ด้วยรักและผูกพัน

วันที่ 04 ตค. พ.ศ.2559

ด้วยรักและผูกพัน,ที่นี่มีคำตอบ ฉบับมินิ เล่ม 4 รักนี้สีอะไร,บทความประจำวัน
 
ด้วยรักและผูกพัน
 
รายนี้เป็นชายชื่อครูฉลอม (ชื่อใกล้เคียงชื่อจริง) นี่ก็เป็นครูที่โรงเรียนเดิมคัดทิ้งเหมือนกัน คัดทิ้งในฐานะมีปัญหาทางเศรษฐกิจมีหนี้สินล้นพ้นตัว สมรรถภาพการสอนต่ำ เรียกว่าเป็นครูขี้เกียจสอน ทั้งวิธีสอนก็ไม่เก่ง เมื่อมาอยู่ใต้บังคับบัญชาของข้าพเจ้ายังสร้างปัญหาผิดศีลข้อที่ ๓ ขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง

ครูฉลอมมีลูกชายอายุประมาณ ๑๒ ปี ติดมาด้วยคนหนึ่ง และแอบได้เสียกับสาวใช้ในบ้าน เมื่อภรรยาตายลง สาวใช้มีความหวังว่าได้เป็นภรรยา แต่กลับถูกครูฉลอมเสือกไสไล่ส่งเพราะเห็นว่าไม่คู่ควร ไม่มีความรู้สมกับตนซึ่งมีปริญญาตรีทางการศึกษา

ครูรายนี้ทําให้ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายไม่น้อยหน้าผู้ใด ขณะเดินตรวจดูความเรียบร้อยของโรงเรียน มักจะพบว่าที่ชั้นเรียนของครูฉลอม นักเรียนมักจะเล่นกันเฮฮาอึกทึกครึกโครม วิ่งกันวุ่นไปหมด เพราะไม่มีครูอยู่ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า

“ครูประจําชั้นของพวกเราไปไหนจ๊ะเนี่ย นักเรียน”

“ไม่ทราบครับ (ไม่ทราบค่ะ) บอกว่าจะไปส้วม ยังไม่เห็นมาเลยครับ (ค่ะ)” เด็กๆ ตอบพร้อมกัน

“ไปนานแล้วยังจ๊ะ”

“เป็นชั่วโมงแล้วครับ”

ไปไหนกันนักหนา ทิ้งเด็กเป็นชั่วโมงอย่างนี้อันตรายมาก เด็กยังเล็กอาจจะทะเลาะกัน ตีกัน ข้าพเจ้าจึงเดินไปถามห้องข้างเคียง ครูห้องนั้นชี้แจงว่า

“คงอยู่ในส้วมจริงๆ ครับอาจารย์ ผมเห็นเจ้าหนี้ครูฉลอมเดินเข้าประตูโรงเรียนมาเมื่อชั่วโมงที่แล้ว”

ข้าพเจ้าถอนใจเฮือกใหญ่ เจ้าหนี้มาทวงเงินทีไร ครูฉลอมต้องแอบหนีเข้าส้วมทุกครั้งไป ไม่รู้ไปทนเหม็นอยู่ได้อย่างไรกัน ขืนทําอยู่อย่างนี้เสียหายต่อการเรียนการสอน ละหนีกันชั่วชีวิตหรืออย่างไร ข้าพเจ้าจึงให้เขากู้เงินสวัสดิการของโรงเรียนไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไปใช้หนี้แล้วผ่อนส่งเป็นรายเดือน ทีนี้จะเล่าต่อเรื่องผลจากกรรมกาเมฯ ที่เขาก่อขึ้นไว้

เช้าวันหนึ่งมีสตรีสูงอายุ คงมีอายุประมาณ ๖๐ ปี อุ้มเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ยังนอนแบเบาะ อายุราว ๓-๔ เดือน เข้ามาขอพบข้าพเจ้า เมื่อถูกถาม สตรีมีอายุก็ตอบว่า

