งครัด เพราะทุกตัวอักษรทุกคำเกิดจากการเปิดเผยของพระเจ้า เป็นเทวบัญชาของพระเจ้า และเป็นวจนะที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าที่ไม่มีใครจะสงสัยดัดแปลงแก้ไขได้

    คัมภีร์อัลกุรอานมีการรวบรวมบันทึกไว้ด้วยภาษาอาหรับเป็นรูปเล่มอย่างสมบูรณ์ครั้งแรก หลังจากที่นบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว 6 เดือน มีขนาดหนังสือน้อยกว่าคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ บันทึกไว้ในทำนองร้อยแก้ว และมีบางตอนในบทท้ายเล่มที่ถ้อยคำสอดคล้องกัน มีจังหวะรับกันเหมือนโคลงกลอนในกวีนิพนธ์ มีเนื้อหาหลายตอนที่คล้ายคลึงกับคัมภีร์ของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ว่าความจริงแล้ว คัมภีร์อัลกุรอานได้รวบรวมเอาข้อความของพระคัมภีร์ต่างๆ ที่พระเจ้าได้เคยประทานแก่ศาสดาองค์อื่นๆ ก่อนหน้านั้นมา

    คัมภีร์อัลกุรอานถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะได้เพิ่มเติมสิ่งที่ขาดในคัมภีร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน สำหรับบุคคลและสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกัน การแต่งงาน การตาย อาชีพการทำมาหากิน เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการเมือง

   ลักษณะการบรรจุเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอานแบ่งออกเป็น ”ซูเราะห์Ž” หรือบท มี 114 บท (หรือจะเรียกว่า ”บรรพŽ” ก็ได้) แต่ละบทประกอบด้วย ”อายะห์Ž” หรือโองการ มีทั้งหมด 6,666 โองการ (หรือจะเรียกว่า ”วรรคŽ” ก็ได้) จำนวนโองการของแต่ละบทจะมาเท่ากัน ถ้าคิดเป็นคำทั้งหมดในคัมภีร์มีจำนวนนับได้ 77,639 คำ แต่ละซูเราะห์จะมีชื่อหัวข้อกำกับและบอกว่า ทรงส่งข้อความมา ณ ที่ไหน คือ ที่เมืองเมกกะ หรือที่เมืองเมดินา ทั้ง 2 เมืองนี้มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน คือ

     1) ซูเราะห์ที่เมืองเมกกะ เรียกว่า มักกียรห์ มีจำนวน 93 ซูเราะห์ เป็นโองการสั้นๆ กล่าวถึง

1.1    เรื่องราวของชนชาติต่างๆ และความพินาศล่มจมแห่งสังคมชนชาตินั้นๆ
1.2    ลักษณะอันเป็นเอกภาพของพระอัลลอฮ์ และศรัทธาที่ควรมีแก่พระองค์
1.3    ข้อพิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระอัลลอฮ์ และคำสอนให้ประพฤติดี เว้นชั่ว

    2) ซูเราะห์ที่เมืองเมดินา เรียกว่า มะดะนียะฮ์Ž มีจำนวน 21 ซูเราะห์ เป็นโองการที่ค่อนข้างยาว กล่าวถึง

2.1    ประมวลกฎหมายต่างๆ เช่น กฏหมายมรดก การซื้อขาย การหย่าร้าง ฯลฯ
2.2    หลักปฏิบัติของมุสลิม เช่น การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ

   ข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ปราชญ์มุสลิมในสมัยต่อมาได้นำเอาซูเราะห์ทั้งหมดในคัมภีร์อัลกุรอานมาแบ่งเป็น 30 บท แต่ละบทมีความยาวใกล้เคียงกัน เรียกว่า ญุซฮ์Ž เพื่อให้มุสลิมผู้มีศรัทธาได้ใช้อ่านวันละบทในระหว่างถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนครบ 30 วัน 30 บท พอดี ปัจจุบันนี้คัมภีร์อัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ เกือบทุกภาษา และแพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งฉบับภาษาไทย

5.2    อัล ฮะดีษ6)

    นอกจากมุสลิมจะถือว่าพระคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิตแล้ว พวกเขายังถือว่า อัล ฮะดีษ เป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติอันดีงามอีกด้วย อัล ฮะดีษ เป็นโอวาทและจริยวัตรต่างๆ ของท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งสาวกของท่านเป็นผู้รวบรวมไว้ การรวบรวมนี้มีอยู่หลายครั้ง แต่มุสลิมส่วนใหญ่ถือว่า อัล ฮะดีษ ที่รวบรวมขึ้นในสมัยเคาลีฟะฮ์ อะบาชิด (พ.ศ. 1418) เป็นฉบับที่แท้จริง

    อัล ฮะดีษ มีสถานะเป็นคำสอนและบทอธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน จึงไม่มี ความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าคัมภีร์อัลกุรอาน เนื้อหาของอัล ฮะดีษ อาจสรุปได้ 5 ประการ ดังนี้

   1.    เนื้อหาที่แสดงอุปนิสัยของท่านนบีมุฮัมมัด เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่มุสลิมทั่วไป เช่น ไม่ทะนงตน ไม่ถือตัว ไม่สบประมาทผู้ยากไร้ มีความละอายที่จะขัดพระบัญชาของพระเจ้า และรักสันติภาพ ดังจะเห็นได้จากคัมภีร์อัลกุรอานยกย่องท่านนบีมุฮัมมัดว่า “    แท้จริงเจ้าเป็น ผู้มีจริยธรรมอันสูงส่งŽ” และท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวไว้ในอัล ฮะดิษ ตอนหนึ่งว่า ”สำหรับ ท่านทั้งหลายให้ตามแบบอย่างของฉัน และแบบฉบับของเคาลีฟะฮ์ อัร-รอชิดีน สาวกผู้ได้รับทางนำŽ”

   2.    เนื้อหาที่แสดงจรรยาบรรณตามหน้าที่ต่อบุคคลผู้ใกล้ชิด เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์และมิตรสหาย เป็นต้น ท่านนบีมุฮัมมัดสอนว่า จงดูแลแม่ของเจ้า เพราะสวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของแม่Ž

   3.    เนื้อหาที่แสดงมารยาททางสังคม เช่น การกินดื่ม การร่วมประชุม และการเข้าศาสนสถาน (มัสยิด) เป็นต้น ในอัล ฮะดิษตอนหนึ่งกล่าวว่า อาหารที่เลวที่สุด คือ “    อาหารในการเลี้ยงที่เชิญแต่คนมั่งมี และคนยากจนถูกละเลยŽ”

    4.    เนื้อหาที่แนะนำให้สำรวมตนเพื่อมิให้ต้องรับโทษทางศาสนา ดังที่ท่าน นบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า ”บุคคลสองจำพวกที่ไม่ได้รับความเอ็นดูในวันกิยามะฮ์ (วันฟื้นคืนชีพ) คือ คนที่ตัดญาติขาดมิตร และเพื่อนบ้านที่เลวŽ”

   5.    เนื้อหาที่แนะนำให้พัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตน เพื่อจะได้รับพรจากพระเจ้า เช่นที่ท่านนบีมุฮัมมัดสอนว่า ”ผู้ใดกระทำให้พ่อแม่มีความยินดี แท้จริงได้ชื่อว่า ทำให้อัลลอฮ์ยินดีด้วย และผู้ใดทำให้พ่อแม่โกรธ แท้จริงหมายถึง ทำให้อัลลอฮ์โกรธด้วยŽ”

     แนวการประพฤติปฏิบัติที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และใน อัล ฮะดิษ แบ่งได้ เป็น 5 ประเภท คือ

1) วาญิบ (ภารกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล และจะถูกลงโทษหากละทิ้ง เช่น การควบคุมจิตใจให้มีคุณธรรมและบริสุทธิ์ เป็นวาญิบ
2) ซุนนะฮ์ (อดิเรกกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล และไม่ ถูกทำโทษหากละทิ้ง เช่น การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นซุนนะฮ์
3)  ฮะรอม (โทษกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะถูกลงโทษ และจะได้รับรางวัลหากงดเว้น เช่น การเสพสุรา เป็นฮะรอม
4)  ญาอิช (อนุโลมกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติไม่ได้รับรางวัล หรือไม่ถูกลงโทษหากงดเว้น เช่น การสมรส
5)  มักรูห์ (วัชชกิจ) หมายถึง การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติได้รับรางวัลเมื่องดเว้น และไม่ถูกลงโทษหากจะปฏิบัติ เช่น การสูบบุหรี่

 

6. หลักคำสอนที่สำคัญ

     หลักการของอิสลาม แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ 2 ส่วน คือ

6.1 หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์)

    ได้แก่ หลักการพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ ต้องประพฤติ เริ่มตั้งแต่ อายุ 3 ขวบเป็นต้นไป แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได‰แก่

1.    หลักศรัทธา หรือความเชื่อในศาสนา เรียกว่า อีมาน
2.    หลักปฏิบัติ หรือหน้าที่ในศาสนา เรียกว่า อิบาดะห์
3.    หลักคุณธรรม หรือหลักความดี เรียกว่า อิห์ซาน

    หลักการทั้ง 3 ส่วนนี้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิม หรือเพิ่งเข้ารับใหม่ก็ตาม จะต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่องตลอดไป

6.2 หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม (ฟัรดูกิฟายะฮ์)

    ได้‰แก่ หน้าที่ต่างๆ ทางสังคม ซึ่งนับตั้งแต่สังคมหน่วยเล็กสุด คือ ครอบครัว จนถึงสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือ ประเทศชาติ

    บุคคลจะต้องรับผิดชอบสังคมด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอิสลามมีบัญญัติให้ทุกคนได้แสดงความรับผิดชอบนั้นอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ด้าน ทุกคนต้องเสียสละเพื่อครอบครัว เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ และเพื่อศาสนา สำหรับมุสลิมแห่งสยามก็คือ ต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติไทยเรา

   โดยหลักการนี้ ศาสนาอิสลามจึงมิได้วางบทบัญญัติแต่เฉพาะในด้านการปฏิบัติศาสนาอย่างเดียว แต่ได้วางบทบัญญัติและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศชาติเอาไว้ด้วย ในอิสลามจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต เป็นอาทิ เป็นอีกส่วนหนึ่งแห่งคำสอน

(1)    หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา (อีมาน)

  คือหลักคำสอนที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 ก็ตาม ซึ่งหลักศรัทธามี 6 ประการ คือ

1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า

    หมายถึง ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า อัลลอฮ์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าและมีอยู่จริง มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในอัลลอฮ์ว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว และเป็นผู้ทรงคุณลักษณะดังนี้ คือ ทรงมีอย่างแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย ทรงมีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ ทรงดำรงอยู่ได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครสร้างพระองค์ ทรงเป็นผู้มีอยู่ตลอดกาล ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ ทรงเอกานุภาพ ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงสรรพเดช ทรงเป็นผู‰รู‰ในทุกสิ่ง ทรงความยุติธรรม ทรงพระเมตตา ทรงเป็นผู้พิพากษาในการตัดสินชีวิตมนุษย์ในวันสุดท้ายที่เรียกว่า วันพิพากษา

   ศรัทธาที่แท้จริงของมุสลิมต่ออัลลอฮ์นั้น หมายถึงการถวายทั้งกายและใจให้แก่พระองค์ การปฏิบัติผิดไปจากนี้ เช่น การยอมรับนับถือพระเจ้าองค์อื่นด้วย หรือการนับถือ สิ่งอื่นใดเทียบเท่าพระองค์ถือว่าเป็นบาปมหันต์ที่มิอาจยกโทษให้ได้ มุสลิมที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริงจะทำให้เขาละเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่ความดี มีพลังใจที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย การศรัทธาต่ออัลลอฮ์จึงเป็นหัวใจของการเป็นมุสลิม

2) ศรัทธาในมลาอิกะฮ์

  ซึ่งเป็นเทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้า มีจำนวนมาก ทำหน้าที่สนองพระบัญชาอัลลอฮ์แตกต่างกัน คุณลักษณะของมลาอิกะห์มีดังนี้

-    เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตามที่พระองค์กำหนด
-    ไม่ต้องการหลับนอน
-    จำแลงเป็นรูปร่างต่างๆ ได้
-    ไม่มีบิดา มารดา บุตร ภรรยา
-    ปฏิบัติคุณธรรมล้วนๆ
-    ไม่ละเมิดฝ่าฝืนบัญชาของอัลลอฮŒเลย
-    ไม่กิน ดื่ม ขับถ่าย ไม่มีกิเลสตัณหา

    มลาอิกะฮ์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล เท่าที่มีระบุชื่อและหน้าที่เฉพาะก็มีอยู่ 10 มลาอิกะฮ์ คือ

1.    ยิบรออีล    ทำหน้าที่สื่อโองการพระเจ้ากับศาสดา
2.    มีกาฮีล    ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
3.    อิมรอพีล    ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
4.    อิสรออีล    ทำหน้าที่ถอดวิญญาณของมนุษย์และสัตว์
5.    รอกีบ    ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
6.    อะติด    ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
7.    มุงกัร    ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
8.    นะกีร    ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
9.    ริดวาน    ทำหน้าที่ดูแลกิจการของสวรรค์
10.    มาลิก    ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก

   ผู้ที่จะเป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์ได้ ต้องศรัทธาว่าเทวทูตเหล่านี้มีจริงอันจะเป็นผลดีแก่ผู้ศรัทธาเอง คือจะทำให้เขาทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว เพราะแต่ละคนมีเทวทูตคอยบันทึกผลความดีและความชั่วอยู่ตลอดเวลา

3)    ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต

    มุสลิมเชื่อว่าโลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับจากยุคแรก คือ อาดัมนั้นต้องมีศาสดา หรือศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศเพื่อเผยแผ่โองการของพระเจ้า ซึ่งศาสนทูตนั้นมีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละศาสดาย่อมผิดแปลกไปตาม ยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสดาประกาศออกมาเหมือนกัน คือ ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง บรรดาศาสดาที่รับโองการพระเจ้ามาเผยแผ่เท่าที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งสิ้น 25 ท่าน7) คือ

1.    นบีอาดัม    (อ.ล.)8)
2.    นบีอิบรอฮีม    (อ.ล.)
3.    นบีอิสฮากร    (อ.ล.)
4.    นบียากูฟ    (อ.ล.)
5.    นบีนัวฮ์    (อ.ล.)
6.    นบีดาลูด    (อ.ล.)
7.    นบีสุไลมาน    (อ.ล.)
8.    นบีไอยูบ    (อ.ล.)
9.    นบียูซูบ    (อ.ล.)
10.    นบีมูซา    (อ.ล.)
11.    นบีฮารูน    (อ.ล.)
12.    นบีซาการีบา    (อ.ล.)
13.    นบียาหย่า    (อ.ล.)
14.    นบีอีซา    (อ.ล.)
15.    นบีอินยาส    (อ.ล.)
16.    นบีอิสมาอีล    (อ.ล.)
17.    นบีอัลย่าซะอ์    (อ.ล.)
18.    นบียูนุส    (อ.ล.)
19.    นบีลูด    (อ.ล.)
20.    นบีอิดรีส    (อ.ล.)
21.    นบีฮูด    (อ.ล.)
22.    นบีซูไอบ    (อ.ล.)
23.    นบีซอและซ์    (อ.ล.)
24.    นบีซุลกิฟลี่    (อ.ล.)
25.    นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
9) (อ.ล.)

    คุณสมบัติของศาสนทูตมานพ วงศ์เสงี่ยม. หลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม, 2511 หน้า 38.))มี 4 ประการ คือ

1.    ศิดกุน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ
2.    อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืน บทบัญญัติของอัลลอฮ์
3.    ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย
4.    ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด

  บรรดาศาสดาทุกท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง จึงดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มีการกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ

    สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดา ก็เพราะความเป็นศาสดา หมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า

    หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมาย และแน่นอนก็จะไม่มีใครพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย

   ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออกไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้า ทรงดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง

  ศาสนาอิสลามจำแนกศาสนทูต หรือผู้แทนของพระอัลลอฮŒ หรือผู้รับโองการจากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัยออกเป็น 2 ประเภท10) คือ

1.    ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า ”นบีŽ”
2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วย ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า ”ซูลŽ” หรือ ”รอซูลŽ”
ส่วนทˆานนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเชื่อกันว่า ทˆานเป็นทั้งนบีและรอซูล เพราะทˆานเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระอัลลอฮ์ และเป็นผู้เผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย

4) ศรัทธาในพระคัมภีร์

   คัมภีร์ที่ว่านี้หมายถึงคัมภีร์จำนวน 104 เล่มที่อัลลอฮ์ได้ประทานแก่เหล่า ศาสนทูตของพระองค์ เพื่อนำมาประกาศเผยแผ่แก่ปวงประชาชาติให้เหินห่างจากความมืดมน ไปสู่ทางอันสว่างไสวและเที่ยงตรง ซึ่งคัมภีร์ที่สำคัญมีอยู่ 4 คัมภีร์ คือ

1. คัมภีร์โทราหŒ หรือเตารอต (Torah) ประทานแก่นบีมูซา หรือโมเสส (Moses) เป็นภาษาฮีบรู
2. คัมภีร์ซะบูร์ (Zaboor) ประทานแก่นบีดาวูดหรือดาวิด (David) เป็นภาษาอียิปต์โบราณ
3. คัมภีร์อินญีล (Injeel or Gospel) ประทานแก่นบีอีซาหรือเยซู (Jesus)    เป็นภาษาซีเรียโบราณ
4. คัมภีร์อัล-กุรอาน (Al-Quran) ประทานแก่นบีมุฮัมมัด    (Muhammad)    เป็นภาษาอาหรับ อัลกุรอานเป็น

    คัมภีร์ฉบับสุดท้ายที่สมบูรณŒ    ที่สุดและมุสลิมเชื่อว่าท่านนบีมุฮัมมัด เป็นนบีคนสุดท้าย คัมภีร์ต่างๆ ทั้งหมดนี้สรุปคำสอนได้เป็น 2 ประการ คือ

1. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
2. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน

5)    ศรัทธาในวันพิพากษา ศาสนาอิสลามเรียกโลกในปัจจุบันว่า โลกดุนยาŽ และอธิบายว่า ดุนยา เป็นโลกแห่งการทดลอง ไม่จีรังยั่งยืน รอวันแห่งความพินาศแตกสลายเรียกว่า วันกียามะฮŒ ซึ่งเป็นวันพิพากษาหรือวันกำเนิดปรโลก โลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวเป็นโลกอมตะ เรียกว่า โลกอาคีรัต มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี้จะมีชีวิตเป็นนิรันดร ในวันกียามะฮ์นี้ ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง เพื่อชำระผลกรรมที่ทำไว้สมัยที่มีชีวิตอยู่ มุสลิมผู้ศรัทธาในวันพิพากษาและสร้างสมความดีไว้มากจะได้ไปสู่ปรโลกพบกับชีวิตนิรันดร

6)    ศรัทธาในการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้า มุสลิมทุกคนจะต้องศรัทธาว่ากำหนดการต่างๆ ในโลก และชีวิตของบุคคลแต่ละคนเป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้าทั้งสิ้น มนุษย์ต้องปฏิบัติตามครรลองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การดิ้นรนขวนขวายและวิริยภาพของมนุษย์ดำเนินไปจะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น

   ความเชื่อในอำนาจการลิขิตของพระเจ้านี้ มิได้หมายถึงการตัดทอนในด้านสร้างสรรค์ของมนุษย์แต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้มนุษย์เกียจคร้านและไม่คิดจะทำหน้าที่อะไรโดยทุกสิ่งเป็นกำหนดของพระเจ้า

    ความเชื่อข้อนี้นำมาประกอบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีและสุขุม มีสติและไม่ประมาท ให้มีสติ ตั้งมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปโดยการลิขิตของพระเจ้า ซึ่งมนุษย์เองก็ดิ้นรนพยายามและมุ่งมั่นอยู่เสมอ มีความขยันขันแข็ง และเริ่มบุกเบิกการงานความคิดทุกประการ ด้วยจิตใจที่สำนึกอยู่เสมอว่า อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของพระเจ้าอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้นผลของการกระทำกิจการทั้งหลายไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม มนุษย์ก็จะมีสติสัมปชัญญะมั่นคงเสมอ

   หากประสบผลสำเร็จในการทำกิจการใดๆ ก็ระลึกว่าเป็นไปโดยกำหนดลิขิตของพระเจ้า ตัวเองจะได้ไม่ลำพอง ไม่หยิ่งจองหอง ไม่ถือว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษเหนือคนอื่นใด แต่ถ้าหากประสบความล้มเหลวในการกระทำก็ระลึกเสียว่า เป็นไปโดยลิขิตของพระเจ้า ตัวเองจะได้ไม่เสียใจ ไม่อกหัก ไม่โวยวาย

