หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓)

วันที่ 13 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓)
 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักในเรื่องของความเคารพไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับชาวพุทธอยู่ ๗ ประการ คือ
     ๑.เคารพในพระพุทธเจ้า 
     ๒.เคารพในพระธรรม 
     ๓.เคารพในพระสงฆ์ 
     ๔.เคารพในการศึกษา 
     ๕.เคารพในความไม่ประมาท 
     ๖.เคารพในสมาธิ
     ๗.เคารพในการปฏิสันถาร

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     หลวงพ่อทั้งสองได้เป็นต้นแบบอย่างดีเยี่ยมในความเคารพทุกเรื่อง โดยเฉพาะความเคารพในพระรัตนตรัย ทุกครั้งที่เอ่ยถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะกล่าวถึงด้วยความระลึกถึงพระคุณของพระองค์ และตอกย้ำให้ลูก ๆ ได้ตระหนักว่ากว่าจะมีพระบรมศาสดาเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญมากเพียงไหน

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     เมื่อเอ่ยถึงหลักธรรมคำสอน หลวงพ่อก็จะสอนให้เราได้ศึกษาอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรียนหรือท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ให้เรียนเพื่อเอาธรรมะนั้นมาใช้

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     อีกทั้งเมื่อกล่าวถึงหรือศึกษาประวัติของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล หลวงพ่อก็จะให้ศึกษาศีลาจารวัตรของท่านเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยไม่ปล่อยผ่านว่าท่านทำอย่างนั้นทำไม

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

     ในช่วงที่อาตมาได้มีโอกาสไปฝึกงานที่อาศรมบัณฑิต(ข้างสภาหลังคาจาก) สิ่งที่ได้เห็น ได้รับรู้ เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในชีวิต ทำให้ได้แนวทางในการประพฤติปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ กล่าวคือ ได้เห็นถึงการแบ่งเวลาในการทำงานของหลวงพ่อทัตตชีโว แม้ว่าท่านจะมีภารกิจมากเพียงใดก็ตาม แต่เรื่องหลัก ๆ ที่ท่านจะทำไม่ขาด คือ เรื่องการปฏิบัติธรรมกับการค้นคว้าธรรมะ

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

    ในช่วงเช้าหลังจากฉันเช้า ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อย หากไม่มีกิจนิมนต์ที่ไหน หลวงพ่อจะกลับขึ้นบนกุฏิแล้วนั่งสมาธิไปจนถึงเพล พอถึงช่วงบ่ายหากรับแขกเรียบร้อย ท่านก็จะไปที่ห้องสมุดของท่าน นั่งค้นคว้าตำรับตำรา เขียนหนังสือไป ในเวลานั้นพระที่ไปฝึกงานก็จะต้องคอยอยู่แถวนั้น หากหลวงพ่อเรียกใช้จะได้ไปหาท่านได้ทันที

 

 

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๒๓) , วัดพระธรรมกาย , หลวงพ่อสอนอะไร , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี , คำสอน , ศาสนาพุทธ , อาสภกันโต ภิกขุ , หลวงพ่อทัตตะชีโว , คุณยายอาจารย์ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระมงคลเทพมุนี , นั่งสมาธิ

    มีอยู่วันหนึ่ง อาตมาเห็นหลวงพ่อนั่งอ่านหนังสืออยู่กับพื้น ด้านหน้าก็มีโต๊ะญี่ปุ่นหนึ่งตัว แต่รอบ ๆ ตัวท่าน มีหนังสืออยู่หลายเล่ม อาตมาจึงไปนั่งอยู่มุมหนึ่งเงียบ ๆ คอยหยิบหนังสือที่ท่านต้องการให้ เห็นท่านค้นแบบเอาจริงเอาจังมาก เลยอดไม่ได้จึงรีบถามท่านว่า

     “ หลวงพ่อครับ หลวงพ่อเตรียมเทศน์จะไปเทศน์ที่ไหนหรือครับ ”

   ที่ถามอย่างนี้เพราะคิดว่า มีส่วนราชการที่ไหนนิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์หรือปล่าวหรือเป็นชุดของผู้พิพากษาที่เคยนิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์เมื่อสัปดาห์ก่อนโน้น

     หลวงพ่อท่านก็ตอบเบา ๆ โดยไม่เงยหน้าขึ้นมาจากตำราว่า 

     “ ก็เตรียมเทศน์ที่สภา ฯ นี่แหละ ไม่ได้ไปไหน ”

     อาตมาก็ถามไปตามประสาว่า “ แค่เทศน์ที่สภา ฯ หลวงพ่อต้องเตรียมขนาดนี้เลยหรือครับ ”

    สิ้นเสียงของอาตมาหลวงพ่อเงยหน้าขึ้นทันที ค่อย ๆ ถอดแว่น แล้วมองหน้าเหมือนจะเจาะเข้าไปในใจตอนนั้นบอกตรง ๆ อาตมามีความรู้สึกเหมือนใจจะหยุดเต้น ทั้งกลัว ทั้งสงสัย ทำไมหลวงพ่อจึงจ้องเราขนาดนั้น

     “ ท่าน เวลาที่ราชสีห์มันจะตะปบเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายหรือช้าง มันใช้กำลังเท่ากันนะ หากมันคิดว่าเป็นกระต่ายเลยใช้แรงนิดหน่อย เกิดกระต่ายหลุดไป อายเขาทั้งป่า หลวงพ่อเอง ไม่ว่าจะไปเทศน์ที่ไหน หลวงพ่อไม่เคยประมาท ไม่เคยดูถูกผู้ฟัง ที่สำคัญ หลวงพ่อเคารพในธรรม ไม่เคยคิดว่าจะเทศน์ให้เสร็จ ๆ แต่จะคิดว่าจะเทศน์อย่างไรให้คนเข้าถึงธรรม ให้เขาเอาธรรมะที่หลวงพ่อเทศน์ไปใช้พัฒนาตัวเขาได้ ”

     เพราะคำสอนของหลวงพ่อในครั้งนั้น แม้เวลาจะผ่านไปกว่า ๒๐ ปี แต่อาตมาก็น้อมนำโอวาทอันล้ำค่านี้มาปฏิบัติเสมอ ทุกครั้งที่จะต้องเทศน์สอนญาติโยม อาตมาจะใช้เวลาในการเตรียมเทศน์เป็นสัปดาห์ เพื่อพิจารณาหาแง่มุมที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด และหากติดขัดประเด็นไหน หลวงพ่อก็เปิดโอกาสให้โทรสอบถามท่านได้ตลอดเวลา

      เฮ้อ ! ไม่รักหลวงพ่อแล้วจะรักใครเนอะ

 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๑ ส.ค. ๕๙
anacaricamuni.blogspot.ae

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020183682441711 Mins