“อาจารย์คะ นี่เป็นลูกสาวครูฉลอมค่ะ แต่เค้าไม่ยอมรับว่าเป็นลูก แม่ของเด็กถูกครูฉลอมไล่ออกจากบ้านไป ก็ไปเที่ยวอาศัยคนโน้นคนนี้อยู่ไปวันหนึ่งๆ จะทํางานอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันก็ไม่ได้ เพราะกําลังมีท้อง พอคลอดลูกแล้ว ก็เอาลูกไปทิ้งให้ครูฉลอมเพราะเลี้ยงไม่ไหวจะพากันอดตายทั้งแม่ทั้งลูก ครูฉลอมก็เอาเด็กมาจ้างชั้นเลี้ยง เดือนละร้อยห้าสิบบาท ให้เงินเดือนแรกเดือนเดียวแล้วไม่ให้อีกเลย เวลามาขอค่าเลี้ยงดู บางครั้งก็ได้สิบบาท บางครั้งก็ไม่ได้เลย บอกว่าไม่มี แล้วชั้นจะเอาเงินที่ไหนซื้อนมให้เด็กกิน จะพึ่งสามีของชั้น ก็เป็นกรรมกรหาเช้ากินค่ำ รายได้น้อย ไม่แน่นอน มาวันนี้จะมาขอความกรุณาให้อาจารย์ช่วยพูดกับครูฉลอมหน่อย ให้จ่ายค่าจ้างให้ด้วยค่ะ”

ข้าพเจ้ารับเด็กทารกมาอุ้มวางไว้บนตัก มองหน้าเล็กๆ ของแก รูปหน้ากลมๆ แบนๆ แป้นๆ ตา จมูก คิ้ว คาง เหมือนครูฉลอมยังกับแกะออกมา ถ้าข้าพเจ้าอุ้มเดินไปในโรงเรียนนี้ แล้วถามเพื่อนครูทุกคนจะต้อง บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ลูกครูฉลอม” เพราะเหมือนเสียยิ่งกว่าเหมือน เป็นเพียงใบหน้าครูฉลอมที่ย่อส่วนลงมาเท่านั้น ข้าพเจ้าได้ชี้แจงต่อหญิงมีอายุคนนั้นว่า

“ครูฉลอมเค้าไม่มีเงินเดือนเหลือน่ะค่ะ ตอนนี้เป็นหนี้เงินสวัสดิการของโรงเรียนอยู่มาก ต้องหักใช้หนี้ทุกเดือน นี่ขนาดดิชั้นให้มาพักอยู่ในบ้านพักของราชการทั้งพ่อทั้งลูกแล้ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้านเงินยังไม่พอใช้ เพราะลูกชายต้องไปเรียนโรงเรียนมัธยมที่อื่น เอาเถอะจะพูดขอร้องให้ครูฉลอมประหยัดอดออมเสียค่าจ้างให้คุณ แต่เดือนนี้กลางเดือนไปแล้วคงไม่มีหรอก เดี๋ยวดิชั้นให้แทนไปก่อนก็แล้วกัน เอาไปเดือนเดียวก่อนนะ ๑๕๐ บาท เป็นค่านมเลี้ยงเด็กก่อน ให้กินนมอะไรกันเนี่ย”

“นมข้นกระป๋องค่ะ” อีกฝ่ายตอบ

“ตายจริง มันไม่ใช่อาหารทารกนะ ต้องนมผงซี เดี๋ยวจะเพิ่มเงินค่านมให้เป็นพิเศษ อย่าให้กินนมข้นหวานนั่นอีกนะ”

แล้วข้าพเจ้าก็คํานวณค่านมผงว่าเดือนหนึ่งๆ ควรใช้เท่าไร ราคาเท่าไรให้เพิ่มไป วันนั้นใช้เงินส่วนตัวบริจาค เมื่อแขกลากลับไปแล้วข้าพเจ้าเชิญครูฉลอมมาพบ เล่าเรื่องให้ฟัง ฝ่ายนั้นแทนที่จะเห็นบุญคุณ กลับพูดว่า

“อาจารย์ครับ เด็กมันไม่ใช่ลูกผม แม่มันคบผู้ชายหลายคน ไม่ใช่ผมคนเดียวนะครับ”

“คุณอย่ามาเถียงพี่ ตั้งแต่วันที่แม่เด็กเค้าเอาลูกมาให้คุณ คุณเคยมองหน้าแกบ้างรึเปล่า หน้าของเด็กแกะมาจากหน้าของคุณ ทุกส่วนเลยนะ”

คําพูดของข้าพเจ้าทําให้ครูฉลอมนิ่งเงียบไปแต่เพียงปากเท่านั้น แต่ใจของเขายังเถียงข้าพเจ้าแน่นอน เพราะแววตายังเป็นประกายดื้อดึงฟ้องอยู่