   ความเชื่อในลิขิตพระเจ้าจะปรับจิตใจของมวลมนุษย์ให้มั่นคงในพระเจ้าดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความมั่นใจ มีเป้าหมายและมีกำลังใจตลอดไป

   คนใดที่เชื่อในลิขิตพระเจ้าจะปรับปรุงตัวอยู่เสมอ ไม่ทำอะไรแบบเช้าชามเย็นชามเฉี่อยชาทำตัวเรื่อยๆ เฉื่อยแฉะเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ เป็นความเชื่อที่มีเหตุผลอย่างแท้จริง ถ้ามีเหตุบกพร่องจะรีบแก้ไขทันที

  ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงกล่าวถึงกฎสภาวการณ์ไว้ว่า พระอัลลอฮŒ์เจ้าทรงลิขิตหรือเป็นผู้ทรงกำหนดกฎสภาวการณ์ (ความเป็นไป) แห่งโลกและมวลมนุษย์ชาติไว้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1. สภาวการณ์ที่คงที่ ได้แก่ กฎแห่งธรรมชาติ เช่น ดินฟ้าอากาศ ระบบการโคจรของดวงดาว และชาติพันธุ์ของมนุษย์ทั้งปวง
2.    สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ คือ สภาวการณ์ที่ขึ้นอยู่กับเหตุและผลที่มนุษย์แต่ละคนจะใช้สติปัญญาของตนเลือกปฏิบัติ เช่น พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีสภาพของความเป็นคนเหมือนๆ กัน พร้อมทั้งทรงประทานแนวปฏิบัติเพื่อความดีงามให้ทุกคน ส่วนผู้ใด มีสถานภาพอย่างไรนั้นในกาลต่อมานั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลเป็นผู้ทำเอง ก่อเอง เลือกทางเดินของตัวเอง

(2)    หลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา (อิบาดะห์)

   ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม (Monotheism) คือ นับถือพระเจ้าองค์เดียวว่าสูงสุด คือ พระอัลลอฮ์ มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด สร้างทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และสามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างได้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัตินั้น มุสลิมทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่และเป็นกิจวัตรอันจะขาดมิได้ ซึ่งการปฏิบัตินั้นแบ่งได้เป็น 5 ประการ ดังนี้

1)    การปฏิญาณตน

    การปฏิญาณตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามนั้นให้ปฏิญาณในความเชื่อมีต่อพระอัลลอฮ์เจ้าและต่อองค์ศาสดา โดยกล่าวออกเป็นวาจาจากความเชื่อมั่นของตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอนว่า

“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลลอฮ์Ž” และ

“ข้าพเจ้าของปฏิญาณตนว่า นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตแห่งพระอัลลอฮ์Ž ”

   โดยประโยคที่ปฏิญาณดังกล่าวนี้ เมื่อผู้ใดกล่าวด้วยความสำนึกอันจริงใจ และด้วยความศรัทธามั่นคงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามก็ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว

   หรือจะเพิ่มคำปฏิญาณเข้าอีกเพื่อความตั้งมั่นอย่างแท้จริง ไม่คลอนแคลนในการนับถือศาสนาอิสลาม โดยกล่าวว่า

1.    จะไม่เคารพบูชารูปใดๆ นอกจากพระอัลลอฮ์
2.    จะประพฤติตนในทางบริสุทธิ์และเป็นธรรมเป็นนิตย์
3.    จะยอมเชื่อฟังถ้อยคำในทางที่ถูกที่ควรของท่านนบีทุกประการ

2) การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ)

   การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้เข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่างๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวม ยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วยการทำละหมาด เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ

(1)    รอบวัน ผู้เป็นมุสลิมจะต้องทำละหมาดวันละ 5 เวลา คือ11)

1.1    เวลาย่ำรุ่ง    เรียกว่า ละหมาด    ซุบหฺ    ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์
1.2    เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาด ดุฮฺริอฺ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์
1.3    เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาด อะซัร ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์
1.4    เวลาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาด มัฆริบ ปฏิบัติ 3 ร็อกอะฮ์
1.5    เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาด อิชาอ์ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์

(2)    รอบสัปดาห์ ให้รวมทำกันในวันศุกร์ ณ มัสยิดสถาน จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

(3)    รอบปี ในรอบปีหนึ่งให้ทุกคนมาปฏิบัติการละหมาด ณ มัสยิด หรือสถานชุมนุมซึ่งมี 2 ครั้ง คือ

3.1    ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดุลพิฏร์) ซึ่งเรียกว่า วันอีดเล็กŽ จำนวน 2 ร็อกอะฮ์
3.2    ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทาน เนื่องในเทศกาลฮัจญ์ (อีดุลอัฏฮา) ซึ่งเรียกว่า วันออกฮัจญ์Ž จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

(4)    ตามเหตุการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ละหมาดด้วย เช่น

4.1    ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า ละหมาดญะนาซะฮ์Ž
4.2    ทำละหมาดขอฝน ในยามแห้งแล้ง เรียกว่า ละหมาดอิสติสกออ์Ž
4.3    ทำละหมาดในกลางคืนของเดือนถือศีลอดจำนวน 20 ร็อกอะฮ์ เรียกว่า ละหมาดตะรอวีห์Ž
4.4    ทำละหมาดระลึกถึงพระเจ้า เมื่อเกิดความผิดปกติทางธรรมชาติ คือ

4.4.1 เมื่อเกิดจันทรุปราคา เรียกว่า คูซูฟุลกอมัรŽ จำนวน 2 ร็อกอะฮ์
4.4.2 เมื่อเกิดสุริยุปราคา เรียกว่า กุซูฟุซซัมซิŽ จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

4.5    ทำละหมาดขอต่อพระเจ้า ให้ชี้ทางเลือกในการประกอบการงานที่ตัวเอง ตัดสินใจไม่ได้ เรียกว่า ละหมาด อิสติคงเราะย์Ž จำนวน 2 ร็อกอะฮ์
นอกจากที่กล่าวไว้นี้แล้ว ยังมีละหมาดอื่นๆ อีก ซึ่งปรากฏในตำราศาสนาโดยตรงและการละหมาดยังส่งเสริมให้กระทำโดยไม่ต้องรอวาระและเหตุการณ์ต่างๆ ดังกล่าวที่เป็นการกระทำโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข ทำเมื่อระลึกถึงพระเจ้า จำนวนกระทำครั้งละ 2 ร็อกอะฮ์ และทำได้เรื่อยไป เรียกว่า ละหมาด สนัตมุตลักŽ

วิธีทำละหมาด12) ให้เริ่มด้วยการชำระร่างกายให้สะอาด และอาบน้ำละหมาดตามแบบดังนี้

1.    ตั้งเจตนาว่าจะอาบน้ำละหมาด
2.    ล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อมือ
3.    บ้วนปากและล้างรูจมูก 3 ครั้งให้สะอาด
4.    ล้างหน้า 3 ครั้ง ให้ทั่วบริเวณหน้าให้สะอาด
5.    ล้างแขนทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายนิ้วมือถึงข้อศอกโดยล้างข้างขวาก่อนข้างซ้าย
6.    เอามือขวาชุบน้ำลูบศีรษะ 3 ครั้ง ตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง
7.    เอามือทั้งสองชุบน้ำเช็ดใบหูทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ให้เปียกทั่วทั้งภายนอกและภายในโดยเช็ดพร้อมกันทั้งสองข้าง
8.    ล้างเท้าทั้ง 2 ข้าง 3 ครั้ง ให้ทั่วจากปลายเท้าถึงเลยตาตุ่ม โดยล้างเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย
เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำละหมาดก็ให้สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และปิดอวัยวะสงวนโดย

-    ผู้ชายต้องปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า

-    ผู้หญิงปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ

    แล้วหันหน้าไปทาง กิบละฮ์Ž (กะอ์บะฮ์ บัยตุบเบาะห์) ด้วยจิตใจอันสงบ มีสมาธิและมุ่งต่อพระเจ้า แล้วปฏิบัติ ดังนี้

1.    ตั้งเจตนาแน่วแน่ในการปฏิบัติ
2.    ยกมือจดระดับบ่า พร้อมทั้งกล่าวตักบีร กล่าวอัลลอฮูกักบัร ซึ่งแปลว่า อัลลอฮ์ ทรงยิ่งใหญ่ แล้วยกมือลงมากอดอก
3.    ยืนตรงในท่าเดิม พร้อมกับอ่านบางบทจากคัมภีร์อัลกุรอาน หรือบทฟาตีฮะ หรือบทอื่นๆ ตามต้องการ
4.    ก้มลง ใช้มือทั้งสองจับเข่าไว้ ศีรษะทำแนวตรงกับสันหลังไม่ห้อยลงและไม่เงยขึ้นพร้อมทั้งอ่านว่า ซุบฮานะริบบิยันอะซีวะบิฮัมดิฮŒŽ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
5.    เงยขึ้นมาสู่ที่ยืนตรง พร้อมทั้งกล่าวว่า สมิอัลลฮุลิมันฮะมิดะฮ์ รอบบะนาละกัลฮัมดุŽ
6.    ก้มลงกราบโดยให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางแนบพื้นในระดับเข่า หัวเข่าทั้งสองวางบนพื้น และปลายนิ้วสัมผัสพื้น พร้อมกับอ่านว่า ซุบฮานะรอบบิยัลอะฮฺลาวะบิฮัมดิฮีŽ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
7.    ลุกขึ้นมานั่งพักพร้อมกับอ่านบทขอพร
8.    ก้มลงกราบครั้งที่สองแบบเดียวกับครั้งแรก การกระทำตามลำดับดังกล่าวนั้นถือว่า หนึ่งร็อกอะฮ์Ž
9.    จากนั้นขึ้นมายืนตรง แล้วย้อนกลับไปเริ่มต้นปฏิบัติตามลำดับ ตามที่กล่าวไว้แล้ว และในร็อกอะฮ์ที่สองให้ทำอย่างนี้
10.    เมื่อขึ้นจากการกราบครั้งที่สอง พร้อมกับอ่านตะฮียะฮ์ คือ อัตตะฮียาตุลมูบารอกาตุสซอลาตุตตอยยิปิตุลิลลาฮ์ อัสลามุอาลัยกะอัยยุฮันนะปิยุวะ เราหมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮอัสสะลามุอาลัยนาวะอะลาอิบาติซซอลิฮีนอัซฮะดุอัลาฮะอิลลัลดอฮุ วะอัซฮะดุอันนะมุ ฮัมมะดัรรอซูลุลลอฮิ อัลลอฮ์ฮุมมะซอลลิอะลามุฮำมัดอะลาอะลีมุฮัมมัดŽ

    หากละหมาดนั้นมีเพียงสองร็อกอะฮ์ ก็ไม่ต้องขึ้นให้กระทำร็อกอะฮ์ต่อไป แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มีร็อกอะฮ์ที่มี 3-4 ก็ให้ขึ้นกระทำตามลำดับดังกล่าวจนครบจำนวน โดย    - ถ้าเป็นละหมาด 3 ร็อกอะฮ์ ถึงการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ที่ 3 ลุกมาอ่านตะฮียะฮ์

    - ถ้าเป็นละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ ก็ลุกจากการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ ขึ้นมายืนตรงทำต่อในร็อกอะฮ์ที่ 4 ตามลำดับ จนถึงการนั่งอ่านตะฮียะฮ์สุดท้าย

11.    ให้สลาม คือ อ่านว่า อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์Ž ทำพร้อมกับเหลียวไปทางขวา และว่าอีกครั้งพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย จากนั้นก็ยกมือขึ้นลูบหน้า เป็นอันเสร็จพิธี อนึ่งก่อนพิธีละหมาดจะเริ่มขึ้นจะมีผู้บอกโดยใช้วิธีตะโกนจากหอสูง เมื่อทุกคนมา
ประชุมพร้อมกันแล้วหัวหน้าในพิธีการนั้นก็จะเป็นผู้นำ วันสวดมนต์ใหญ่ คือ วันศุกร์

การสวดมนต์หรือนมัสการมีอยู่ 3 ตอน13) คือ

-    ตอนแรก เรียกว่า อาซาน คือ ตอนที่มุอาซินขึ้นไปตะโกนเรียกอยู่บนหอสูง มีเนื้อความ ว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่ดีกว่าพระอัลลอฮ์ นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์จงมานมัสการกันเถิด มาทำความดีกันเถิด ดีกว่าการนอน

-    ตอนสอง เรียกว่า ร็อกอะฮ์ เป็นการเริ่มสำรวม กาย วาจา และใจ คือ การกล่าว คำสวดที่ถูกต้อง ใช้อิริยาบถถูกต้อง และตั้งจิตตรงต่อพระเจ้าองค์เดียวอย่างถูกต้อง

-    ตอนสาม คือ ตอนกล่าวคำนมัสการโดยอิหมˆาม หรือหัวหน้าในพิธีเป็นผู้นำกล่าวนำและกระทำนำพร้อมกัน เป็นการขอพรและสรรเสริญพระคุณของพระเจ้า อนึ่ง มุสลิมถือว่าในเทศกาลสำคัญอย่างการฉลองวันสิ้นสุดแห่งการถือศีลอด และวันฉลองการเสียสละครั้งใหญ่ (อีดุลอัฏฮา) คือ วันตรุษ จะต้องทำพิธีร่วมกันทุกคนขาดไม่ได้

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

    ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างศาสดานบีมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้

1.    เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา
2.    เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง
3.    เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ
4.    เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี
5.    เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม
6.    เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี
7.    เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3)    การถือศีลอด การถือศีลอด คือ งดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงตะวันตกในเดือนรอมะฎอน (เดือนที่ 9 ของ ฮิจเราะห์ศักราช) เป็นเวลา 1 เดือน คือ

1.    งดการกินและการดื่ม
2.    งดการมีเพศสัมพันธ์
3.    งดการใช้วัตถุภายนอกเข้าไปในอวัยวะภายใน

4.    งดการแสดงอารมณ์ร้ายและความผิดต่างๆ พร้อมทั้งกระทำในสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.  ทำนมัสการพระเจ้าให้มากกว่าวันธรรมดาถ้าเป็นการถือศีลรอมะฎอนให้ทำละหมาดตะรอวีห์จำนวน 20 ร็อกอะฮ์
2.    อ่านคัมภีร์อัลกุรอานให้มาก
3.    สำรวมอารมณ์และจิตใจให้ดี
4.    ทำทานแก่ผู้ยากไร้และบริจาคเพื่อการกุศล
5.    กล่าว ซิกิรŽ อันเป็นบทรำลึกถึงพระเจ้า
6.    ให้นั่งสงบสติสงบจิต อิตติกาฟŽ ในมัสยิด
   

    การถือศีลอดมีเป้าหมายเพื่อเป็นการฝึกฝนให้ตัวเองมีจิตผูกพัน และยำเกรงต่อพระเจ้าเพื่อการดำเนินชีวิตในทุกด้านตามคำบัญชาของพระองค์ อันเป็นผลดีทำให้เกิดปกติสุข ทั้งส่วนตัวและส่วนสังคม

   นอกจากนั้นประโยชน์ของการถือศีลอดยังอำนวยในด้านสุขภาพอนามัยอีกด้วย เพราะการถือศีลอดเป็นการอดอาหารในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวนั้น จะทำให้ร่างกายได้ละลายส่วนเกินของไขมันที่สะสมเอาไว้ อันเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายหลายประการด้วยกันดังที่ทราบๆ กันอยู่แล้ว

   การถือศีลอดเป็นการเพิ่มพูนภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเคยชินกับความหิว และการรับประทานอาหารตรงตามเวลา เพราะใน 24 ชั่วโมง ผู้ถือศีลอดจะรับประทานอาหารสองมื้อ คือ มื้อตอนดึกก่อนฟ้ารุ่งสาง และมื้อค่ำ เมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้า

    การถือศีลอดทำให้เกิดการประหยัดทั้งอาหารของโลก และสิ่งฟุ่มเฟือยสิ่งต่างๆ อีกมากมาย สมมุติทั้งโลกมีมุสลิมทั้งหมดในหนึ่งเดือนที่ถือศีลอด เมื่อนำมาจ่ายค่าอาหารที่ลดลงจะเป็นจำนวนมหาศาล เท่ากับเดือนถือศีลอดนั้น มุสลิมช่วยทำให้โลกประหยัดโดยตรง


วาระการถือศีลอด

     การถือศีลอดแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

1. บังคับ
2. อาสาสมัคร

1. ถือศีลอดบังคับ ได้แก่ การถือศีลอดซึ่งศาสนาบังคับว่าจะต้องถือดังนี้

1.1    ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนครบทั้งเดือน
1.2    ถือศีลอดตามที่บนไว้
1.3    ถือศีลอดชดเชยที่ขาด
1.4    ถือศีลอดตามข้อผูกพัน เช่น ถือศีลอดเพื่อไถ่ความผิดอันเกิดจากการกระทำผิดทางเพศขณะถือศีลอด เป็นต้น

2. ถือศีลอดอาสาสมัคร ได้แก่ การถือศีลอดซึ่งศาสนามิได้บังคับให้ถือ หากปล่อยเป็นอิสระ ตามความสมัครใจ มีดังต่อไปนี้ เช่น

2.1    การถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเชาวาล (เดือนต่อจากเดือนรอมะฎอน)
2.2    การถือศีลอดในวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรร็อม
2.3    การถือศีลอด ในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี เป็นต้น

สาเหตุทำให้เสียศีลอด

1. รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
2. อาเจียนโดยเจตนา
3. ร่วมประเวณี
4. เสียสติ
5. นำวัตถุเข้าไปในช่องภายในของร่างกาย เช่น หู ทวาร เป็นต้น
6. มีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังคลอด
7. ทำให้อสุจิเคลื่อน
8. สิ้นสภาพอิสลาม
   จุดมุ่งหมายของการถือศีลอดเพื่อฝึกฝนทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้มี ความหนักแน่นต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักชะกาต

    มุสลิมที่บรรลุนิติภาวะทางร่างกายดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องละหมาด ทุกคนจะต้องถือศีลอด ยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทต่อไปนี้

1.    คนชรา
2.    คนป่วยหรือสุขภาพไม่ดี
3.    หญิงที่มีครรภ์ที่เกรงว่าจะเป็นอันตรายแก่บุตร
4.    บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม
5.    บุคคลที่อยู่ในระหว่างเดินทาง
6.    หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด

    บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้ละเว้นการถือศีลอดทั้ง 6 ประเภทนี้ หากพ้นภาวะความจำเป็นดังกล่าวแล้ว เช่น หมดรอบเดือน เมื่อสิ้นสุดการเดินทาง หายจากการเจ็บไข้ ฯลฯ ให้ถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดโดยจะต้องถือในช่วงระยะ 11 เดือนก่อนที่จะถึงเดือนรอมะฎอนของปีต่อไป ยกเว้นผู้ที่จะถือศีลอดได้โดยลำบาก เช่น คนชรา คนป่วย ซึ่งบุคคล ดังกล่าวนี้ต้องใช้ชดเชยโดยบริจาคอาหารแก่คนยากจน 1 คน ในวันที่ขาด โดยอาหารนั้นต้องเหมือนกับที่ตนรับประทาน

4)    การบริจาคศาสนทานซะกาต

   การบริจาคศาสนาทาน ศาสนาอิสลามเรียกว่า ซะกาตŽ (Sakat) มาจาก คำเดิมในภาษาอาหรับว่า ซะกาฮŒŽ แปลว่า การทำให้บริสุทธิ์ ความเจริญงอกงาม

   ซะกาต ในศาสนาอิสลาม หมายถึง การบริจาคซึ่งศาสนาบังคับให้ผู้มีทรัพย์สิน มากเกินจำนวนที่กำหนดไว้ (ในศาสนา) จ่ายแก่ผู้ควรได้รับ (ตามอัตราที่ศาสนากำหนด)

ที่มาของการบริจาคซะกาต

1. คำสอนในศาสนาที่ให้มุสลิมทุกคนถือว่า บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายที่หามาได้นั้น คือ ของฝากจากอัลลอฮŒ์เจ้าให้จ่ายส่วนหนึ่งแก่คนยากคนจน
2. ชีวิตจริงของศาสดามุฮัมมัด เคยผ่านความยากจนมาก่อน

วัตถุประสงค์ของการบริจาคซะกาต

1. เพื่อชำระจิตใจของผู้บริจาคให้บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภ    และเห็นแก่ตัว
2. เพื่อปลูกฝังให้มุสลิมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่    ซึ่งกันและกัน
3. เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมด้วยวิธีการสังคมสงเคราะห์

ลักษณะของการบริจาคซะกาตที่ถือได้ว่าได้บุญกุศลตามความมุ่งหมาย

1. ทรัพย์สินที่บริจาคต้องได้มาด้วยความสุจริต
2. ต้องเต็มใจในการบริจาค ไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่เจตนาเพื่ออวดความมั่งมี และไม่ลำเลิกบุญคุณ

อัตราการบริจาคซะกาต

     ทรัพย์ที่จะนำมาบริจาคซะกาตมีหลายประเภทด้วยกัน คือ

1.    ซะกาตพืชผล อันได้แก่ การเพาะปลูกที่นำผลผลิตมาเป็นอาหารหลักในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้าว ข้าวสาลี เป็นต้น เมื่อมีจำนวนผลิตได้ 650 กก. ต้องจ่ายซะกาต 10% สำหรับ การเพาะปลูกที่อาศัยฝน และเพียง 5% สำหรับการเพาะปลูกที่ใช้น้ำจากแรงงาน
2.    ทองคำ เงิน และเงินตรา เมื่อมีจำนวนเหลือใช้เพียงเท่าทองคำหนัก 5.6 บาท เก็บไว้ครอบครองครบรอบปีก็ต้องบริจาคออกไป 2.5% จากทั้งหมดที่มีอยู่
3.    รายได้จากการค้า เจ้าของสินค้าต้องคิดหักในอัตรา 2.5% ในทุกรอบปี บริจาคเป็นซะกาตทั้งนี้ทรัพย์สินจะต้องไม่น้อยกว่าเทียบน้ำหนักทองคำเท่ากับ 4.67 บาท
4.    ขุมทรัพย์เหมืองแร่ เมื่อได้ขุดกรุสมบัติแผ่นดิน หรือเหมืองแร่ได้สัมปทาน จะต้องจ่ายซะกาต 20% หรือ 1 ใน 5 จากทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้
5.    ปศุสัตว์ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ คือ วัว ควาย อูฐ แพะ แกะ จะต้องบริจาคในอัตราที่แน่นอน เป็นซะกาตออกไป เช่น มีวัว ควาย ครบ 30 ตัว ให้บริจาคลูกวัวอายุ 1 ขวบ 1 ตัว ครบ 100 ตัว บริจาคลูกวัวอายุ 2 ขวบ 1 ตัว และ 1 ขวบ 2 ตัว เป็นต้น

ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต

     ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตตามระบุไว้ในอัลกุรอานมีทั้งหมด 8 ประเภท คือ

1.    คนอนาถา ได้แก่ ผู้ยากจนไม่มีทรัพย์สินหรืออาชีพใดๆ
2.    คนขัดสน ได้แก่ ผู้มีอาชีพ มีรายได้ แต่ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายจริง
3.    เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับซะกาต ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐให้จัดการเก็บรวบรวมและจ่ายซะกาต
4.    ผู้ควรปลอบใจ ได้แก่ ผู้เพิ่งเข้าอิสลาม เตรียมเข้าอิสลาม หรืออาจจะเข้าอิสลาม
5.    ทาสที่ต้องการทรัพย์ไปไถ่ตัวเองให้เป็นอิสระ รับซะกาตเพียงเท่าที่จะนำไปไถ่ตัวเอง
6.    ผู้เป็นหนี้ หมายถึง เป็นหนี้ในการประกอบสัมมาอาชีวะ หรือกิจการกุศลทั่วไป รับซะกาตเพียงเท่าที่เป็นหนี้
7.    ผู้สละชีวิตในแนวทางพระเจ้า รับซะกาตเพียงค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการ
8.    ผู้เดินทาง หมายถึง เมื่อเดินทางแล้วหมดทุนที่จะเดินทางกลับ มีสิทธิ์รับซะกาตได้เพียงค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

    ซะกาตฟิฏเราะฮ์ การบริจาคซะกาตอีกประเภทหนึ่งที่มุสลิมต้องปฏิบัติ คือ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ซึ่งบริจาคเมื่อถึงวันสิ้นเดือนอด (รอมะฎอน)

    เป็นซะกาตที่คิดจากอาหารหลักที่บริโภคในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้าวสาลี เป็นต้น นำมา บริจาคโดยคิดเป็นรายบุคคล คนละประมาณ 4 ทะนาน หรือประมาณ 3 ลิตร

   การบริจาคซะกาตฟิฏเราะฮ์ให้หัวหน้าครอบครัวบริจาคเพียงคนเดียว โดยคำนวณ จากสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวจำนวนเท่าใดก็คูณด้วย 3 ลิตร แล้วนำไปบริจาคแก่ผู้มีสิทธิ์

5)    การประกอบพิธีฮัจญ์

    การประกอบพิธีฮัจญ์14) คือ การเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายเฉพาะอันหนึ่งในแง่กฎหมายของอิสลาม คำนี้มีความหมายว่า ออกเดินทางไปกะอŒบะฮ์หรือบัยดุลลอฮ์ และประกอบ พิธีฮัจญ์

    ในชีวิตหนึ่ง มุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ มหานครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบียอย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นข้อบังคับสำหรับทุกคนที่มีความสามารถพอจะเดินทางไปได้ และไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนระหว่างเดินทาง

   บทบัญญัติพิธีฮัจญ์นี้กำหนดให้มุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกได้เดินทางไปร่วมชุมนุมเพื่อแสดงพลังศรัทธา พลังเศรษฐกิจ พลังสังคม และได้มีการแลกเปลี่ยนทางด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมมุสลิม เช่น การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ทางเศรษฐกิจ ทางความคิด ทางข่าวสาร เป็นต้น

    การรวมตัวกันในสถานที่เดียวกัน เป็นจำนวนหลายล้านคนเช่นนี้ ทำให้ ทุกคนได้ตระหนักถึงภราดรภาพ เสมอภาพ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคม ซึ่งจะทำให้ทุกคนรักกันยิ่งๆ ขึ้น ที่ไม่เคยรู้จักกันก็จะได้รู้จักกัน และจะทำให้สนิทสนมสมัครสมานกัน

กำหนดเวลาของการไปทำพิธีฮัจญ์

    ในปีหนึ่งๆ มุสลิมทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกัน 1 ครั้ง พิธีนั้นจะทำในเดือนซุลฮิจญะฮ์ของแต่ละปี

    แต่หากมุสลิมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ มิใช่ฤดูกาลทำฮัจญ์ตามกำหนดเวลา ดังกล่าวเรียกศาสนกิจนั้นว่า อุมเราะห์

สถานที่ในการประกอบพิธีฮัจญ์

    สถานที่ในการประกอบพิธีฮัจญ์มีเพียงแห่งเดียวโลกมุสลิม ไม่สามารถจะไป ประกอบพิธีฮัจญ์ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ เช่น การท่องเที่ยว

       สถานที่ของการประกอบพิธีฮัจญ์อยู่ที่กะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลลอห์ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย

     กะอ์บะฮ์ คือ สิ่งก่อสร้างรูปทรงเหลี่ยม (มาจากรากศัพท์ว่า กะอะบะ แปลว่า นูนขึ้น หรือพองขึ้น) ที่ท่านนบี (ศาสดา) อิบรอฮีมและนบีอิสมาอิล บุตรชายช่วยกันสร้างขึ้นจาก รากเดิมที่มีอยู่ตามที่ได้รับบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮŒ (ซุบห์) เมื่อประมาณ 200 ปี ก่อนคริสตกาล กะอ์บะฮ์นี้มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่างที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน อาทิ อัลบัยตุลหะรอม อัล-มิสญิดุลหะรอม บัยตุลอตีก แต่นามที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ “    บัยตุลลอห์Ž” ซึ่งแปลว่า บ้านของอัลลอฮ์

   ฉะนั้น อัล-กะอ์บะฮ์ หรือ บัยตุลลอห์ จึงเป็นเคหะหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็น ศูนย์รวมแห่งความเคารพภักดีต่อองค์พระอัลลอฮŒ์ (ซุบห์)

   ทุ่งอะเราะฟะฮ์ อะเราะฟะฮ์มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างในหินผาที่กว้างใหญ่สูงประมาณ 200 ฟุต อยู่ห่างจากนครเมกกะประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทั้งหมด (ฮุจญาด) จะไปร่วมชุมนุมกันในวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ตั้งแต่เช้าก่อนถึงพระอาทิตย์ตกเป็นที่เริ่มแรกของพิธีฮัจญ์ หลังจากครองผ้าอิห์รอมแล้ว (ชุดขาวจากผ้า 2 ผืน)

    ในการค้างแรมที่อะเราะฟะฮ์นี้ ฮุจญาด (ผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์) จะกางเต็นท์อยู่โดยต่างก็มีธงชาติของประเทศตนติดตั้งไว้

    ทุ่งนี้เป็นที่ชุมนุมของคนทั่วโลก จากจำนวนร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน และเป็นล้านในปัจจุบัน ในจำนวนนี้มีทั้งราชาและยาจก นายและบ่าว ผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง แต่ ทุกคนแต่งกายเหมือนกันด้วยผ้าขาวเพียง 2 ชิ้น ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นพี่น้องกัน หัวใจจำนวนล้านดวงในที่เดียวกันต่างมุ่งอยู่ที่พระเจ้าองค์เดียวกัน และต่างอยู่ในความสำรวม ความนอบน้อมต่อพระองค์ ขอพรจากพระองค์ เป็นการมาหยุด มาพักแรมอยู่ด้วยกันด้วยความสงบ จึงเรียกการปฏิบัตินี้ว่า วูกูฟ (วูกูฟ แปลว่า หยุด สงบ นิ่ง)

    เมื่อเสร็จจากการวูกูฟ ฮุจญาดจะเดินทางไปยังทุ่งมีนาเพื่อไปค้างแรมที่นั้น 3 วัน 3 คืน เพื่อขว้างเสาหินแต่เนื่องจากการเดินทางอยู่ในระหว่างกลางคืน ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงค้างคืนที่ ทุ่งมุสตะลิฟะฮ์ 1 คืน จึงออกเดินทางไปทุ่งมีนาในตอนเช้าของวันที่ 10

   สำหรับมุสลิมที่มิได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ถือว่าวันรุ่งขึ้นจากการวูกูฟของผู้ไป ประกอบพิธีฮัจญ์ คือ วันอีดุลอัฏฮา หรือที่ชาวไทยมุสลิมนิยมเรียกว่า ออกฮัจญŒ

   อนึ่ง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮ์แห่งนี้ คือ สถานที่ซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัดศ็อลฯแสดงเทศนาครั้งสุดท‰าย หรือการกล่าวอบรมในที่ชุมนุมเป็นครั้งสุดท้าย

การแต่งกายในพิธีฮัจญ์

   ผู้ชายทุกคนจะแต่งกายด้วยผ้าขาว 2 ชิ้นที่ไม่มีการเย็บ ส่วนหญิงจะแต่งกายด้วยชุดที่มิดชิด (เปิดได้เฉพาะฝ่ามือและใบหน้า) โดยไม่มีเครื่องประดับใดๆ ทั้งสิ้น การครองผ้าขาวนี้ เรียกว่า อิห์รอม

   “หลักข้อแรกของการบำเพ็ญฮัจญ์ ได้แก่ อิห์รอมจากมีกอต หมายถึง การครองผ้าสองชิ้นด้วยการตั้งใจจะบำเพ็ญฮัจญ์จากเขตสถานที่แห่งหนึ่ง เรียกว่า ยะลัมลัม ซึ่งอยู่ห่างจาก เมืองฮิตดะห์ (เมืองท่าของซาอุดิอาระเบีย) ประมาณ 63 กิโลเมตรŽ”

การประกอบพิธีฮัจญ์

   ตั้งแต่เริ่มครองอิห์รอมจนเปลื้องอิห์รอมเมื่อเสร็จพิธีไม่ว่าฮุจญาดจะมาจากส่วนใดของโลกจะต่างเริ่มกล่าวสรรเสริญด้วยภาษาเดียวกันก้องกระหึ่มไปทั่ว คือ ”ลับบัยกัลลอฮุมมะลับบัยกะลาซารีกะลักŽ” “โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมคำเชิญของพระองค์ ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าพระองค์Ž ”

ขั้นตอนของพิธีฮัจญ์ สรุปได้ดังนี้

1. การครองอิห์รอม
2. การวูกูฟ (พักสงบ) ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์
3. การค้างแรมที่ทุ่งมุสตะลิฟะฮ์ 1 คืน แล้วเดินทางไปอยู่ที่ทุ่งมีนา 3 คืน เพื่อขว้างเสาหิน
4. การเฏาะวาฟ คือ เดินเวียน (ซ้าย) รอบบัยตุลลอห์ 7 รอบ
5. สะแอ คือ การเดินและวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างอัลเศาะฟากับอัลมัรวะฮ์ 7 เที่ยว
6. การทำกุรบานหรือเชือดสัตว์พลี สำหรับผู้ที่มีความสามารถ หรือการถือศีลอดทดแทน 7 วัน
7. โกนหรือตัดผม เสร็จแล้วจึงเปลื้องชุดอิห์รอม

   พิธีฮัจญ์เป็นศาสนกิจข้อที่ 5 ของมุสลิม เป็นข้อเดียวในหลักปฏิบัติ 5 ประการที่ใช้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น บุคคลที่มีความสามารถในการประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง มุสลิมที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญาที่สมบูรณ์ที่มีทรัพย์สินเพียงพอในการใช้จ่ายโดยมิต้องเป็นหนี้สินและเดือดร้อนบุคคลที่อยู่ข้างหลังและเส้นทางที่ เดินทางไปจะต้องปลอดภัย นอกจากนี้จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบศาสนกิจข้ออื่นๆ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การบริจาคซะกาตสมบูรณ์เสียก่อน การไปประกอบพิธีฮัจญ์มิใช่เพื่อโอ้อวดหรือเพื่อแสดงความมั่งคั่งของตน แต่เป็นการไปเพื่อทดสอบความศรัทธาและความเข้มแข็งอดทน

    ในปีหนึ่งๆ มุสลิมจากทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกันที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลกที่ใช้ประกอบพิธีจะทำในเดือนซู้ล (เดือนที่ 12 ของเดือนฮิจญ์เราะฮ์ศักราช) โดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

      มุสลิมที่เข้าร่วมในการประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องทำพิธีตามลำดับต่อไปนี้

    1.    การครองอิห์รอม คือ การนุ่งห่มด้วยผ้าขาวสองผืน เรียกว่า ครองอิห์รอม ผู้ที่เข้าร่วมในการประกอบพิธีฮัจญ์ที่เป็นชายจะต้องแต่งกายด้วยผ้าขาวสองผืน ส่วนหญิงจะต้องปิดมิดชิดเว้นแต่ใบหน้าและฝ่ามือ เพราะฉะนั้นทุกคนจึงแต่งเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีหรือยาจก ผิวขาวหรือผิวดำ นายหรือบ่าว เพราะทุกคนเสมอภาคกันหมด

   2.    การวูกูฟ คือ การพักสงบที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ (อะเราะฟะฮ์ เป็นชื่อตำบลหนึ่งของเมืองเมกกะ) ซึ่งห่างจากเมืองเมกกะประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณสำหรับวูกูฟนี้เป็น ลานทรายกว้างใหญ่ที่มีเทือกเขาเรียงรายเป็นรูปครึ่งวงกลม ทิศเหนือมีเนินเขาชื่อ ญะบัลเราะห์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งเป็นสถานที่วูกูฟของท่านเราะซูล

การวูกูฟเป็นข้อที่ปฏิบัติประการหนึ่งของพิธีฮัจญ์ ผู้ที่ขาดการวูกูฟย่อมไม่ได้ฮัจญ์ การวูกูฟจะเริ่มตั้งแต่ตะวันคล้อยของวันที่ 9 เดือนซู้ล

   3.    การค้างแรมที่ทุ่งมุสตะลิฟะฮ์ 1 คืน แล้วเดินทางไปทุ่งมีนาเพื่อขว้างเสาหิน ค้างแรมที่ทุ่งมีนา 3 วัน 3 คืน

   4.    การเฏาะวาฟ คือ การเดินเวียนรอบบัยตุลลอฮ์ 7 รอบ การเฏาะวาฟต้อง เริ่มต้นจากแนวของหินดำและต้องปฏิบัติดังนี้

- ต้องมีน้ำละหมาด
- แต่งกายปกปิดเรียบร้อย
- เนียตเฏาะวาฟก่อนจะเริ่มต้นเฏาะวาฟ
- ต้องเริ่มจากหินดำ
- ต้องเวียนให้ครบ 7 รอบ โดยเวียนติดต่อกันไปไม่ขาดระยะ
- ให้เวียนซ้ายให้บัยตุลลอฮ์อยู่ทางด้านซ้ายมือโดยให้แนวอกตั้งฉากกับ บัยตุลลอ์เสมอ
- ให้จูบหินดำ หากคนแน่นจนทำไม่ได้ก็ให้เอามือลูบหินดำแล้วจึงเอามือมาจูบหากยังทำไม่ได้อีกก็ให้ทำท่าจูบหรือลูบหินดำแล้วจึงเอามือจูบ

   5.    สะแอ คือ การเดินระหว่างเศาะฟา มัรวะฮ์ ซึ่งมีความยาวประมาณ 410 เมตร โดยเดินเวียนรอบประมาณ 7 เที่ยว เงื่อนไขการสะแอมีดังนี้

- ต้องเริ่มที่เนินเขาเศาะฟา
- ต้องสิ้นสุดที่เนินเขามัรวะฮ์
- ต้องเดินตามเส้นทางที่กำหนด
- ต้องเดินให้ครบ 7 รอบ
- หากไม่แน่ใจในจำนวนเที่ยว ให้ถือว่าเอาจำนวนน้อยเป็นหลักแล้วสะแอ ต่อไปจนแน่ใจว่าครบ 7 เที่ยว

   6.    การทำกุรบาน คือ การเชือดสัตว์เพื่อเป็นทาน ผู้ที่กระทำบกพร่องหรือละเมิด ข้อห้ามต่างๆ ระหว่างพิธีฮัจญ์ จะต้องเสียค่าปรับหรือค่าทดแทนที่รียกว่า การเสียดัม การเสียดัมนี้ อาจจะเป็นการกระทำได้ด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนโดยเชือดสัตว์หรือนำอาหารมาแทน บริจาคแก่คนยากจน แล้วแต่กรณี เช่น

- ผู้บำเพ็ญฮัจญ์ร่วมประเวณีระหว่างอิห์รอมถือว่ามีความผิดหนัก ทำให้ พิธีฮัจญ์นั้นเสียต้องกระทำได้ด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนโดยเชือดสัตว์ หรือนำอาหารมาแทนและต้องกระทำพิธีฮัจญ์ต่อไปจนจบและต้องประกอบพิธีฮัจญ์อีกต่อไป นอกจากนี้ยังต้องเสียดัม
- ห้ามล่าสัตว์หรือช่วยเหลือการล่าสัตว์
- เมื่อผู้บำเพ็ญฮัจญ์บกพร่องในเนื่องต่อไปนี้ เช่น ใช้เครื่องหอม ตัดเล็บ ตัดหรือถอนต้นไม้ ให้เสียดัม โดยเชือดแพะหรือแกะ 1 ตัว หรือถือศีลอด 3 วัน หรือบริจาคข้าวสารแก่คนยากจน 6 คน คนละครึ่งมุด (ทะนานอาหรับ)

   7.    โกนหรือตัดผม เมื่อเสร็จจากการสะแอแล้ว ให้โกนผมหรือตัดผมอย่างน้อย 3 เส้น เสร็จแล้วจึงเปลื้องชุดอิห์รอม

ความมุ่งหมายของการประกอบพิธีฮัจญ์

1.    เพื่อให้มุสลิมจากทั่วโลกได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันอันจะก่อให้เกิดสัมพันธภาพและภารดรภาพ
2.  เพื่อให้เกิดความเสมอภาค เพราะผู้ที่มาบำเพ็ญฮัจญ์ในปีหนึ่งๆ จะมีเชื้อชาติ ผิวพรรณ ฐานะ ฯลฯ แตกต่างกัน แต่ทุกคนต่างอยู่ในชุดอิห์รอมเหมือนกันหมดและทำพิธีอย่างเดียวกันไม่มีใครมีอภิสิทธิ์ใดๆ
3. เพื่อเป็นการทดสอบความอดทนและในด้านการเสียสละสิ่งต่างๆ ในหนทางของพระเจ้าตั้งแต่ทรัพย์สินเงินทองในการใช้จ่าย การต้องละทิ้งบ้านเรือนครอบครัวและญาติพี่น้อง
4.    เพื่อฝึกฝนและทดสอบความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ
5.    ฝึกการสำรวมตน ละทิ้งอภิสิทธิ์ต่างๆ เพราะทุกคนต้องปฎิบัติตามวินัยบัญญัติของพิธีฮัจญ์เหมือนกันทั้งหมด เช่น งดเว้นจากการล่าสัตว์ การตัดต้นไม้ การร่วมประเวณี เป็นต้น
6.    เพื่อให้มุสลิมได้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ของอิสลามและเป็นการปลูกศรัทธามั่นคง
7.    เป็นการแสดงถึงเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าในการที่มุสลิมจากทั่วโลก จำนวนนับแสนเดินทางไปรวมกัน ณ ที่แห่งเดียวกัน ในชุดแบบเดียวกัน กระทำพิธีอย่างพร้อมเพรียงกันในทุกๆ ปี