“พี่รู้ว่าคุณเหลือเงินเดือนไม่พอใช้ ๒ คนพ่อลูก ไม่มีปัญญาเลี้ยงเจ้าตัวเล็กนี่อีกแน่ แต่พี่อยากขอคําสัญญาจากคุณว่า พอหนี้สินค่อยหมดลงมีเงินเหลือเพิ่มขึ้น คุณจะช่วยออกค่าจ้างเลี้ยงลูกให้เค้าบ้าง ส่วนตอนนี้ พี่จะออกให้ไปก่อน”

ข้าพเจ้าขอคํายืนยัน เพราะรู้ว่าอีกประมาณ ๕-๖ เดือน ครูฉลอมจะหมดหนี้จากเจ้าหนี้รายหนึ่ง รวมกับได้เงินเดือนขึ้นอีก ๑ ขั้น เงินเดือนเหลือบ้าง และเขาก็จะต้องจํายอมเพราะข้าพเจ้าเป็นคนจ่ายเงินเดือน ต้องรู้ยอดเงินรับของเขาดีกว่าใคร เขาหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจึงอ้อมแอ้ม ตอบว่า “ครับ” เสียงอ่อยๆ

แล้ววันหนึ่งผู้ช่วยฝ่ายปกครองนําเงินจํานวนเท่าที่ข้าพเจ้าต้องจ่ายเป็นค่าเลี้ยงดูทารกลูกครูฉลอมทุกเดือนๆ มาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถามว่าเป็นเงินอะไร เอามาจากไหน ได้รับคําชี้แจงว่า

“ดิชั้นเห็นอาจารย์ใช้เงินส่วนตัวจ่ายเรื่องโน้นเรื่องนี้ มองดูแล้วบางเดือนเป็นหลายร้อย ถึงเดือนละพันกว่าบาทก็มี ยังเรื่องงานสังคมอีก งานศพ งานบวช งานแต่ง จิปาถะของลูกน้อง ยังของคนในกระทรวงของครูตามโรงเรียนอื่นๆ เอะอะเค้าก็จ่าหน้าซองถึงแต่อาจารย์ เงินเดือนอาจารย์จะไม่พอใช้นะคะ เงินที่มอบให้อาจารย์นี้เป็นเงินสุจริต ดิชั้นหักมาจากยอดเงินค่าอาหารนักเรียนรับทุนอาหารกลางวัน ในโรงเรียนของเราน่ะค่ะ นักเรียนรับทุนมีพันกว่าคน ไม่ใช่มาโรงเรียนกันทุกวันทุกคนนะคะ วันหนึ่งๆ มีนักเรียนขาดเรียนไม่ต่ำกว่าสิบคน คนละ ๒ บาทต่อวัน วันหนึ่งๆ ก็เหลือเงินอยู่ ๒๐-๓๐ บาท เอามาเป็นทุนเลี้ยงดูลูกของครูฉลอมนี่พอค่ะ

ข้าพเจ้าฟังแล้วก็รู้สึกไม่ใคร่ถูกต้องนัก เพราะเงินนั้นควรเป็นของเด็กเจ้าของทุน วันไหนไม่มาเด็กก็ควรรับค่าอาหารกลางวันประจําวันนั้นของเขาคืนไป อย่างไรก็ดี ก็มิได้ตําหนิความหวังดีของอาจารย์ผู้ช่วย จะทําให้เขาเสียน้ำใจโดยไม่จําเป็น

ข้าพเจ้านึกขออนุญาตนักเรียนเจ้าของทุนอยู่ในใจ “นักเรียนทั้งหลายที่เป็นเจ้าของเงิน ครูขอแบ่งของหนูไปใช้เลี้ยงน้องสักคนหนึ่งเถอะนะ แกขาดแคลนยิ่งกว่าหนูมากนัก ไม่มีเงินซื้อนมกิน พ่อเขาไม่มีเงินเลี้ยง แม่ก็ทิ้งไป

ข้าพเจ้าใช้เงินผิดเจ้าของในเดือนต่อๆ มาแต่เพียงนั้น ส่วนที่เหลือให้เก็บไว้ทําโปรแกรมพิเศษ เช่น เพิ่มอาหารอร่อยๆ หรือของขวัญให้แก่เด็กๆ เจ้าของทุนในโอกาสวันสําคัญ เช่น วันส่งท้ายปีเก่าขึ้นปีใหม่ วันเด็ก วันปิดภาค เป็นต้น