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไปบำเพ็ญฮัจญ์เมื่อกลับมาแล้วยังเป็นคนธรรมดา มิได้เป็นนักบวชและมิได้มีสิทธิพิเศษใดๆ ศาสนาอิสลามเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ถือ อภิสิทธิ์ชนเพราะทุกคนต่างก็เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ วิธีการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎหมายของอัลลอฮ์เหมือนกัน แม้แต่ผู้ปกครองก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ตำแหน่งหน้าที่และอำนาจข่มขู่หรือเอาเปรียบประชาชน ศาสนาอิสลามถือว่าที่ดีนั้น คือ ผู้ปกครองที่รับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์และบริสุทธิ์ใจนั่นเอง


(3)    หลักคุณธรรม (อิห์ซาน)

   หลักคุณธรรมในศาสนาอิสลาม เป็นหลักเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่มุสลิมทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการดำเนินวิถีชีวิตของตนในสังคมปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดที่จะนำเสนอพอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้

3.1) วัฒนธรรมอิสลาม

การแต่งกาย

    การแต่งกายตามบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่มุสลิมต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ได้แก่ การปกปิดส่วนควรสงวนของร่างกาย โดยแยกออกเป็นเพศได้ดังนี้

       เพศชาย    ให้ปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า
       เพศหญิง    ให้ปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
     อาศัยบทบัญญัติทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวมานี้ ผู้แต่งกายจะต้องปกปิดส่วนของร่างกาย ให้มิดชิด ในกรณีของเพศชาย แม้ว่าจะกำหนดว่าให้ปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่าก็มิได้หมายความว่าจะต้องถอดเสื้อเป็นวัฒนธรรม แต่จะต้องนำคำสอนของทˆานศาสดามาผนวกเข้าด้วยซึ่งเราก็จะพบว่าความจริงท่านศาสดาแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายอันมิดชิด ไม่ประเจิดประเจ้อ และบนศีรษะของท่านจะมีผ้าหรือหมวกปกปิดเสมอ ส่วนเพศหญิงจะมีลักษณะสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งมีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานก็คือ การคลุมศีรษะจนมิดชิดลงมาถึงส่วนเผยลำคอ ตลอดถึงส่วนบนของหน้าอก

     จึงสรุปได้ว่าวัฒนธรรมแต่งกายของมุสลิมทั้งชายและหญิงมีสาระสำคัญเหมือนกันคือ มิดชิดและปิดศีรษะ ส่วนรูปแบบนั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องตามรูปแบบของอาหรับ หรือของประเทศใด จะเป็นรูปแบบใดก็ได้ ขอให้อยู่ในลักษณะของการปกปิดโดยมิดชิดดังกล่าวเท่านั้น

      การแต่งกายโดยเปิดเผยและประเจิดประเจ้อแบบนุ่งน้อยห่มน้อย และเปิดหรือเน้นอวัยวะตามที่สังคมนิยมนั้น ถือเป็นการแต่งกายที่ผิดต่อบทบัญญัติของอิสลาม นอกจาก ความมิดชิดแล้ว อิสลามยังบัญญัติไว้ในเรื่องของความสะอาด กล่าวคือเครื่องแต่งกายทุกชิ้นจะต้องสะอาดหมดจด ไม่มีกลิ่นอับ จะต้องหมั่นซักเป็นประจำ เมื่อมีรอยขาดก็จะเย็บหรือชุนเสีย เพราะสิ่งเหล่านี้ท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ซอล) ทำด้วยตนเองทั้งสิ้น รองเท้าก็เป็นสิ่งที่ท่าน ศาสดาระบุให้มุสลิมทุกคนต้องสวมใส่เป็นประจำ

เครื่องแต่งกายที่ต้องห้าม ในคำสอนของอิสลามห้ามเครื่องแต่งกายดังต่อไปนี้

     ผ้าไหมสำหรับเพศชาย ไหมทุกชนิดเป็นเครื่องแต่งกายที่ห้ามสำหรับผู้ชายทุกคน อนุญาตให้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ยกเว้นในยามฉุกเฉินและจำเป็น เช่น ในยามสงครามหรือ มีเหตุผลอย่างอื่นที่แน่ชัด เช่น ใช้สวมใส่เพื่อเป็นยารักษาโรคผิวหนัง

     ทองสำหรับชาย ทองเป็นทรัพย์เศรษฐกิจอันสำคัญยิ่ง อิสลามจึงห้ามนำมาใช้อย่างฟุ้งเฟ้อ อย่างไม่สมควร และผู้ชายก็ไม่เหมาะต่อการประดับประดาตัวเองด้วยทอง เพื่อความสวยงาม จึงอนุญาตให้เฉพาะเพศหญิง แต่จะต้องไม่มากจนเกินไปนัก เพศหญิงที่มีทองเกินกว่าเป็นเครื่องประดับอันสมควร จะต้องนำมาบริจาคซะกาตเฉพาะส่วนที่เกินนั้น ส่วนผู้ชายทุกคนที่มีทองต้องคิดจากทั้งหมดมาบริจาคซะกาตตามอัตราที่ได้กำหนดไว้

ความสะอาด ความสะอาด อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการกระทำไว้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

    1.    ชำระล้างร่างกาย(อาบน้ำ) ร่างกายทุกส่วนให้ชำระล้างให้สะอาด และได้กำหนดไว้เป็นข้อบังคับว่าจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายในวาระต่างๆ ดังนี้

1.1) เมื่อมีอสุจิหลั่งออกมา
1.2) เมื่อเสร็จจากการมีความสัมพันธ์ทางเพศ
1.3) เมื่อผ่านการมีประจำเดือน
1.4) เมื่อผ่านการคลอดบุตร
1.5) เมื่อตายแล้วก่อนพิธีอันใด ต้องอาบน้ำแก่ศพ

   นอกจากนั้น สำหรับในวาระอื่นๆ ก็สนับสนุนให้อาบน้ำชำระร่างกายมิให้มี เหงื่อไคล หรือมีกลิ่นตัว เป็นที่รบกวนแก่บุคคลอื่น

   2. ชำระหลังจากเสร็จการถ่าย เมื่อเสร็จจากการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระจะต้องชำระให้สะอาด โดยเริ่มต้นด้วยการเช็ด ตามด้วยการล้าง จนมั่นใจว่าสะอาด ถ้าขาดแคลนน้ำ จะเช็ดเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือจะล้างด้วยน้ำเพียงอย่างเดียวก็ถือว่าใช้ได้

   นอกจากจะกำหนดให้ชำระแล้ว ในขณะทำการถ่ายก็มีข้อกำหนดไว้หลายประการ เช่น ห้ามถ่ายต่อหน้าผู้คน ห้ามยืนถ่าย ห้ามถ่ายในพื้นที่ซึ่งเป็นทางสัญจร ห้ามถ่ายในที่อาศัยของสัตว์ ห้ามถ่ายในต้นไม้ที่มีผล ห้ามพูดคุยในขณะถ่าย ห้ามหันหน้าไปทางกิบละฮ์และต้องถ่ายในที่มิดชิด เช่น ในส้วม

    3. การทำสุหนัต มุสลิมทุกคนต้องทำสุหนัต หมายถึง การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศ

   4. การแปรงฟัน อิสลามได้วางบทบัญญัติให้แปรงฟันในวาระต่างๆ เช่น ตื่นนอน ก่อนนอน ก่อนทำพิธีละหมาด เมื่อมีกลิ่นปาก เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร เป็นต้น การแปรงฟันจะใช้วัตถุชนิดใดก็ได้ที่สามารถชำระฟันให้สะอาดหมดจดได้

    5. การขลิบส่วนเกินอื่นๆ อิสลามบัญญัติให้มุสลิมทุกคนขลิบตัดหรือถอนเส้น เกินต่างๆ ดังนี้

เล็บ    ต้องตัดให้สั้นเสมอ
หนวด    ขลิบให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
เครา    แต่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ขน    ขนทุกประเภท เช่น รักแร้ ขนจมูก ขนในที่ลับ จะต้องขลิบ โกนหรือ    ถอนออกให้หมด
ผม    ต้องแต่งให้เรียบร้อย รักษาให้สะอาด ใส่น้ำมันกันกลิ่นเหม็นอับและ    หมั่นสระ

    6. การล้างสิ่งสกปรก สิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่งหลักการอิสลามได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

6.1) สิ่งสกปรกชนิดเบา ได้แก่ ปัสสาวะของทารกชายที่ยังมิได้รับประทาน    อาหารใด ๆ นอกจากน้ำนม วิธีชำระให้ใช้น้ำพรม แล้วเช็ดให้แห้ง
6.2) สิ่งสกปรกชนิดกลาง ได้แก่ สิ่งสกปรกทั่วไป คือ ปัสสาวะ อุจจาระ เลือด ซากสัตว์ตาย (นอกจากปลาและสัตว์ประเภทตั๊กแตน) น้ำหนอง น้ำเมือก จากอวัยวะเพศ เป็นต้น วิธีชำระจะต้องล้างจนสะอาด ไม่เหลือร่องรอย    ของสิ่งเหล่านั้นปรากฏอยู่เลย
6.3) สิ่งสกปรกชนิดหนัก ได้แก่ สุกร สุนัข เมื่อมันทำความสกปรกแก่สิ่งใด วิธีชำระจะต้องล้างสิ่งนั้นให้สะอาดถึง 7 ครั้ง ในครั้งหนึ่งจะต้องเจือปน    ดินด้วย
นอกจากสิ่งสกปรกที่กล่าวไว้แล้ว สิ่งเปรอะเปื้อนอื่น ๆ ก็ต้องชำระให้สะอาดด้วย เช่น น้ำลาย เหงื่อไคล เป็นต้น

การขอพร

   มุสลิมทุกคนมีจิตใจผูกพันกับพระเจ้า ไม่ว่าจะทำอะไรต้องระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลา มุสลิมไม่เคยลืมพระเจ้า ไม่ว่าจะในวาระใดก็ตาม ดังนั้นมุสลิมจึงขอพรต่อพระเจ้าเสมอในกิจการต่างๆ ที่ตนกระทำ แม้กระทั่งการแสดงความรู้สึก ซึ่งมักกล่าวออกมาเป็นคำอุทาน อันไร้ความหมายมุสลิมก็จะไม่ทำ จะเห็นว่าคำอุทานของมุสลิมจะต้องอุทานออกเป็นพระนามของอัลลอฮŒโดยตลอด

     อันวาระต่างๆ ที่ต้องขอพรแก่กันและกัน รวมทั้งการกล่าวถ้อยคำอันเหมาะสมนั้นแบ่งได้เป็นวาระต่างๆ ดังต่อไปนี้

     1. เมื่อพบปะกันให้กล่าวสลาม ซึ่งเป็นการให้พรแก่กันว่า

อัสสะลามุอะลัยกุมฯ ขอให้ท่านประสบความสันติสุข
วะอาลัยกุมมุสสะลามฯ ขอให้ท่านประสบความสันติสุขเช่นเดียวกัน

    2. เมื่อปฏิบัติภารกิจ เมื่อจะเริ่มปฏิบัติกิจกรรมอันใดๆ เช่น จะรับประทานอาหาร จะดื่ม จะเดินทาง จะหุงข้าว จะทำงาน ให้ขอพรพระเจ้า และหรืออย่างน้อยให้อ่านว่า ”บิสมิลลา ฮิจเราะห์มานิรรอฮิม” แปลว่า ”ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งในพระกรุณาธิคุณ ผู้ทรงยิ่งในพระเมตตาธิคุณŽ”

   3. เมื่อบรรลุผลแห่งภารกิจ หรือได้รับโชค เมื่อทำอะไรสำเร็จ เช่น รับประทานเสร็จ ดื่มเสร็จ ทำงานเสร็จ หรือได้รับโชค เช่น รับทุน รับของ ให้กล่าวสรรเสริญพระเจ้าว่า ”อัลฮำดุลิลลาห์ - การสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์Ž”

    4. เมื่อเสียใจ เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาด และเสียใจในการกระทำนั้น ก็ต้องกล่าวว่า “    อัสตักพิรุลลอฮ์ - ฉันขออภัยอัลลอฮŒŽ”

   5. เมื่อทราบข่าวร้ายหรือประสบด้วยตัวเอง เมื่อทราบข่าวร้าย เช่น ข่าวการตาย การเจ็บป่วย หรือประสบภัยต่างๆ หรือประสบสิ่งนั้นๆ ด้วยตัวเอง ให้กล่าวว่า ”อินนาลิลลาฮิ วะอินาอิลัยฮิอยิอูน - เราเป็นสิทธิของอัลลอฮŒ และเราจะต้องกลับคืนไปสู่พระองค์Ž

   6. เมื่อจาม ให้กล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮ” การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ ผู้ได้ยินกล่าวว่า ”ยัรฮามุกัลลอฮ์-ขออัลลอฮŒเมตตาท่านŽ” ผู้จามกล่าวตอบว่า ”ยัฮดีนาวะยัฮดีกุมุลลอฮŒ - ขอให้อัลลอฮ์ชี้นำเราและท่านŽ”

    7. เมื่อหาว จะต้องปิดปาก และกล่าวว่า ”อวะอูซุบินลาฮิมิช ชัยตอนิรรอยิ่ม- ขอให้อัลลอฮ์อารักขาให้พ้นจากมารร้ายผู้ถูกอัปเปหิŽ”

  8. เมื่อตกใจจะโดยสาเหตุใดก็ตาม ให้กล่าวว่า ”อัลลอฮุอักบัร-อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่Ž” หรืออย่างน้อยก็ให้กล่าวว่า ”อัลลอฮ์Ž”

   9. เมื่อรับปากกับผู้อื่นในเรื่องใด ให้กล่าวว่า ”อิลซาอัลลอฮ์ หากอัลลอฮ์ ทรงประสงค์Ž” ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จะเผื่อไว้เพื่อตัวเองไร้ความสามารถจะได้บิดพลิ้วสัญญา หากเป็นการมอบหมายเหตุการณ์ข้างหน้าต่ออัลลอฮŒ ซึ่งเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน

   10. เมื่อพบสิ่งแปลก ซึ่งตนเองรู้สึกทึ่ง และซาบซึ้ง ให้กล่าวว่า ”มาซาอัลลอฮฺ-โดยประสงค์แห่งอัลลอฮ์Ž”

   11. เมื่อพบสิ่งที่ไม่อยากพบ กล่าวว่า ”ซุบฮานัลลอฮฺ-อัลลอฮ์ทรงพิสุทธิ์ยิ่งŽ”

การเกิด

    ทารกมุสลิมทุกคนเมื่อได้ถือกำเนิดออกมาบนโลกนี้แล้วควรได้รับการปฏิบัติตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว และจัดการห่มผ้าอ้อมให้เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ผู้หนึ่งปฏิบัติการ

อะซานา ที่หูข้างขวา
อิกอมะฮฺ ที่หูข้างซ้าย

    2. เมื่อคลอดได้ครบ 7 วันแล้ว ให้ทำดังต่อไปนี้

2.1) โกนผม แล้วนำผมทั้งหมดไปชั่งน้ำหนักว่ามีเท่าใดให้เทียบเป็นทอง และตีราคานำไปทำทาน
2.2) ตั้งชื่อ ให้ตั้งชื่อเด็กเป็นภาษาอาหรับ โดยเลือกชื่อของพระเจ้าด้วย การเติม อับดุลŽ ชื่อของบรรดาศาสทูต หรือชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีงาม
2.3)    ผ่าปาก หมายถึง การใช้ของหวานประเภทผลไม้ เช่น อินทผลัม หรือกล้วยน้ำว้ามาถูที่เพดานของเด็ก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับอาหารประเภทแป้ง หลังจากเด็กเคยดูดแต่นมอย่างเดียว ต่อไปเด็กจะได้รับประทานอาหารอย่างอื่นอีก
2.4) ทำอะกีเกาะฮุ คือ การเชือดสัตว์ เพื่อนำมาทำอาหารเลี้ยงคนยากคนจนที่อยู่ใกล้เคียงกัน โดยปกติสัตว์ที่นำมาเชือดอะกีเกาะฮุให้ใช้แพะหรือแกะหรือวัวควาย ตามแต่ฐานะของพ่อแม่
การกระทำทั้งหมดนี้ให้กระทำในวันเดียวกันคือวันที่ 7 นับจากวันคลอดและตามประเพณีที่นิยม ก็มักจะประกอบเป็นพิธี โดยมีการอ่านบทขอพรต่างๆ เช่น การอ่านอัลกุรอาน การอ่านซอลาหวาต การตัฮสีล เป็นต้น เป็นการกระทำที่น่าสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

การแต่งงาน

    การแต่งงานในทัศนะของอิสลาม เป็นการกระทำที่ได้กุศล เพราะผู้เข้าสู่ชีวิตแห่ง การแต่งงานเป็นผู้เข้าสู่ชีวิตแห่งการรับผิดชอบอย่างแท้จริง ผู้แต่งงานเป็นผู้สามารถควบคุม ตัวเองได้และสามารถหลีกหนีความผิดทางเพศได้อย่างปลอดภัย

    การที่ชายกับหญิงจะเป็นสามีภรรยากันนั้น มิใช่เพียงแต่การได้เสียและไปอยู่ร่วมกัน หากจะต้องประกอบพิธีแต่งงานอันถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

1.    มีการกล่าวถ้อยคำระหว่างผู้ปกครองหญิงกับตัวของชายที่เป็นเจ้าบ่าวอย่างชัดเจน ฝ่ายผู้ปกครองกล่าวว่า “ข้าพเจ้าแต่งงานท่านแก่บุตรหญิงของข้าพเจ้าชื่อ….Ž ” ฝ่ายเจ้าบ่าว รับว่า ”ข้าพเจ้ารับการแต่งงานนี้Ž”

2.    มีผู้ปกครองฝ่ายหญิง เช่น บิดา หรือปู่ หรือพี่น้อง ถ้าหญิงใดไม่มีผู้ปกครองทางสายเลือด ก็ให้ผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หรือให้ตั้งอนุญาโตตุลากร (มุฮักกัม) ขึ้นมา

3.    ต้องมีพยานโดยฝ่ายสองคนรับรู้ในการทำพิธี

4.    เจ้าบ่าวต้องมีตัวตนอยู่จริง

5.    เจ้าสาวต้องมีตัวตนอยู่จริง

    คุณสมบัติของคู่ครอง การเลือกคู่ครอง อิสลามทุกคนกำหนดคุณลักษณะไว้ตามโครงการ จากอัลกุรอานและวาทะของท่านศาสดาพอสรุปได้ดังนี้

    1.    มีศรัทธาในศาสนา การอยู่ร่วมกันในฐานะสามีภรรยา เป็นภาระผูกพันอันสืบเวลาไปตลอดชีวิต มิใช่เพียงกิจกรรมชั่วคราว ดังนั้นทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธาเดียวกัน ถือเป็นมุสลิมด้วยกัน จะต่างคนต่างนับถือไม่ได้ เพราะเรื่องนับถือศาสนาเป็นชีวิตจิตใจของมนุษย์ จะถือเป็นเรื่องสมัครเล่น หรือตามรสนิยม ตามแฟชั่นไม่ได้

     2. มีนิสัยดี คู่ครองทั้งสองฝ่ายจะต้องเป็นผู้มีนิสัยดี ประพฤติความดีโดยเคร่งครัด ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงามตามบทบัญญัติทางศาสนา อย่าเลือกคู่ครองที่ประพฤติตัวเป็นคนเกเร สัมมะเลเทเมา ใช้ชีวิตฟุ้งเฟื้อ ฟุ่มเฟือย เพราะจะทำให้คนทั้งคู่ประสบกับความหายนะในชีวิตครองเรือน

    3. พอใจซึ่งกันและกัน ทั้งสองฝ่ายต้องพอใจซึ่งกันและกัน ผู้ปกครองอย่าใช้วิธีคลุมถุงชนเพราะจะทำให้สามีภรรยาคู่นั้นไม่เข้าใจนิสัยของกันและกัน และต่อไปจะนำปัญหาต่างๆเข้ามาสู่ครอบครัวจนอาจแก้ไขอะไรไม่ได้

   4. มุ่งรักษาเผ่าพันธุ์ เจตนารมณ์ในการแต่งงานนั้น เพื่อการสืบพันธุ์รักษาเผ่าของมนุษยชาติสืบสกุลให้ยืนยาวนานต่อไป อย่ามีเจตนารมณ์เพื่อความสนุกสนาน ตามกฎธรรมชาติ อันอาศัยเงื่อนไขทางกามารมณ์ ซึ่งที่จริงแล้ว พระเจ้าประทานกามารมณ์แก่มนุษย์ก็เพื่อเป็นปัจจัยนำไปสู่การรักษาเผ่าพันธุ์เท่านั้น หาใช่มีเจตนาเพื่อการแสวงหาความสนุกสนานแต่ประการใด

     5. มีความคู่ควร คู่สมรสจะต้องคู่ควรกัน อย่าจัดสมรสกับบุคคลที่มีความแตกต่าง กันมากนัก เพราะจะทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายได้อยู่ร่วมกัน

     6.    ต้องมิใช่บุคคลที่ห้ามแต่งงาน ซึ่งมีบทบัญญัติห้ามไว้ เช่น มารดา ย่า ยาย ลูกสาว หลานสาว เหลนสาว น้าสาว ป้าสาว อาสาว เป็นต้น

การตาย

     เมื่อมุสลิมเสียชีวิตลง ขั้นตอนปฏิบัติที่อิสลามกำหนดไว้มีดังต่อไปนี้

    1. อาบน้ำ โดยจัดการอาบน้ำให้สะอาดหมดจด โดยระมัดระวังมิให้ส่วนใดๆ ของร่างกายศพต้องชอกช้ำ แม้ผมสักเส้นหนึ่งก็พยายามอย่าให้หลุด

    2. ห่อศพ เมื่ออาบน้ำทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จัดการห่อศพด้วยผ้าขาว สะอาด โดยห่อให้มิดชิดทั้งร่าง

    3. ละหมาดขอพรให้ การละหมาดขอพรให้แก่ผู้ตายนั้น ควรทำกันเป็นจำนวนมาก เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ยังมีชีวิตอยู่ จะต้องแสดงความอาลัยด้วยการมาร่วมทำพิธีละหมาดขอพร อย่างพร้อมเพรียงกัน

  4. ฝัง เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้วก็นำไปฝังในหลุมศพ ซึ่งขุดไว้ขนาดพอดีกับโลงลึกพอคะเนมิให้กลิ่นโชยขึ้นมาได้ โดยกะว่าลึกท่วมศีรษะของคนขุดก็ใช้ได้ การฝังให้ผู้ตายนอนตะแคงหันหน้าไปทางกิบละฮ์


3.2) หลักคุณธรรม

    หลักคุณธรรมหรือหลักความดี คือ การกำหนดว่าสิ่งใดที่ควรปฏิบัติ และสิ่งใด ต้องละเว้น ข้อกำหนดเหล่านี้ปรากฏอยู่แล้วในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งแยกออกเป็นสองตอนคือการกระทำที่อนุญาต เรียกว่า ฮะลาล (HALAL) และการกระทำที่ต้องห้าม เรียกว่า ฮะรอม (HARAM)

    1) การกระทำที่อนุญาต หมายถึง การอนุญาตให้กระทำความดี ซึ่งความดีในศาสนาอิสลาม หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ว่า ดี สิ่งนั้นต้องดี ไม่ว่า คนทั้งหลายจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างของการกระทำที่จัดเป็นการกระทำที่ดีในศาสนาอิสลาม เช่น

-    บอกทางให้แก่ผู้หลงทาง
-    หยิบสิ่งอันตรายออกจากทางเดิน
-    ไม่เข้าใกล้เครื่องดื่มและของมึนเมา
-    ไม่เข้าใกล้สิ่งลามกอนาจาร
-    ต่อสู้ถ้ามีการกดขี่
-    พูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครอง
-    จ่ายค่าแรงก่อนเหงื่อจะแห้ง
-    ไม่เป็นคนหลงชาติหลงตระกูล
-    ไม่เป็นคนทำบุญเอาหน้า หวังชื่อเสียงหรือต้องการให้ชื่อของตนไปติดอยู่ที่    อาคารใด อาคารหนึ่ง
-    การไม่กินดอกเบี้ย ไม่ติดสินบน
-    การแต่งงานที่ใช้เงินน้อยและมีความวุ่นวายน้อยที่สุด
-    การยกฐานะคนใช้ให้มีการกินอยู่เหมือนกับตน
-    ฯลฯ

   2) การกระทำที่ต้องห้าม หมายถึง การห้ามกระทำความชั่ว ซึ่งความชั่ว ในศาสนาอิสลาม หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ว่าชั่ว สิ่งนั้นต้องชั่ว ไม่ว่าคนทั้งหลายจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างของการกระทำที่จัดเป็นการกระทำชั่วในศาสนาอิสลาม เช่น

-    การตั้งภาคี หรือยึดถือ นำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงอัลลอฮ์ เช่น เงินตรา วงศ์ตระกูล เกียรติยศ ชื่อเสียง ประเพณี แม้แต่อารมณ์ก็จะนำมาเป็นใหญ่ในตัวเองไม่ได้
-    การกราบไหว้บูชารูปปั้น วัตถุ ต้นไม้ ก้อนอิฐ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แม่น้ำ ภูเขา ห้ามกราบไหว้ผีสางเทวดา นางไม้ ห้ามเซ่นไหว้สิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
-    การเชื่อในเรื่องดวง ผูกดวง ดูหมอ ตรวจดูชะตาราศี ดูลายมือ ถือโชคลาง เล่นเครื่องรางของขลัง
-    การเล่นการพนันทุกชนิด เสี่ยงทาย เสี่ยงโชค เล่มม้า ล็อตเตอรี่ หวยเบอร์
-    การกินสัตว์ที่ตายเอง สัตว์ที่มีโรค กินหมู กินสัตว์ที่นำไปเซ่นไหว้ สัตว์ที่ ถูกรัดคอให้ตายโดยที่มิได้เชือดให้เลือดไหล สัตว์ที่เชือดโดยมิได้กล่าวนามของอัลลอฮŒ
-    การกินดอกเบี้ย
-    การเสพสุราและสิ่งมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งยาเสพติด เช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอีน
-    การผิดประเวณี แม้จะเป็นการสมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่ายก็ตาม
-    การประกอบอาชีพที่ไม่ชอบด้วยศีลธรรมหรืออาชีพที่จะนำไปสู่ความหายนะ เช่น ตั้งซ่อง โรงเหล้า บาร์ อาบอบนวด ปล่อยเงินกู้โดยวิธีเก็บดอกเบี้ย รับซื้อของโจร และเปิดสถานเริงรมย์ทุกชนิด
-    การบริโภคอาหารที่หามาได้โดยไม่ชอบ
-    การกักตุนสินค้าเพื่อนำออกมาขายด้วยราคาสูงเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนอดอยาก
-    การกระทำใดๆ ที่เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเอง เพื่อนบ้าน สังคม และประเทศชาติ
-    ฯลฯ

   หลักคุณธรรมเป็นหลักคำสอนที่สนองตอบหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ เพราะ การสร้างคุณธรรมสูงสุดให้เกิดขึ้นในจิตใจ จะต้องผ่านหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติอย่างครบถ้วน สมบูรณ์แบบเสียก่อน มิฉะนั้นคุณธรรมทางใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีศรัทธามั่นใจในองค์อัลลอฮ์ และมีการปฏิบัติสนองคำบัญชาของพระองค์อย่างครบถ้วนและเคร่งครัดเป็นนิจศีลแล้ว จิตใจก็จะแนบเนื่องกับพระองค์ กิเลสตัณหาที่แทรกซ้อนในอารมณ์ก็จะถูกปลดเปลื้องออกจนหมดสิ้น

   หลักสามประการดังที่กล่าวมานี้ เป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติและมีอยู่ในดวงจิตของตน ซึ่งเป็นหน้าที่เฉพาะตัวของมุสลิมแต่ละคน เมื่อปฏิบัติหลักสามประการนี้ครบถ้วนแล้ว หน้าที่อันดับต่อมาคือ การรับหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นหรือที่เรียกว่า หลักธรรมทางสังคม ซึ่งสังคมในที่นี้หมายถึง บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ตัวเอง โดยกำหนดหลักกว้างๆ ว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นโดยฐานะใดก็จะต้องรับหลักธรรมเพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นตามฐานะดังกล่าว

    เหตุนี้จึงมีหลักธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อบิดามารดา ต่อสามี ต่อบุตรหลาน ต่อเพื่อนบ้าน ต่อคู่สัญญา ต่อลูกค้า ต่อผู้ปกครอง ต่อประเทศชาติ เป็นต้น คำสอนของ ศาสนาอิสลามจึงไม่ได้หมายความแต่เฉพาะการเฝ้าบำเพ็ญภาวนาต่อพระเจ้าอย่างเดียว หากจะต้องปฏิบัติตนตามภาระหน้าที่ต่างๆ ตามฐานะของตนอย่างเหมาะสมและอย่างรับผิดชอบ อีกด้วย ภาระหน้าที่ต่อพระเจ้าและสังคมนั้นแยกกันไม่ออก จะต้องปฏิบัติควบคู่กันไป จะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ แม้แต่การบัญญัติถึงหน้าที่ดังกล่าว คัมภีร์อัลกุรอานก็นำมารวมกันไว้ในประโยคเดียวกัน มิได้แยกให้เห็นถึงความลดหลั่นทางความสำคัญ ดังปรากฏในพระคัมภีร์ว่า    

    “พึงนมัสการต่อพระเจ้า พึงทำดีต่อพ่อแม่ ต่อวงศ์ญาติ ต่อเด็กกำพร้า ต่อคนอนาถา ต่อเพื่อนบ้านทั้งไกลและใกล้ ต่อเพื่อนสนิท และต่อคนเดินทางŽ”

    จากตัวอย่างที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า หน้าที่ต่อพระเจ้าและต่อสังคมเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติควบคู่กันไป จะแยกออกจากกันไม่ได้ และหน้าที่ทั้งสองนั้นต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ภารกิจทางสังคมที่ศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้นั้นเป็นเจตนารมณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสดาและถือว่าความดีของบุคคลจะลดหลั่นไปตามการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ศาสนาอิสลามไม่สอนให้บุคคลเป็นคนเห็นแก่ตัว ดังโอวาทของศาสดามุฮัมมัดว่า

   “คนที่ดีที่สุดคือคนที่มีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด คนใดคนหนึ่งจะยังไม่ถือว่ามีศรัทธาจนกว่าเขาจะรักผู้อื่นเท่ากับที่เขารักตนเองŽ”

    ศาสนาอิสลามไม่สอนให้คนยอมตนเป็นทาสสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุธรรม เช่น ทรัพย์สมบัติหรือนามธรรม เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ เพราะการยอมตนเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ชีวิตวนเวียนอยู่ในโลกนี้ ทำให้วิญญาณหมดอิสรภาพที่จะทะยานไปสู่อาณาจักรแห่งพระเจ้า ดังคำสอนว่า

โลกนี้เป็นคุกสำหรับผู้ศรัทธา และเป็นสวรรค์สำหรับผู้ดื้อรั้นŽ


(4)    โอวาทครั้งสุดท้‰าย15)

    นบีมุฮัมมัดได้สั่งสอนศาสนิกชนในการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นครั้งสุดท้ายที่ ทุ่งอาระฟะย์ ว่า ”ตั้งแต่วันนี้ไป การกู้ยืมเพื่อดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม การแก้แค้นฆ่ากันตายต้องยุติ บุรุษมีสิทธิ์เหนือสตรีและสตรีก็มีสิทธิ์เหนือบุรุษ จงให้ความยุติธรรมและความปรานีแก่ภรรยา จงให้อาหารอย่างที่ท่านบริโภคแก่ทาสหรือคนใช้ จงให้เสื้อผ้าอย่างที่ตนใช้ ถ้าเขาทำผิดอย่างให้อภัยไม่ได้ก็จงให้เขาไปเสีย อย่ารุนแรงกับเขา เพราะเขาก็เป็นข้าของอัลลอฮŒ มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน เป็นเครือญาติเดียวกันมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน มีหน้าที่เหมือนกัน จงอย่าเบียดเบียนหรือแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจากกัน อย่าเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตนเมื่อเขา ไม่อนุญาต จงพยายามห่างจากความลำเอียง หรือความอยุติธรรม เราได้ทิ้ง 2 สิ่งไว้ คือ อัลกุรอาน และแบบฉบับของเรา หากพวกท่านยึดมั่นใน 2 สิ่งนี้ พวกท่านจะไม่หลงทางเลยŽ”


(5)    พระเจ้าสูงสุดของศาสนาอิสลาม

   ศาสนาอิสลามไม่นิยมเรียกพระเจ้าสูงสุดว่าพระเจ้า (God) แต่จะเรียกพระนามตามภาษาอาหรับ คือ ”อัลลอฮ์Ž” (Allah) และจะต้องมีคำต่อท้ายว่า ”ซุบฮาฯŽ” ซึ่งมาจากคำว่า ”ซุบฮานะฮูวะตะอาลาŽ” ซึ่งอาจารย์ เสาวนีย์ จิตต์หมวด16) ได้แปลความหมายไว้ว่า มหาบริสุทธิ์และความสูงยิ่งแด่พระองค์Ž อันเป็นคำสดุดีที่แสดงถึงความเคารพตามแบบอิสลาม มุสลิมไม่นิยมเรียกว่ˆา อัลลอฮŒ

    คำว่า ”อัลลอฮ์Ž” หมายถึง พระผู้ทรงพลังอำนาจ ที่มีอยู่อย่างแน่นอน และมีอยู่ตลอดไปไม่มีการดับสูญ พระองค์ไม่มีรูปกายแต่ดำรงความเป็นหนึ่งเดียว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นสิ่งสร้างของพระองค์และเป็นไปตามที่พระองค์ทรงกำหนด พระองค์มีพระเมตตาจึงส่งศาสดาประกาศกมาประกาศข่าวแก่มนุษย์เป็นระยะๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสม และทรงประทานกฎข้อบังคับต่างๆ มาให้พวกเขาเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ที่สุดตามวิถีทางของอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตัดสินพิพากษาโลกในวันสุดท้าย ฉะนั้นมนุษย์ต้องยอมรับอิสลามเพื่อเป็นวิถีทางที่ชีวิตของตนเองจะได้อยู่รอดปลอดภัย

    คำว่า ”อิสลามŽ” อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด17) ได้อธิบายไว้ว่ามาจาก ”อัสละมะŽ” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับเดียวกันกับคำว่า ”มุสลิมŽ” คือมาจาก ”ซะลิมะ”Ž หรือ ”ซะละมุนŽ” แปลว่า ”สันติ การนอบน้อม การยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงŽ” ดังนั้นอิสลามจึงมีความหมายว่า ”การน้อมนอบตนต่ออัลลอฮŒ แต่พระองค์เดียวอย่างสิ้นเชิงเพื่อความสันติŽ” ส่วนมุสลิมหมายถึง ”ผู้ที่นอบน้อมมอบตนต่ออัลลอฮŒ แต่พระเจ้าองค์เดียวอย่างสิ้นเชิงŽ”

   พวกอิสลามเชื่อว่าผู้ใดที่มีความเชื่อมั่นในอัลลอฮ์ พวกเขาจะได้รับสวรรค์เป็นรางวัลอันเป็นสถานที่บรมสุขที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่ผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางของพระองค์เท่านั้น แม้นว่าพระองค์จะมีน้ำพระทัยดีมีเมตตา แต่พระองค์ก็มีความยุติธรรม คนชั่วย่อมได้รับ การตัดสินอย่างยุติธรรม และคนดีย่อมได้ความเที่ยงธรรม

   เนื่องจากพระองค์เป็นผู้สร้างมลาอิกะฮŒ พระองค์ได้ทรงกำหนดหน้าที่ให้มลาอิกะฮŒปฏิบัติตามเพื่อช่วยเหลือพระองค์ในหน้าที่ต่างๆ เช่น ”เทพยิบรออีล หรือกาเบรียลŽ” (Gabriel) เป็นผู้นำโองการจากอัลลอฮ์มาถ่ายทอดให้กับนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ”รอกิบ-อติดŽ” เป็นผู้บันทึกความดีความชั่วของมนุษย์ ”อิสรออีลŽ” เป็นผู้ถอดวิญญาณมนุษย์ออกจากร่าง ”มุงกัร และนะกีร”Ž เป็นผู้สอบสวนผู้ตายที่หลุมฝังศพ ”อิมรอฟิล”Ž ทำหน้าที่เป่าแตรสัญญาณในวันพิพากษาโลก

    ความเชื่อในมลาอิกะฮŒนี้ มีส่วนสนับสนุนเป็นอย่างมากให้บุคคลกระทำความดี เกลียดกลัวความชั่ว เพราะมลาอิกะฮŒจะบันทึกพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งมวลแม้ในที่ลี้ลับที่ไม่มี ผู้ใดเห็น การทำดีละเว้นชั่วนี้แสดงให้เห็นถึงเสรีภาพของมนุษย์ที่เลือกกระทำ แต่ชะตากรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับอัลลอฮ์ที่จะทรงเลือกหนทางชีวิตให้แก่พวกเขา เพราะพระองค์เป็นพระผู้สร้าง และพระผู้ปกครองพื้นพิภพและจักรวาล มนุษย์จึงต้องเกรงกลัวพระองค์ให้มากและจะต้องพยายามรู้จักพระองค์ นี้คือ หน้าที่สำคัญของมนุษย์ที่จะต้องดำเนินตลอดชีวิต มิฉะนั้นเมื่อถึงวันสิ้นโลกนี้ (วันกิยามะฮŒ) อัลลอฮ์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาโลก บุคคลที่ทำดีเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ได้เข้าแดนสวรรค์ และผู้ทำชั่วจะต้องถูกลงโทษในนรกซึ่งเป็นสถานที่ไฟนรกอันร้อนแรง มีควันดำและน้ำกร่อย

 

7 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด

    มุสลิมเชื่อว่าพระอัลลอฮ์ ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ทรงเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของคนและสัตว์ ในการสร้างโลกและสรรพสิ่ง พระองค์เพียงตรัสว่า จงเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ทุกอย่างก็บังเกิดอย่างนั้นทันที ดังปรากฏในอัลกุรอานว่า18) ”เมื่อพระอัลลอฮŒทรงกำหนดกิจการใด เพียงตาพระองค์ตรัสแก่มันว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้นมา”Ž ในการสร้างโลก19) พระอัลลอฮ์ทรงสร้างสวรรค์และแผ่นดินตลอดทั้งสรรพสิ่งอันมีอยู่ ในระหว่างสวรรค์และแผ่นดินตลอดเวลา 6 วัน ทรงสร้างสวรรค์20) ขึ้นมา 7 ชั้น ภายในเวลา 2 วัน และทรงใช้เวลาสร้างแผ่นดินเพียง 2 วัน เช่นกัน แล้วทรงสร้างสิ่งต่างๆ21) บนแผ่นดิน ทรงสร้างมนุษย์และทรงสร้างสัตว์ต่างๆ มาให้เป็นพาหนะและอาหารแก่มนุษย์

     ในคัมภีร์มิสคาต22) (Miskhat) ข้อ 24 อรรถกถาของคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นของ นิกายซุนนีได้กล่าวถึงการสร้างโลกของพระอัลลอฮ์ไว้ว่า ทรงสร้างแผ่นดินในวันเสาร์ ทรงสร้างภูเขาในวันอาทิตย์ ทรงสร้างต้นไม้ในวันจันทร์ ทรงสร้างสรรพสิ่งไม่ดีทั้งหลายในวันอังคาร ทรงสร้างสรรค์สิ่งดีทั้งหลายในวันพุธ ทรงสร้างสัตว์อื่นๆ ในวันพฤหัสบดี และทรงสร้างคน ในวันศุกร์ มนุษย์คนแรกที่สร้างขึ้นก็คือ อาดัม เสร็จแล้วสวดมนต์

    ในการสร้างคน23) เริ่มแรกพระอัลลอฮ์สร้างคนจากดิน จากนั้นทรงทำให้ดิน24) เป็นอสุจิแล้วให้เจริญเป็นก้อนเลือด จากก้อนเลือดเป็นเนื้อ และทรงทำให้เนื้อมีกระดูกและให้มีเนื้อหุ้มกระดูกแล้วมีรูปร่างขึ้นมา จากนั้นทรงทำให้ร่างนั้นมีชีวิต โดยทรงเป่าลมหายใจ (รูฮ์) ของพระองค์เข้าไปกลายเป็นร่างมีชีวิต และทรงทำให้มนุษย์25) ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง แล้วทรงสร้างแผ่นดิน26) ให้เป็นที่อยู่ ทรงสร้างฟ้าให้มาเป็นหลังคา ทรงหลั่งน้ำลงมาจากฟ้า เพื่อหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ไว้ให้เป็นอาหารมนุษย์ มนุษย์คนแรกที่ทรงสร้าง คือ อาดัม ต่อมา ทรงเห็นว่าอาดัมเหงา จึงถอดซี่โครงข้างซ้ายของอาดัมมาซี่หนึ่งสร้างเป็นผู้หญิง คือ ฮาวา เพื่อเป็นคู่กันและให้อยู่ในสวรรค์เอเดน ต่อมาอาดัมและฮาวาถูกมาร (ชัยฏอน) หลอกให้บริโภคผลไม้ที่พระเจ้าห้าม จึงถูกขับไล่ออกไปจากสวนสวรรค์ ได้รับทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก อีกทั้งพลัดพรากจากกัน โดยอาดัมไปอยู่ที่ภูเขาในทะเลสิเรนทีป ส่วนฮาวาไปอยู่ในอาหรับใกล้ทะเลแดง ต่อมาเมื่อครบ 200 ปี พระอัลลอฮŒจึงทรงบันดาลให้ทั้ง 2 คนมาพบกันที่ยอดเขาอาระฟัต ใกล้เมืองเมกกะ แล้วสืบเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้นมา แต่มนุษย์ที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากอาดัมและฮาวาก็ยังมีบาปติดตัว อันเนื่องมาจากอาดัมและฮาวาถูกคำสาปจากพระอัลลอฮ์อยู่ ต่อมามนุษย์ต่างก็ทำบาปขึ้นมาเอง บาปจึงมากขึ้นทุกที พระอัลลอฮ์ทรงเห็นว่าโลกเต็มไปด้วยบาป จึงทรงบันดาลให้น้ำท่วมโลก มนุษย์และสัตว์ตายหมดยกเว้น นุฮŒ หรือโนอาห์และครอบครัวตลอดถึงสัตว์อย่างละคู่ที่พระเจ้าใส่ไว้ในเรือ ส่วนการที่พระเจ้าสร้างคนขึ้นมาก็เพื่อจะได้นับถือบูชาพระองค์ ดังมีข้อความในคัมภีร์อัลกุรอาน27) ว่า ”พระอัลลอฮ์ไม่ได้สร้างมนุษย์เพื่ออื่นใดนอกจากจะภักดีต่อพระองค์Ž” ตลอดถึงการที่พระอัลลอฮŒส่งเสริมให้คนแต่งงานกันก็เพื่อจะได้มีคนนับถือพระองค์ต่อไปไม่ขาดสายเช่นกัน อีกทั้งจะได้มีจำนวนคนมานับถือพระองค์มากขึ้นด้วย