เลี้ยงกันดังนี้อยู่หลายเดือน จนกระทั่งครูฉลอมพอมีเงินเหลือ ตามที่ข้าพเจ้าคาดคะเน จึงได้ขอเงินจากพ่อของทารก เรื่องนี้ข้าพเจ้ามิได้ปิดบังใครๆ จึงมีผลเสียต่อครูฉลอมตรงที่แม้ครูฉลอมจะเป็นพ่อม่าย ในโรงเรียนมีครูสาวโสดนับเป็นสิบๆ ราย ครูฉลอมก็ไม่สามารถจีบใครเป็นแฟนได้ การเป็นคนมีปริญญา เป็นข้า

ไม่ทําให้ครูสตรีที่นั่นสนใจ ชีวิตของครูฉลอมค่อนข้างเหงาหงอย กินเหล้าไม่ได้ เที่ยวเตร่ไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าจะคอยตรวจสอบจากครูที่พักในโรงเรียนเป็นประจํา และเพื่อให้ครูฉลอมรู้จักรักษาสุขภาพจิตให้ปกติ ยังได้พาไปฟังธรรมที่วัดแห่งหนึ่งในวันอาทิตย์หลายครั้ง

พอปีที่สอง ครูฉลอมก็ขอย้ายกรมและไปทํางานที่จังหวัดสกลนคร ข้าพเจ้าขอร้องให้นําลูกคนเล็กไปด้วย เขาปฏิเสธ อ้างว่าไม่สะดวก ขอจ้างเลี้ยงไปตามเดิมโดยจะส่งเงินค่าจ้างมาให้ ในที่สุดครูฉลอมก็ไม่ทิ้งนิสัยเดิม โกงแม้กระทั่งลูก ไม่ส่งเสียค่าเลี้ยงดูมาให้เลย คนรับจ้างมาพบข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงขอเด็กเพื่อจะหาผู้อุปการะให้เป็นเรื่องเป็นราว

“ชั้นให้อาจารย์ไม่ได้หรอกคะ เลี้ยงมา ๒ ปีแล้ว เลยรักแก สามีชั้นก็รัก แต่ชั้นก็เกรงใจอาจารย์ต้องมารบกวนยังงี้ ถ้าพ่อจริงๆ เค้าทิ้ง ชั้นกับสามีก็ช่วยกันเลี้ยงเองสตรีนั้นกล่าว

ข้าพเจ้ารู้สึกสงสารเด็กมาก ถ้าให้คนเลี้ยงคนนี้เลี้ยงต่อไป เด็กคงมีอนาคตไม่ดีนัก เพราะเป็นคนจนเหลือเกิน ดูจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเก่าขาดซอมซ่อ ร่างกายผ่ายผอม แต่ไม่ทราบจะทําอย่างไร จึงมอบเงินให้เป็นค่าเลี้ยงดู และบอกว่าถ้าไม่มีให้มาหา อย่าปล่อยให้เด็กอดอยาก

นับตั้งแต่วันขอเด็กไป คนเลี้ยงก็ไม่มาขอเงินจากข้าพเจ้า เวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า ข้าพเจ้าต้องยุ่งกับภารกิจอื่นๆ จนลืมเรื่องของเด็กคนนี้กับคนเลี้ยงของแกเสียสนิท

กระทั่งปีหนึ่งมีครูสตรีคนหนึ่งย้ายมาจากจังหวัดสกลนคร เมื่อมารายงานตัวต่อข้าพเจ้า เธอพูดว่า “อาจารย์จําครูฉลอมได้มั้ยคะ”

เมื่อข้าพเจ้าตอบรับ เธอก็กล่าวต่อไปว่า

“เค้าบอกให้หนูย้ายมาที่โรงเรียนนี้ บอกว่าอาจารย์ใจดี จะทำงานอย่างสบายใจกว่าที่อื่น”

เพราะครูผู้นี้มาพูดฟื้นความหลังถึงครูฉลอม ข้าพเจ้าจึงนึกถึงลูกสาวคนเล็กของเขาได้

“ครูฉลอมอยู่ที่โน่นมีลูกไปด้วยกี่คนคะ” ถามเขาเพราะยังมีความหวังว่าพ่ออาจมารับลูกไปเลี้ยงหลายปีมาแล้ว