   มุสลิมเชื่อว่ามนุษย์ชาติดั้งเดิมเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันและนับถือศาสนาเดียวกันคือ ศาสนาอิสลาม ที่มาแตกแยกกันก็เพราะการกระทำของมนุษย์เอง ดังมีข้อความว่า เด็กทุกคนเกิดมาในศาสนาอิสลาม แต่บิดามารดาทำให้พวกเขาเป็นยิว คริสเตียน หรือพวกมะญซ์ (ลัทธิบูชาไฟ) หรือข้อความว่า28) “    มนุษย์ชาติเอ๋ย แท้จริงชุมชนของสูเจ้าเป็นชุมชนเดียวกันและเรา (อัลลอฮ์) เป็นพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ดังนั้นจงเคารพภักดีต่อเรา”29) หรือ ”มนุษย์เป็นประชาชาติเดียวกัน ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงแต่งตั้งบรรดานบีเป็นผู้แจ้งข่าวดีและผู้ตักเตือนทั้งได้ประทานคัมภีร์ลงมาให้พวกเขาŽ”

  มุสลิมเชื่อว่าพระอัลลอฮ์เป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความตายและให้การฟื้นคืนชีพขึ้นอีก ดังพระอัลลอฮ์ตรัสว่า30)”พระองค์ทรงทำให้สูเจ้าเป็น (เกิดมา) แล้วทรงทำให้สูเจ้าตายทั้งทำให้สูเจ้ากลับเป็นขึ้นอีก (ในวันตัดสินโลก)“    Ž นอกจากนี้ความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นชีวิตแต่ละคน ไม่ว่าอายุยืนอายุสั้นเจริญหรือตกต่ำ เป็นต้น ก็ล้วนเกิดจากการดลบันดาลของพระอัลลอฮ์ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย พระอัลลอฮ์จึงเป็นเจ้าชีวิตและทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นมุสลิมจึงต้องเคารพพระอัลลอฮ์อย่างสูงสุด และเชื่อฟังทุกอย่าง

    มุสลิมเชื่อว่าโลกที่แท้จริงคือโลกหน้าหรือสวรรค์ ได้อยู่กับพระเจ้าชั่วนิรันดร์ ส่วนโลกนี้ (ดุนยา) เป็นเพียงมายา ไม่จริงแท้ การที่อัลลอฮŒสร้างโลกนี้ตลอดถึงสิ่งต่างๆ ทั้งที่น่าปรารถนา เช่น สมบัติเงินทอง ความสุขความสมหวัง และสิ่งที่ไม่ปรารถนา เช่น ความทุกข์ ความหิว ความผิดหวัง และความหายนะ ต่างก็เพื่อพิสูจน์ความเข้มแข็งของจิตใจว่า ศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์ เพียงใด ดังที่พระอัลลอฮ์ตรัสว่า31) ”โลกนี้เป็นโลกแห่งการทดลอง ไม่จิรังต้องแตกสลาย หรือ โลกนี้ิ มิใช่อันใดเว้นแต่เป็นปัจจัยแห่งมายาŽ” ”แน่นอนเราทดลองสูเจ้าด้วยสิ่งหวาดกลัว ความหิว การขาดแคลนสมบัติ การตายแห่งพืชผล มุฮัมมัดจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทนŽ”32) ”ทุกชีวิตเป็นผู้ลิ้ม ความตายและเราได้ทดลองใจสูเจ้าด้วยการทดลองแห่งความชั่วและความดี และยังเราที่จะนำสูเจ้ากลับŽ”33) ทุกชีวิตเป็นผู้ลิ้มความตาย และสูเจ้าจะถูกตอบแทนรางวัลของสูเจ้าในวันคืนชีพŽ34) 4 เพราะฉะนั้นคนที่ฉลาดจะรู้เท่าทันความจริง ไม่ติดอยู่ในความสวยงามตระการตาของโลกนี้ เพราะเป็นเพียงมายา ดังที่พระอัลลอฮ์ตรัสว่า35) ”ชีวิตในโลกนี้ถูกสร้างให้บรรเจิดสำหรับ ผู้ปฏิเสธ แต่บรรดาผู้ที่สำรวมตนจากความชั่ว พวกเขาจะได้รับการตอบแทนจากองค์อัลลอฮ์ อย่างสุดประมาณŽ”

    มุสลิมเชื่อว่าพระอัลลอฮ์ทรงสร้างโลก เมื่อพระองค์ทรงสร้างโลกได้ก็ทรงทำลายได้ เพราะฉะนั้นโลกนี้จึงมีวันแตกสูญสลาย แต่จะเป็นเมื่อใด ไม่มีใครทราบนอกจากพระอัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น แต่ก่อนที่จะถึงวันสิ้นโลก หรือวันพิพากษาโลก (กิยามะห์)36) จะมีปรากฏการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นก่อน ทั้งนิมิตอย่างเบาและอย่างแรง ซึ่งมีดังนี้

นิมิตอย่างเบา

1. มนุษย์หมดความเชื่อในศาสนาอิสลาม
2. คนชั่วได้รับตำแหน่งใหญ่มีเกียรติสูง
3. หญิงคนใช้กลายเป็นนาย ผู้ชายกลัวผู้หญิง
4. เกิดความไม่สงบจราจล
5. อาหรับทำสงครามกับกรีกหรือโรมัน
6. มณฑลอิรักและซีเรียแข็งข้อไม่ยอมภาษี

นิมิตอย่างแรง

1. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก
2. สัตว์แปลกประหลาดร่างกายมหึมาตัวหนึ่งสูง 60 ฟุต ผุดจากธรณี สัตว์ตัวนี้มีหัวเป็นวัว มีตาเป็นหมูตอน มีหูเหมือนช้าง มีเขาเป็นกวาง มีคอเป็นนกกระสา มีอกเหมือนสิงโต มีหนังเหมือนแมว มีหางเหมือนแพะ มีขาเหมือนอูฐ มีเสียงเหมือนลา สัตว์ร้ายตัวนี้เข้าไปในเมืองเมกกะ หรือที่ภูเขาซาฟา เที่ยวทำร้ายผู้คนแต่ไม่มีใครปราบได้
3. มีคนนอกศาสนา (กาฟีร์) มีนัยน์ตาเดียวที่หน้าผาก เที่ยวเข้าไปในมลฑลอิรักและซีเรีย จะมีสาวกชาวยิว 70 คน คอยติดตามแต่ในที่สุดจะถูกพระเยซูประหารชีวิต
4. พระเยซูจะมาเกิดใหม่ทางทิศตะวันออกของกรุงดารŒมัสกัส มานับถือศาสนาอิสลาม มีครอบครัวและจะสิ้นชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี ศพจะถูกฝังไว้ที่เมืองมะดีนะฮŒ
5. ทำสงครามกับยิว จะฆ่ายิวตายเป็นจำนวนมาก
6. มียักษ์ใหญ่ 1 ตนเกิดขึ้น มันเดินไปทางทะเลสาบกาลิลี และดื่มน้ำในทะเลสาบจนหมดแล้วเข้ากรุงเยรูซาเล็ม แต่ในที่สุดจะถูกพระเจ้าฆ่าตาย

   นอกจากนี้ก็ยังมีวิปริตเกิดขึ้นอีกมากมาย37) ครั้นแล้วก็จะเกิดควันตลบไปทั่วจักรวาล แสดงว่าได้เกิดไฟประลัยกัลป์ ถึงการอวสานโลก จากนั้นเทวทูตอิสราฟิลจะเป่าแตรขึ้น สิ้นเสียงแตร ทุกชีวิตจะล้มตายหมด ทุกอย่างพังทลาย ภูเขาทั้งหลายพังราบเป็นหน้ากลอง ดวงจันทร์และดวงดาวตกกระจายสู่ท้องทะเล ส่วนทะเลก็เดือดพล่านเป็นไฟ เกิดความมืดมนยิ่งนัก โลกจะถล่มทลายอยู่นานเท่าไรก็ไม่ทราบ แต่เมื่อหยุดถล่มแล้ว พระอัลลอฮŒก็จะทรงบันดาลให้ฝนตกตลอด 40 วัน น้ำนองไปทั่ว อันเป็นเหตุทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นอีก ครั้นแล้วเทวทูตอิสราฟีลจะเป่าแตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทุกชีวิตจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง คนจะถูกนำไปสู่ที่ตัดสินบุญบาป ผู้ที่คอยตัดสินบุญบาปก็คือเทวทูตยิบรออิล โดยมีตราชั่งให้ชั่งบุญบาป ข้างหนึ่งสีดำเป็นเครื่องหมายบาป ข้างหนึ่งสีขาวเป็นเครื่องหมายบุญ ทางไหนหนักกว่ากันก็จะถูกตัดสินไปตามนั้น ในการตัดสินบุญบาป จะมีนบีอาดัม (มนุษย์คนแรกของโลกที่พระเจ้าสร้างขึ้น) มาร่วมฟังการพิพากษาด้วย เพราะมนุษย์ทั้งหลายล้วนแต่สืบเผ่าพันธุ์มาจากอาดัมทั้งสิ้น และอีกท่านหนึ่งที่มาร่วมเป็นพยานก็คือนบีมุฮัมมัด แต่เมื่อเสร็จการพิพากษาแล้ว พระอัลลอฮ์จะ ทรงตรวจสอบอีกครั้งกันผิดพลาด จากนั้นผู้ที่ถูกตัดสินก็ไปอยู่ในนรก (ยาฮันนัม) หรือสวรรค์ (ยันนะ) ชั่วนิรันดร์ตามกรรมที่ทำไว้

    นรกเป็นภูมิแห่งความทุกข์ทรมาน จะมีไฟนรกที่ร้อนแรงกว่าไฟเมืองมนุษย์ 70 เท่า คอยแผดเผาอยู่ตลอดเวลา ดังที่พระอัลลอฮ์ตรัสว่า38) ”แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงงดความเมตตาแก่ ผู้ปฏิเสธทั้งหลาย…และได้เตรียมไฟที่ลุกช่วงโชติสำหรับเผาพวกเขาผู้พำนักอยู่ในนั้นชั่วกาลนานŽ” นรกมีทั้งหมด 7 ชั้น ส่วนสวรรค์ก็เป็นภูมิแห่งความสุขสำราญใจ เป็นภูมิที่ร่มรื่นเย็นสบายมีทั้งธารน้ำธารน้ำผึ้ง ธารเหล้าผลไม้ดื่มไม่เมาไหลอยู่ตลอดเวลา สวรรค์มี 7 ชั้น มีความสุขประณีตขึ้นไปตามลำดับ

 

8. สถานที่ทำพิธีกรรม

   ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่มีสถาบันนักบวช แต่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนในศาสนา โดยมีสถานที่ทำพิธีกรรมและทำละหมาดที่เรียกว่า ”สุเหร่าŽ” หรือ ”มัสยิด”Ž เป็นศูนย์รวมใจ และมีอิหม่ามเป็นผู้ทำหน้าที่ในการสวดมนต์และให้คำอบรม สั่งสอน

   แม้นว่ามัสยิดจะไม่ได้ปฏิบัติพิธีกรรมมากนัก ส่วนมากจะใช้ในการทำละหมาดทุกวันศุกร์ ทำให้เกิดเอกภาพและเป็นศูนย์รวมใจของมุสลิมในแต่ละแห่งได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความภักดีต่ออัลลอฮŒ และเข้าใจตัวเองในฐานะที่เป็นมุสลิม

   มัสยิดแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้น คือ ”มัสยิดอัล-ฮะรอม”Ž อันเป็นที่ตั้งของบัยตุลลอฮŒ หรือ อัลกะอŒบะฮŒ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย อัลกะอฺบะฮฺนี้เป็นอาคารสี่เหลี่ยมที่ตั้งอยู่แถบใจกลางของมัสยิดอัล-ฮะรอม ปัจจุบันผนังสี่ด้านของอัลกะอŒบะฮŒคลุมด้วยผ้ากำมะหยี่สีดำปักด้วยดิ้นทองซึ่งเป็นพระนามของอัลลอฮ์ และใจความจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับด้านที่มีหินดำเปิดผ้ายกขึ้นไว้ให้ผู้ประกอบฮัจญ์ได้สัมผัสกับหิน

   หินดำนี้ อาจารย์ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์39) ได้กล่าวว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 8 นิ้ว สูงจากพื้นราว 5 ฟุต มีลวดเงินรัดไว้ มุสลิมเรียกหินนี้ว่า ”ฮัจญรุลอัสวัด”Ž ติดอยู่ที่ผนังของอัลกะอŒบะฮŒ บนลานกว้างของอัลกะอŒบะฮŒมีที่ยืนของอิบรอฮีม เรียก ”มะกอมŽ” ดังนั้นอัลกะอŒบะฮŒนี้เป็นที่ประกอบฮัจญ์ที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยของนบีอิบรอฮีม หลังจากนั้นได้เป็นที่รวมของเจว็ด 360 ชิ้น และเป็นที่รวมของพิธีกรรมในศาสนาต่างๆ มาเรื่อยจนกระทั่งถึงยุคของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ทำลายรูปเคารพและเจว็ดเหล่านี้จนหมดสิ้น เหลือไว้แต่หินดำที่เชื่อกันว่า มีมานานตั้งแต่สมัยของนบี อิบรอฮีม มัสยิดแห่งที่สอง คือ “    นะบะวีย์”Ž อยู่ในเมืองเมดีนะฮŒ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อศาสดาได้อพยพมาอยู่แต่แรก โดยสร้างติดกับบ้านของท่าน

    รูปแบบของมัสยิดในระยะแรกของการสร้างนี้มีลักษณะง่ายๆ คือ เสาของมัสยิดทำด้วยต้นอินทผลัม กำแพงทำด้วย อิฐดินตากแห้ง หลังคามุงด้วยใบอินทผลัม พื้นโรยด้วยกรวดเล็กๆ นี่คือมัสยิดในสมัยที่นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ยังมีชีวิตอยู่ ต่อจากนั้นมารูปแบบของมัสยิดได้พัฒนาไปจนกระทั่งมีรูปแบบเป็นของตนเอง เป็นอาคารหลังคาโดมคล้ายกับหัวหอม มีหอคอย (minarate) สำหรับมูอัซซินหรือผู้ทำหน้าที่ประกาศตะโกนเชิญชวนสาธุชนมาทำละหมาดร่วมกัน การตะโกนเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของศาสดา โดยมีบิลาลเป็นมูอัซซินคนแรกของอิสลาม แต่ก่อนมาพวกยิวเมื่อเรียกคนเข้าธรรมศาลาจะใช้วิธีการเป่าเขาสัตว์ พวกคริสต์ใช้การเคาะระฆัง ส่วนมุสลิมนั้นศาสดาให้ใช้เสียงมนุษย์ โดยเริ่มแรกที่ยังไม่มีหอคอยจะต้องปีนขึ้นไปบนที่สูงแล้วตะโกนสรรเสริญอัลลอฮ์ด้วยเสียงอันดัง มุสลิมทุกคนต้องหยุดการงานพร้อมที่จะทำละหมาด ภายหลังต่อมาได้สร้างหอคอยขึ้นเพื่อให้สะดวกในการตะโกนเรียก และเสียงจะไปได้ไกล หอคอยนี้เลยกลายเป็นแบบฉบับของความเป็นอิสลาม

   นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งของศาสนาอิสลาม คือ ไม่นิยมเขียนภาพหรือสลักภาพใดๆ บนตัวอาคาร นอกจากจะเขียนพระนามของอัลลอฮ์และชื่อของศาสดามุฮัมมัดเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้มาจากคำสอนที่ว่า ไม่ให้สร้างรูปเคารพใดๆ ไว้บูชา เพราะจะเป็นการขัดต่อคำสั่งของอัลลอฮŒ และทำให‰บุคคลไปยึดติดในรูปเคารพเหลˆานั้นแทนที่จะยึดมั่นในคำสอนของอัลลอฮŒเพียงอยˆางเดียวแตˆเพื่อระลึกถึงความเป“นมุสลิมด‰วยกัน จึงนิยมสร‰างรูปพระจันทรŒเสี้ยวกับดาวติดบนยอดของสุเหรˆา หรือร้านอาหารมุสลิม
อนึ่งการทำเครื่องหมายดาวเดือนนี้เริ่มมีในสมัยราชวงศŒอุสมานียะฮŒแหˆงอาณาจักร ออตโตมัน (ตุรกี) เพื่อใช‰เป“นสัญลักษณŒของกองทัพมุสลิมในสงครามครูเสด

     อาจารยŒเสาวนียŒ จิตตŒหมวด40) ได้กล่าวว่า เหตุที่เกิดสัญลักษณŒนี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

1. การถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน จะเริ่มต‰นด‰วยการดูเดือน
2. เมื่อเอาดาวติดที่เดือนจะเป็นรูปตัวนูน (พยัญชนะตัวหนึ่งในภาษาอาหรับ) ซึ่งเป็นอักษรแรกของโองการหนึ่งจากคัมภีรŒอัลกุรอาน

    ดังนั้น รูปดาวกับเดือนจึงไม่ใช่รูปเคารพของมุสลิม แต่เป็นเพียงเครื่องหมายบอกความเป“นมุสลิมเทˆานั้น

 

9. พิธีกรรมที่สำคัญ

9.1 พิธีฮัจญ์

    พิธีฮัจญ์ ชาวมุสลิมผู้มีฐานะดี มีสุขภาพดี บรรลุศาสนภาพ (ชาย 15 ปี หญิง 19 ปี) แล้ว ทุกคนควรหาโอกาสเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ นครเมกกะ ประเทศ ซาอุดิอารเบีย อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต จะเห็นได้ว่าในปีหนึ่งๆ มุสลิมทั่วโลกจะเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกัน 1 ครั้ง ในเดือนซุ้ล  ฮิจญะฮ์ (เดือนที่ 12 ของฮิจญŒเราะฮŒศักราช) มีรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในหลักธรรมสำคัญบางประการที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการ ที่มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด

9.2 พิธีถือศีลอด

    พิธีถือศีลอด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวมุสลิมปฏิบัติในเดือนรอมะฎอน (เดือนที่ 9 ของฮิจญŒเราะฮŒศักราช) ตลอดทั้งเดือน โดยการอดอาหารการดื่มกินและเว้นการร่วมประเวณี และการทำชั่วต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ มีรายละเอียดกล่าวไว้แล้วใน หลักธรรมสำคัญบางกรณีที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการที่มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด

9.3 พิธีละหมาด

    พิธีละหมาด หรือนมาซ เป็นพิธีที่ชาวมุสลิมนมัสการแสดงความเคารพต่อ พระเจ้าเป็นกิจวัตรที่สำคัญที่สุด ต้องประกอบพิธีนี้วันละ 5 ครั้ง มีรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในหลักธรรมสำคัญบางประการที่ว่าด้วยหลักปฏิบัติ 5 ประการที่คนมุสลิมทุกคนควรจะได้ ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด

9.4 พิธีบริจาคซะกาต

    พิธีบริจาคซะกาต เป็นพิธีที่ชาวมุสลิมถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตนแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น โดยบริจาคแก่ผู้คนอนาถา เด็กกำพร้า คนขัดสน ผู้มีหนี้สิน ผู้เผยแผ่ศาสนา ผู้เดินทางที่ขัดสน มีรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในหลักธรรมสำคัญบางประการที่ว่าด้วย หลักปฏิบัติ 5 ประการที่มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด

9.5 พิธีสุขสันต์วันประสูติพระศาสดา

    พิธีสุขสันต์วันประสูติพระศาสดา หรือ มีลัด ชารีฟ (Meelad sharif) เป็นพิธีเฉลิมฉลองเพื่อความสุขสันต์ เพื่อความสนุกสนาน เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของศาสดา นบีมุฮัมมัด ซึ่งตรงกับวันที่ 12 ของเดือนรอบีอุลเอาวัล (เดือนที่ 3 ของฮิจญŒเราะฮŒศักราช) พิธีเฉลิมฉลองนี้จริงๆ แล้วมีตลอดเดือน แต่วันที่สำคัญที่สุดจะมีเพียง 2 วัน คือ วันที่ 11-12 ของเดือน โดยที่ชาวมุสลิมจะร่วมกันอดอาหาร มีการไปเยี่ยมบ้านของกันและกัน จะมีการสวดพระบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการแจกดอกไม้และขนมหวานในนามของศาสดานบีมุฮัมมัดแก่กันและกัน เป็นที่สนุกสนาน

9.6 พิธีสุหนัต

    พิธีสุหนัต เด็กชายมุสลิมอายุระหว่าง 2-10 ขวบ จะต้องได้รับพิธีสุหนัต คือการตัดหนังหุ้มปลายองคชาติซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่และเป็นสิ่งควรสรรเสริญ ทั้งเป็นธรรมเนียมเบื้องต้นของการแต่งงาน ในพิธีนี้จะมีการเชิญญาติพี่น้องอย่างน้อย 2-3 คน มาร่วมเป็น สักขีพยาน โดยจะมีการสวมพวงมาลัยให้เด็กก่อนแล้วจึงผ่าหรือตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เสร็จแล้วให้ของขวัญแก่เด็ก แต่ในปัจจุบันนี้ เมื่อไปคลอดที่โรงพยาบาลอาจจะให้แพทย์ที่ทำคลอดทารกเพศชาย ตัดหนังหุ้มปลายองคชาตของทารกนั้น เป็นการทำพิธีสุหนัตด้วยเลยก็ได้

9.7 พิธีซาเบบารัต

    พิธีซาเบบารัต (Shabe Barat) เป็นพิธีทำบุญอุทิศให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวมุสลิมจะนิยมประกอบพิธีนี้ในวันที่ 14 ของเดือนชะบาน (เดือนที่ 8 ของฮิจญŒเราะฮŒศักราช) โดยการบวงสรวงวิญญาณของญาติพี่น้องด้วยขนมและอาหารที่หลุมฝังศพของญาติผู้ล่วงลับไป รวมทั้งวางดอกไม้และสวดมนต์ภาวนาอนุสรณ์ถึงพวกเขา

9.8 พิธีอิดอูซซูฮา

    พิธีอิดอูซซูฮา (Id-uz-zuha) เป็นพิธีสังเวยพระเจ้าด้วยแพะ ชาวมุสลิมจะประกอบพิธีนี้ในวันที่ 10 ของเดือนซุ้ล-ฮิจญะห์ (เดือนที่ 12 ของฮิจญŒเราะฮŒศักราช) โดยการตื่นแต่เช้าไปสวดมนต์ที่มัสยิด เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะมีการเชือดแพะสังเวยพระเจ้า เมื่อเสร็จสังเวยก็จะนำเอาเนื้อแพะมาปรุงเป็นอาหารเช้า และแจกจ่ายให้แก่ญาติพี่น้องรับประทานเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวันสังเวยพระเจ้าซึ่งปีหนึ่งมีครั้งเดียว

9.9 พิธีสมรส

    พิธีสมรส (Nikah) คู่สมรสจะต้องเป็นมุสลิมด้วยกัน การประกอบพิธีสมรสที่ดีที่สุด ควรประกอบพิธีในมัสยิด เมื่อตกลงกันทั้ง 2 ฝ่ายได้แล้ว ก็จะกำหนดวันทำพิธีสมรส ก่อนทำพิธีสมรส 4 วัน ก็จะมีการสู่ขอและหมั้นเจ้าสาว องค์ประกอบของพิธีสมรส จะต้องมี ผู้ปกครองหรือวลี เช่น พ่อ พี่ชาย หรือ ปู่ ตา รับรู้และยินยอมเต็มใจทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องมีอิหม่ามแห่งมัสยิดนั้นๆ เป็นผู้ทำพิธี จะต้องมีพยาน 2 คน จะต้องมีผู้อบรมหรืออ่านคุฏบะห์ (ซึ่งอาจเป็นคนเดียวกันกับผู้ทำพิธีก็ได้) และจะต้องมีบะฮัร คือสิ่งของหรือเงินที่จะให้แก่เจ้าสาว มุสลิมชาย จะได้รับอนุญาตให้มีภรรยาถึง 4 คน แต่ต้องมีความสามารถเลี้ยงดูและให้ ความยุติธรรมเสมอภาคแก่ภรรยาทั้ง 4 คนได้

9.10 พิธีศพ

    พิธีศพ เมื่อมีมัสยิต (คนตาย) ขึ้นในหมู่บ้าน เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้อง ไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอรับคำเชิญหรือการ์ดเชิญ และการไปนั้นให้แต่งกายธรรมดา (ไม่ต้องแต่งชุดดำ) เพราะไม่มีการไว้ทุกข์ และการไปบ้านผู้ตาย จะต้องไม่ไปเป็นภาระแก่เจ้าของบ้านโดยไปรับประทานอาหารหรือแม้แต่น้ำ ให้รีบไปส่งผู้ตายหรือศพยังสุสาน และให้รีบละหมาด ดังนั้นก่อนนำไปฝัง จะต้องนำไปยังมัสยิดเพื่อละหมาดให้ผู้ตายและอวยพรขอพรให้แก่ผู้ตาย เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว จึงนำผู้ตายไปฝังยังหลุมที่ขุดเตรียมไว้ในท่านอน และต้องจัดการฝังให้เรียบร้อยภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อฝังเสร็จจะกลบดินหลุมฝังให้นูนขึ้นมา และปักไม้ (ธรรมดา) ไว้ที่หลุมฝังศพแต่จะไม่มีการโบกปูนหรือทำให้ถาวรเพื่อการไปเคารพบูชาที่หลุมฝังศพอย่างเด็ดขาด

9.11 พิธีตัดผม

    พิธีตัดผม (อะกีเกาะฮŒ) การทำพิธีตัดผม41) หรือโกนผมแก่เด็กที่เกิดใหม่และ ตั้งชื่อให้เด็กนั้น ถ้าบิดามารดามีฐานะดีจะต้องเชือดสัตว์เป็นพลีเพื่อขอบคุณต่ออัลลอฮ์Œที่ ทรงประทานทารกมาให้ เมื่อเชือดสัตว์ทำอะกีเกาะฮฺแล้วจึงจะทำพิธีตัดหรือโกนผมเด็กได้เลย

   อย่างไรก็ตามเวลาของอะกีเกาะฮŒนี้ไม่มีเวลาจำกัดแน่นอน เพราะเริ่มตั้งแต่คลอดออกมาจนถึงบรรลุนิติภาวะ ถ้าบรรลุนิติภาวะแล้วไม่ได้ทำอะกีเกาะฮŒ เด็กนั้นต้องทำให้ตัวเอง บิดาจะทำให้ไม่ได้ แต่เวลาที่เหมาะสมก็คือ เมื่อเด็กคลอดได้ 7 วันแล้ว ควรรีบทำพิธีนี้ทันที มิฉะนั้นจะต้องรอไปจนกว่าโอกาสจะอำนวย

 การทำอะกีเกาะฮŒนี้เป็นข้อบังคับที่มุสลิมต้องทำให้แก่ลูกที่เกิดมาเพราะจะทำให้เด็กนั้น รอดพ้นจากการล่อลวงของไซตอน ซึ่งพยายามขัดขวางไม่ให้เด็กคนนั้นปฏิบัติความดี ผู้ทำอะกีเกาะฮŒให้แก่เด็กต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดู และต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งบิดาจะเอามาจากทรัพย์สินของลูกไม่ได้ มิฉะนั้นจะต้องคืนค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้แก่ลูก ในภายหลัง ถ้าหากบิดาไม่มีความสามารถทำให้ได้ ปู่ก็สามารถทำให้หลานได้

   สัตว์ที่ใช้ในการทำอะกีเกาะฮŒนั้นสำหรับเด็กผู้ชายให้เชือดแพะ 2 ตัว แพะนั้นควรมี รูปร่างลักษณะที่คล้ายคลึงกันทั้ง 2 ตัวและมีอายุรุ่นเดียวกันด้วย ถ้าเป็นเด็กหญิงให้เชือดแพะ 1 ตัว เนื้อสัตว์ที่เชือดนี้เพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮ์ที่ประทานทารกมาให้และเพื่อขอพร ให้พระองค์ได้คุ้มครองรักษาทารกนี้ เนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ไว้รับประทานเอง 1 ส่วน ให้ญาติพี่น้อง 1 ส่วน และบริจาคให้คนยากจน 1 ส่วน

9.12 พิธีการเชือดกุรบั่น

    พิธีการเชือดกุรบั่น คือการเชือดสัตว์เป็นพลีเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้และ มิตรสหาย เพื่อนำมาฉลองในวันอีดิลอัฏฮาหรือวันอีดใหญ่ โดยเชือดในตอนสายหลังจากเสร็จการละหมาด สัตว์ที่ใช้ทำกุรบั่น ได้แก่ อูฐ วัว แพะ แกะ เพื่อแสดงความภักดีต่ออัลลอฮ์ กะมารุล ชุกริ42) ได้กล่าวว่าสัตว์ที่ทำกุรบั่นต้องมีอายุครบตามเกณฑ์จึงจะถือว่าแข็งแรง กล่าวคือ อูฐจะต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป วัวและควายมีอายุ 2 ปีขึ้นไป แพะธรรมดาอายุ 2 ปีขึ้นไป แกะอายุครบ 1 ปี หรือแกะที่ฟันของมันหลุดร่วงไปหลังจาก 6 เดือน ถึงแม้มีอายุครบ 1 ปี ที่ใช้ได้ บรรดาสัตว์ที่ทำกุรบั่นนั้นที่ดีที่สุด คือ อูฐ รองลงมาคือ วัว จากนั้นคือแกะและแพะ

    จำนวนสัตว์ในการทำกุรบั่นที่น้อยที่สุด คือ แพะ 1 ตัว หรือ แกะ 1 ตัว สำหรับ 1 คน แต่ถ้าอูฐ 1 ตัว วัวหรือควาย 1 ตัว สำหรับ 7 คน และสัตว์ที่จะใช้ทำกุรบั่นนั้นต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่พิการตาบอด ไม่ตาเจ็บจนปิดตา ยกเว้นตามัวหรือมองไม่เห็นเฉพาะกลางคืน ขาจะต้องไม่เป๋หรือเก หูไม่แหว่งหรือฉีกขาด หางไม่กุด ยกเว้นเป็นมาแต่กำเนิด ไม่เป็นโรคผิวหนัง และจะต้องไม่ตั้งท้องหรือเพิ่งคลอดลูก

    สำหรับสีของสัตว์ที่ใช้ทำกุรบั่นนั้น ที่นิยมและที่ยกย่องกันว่าดีที่สุด คือสีขาว สีค่อนข้างเหลือง สีเทาแกมแดงสลับสีขาวปนดำและสีดำ

    กุศลที่เกิดจากการทำกุรบั่นตามทัศนะของอิสลาม คือ บุญที่จะทำให้สะดวกง่ายดายต่อการข้ามสะพานในวัรกิยามะฮŒ (หมายถึงวันที่ฟื้นจากความตายไปสู่ปรโลก) ยิ่งสัตว์ดีมากและประเสริฐมากเท่าใดยิ่งทำให้เห็นถึงความภักดีต่ออัลลอฮ์มากเท่านั้น แต่ทั้งหมดนี้จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาจะเชือดก่อนละหมาดในวันอีดิลอัฏฮาไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นการเชือดเพื่อตนเอง ดังนั้นเนื้อที่ได้จากการทำกุรบั่นจึงไม่บริโภคแต่ผู้เดียว แต่แจกจ่ายเป็นทานแก่คนยากจนรวมทั้งมิตรสหายและเก็บไว้เพื่อตนเองเพียงนิดเดียวเท่านั้นเพื่อเป็น สิริมงคลในการทำกุรบั่น

 

10. วันสำคัญทางศาสนา

    วันสำคัญทางศาสนาอิสลามที่สำคัญคือ วันศุกร์ เพราะเป็นวันปฏิบัติศาสนกิจคล้ายกับวันพระของศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังมีวันอื่นๆ อีก คือ วันปีใหม่ และวันเมาลิด

1.    วันอีด

     วันอีด หมายถึง วันฉลองการรื่นเริง คำว่า ”อีด”Ž นี้ อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด43) ได้แปลความหมายว่า “    ที่กลับมา เวียนมาŽ” นั่นคือ วันที่เวียนมาเพื่อการฉลองรื่นเริง มี 2 วาระ คือ วันอีดิลฟิตรŒ และอีดิลอัฏฮา

2.    วันอีดิลฟิตรŒ

     วันนี้ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาลอันเป็นเดือนที่ 10 ต่อจากเดือนรอมะฎอน เป็น วันที่กลับมาสู่การเว้นจากการถือศีลอด นั่นคือ การกลัมมาสู่สภาพเดิม มุสลิมทุกคนจะฉลองกันอย่างสนุกสนานหลังจากที่ถือศีลอดนาน 1 เดือนเต็มชาวไทยมุสลิมเรียกวันนี้ว่า ”วันออกบวช หรืออีดเล็กŽ”

3.    วันอีดิลอัฏฮา

    วันนี้ตรงกับวันที่ 10 เดือนซุ้ลฮิจญะ อันเป็นเดือนที่ 12 ของอาหรับ มุสลิมที่มีสภาพพร้อมจะไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ เนื่องจากวันนี้เกี่ยวเนื่องกับฮัจญŒ ชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกวันนี้ว่า ”วันออกฮัจญ์ หรืออีดใหญ่Ž”

   ที่มาของการออกฮัจญ์นี้สืบเนื่องมาจากอับราฮัมได้สละลูกของตนเอง คือ อิสมาอีล ถวายแก่อัลลอฮ์ ด้วยความเสียสละและศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่ออัลลอฮ์ พระองคŒจึงโปรดให้เชือดสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์แทนพิธีกุรบั่นจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ดังนั้น ในวันนี้จึงมีการแจกเนื้อให้ทานแก่คนยากจน ถ้ามีฐานะอันจะกินก็อาจจะบริจาคเงินทองของใช้อีกด้วย ทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบความอดทนและการเสียสละ โดยผู้ที่ให้จะต้องมีความรื่นเริงยินดี

4.    วันขึ้นปีใหม่

    วันนี้ตรงกับวันที่ 1 ของเดือนอัล มุฮัรŒรอม อันเป็นเดือนที่ชาวอาหรับถืออยู่แต่เดิม ไม่ได้ใช้ตามศักราชฮิจเราะฮฺอันเป็นช่วงเวลาที่ศาสดามุฮัมมัดอพยพออกจากเมกกะไปมะดินะฮŒ ซึ่งการอพยพนี้เกิดขึ้นในวันที่ 4 ของเดือนเราะบีอุลเอาวัลในปีที่ 13 แห่งการเผยแพร่ศาสนา

    อนึ่ง การนับเดือนของอาหรับแต่เดิมนั้นถือเอาตามการคำนวณทางจันทรคติ เดือนต่างๆ จะไม่ตรงกันทุกปี ในแต่ละปีจะเร็วขึ้น 11 วัน ชื่อเดือนของอาหรับทั้ง 12 เดือน มีดังนี้

1.    อัล-มุฮัรรอม
2.    เศาะฟัรŒ
3.    เราะบีอุลเอาวัล
4.    เราะบีอุษษานียŒ
5.    ญุมาดัลอูลา
6.    ญุมาดัลอาคิเราะฮŒ
7.    เราะญับ
8.    ชะอฺบาน
9.    รอมะฎอน
10.    เชาวาล
11.    ซุลเกาะอŒดะฮŒ
12.    ซุลหิจญะฮŒ

5.    วันเกิดของศาสดามุฮัมมัด (เมาลิด อัน นะบี)

    วันเกิดของศาสดามุฮัมมัดนั้น ไม่มีที่บันทึกแน่นอน จึงประมาณกันว่าระหว่างวันที่ 8-12 ปีเราะบีอุลเอาวัล (ปีช้าง) ตรงกับวันจันทร์ แต่ที่ถือเป็นประเพณีฉลองวันเกิดให้แก่ท่านนั้นนิยมใช้ วันที่ 12 ของ เดือนที่ 3

   อย่างไรก็ตาม มีมุสลิมบางกลุ่มที่ไม่ยอมให้มีการเฉลิมฉลองในวันเกิด เพราะเห็นว่าเป็นธรรมเนียมนิยมสมัยใหม่ แต่พวกที่เห็นความสำคัญในวันนี้ก่อนถึงวันเกิดของศาสดาจะมีการอดอาหาร มีการอ่านประวัติของศาสดามุฮัมมัด และอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน นอกจากนี้ มีการแจกดอกไม้และขนมหวาน

 

11. นิกายในศาสนา

   ศาสนาอิสลามมีสภาพที่ได้รับเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ นั่นคือ สภาพแห่งความแตกแยก ที่สาวกมีความนับถือในพระคัมภีร์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในหมู่ญาติวงศ์ และสาวกของศาสดานบีมุฮัมมัดตามเหตุการณ์ตามสมัยที่ล่วงมา

  การแตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ของศาสนาอิสลามเริ่มต้นตั้งแต่ศาสดานบีมุฮัมมัดเสียขีวิตแล้ว สาเหตุสำคัญที่สุดเกิดจากข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน เกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำทางศาสนามากกว่าอย่างอื่น ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าตำแหน่งผู้นำทางศาสนาสืบต่อจากทˆานนบีมุฮัมมัดควรได้แก่ทายาทของทˆาน คือ อะลี อีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้ง

   การแตกแยกนิกายสมัยแรกเริ่มมี 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถืออะลี เรียกตนเองว่า นิกายชีอะฮ์ แปลว่า สาวก หรือผู้ปฏิบัติตาม ส่วนฝ่ายที่ต้องการให้ผู้นำทางศาสนามาจากการเลือกตั้งเรียกตนเองว่า นิกายฆวาริช แปลว่า ผู้แยกตัวออก

   การแตกแยกของสองนิกายแรกนั้น มุสลิมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จึงทำให้เกิดนิกายที่ 3 เรียกว่า นิกายซุนนี แปลว่า ผู้ถือตามตำนานเดิม

ในปัจจุบัน ศาสนาอิสลามมีนิกายสำคัญที่มีชาวมุสลิมนับถืออยู่ทั่วโลกดังนี้

    1.    นิกายซุนนี (Sunni) คำว่า ซุนนี แปลว่า มรรคา หรือจารีต เป็นนิกายของศาสนาอิสลามที่นับถือคัมภีร์เล่มหนึ่งชื่อ ”ซุมนาŽ”44) เป็นคัมภีร์อรรถกถาของคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้นับถือคัมภีร์นี้เป็นผู้ที่เคร่งครัด ต้องการให้คัมภีร์เดิมอ่านง่ายและเข้าใจง่ายขึ้นจึงได้แต่งอรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์เดิม พวกนี้จัดได้ว่าเป็นพวกออร์ธอดอกซ์ของอิสลาม และไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนแปลงคำสอนที่มีอยู่เดิมในคัมภีร์ เพราะป้องกันการคลาดเคลื่อนในหลักคำสอนแท้จริง

    ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง พวกซุนนีถือว่าภายหลังจากที่นบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว และได้มีกาหลิบที่สืบต่อมาอีกเพียง 4 คนเท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่มีกาหลิบสืบต่อ มีแต่ผู้นับถือศาสนาอิสลามธรรมดา พวกนิกายซุนนีถือกาหลิบที่สืบต่อกันมา คือ

1.    ท่านอบูบักร์45)
2.    ท่านอุมัร หรือโอมาร46)
3.    ท่านโอถมาน หรืออุษมาน47)
4.    ท่านอะลี48)

   พวกนิกายนี้ใช้หมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์และเป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดประมาณ 700 ล้านคน ถือว่าเป็นนิกายดั้งเดิม แล้วส่วนมากมีอยู่ในประเทศสาธารณรัฐตุรกี ซาอุดิอารเบีย แอฟริกา และชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย

    2.    นิกายชีอะฮ์ หรือชิเอฮ์ (Shiah) คำว่า ชีอะฮ์ หรือชิเอฮ์ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตาม หรือสาวก นิกายนี้ใช้หมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นิกายนี้ได้แตกแยกออกมาจากนิกายซุนนี ตามประวัติกล่าวว่า พวกชีอะฮ์ถือว่าต่อจากกาหลิบอะลีมาแล้ว เชื้อสายของอาลีควรจะได้รับการแต่งตั้งหรือทำการเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าทางศาสนาออกมาอีก เพราะเชื่อกันว่าสาวก ผู้สืบต่อจากอะลีย่อมเป็นผู้ที่ได้รับคำสอนของอะลีโดยตรง ควรจะได้มีการสืบต่อศาสนาบ้าง เมื่อสิ้นอะลีแล้วจึงควรอย่างยิ่งที่จะหาผู้สมควรมาเป็นหัวหน้าใหม่และให้ชื่อว่า อิหม่าม อันหมายถึง หัวหน้าสุเหร่าหรือมัสยิด ซึ่งเป็นผู้สืบต่อศาสนาจากนบีมุฮัมมัด

     นิกายชีอะฮ์เรียกผู้สืบทอดจากนบีมุฮัมมัดว่า อิหมˆาม ถือว่าอิหม่าม คือ

(1)    ผู้หมดมลทินจากบาป
(2)    เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
(3)    เป็นผู้แปลถ้อยคำของพระเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน เรียกว่า อยาตุลลอฮ์ แปลว่า อายุแห่งอัลลอฮ์

    นิกายชีอะฮ์นับถืออิหม่ามที่ถูกต้องจำนวน 12 คน คือ

1.    อิหม่ามอะลี    เป็นลูกพี่ลูกน้องและบุตรเขยของท่านศาสดา
2.    อิหม่ามฮะซัน    บุตรคนโตของอิหม่ามอะลี
3.    อิหม่ามฮุเซน    น้องชายของอิหม่ามที่ 2
4.    อิหม่ามอะลี ซัยนุลอาบิดีน    บุตรของอิหม่ามที่ 3
5.    อิหม่ามมูฮัมมัด อัลบากิร    บุตรของอิหม่ามที่ 4
6.    อิหม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก    บุตรของอิหม่ามที่ 5
7.    อิหม่ามมูซา อัลกาซิม    บุตรของอิหม่ามที่ 6
8.    อิมามอะลี อัรริฏอ    บุตรของอิหม่ามที่ 7
9.    อิหม่ามมุฮัมมัด อัตตะกีย์    บุตรของอิหม่ามที่ 8
10.    อิหม่ามอะลี อันนะกีย์    บุตรของอิหม่ามที่ 9
11.    อิหม่ามฮะซัน อัลอัสกะรีย์    บุตรของอิหม่ามที่ 10
12.    อิหม่ามมุฮัมมัด (ผู้ได้ชื่อว่าอัลมะฮ์ดี) บุตรของอิหม่ามที่ 11

    เนื่องจากอิหม่ามคนสุดท้ายสูญหายไปในปี ค.ศ. 878 มุสลิมนิกายชีอะฮ์เชื่อว่าท่าน ผู้นี้ยังมีชีวิตอยู่แต่หลบซ่อนไม่ยอมปรากฏตัว ชีอะฮ์ทั้งปวงจึงถือว่าปัจจุบันเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการรอคอยการกลับมาของอิหมˆามคนสุดท้ายในฐานะของ ”มะฮ์ดีŽ” ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกนำโดยพระเจ้า หรือผู้นำทางอันชอบในอนาคต ทำนองเดียวกันกับเมสสิอาหŒของศาสนายิว

   นิกายชีอะฮ์มีคณะกรรมการบัณฑิตคณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ฮิตส์ (มุจญะตะฮิต) ทำหน้าที่ ชี้ขาดข้อขัดแย้งหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับลัทธิของตน

    นิกายชีอะฮ์มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศอิหร่าน อิรัก อินเดีย อัฟกานิสถาน และซีเรีย

    3.    นิกายคอวาริจญ์ (Khawarij) นิกายคอวาริจญ์ หรือฆวาริซ เกิดขึ้นในสมัยที่ข้าหลวงแคว้นซึ่งอยู่ที่เมืองดามัสกัสคัดค้านไม่ยอมรับฐานะของอะลีบุตรเขยนบีมุฮัมมัดเป็นกาหลิบ และได้แยกตัวออกเป็นอิสระทำสงครามกับอะลี อะลีเป็นฝ่ายปราชัย ถูกลอบสังหารถึงแก่ ความตาย ฮะซันบุตรของอะลีจึงต้องยอมอ่อนน้อม ผู้นำฝ่ายต่อต้านจึงได้เป็นยาซิตในกาลต่อมา และได้กำจัดฮุเซนบุตรชายคนเล็กของอะลีอีกด้วย

     นิกายคอวาริจญ์ถือว่า

1.    ผู้นำโลกมุสลิมจะต้องมาจากการเลือกตั้ง
2.    พวกตนเท่านั้นคือมุสลิมที่แท้จริง นอกนั้นไม่ใช่
3.    ทารกที่เกิดจากบิดามารดามุสลิมจะยังเป็นมุสลิมไม่ได้ จนกว่าจะโตพอที่จะรับหลักศาสนาอิสลามด้วยตัวเองได้โดยตรง
4.    การปฏิบัติตนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้านั้นบาปอย่างหนัก และถือว่าคนมุสลิมที่เลวที่สุดหาใช่เป็นมุสลิมไม่  นิกายนี้มีแพร่หลายอยู่ในประเทศซีเรียและตุรกี

    4.    นิกายดรูซ (Druz) นิกายดรูซเป็นนิกายลึกลับค่อนข้างจะนอกรีต เกิดขึ้นใน ประเทศซีเรีย ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 และแพร่หลายเข้าไปในเลบานอน ผู้ให้กำเนิด นิกายนี้คือกาหลิบที่ครองไคโรชื่อ ฮากิม นัยว่าเป็นผู้ประกาศคำสอนทำนองนอกรีตไปจากมุสลิมเหล่าอื่นๆ

   ฮากิมเองนั้นเป็นผู้แทนของพระเจ้าโดยชอบธรรม และเกิดมาเป็นครั้งสุดท้าย แล้วจะสาบสูญไปไม่ยอมนับถือศาสนาจารีตที่คนอื่นๆ นับถือกันมา และมีการช่วยเหลืออยู่ในพรรคพวก ของตนเท่านั้น คำสอนของนิกายนี้ได้รับการสนับสนุนและการเผยแพร่จากชาวมุสลิมอิหร่าน 2 คน คือ ฮัมซา และคาราซี เป็นอย่างดี นิกายนี้เอามาจากชื่อของ คาราซีŽ นั่นเอง

    5.    นิกายอิสไมลี (Ismaili) นิกายอิสไมลีหรืออิสมาอิลลีเป็นสาขาหนึ่งของนิกายซีอะฮ์ ได้ชื่อตามอิสมาอิล ลูกชายของญะอ์ฟัร อิหม่ามคนที่ 6 นัยว่าเป็นคนขี้เมาดื่มเหล้าเป็นประจำ พ่อไม่ยอมตั้งเป็นอิหม่าม แต่คนส่วนมากถือกันว่าอิสมาอิลเป็นอิหม่ามคนที่ 7 ต่อจากผู้เป็นพ่อ ประมุขของนิกายนี้ชื่อ อากาข่าน เนื่องจากนิกายนี้เป็นนิกายที่ลึกลับ มีความเป็นไปค่อนข้างเป็นเอกเทศ ไม่ค่อยมีใครจะทราบรายละเอียดมากนัก เป็นพวกที่มีอุดมการณ์ที่รุนแรงดุร้ายต่อพวกอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันอย่างเปิดเผย ถึงบางครั้งก็มีการประหารพวกอื่นๆ เสมอ และอ้างว่าเพื่อความมั่นคงของพวกตนและศาสนาของตน พวกอิสไมลีนี้ต่อมาก่อให้เกิดนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม คือ ตากิย์ยะ แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ค่อยจะมีอิทธิพลเท่าไรนัก จึงไม่ค่อยจะเป“นที่รู้จัก

    6.    นิกายวาห์ฮะบี (Wahhbi) นิกายวาห์ฮะบีเป็นนิกายที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 18 (ระหว่าง พ.ศ. 2238-2299) ผู้ตั้งนิกายนี้ชื่อว่า โมฮำหมัด อิบนิ อับดุล วาห์ฮะบี (Mohamed Ibni Abdul Wahhbi) ท่านผู้นี้เรียกตนเองว่า พิวริตัน มุสลิมนิกาย วาห์ฮะบีนับถือพระอัลลอฮ์เจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่นับถือนบีมุฮัมมัดและศาสดาพยากรณ์อื่นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าการกระทำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการหันกลับมานับถือรูปเคารพ ซึ่งเป็น การทำผิดพระบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอานอย่างโจ่งแจ้ง นอกจากนี้ยังห้ามการแต่งกายด้วย เพชรพลอย ผ้าแพรไหม และสิ่งฟุ่มเฟือยอื่นๆ ปฏิเสธมัสยิดหรือสุเหร่าที่สร้างหอคอย โดยอ้างว่าไม่มีบัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ อีกทั้งวิทยาการสมัยใหม่ของโลกตะวันตก

    ความมุ่งหมายประการที่สำคัญที่สุดของการตั้งนิกายนี้ขึ้นก็คือ เพื่อยังความมั่นคงตั้งมั่นให้แก่คัมภีร์อัลกุรอาน จึงนับถือและปฏิบัติตามพระคัมภีร์อย่างเคร่งครัด มีผู้ที่นับถือนิกายนี้บางส่วนอยู่ในตะวันออกกลาง

   7.    นิกายฟากีร์ (Fagir) เรียกอีกอย่างว่า ทารเวษ (Darwesh) ภาษาเปอร์เซีย ฟากีร์เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า ยากจน อนาถา ต้องการความกรุณา ยากจน อนาถา หรือต้องการความกรุณา ไม่ใช่ยากจนเรื่องทรัพย์สมบัติเหมือนธรรมดา แต่ความยากจนในเรื่องของพรที่พระเจ้าทรงประทานมาให้ จึงต้องมีการขอความกรุณาจากพระเจ้า

 การปฏิบัติตนของนิกายนี้ จึงมีลักษณะเอนเอียงไปในข้างขอความกรุณา และมีคนที่เป็น นักพรตเที่ยวภิกขาจารไปในที่ต่างๆ หัวหน้าของพวกฟากีร์เรียกว่า เชก (chek) ส่วนคำว่า ทารเวษ ซึ่งเป“นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า ประตู ตามความหมายนี้ก็คือ ต่อพระเจ้าจากประตูบานหนึ่งไปสู่ประตูอีกบานหนึ่ง (โปรดสัตว์) ทุกคนในนิกายต้องมอบชีวิตจิตใจให้หัวหน้า เข้าทำนองเป็นสมาคมมากกว่านิกายแห่งศาสนา

    ฟากีร์แยกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ 2 พวก คือ พวกหนึ่งเรียกว่า บาซาร์ (Bashar) ว่าตามกฎหมาย หมายความว่า ปฏิบัติตามบัญญัติของอิสลาม อีกพวกหนึ่งเรียกว่า เบซาร์ (Beshar) พวกนี้ปฏิบัติตามชอบใจ บทบัญญัติของอิสลามไม่สำคัญ แต่ก็เรียกตัวเองว่า มุสลิม

    พวกแรกเรียกตัวเองว่า ซาลิค (Salik) ถือการท่องเที่ยวเดินทางไปทำความเพียร เพื่อไปสวรรค์ และนับถืออบูบักร์ พ่อตาของนบีมุฮัมมัด และอะลี ลูกเขยของนบีมุฮัมมัด ว่าเป็นกาหลิบที่แท้จริงของตน และยังอ้างว่าท่านทั้งสองต่างก็มีการปฏิบัติเหมือนกัน พวกหลังเรียกตัวเองว่า อาซาด (Azad) หรือมาจซูบ (Majzub) ไม่มีการปฏิบัติตามบัญญัติของอิสลามแต่เคร่งครัดต่อการภักดี โดยเฉพาะข้อที่เกี่ยวกับการบริกรรมของพระเจ้า พวกนี้โกนหนวด โกนเครา โกนขนคิ้ว โกนขนตา และชอบประพฤติพรหมจรรย์ ฟากีร์นี้ได้แยกตัวออกเป็นนิกายย่อยอีกมาก ประมาณ 40 นิกาย

    8.    นิกายซูฟี (Sufi) นิกายนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา จะเคร่งครัดในการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน สาวกนิกายนี้จะนุ่งผ้าทำด้วยขนแกะประพฤติตนดุจนักบวช คือ สันโดษ เน้นเรื่องการชำระดวงวิญญาณให้บริสุทธิ์ สละความสุขทางโลก มุ่งบำเพ็ญภาวนาสมาธิให้เกิดปัญญา ยกเลิกการทำพิธีรีตองตามตำราที่ไร้สาระ ผู้นับถือนิกายนี้มีอยู่ในประเทศอิรัก ตุรกี อัฟกานิสถาน อียิปต์ อินเดีย และในทวีปแอฟริกาบางประเทศ

 

12. สัญลักษณ์ของศาสนา

   ศาสนาอิสลามเคารพบูชาเฉพาะพระอัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น ไม่นิยมการบูชา รูปเคารพอื่น จึงไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ให้ศาสนิกเคารพบูชา แต่ที่เห็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว และมีดาวอยู่ข้างบน พบอยู่ในสุเหร่าทั่วไปในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา แตˆเป็นเครื่องหมายของอาณาจักรออตโตมานเติร์ก ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองมากในอดีต มีอำนาจครอบงำยุโรป ตะวันออกกลางทั้งหมด ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา จนถึงศตวรรษที่ 20 บรรดาประเทศมุสลิมที่เคยตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรออตโตมานเติร์ก จึงยึดถือเอาเครื่องหมายนั้นเป็นสัญลักษณ์ของตนในฐานะเป็นชนชาติมุสลิมเหมือนกันสืบมา แต่อาจถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามได้โดยอนุโลม หรือถ้าจะพูดว่ารูปพระจันทร์และดาวนี้เป็นเครื่องหมายของศาสนาอิสลามก็น่าจะเหมาะสมกว่า

 

13. ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน

   ศาสนาอิสลามในปัจจุบันมีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 รองจากศาสนาคริสต์ โดยมี ศาสนิกกว่า 1,300 ล้านคน (Encyclopaedia Britannica 1992 : 269) ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศต่างๆ แถบตะวันออกกลาง และในทวีปแอฟริกา ส่วนทวีปเอเชียก็มีมากในประเทศปากีสถาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จำนวนมุสลิมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความเข้มงวดในสังคมมุสลิมที่ไม่ยอมให้คนในออกแต่ให้คนนอกเข้า อย่างเช่น ห้ามแต่งงานกับคนต่างศาสนา ส่วนคนต่างศาสนาจะมาแต่งงานกับมุสลิมได้ แต่ต้องเปลี่ยนเป็นมุสลิมเสียก่อน

   ประเทศมุสลิมเหล่านี้จะคอยช่วยเหลือกันร่วมมือกันในด้านต่างๆ เมื่อมีปัญหากับประเทศต่างศาสนา ตลอดทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติมาก เช่น น้ำมัน แก๊ส และแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น จนกลายเป็นฐานเสียงสำคัญเสียงหนึ่งบนเวทีโลก แต่ทว่าภายในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเอง ยังขาดความเป็นเอกภาพ ทะเลาะกัน แบ่งแยกเป็นค่าย และเป็นนิกายต่างๆ มากมายยิ่งกว่านิกายในศาสนาใด และยังไม่มีองค์กรที่จะสามารถประสานรอยร้าวนี้ได้อย่างมีประสิทธิผล จะเห็นได้จากประเทศอิรักและประเทศอิหร่านซึ่งก็นับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน และเป็นนิกายเดียวกัน แต่ก็มาทำสงครามกันเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531 ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนมากมายและทรัพย์สินมหาศาล และหลังจากเลิกรบกันแล้ว เพราะการไกล่เกลี่ยของสหประชาชาติ ประเทศอิรักก็ได้บุกยึดประเทศคูเวต ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมเช่นกันอีก โดยอ้างว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของตน กระทั่งสหประชาชาติอันมีสหรัฐอเมริกาและสัมพันธมิตรเป็นตัวแทนช่วยกันตอบโต้จนประเทศอิรักยอมจำนน

    เพราะฉะนั้น ศาสนาอิสลามถึงจะมีศาสนิกมาก แต่ดูเหมือนว่าเป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ อีกทั้งปัจจุบันโลกก็กำลังเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ตลอดจนอารยธรรมตะวันตกก็ไหลบ่าเข‰าสู่ประเทศต่างๆ อย่างมากมาย ยˆอมมีอิทธิพลส่งผลให้มุสลิมจำนวนไม่น้อยค่อยเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนใหม่ คลายความเข้มงวดจากมุสลิมดั้งเดิม กลายเป็นมุสลิมใหม่มากขึ้นทุกที

 

 


1) มัรวาน สะมะอุน. อัลกุรอาน ฉบับแปลภาษาไทย ภาค 1-2, 2521 บทที่ 3 หน้า 82.
2) คัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 4 หน้า 48.
3) คัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 3 หน้า 18.
4) คัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 5 หน้า 3.
5) Hopfe Lewis M. Religions of The World, 1994 p. 383.
6) ภัทรพร สิริกาญจน. ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4, 2546 หน้า 86-87.
7) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2524 หน้า 59.
8) อ.ล. คำย่อของ อะลัยฮิชซะลาม แปลว่า ขอความสันติภาพจงมีแด่ท่าน เป็นคำสดุดีที่กล่าวหลังนามศาสดาทุกท่าน
9) ศ็อลฯ คำย่อของ ศ็อลลอลฺลอฮุอะลัยฮิวะซะลาม แปลว่า “    ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์ และความสันติสุข จงมีแด่ท่าน” เป็นสร้อยที่ใช้หลังนามของท่านศาสดามุฮัมมัดโดยเฉพาะ
10) เสาสนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2538 หน้า 28.
11) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2524 หน้า 105.
12) ยูซุบ บินอับดุลเลาะฮ์. คู่มือฮัจย, 2517 หน้า 11.
13) เสฐียร พันธรังษี. ศาสนาเปรียบเทียบ, 2524 หน้า 386.
14) สัจญ์ยียูซุบ บินอับดุลเลาะห์. คู่มืออัจย์, 2517 หน้า 2.
15) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2535 หน้า 83-84
16) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2535 หน้า 47
17) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2535 หน้า 7
18) มัรวาน สะมะอุน. อัลกุรอานแบับแปลภาษาไทย ภาค 1-2, 2521 บทที่ 40 หน้า 60.
19) อัลกุรอาน บทที่ 1 หน้า 37.
20) อัลกุรอาน บทที่ 41 หน้า 8.
21) อัลกุรอาน บทที่ 16 หน้า 3.
22) เสถียร พันธรังสี. ศาสนาเปรียบเทียบ เล่ม 2, 2514 หน้า 456..
23) อัลกุรอาน บทที่ 32 หน้า 7.
24) อัลกุรอาน บทที่ 32 หน้า 9.
25) อัลกุรอาน บทที่ 64 หน้า 3.
26) อัลกุรอาน บทที่ 2 หน้า 22.
27) มัรวาน สะมะอุน. อัลกุรอานฉบับแปลภาษาไทย ภาค 1-2, 2521 บทที่ 51 หน้า 56.
28) อัลกุรอาน บทที่ 21 หน้า 92.
29) อัลกุรอาน บทที่ 2 หน้า 213.
30) อัลกุรอาน บทที่ 22 หน้า 66.
31) , 34) อัลกุรอาน บทที่ 3 หน้า 184.
32) อัลกุรอาน บทที่ 2 หน้า 155.
33) อัลกุรอาน บทที่ 21 หน้า 35.
35) อัลกุรอาน บทที่ 2 หน้า 212.
36) เสฐียร พันธรังสี. ศาสนาเปรียบเทียบ เล่ม 2, 2514 หน้า 457-458.
37) เสฐียร พันธรังสี. ศาสนาเปรียบเทียบ เล่ม 2, 2514 หน้า 459-462.
38) มัรวาน สะมะอุน. อัลกุรอานฉบับแปลภาษาไทย ภาค 1-2, 2521 หน้า 64-65.
39) ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. สีดราะตุนนะบี, 2521 หน้า 51.
40) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2535 หน้า 430.
41) กะมารุล ชุกริ. การเชือดกุรบ่าน และอะกีเกาะฮ์, มปป. หน้า 61.
42) กะมารุล ชุกริ. การเชือดกุรบ่าน และอะกีเกาะฮ์, มปป. หน้า 41-42.
43) เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2535 หน้า 259.
44) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “    มิสคาต” แปลว่า จารีตที่นับถือกันมา ได้รับการยกย่องเท่ากับคัมภีร์อัลกุรอาน
45) , 46) พ่อตานบีมุฮัมมัด
47) ลูกชายของอาบูการ์
48) ลูกชายของอาบูตะลิบ ลุงของนบีมุฮัมมัด


หนังสือ DF 404 ศาสนศึกษา
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014053551355998 Mins