“มีผู้ชายไปคนเดียวค่ะ เห็นบอกใครๆ ว่ามีลูกคนเดียว ไปเช่าบ้านอาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ แล้วต่อมาก็แต่งงานกับเจ้าของบ้าน แต่มีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อยๆ คงจะไม่ยืดหรอกค่ะ เห็นผู้หญิงบ่นว่า ผู้ชายเป็นยอดคนเห็นแก่ตัว”

ข้าพเจ้าทราบข่าวจากครูผู้นั้นแล้ว ก็คิดถึงเด็กผู้หญิงเล็กๆ ลูกของครูฉลอมทันที คํานวณอายุดู เด็กอยู่ในวัยเข้าโรงเรียนได้แล้ว จึงได้สืบถามหาที่อยู่ของหญิงรับจ้างเลี้ยงเด็กที่เล่าแล้ว ได้ทราบจากชาวบ้านว่าสามีของหญิงนั้นตายลง เธอจึงพาเด็กย้ายไปปลูกกระท่อมอยู่กลางทุ่งนาในที่ดินของการรถไฟทางหลักสี่ บางเขน ทํามาหากินด้วยการหาบผลไม้ขาย มีกล้วยกับมะละกอสุก

เมื่อซักถามทราบสถานที่เลาๆ แล้ว ข้าพเจ้าได้ชวนครูผู้หนึ่งไปเป็นเพื่อน เดินตามหากระท่อมที่อยู่ของเด็ก สมัยโน้นยังเป็นทุ่งนาจริงๆ ไม่มีอาคารสถานที่ใดๆ ถามหาผู้หญิงขายผลไม้ที่หาบไปตามบ้านผู้คน แต่มีคนพอรู้จัก เขาถามว่า

“เป็นผู้หญิงมีอายุ ๖๐ กว่าๆ หาบกล้วยสุก มะละกอสุกขาย มีเด็กผู้หญิงเล็กๆ อยู่ในกระจาดข้างหนึ่ง อีกข้างเป็นผลไม้ หาบขายอยู่อย่างนี้เป็นปี พอเด็กโตหน่อยก็เดินตามไปด้วย ถ้ามีใครถามหญิงมีอายุผู้นี้ก็จะตอบว่าเป็นลูก เด็กก็เรียก แม่ อย่างสนิทสนม ใช่ไหม

ข้าพเจ้ารีบตอบรับว่าใช่แล้ว ผลที่สุดก็ต้องเดินบุกไปตามหัวคันนา ลึกเข้าไปจนถึงคลองเล็กๆ แห่งหนึ่ง มีกระท่อมเล็กบ้างใหญ่บ้างอยู่กันหลายหลัง ต้องเดินไปตามสะพานไม้ผุๆ แผ่นเดียว พอไปถึงพบตัวก็ไม่กล้าเข้าไปในที่พัก เพราะเกรงมันจะพากันพังทับลงมา ใช้เศษไม้ทําเสา ฝา และหลังคามุงด้วยจาก

“นี่คุณ สามีตาย ต้องเลี้ยงเด็กอย่างลําบากยากแค้น ทําไมคุณไม่ไปหาดิชั้นบ้าง” ข้าพเจ้าต่อว่า

“ชั้นกลัวอาจารย์จะขอไปให้คนอื่นเลี้ยง เลยไม่กล้าไปหาค่ะ เลี้ยงแล้วก็รักแกมาก ไม่อยากให้ใครเอาแกไป ก็พอกัดฟันหาเลี้ยงกันไปวันหนึ่งๆ” คนเลี้ยงเด็กชี้แจง

“แค่เลี้ยงเท่านั้นไม่พอนะคะ ใจคอจะไม่ให้เล่าเรียนรึยังไง อายุครบเกณฑ์ต้องเข้าโรงเรียนแล้ว ดิชั้นมาตามนี่เพราะเรื่องการเรียนหนังสือของเด็ก” ข้าพเจ้าแจ้งวัตถุประสงค์

หญิงมีอายุนิ่งเงียบไปทันที เหมือนเพิ่งนึกได้ สีหน้าหม่นหมองกอดเด็กไว้ในอ้อมแขน เสียงเด็กเรียกเบาๆ ว่า “แม่ แม่ แม่จ๋า” ราวกับแกตกใจในอาการของคนที่แกเข้าใจว่าเป็นแม่นั้นด้วย

งั้นอาจารย์ว่าชั้นควรทํายังไงดี” เสียงที่ถามออกมาแผ่วเต็มที

“ก็ต้องให้เด็กเข้าโรงเรียน ไม่ต้องห่วง ทางโรงเรียนจะจัดการให้หมดทุกอย่าง เครื่องเรียน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหารกลางวันหรือเช้าเย็นด้วยก็ได้ เลี้ยงทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าคุณไม่ยอมยกลูกให้ใคร คุณก็ต้องกลับไปหากินอยู่ถิ่นเดิม หาบผลไม้ขาย หรือขายข้าวแกงอะไรก็ได้ที่คุณถนัด เพราะที่นั่นใกล้โรงเรียน ตกลงมั้ย ก็ไปปลูกกระต๊อบอย่างงี้แหละ ตามที่ดินว่างๆ ที่คนเค้าอยู่กันแถวนั้นนะ” ข้าพเจ้าสาธยาย

รอยยิ้มผุดขึ้นในใบหน้าหญิงชรา เธอตอบอย่างหนักแน่นมั่นคงว่า “ตกลงค่ะ”

ข้าพเจ้าให้ครูที่ไปด้วยวัดตัวเด็กเพื่อกลับไปเตรียมซื้อชุดเครื่องแบบนักเรียน วัดจนกระทั่งเท้าเพื่อซื้อรองเท้า ก่อนกลับข้าพเจ้าถามอีกครั้งเรื่องแม่ของเด็ก

“เค้าตายไปหลายปีแล้วค่ะ เอาลูกไปให้ครูฉลอมแล้วก็รับจ้างเค้ากิน ที่สุดมีสามีใหม่ ตอนหลังป่วยตาย ครูฉลอมไม่เคยติดต่อมาทางอาจารย์เลยหรือคะ”

“ไม่เคย อย่าพูดถึงเลย เค้ามีเมียใหม่แล้ว ป่านนี้อาจมีลูกใหม่ต่อไปแล้ว เค้าทิ้งแล้ว”

“ค่ะ ชั้นก็ว่ายังงั้น เพราะนี่หลายปีเต็มที คนเราถ้ามีเยื่อใยว่าเป็นลูก คงคิดถึงบ้าง” อีกฝ่ายกล่าว

ข้าพเจ้าเดินบุกกอแขมตามหัวคันนามาพักใหญ่จึงถึงถนน ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพราะทํางานสําเร็จสมดังใจ

เด็กได้มาเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนที่ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าบริหาร ครูทุกคนที่สอนเด็กคนนี้ก็เอ็นดูเด็กเป็นพิเศษ สายเลือดของความเป็นครูมีอยู่ แกเรียนหนังสือได้เก่งมาก กินดีอยู่ดี สุขภาพจิตดี สอบได้ที่หนึ่งทุกครั้ง ข้าพเจ้าจะให้สิ่งต่างๆ ที่จําเป็นแก่สองแม่ลูกบุญธรรมคู่นี้เสมอมา เรียกว่าเหมือนจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูแทนครูฉลอม เด็กเองก็รักข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าให้ความรักความสนิทสนมเป็นพิเศษมาตลอด

เรียนอยู่ได้ ๓ ปี ถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจะลาออกจากชีวิตราชการเพื่อดูแลบิดาผู้ชราภาพในต่างจังหวัด จึงคิดตัดภาระที่ตนเองกระทําอยู่มิให้มีสิ่งใดเป็นกังวลใจ ทุนสําหรับช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนข้าพเจ้าหาไว้ เป็นก้อนใหญ่ สามารถใช้แต่เพียงดอกผลก็พอเพียงในการบริหารงาน

เด็กคนอื่นข้าพเจ้าไม่ห่วง เพราะไม่มีใครที่มีผู้ปกครองอายุมากเหมือนรายลูกสาวครูฉลอม ถ้าหญิงสูงอายุผู้นี้ตายไป หรือทํามาหากินไม่ไหว จะต้องให้เด็กออกจากโรงเรียนช่วยตนทํามาหากิน เสียดายสติปัญญาและอนาคตของเด็ก ข้าพเจ้าจึงเรียกสตรีผู้นั้นมาพบปรึกษาหารือกัน ข้าพเจ้าเล่าความจําเป็นต่างๆ ให้ฟังและสรุปตอนท้ายว่า

“ดิฉันเป็นเพื่อนกับกรรมการมูลนิธิเด็กกําพร้าแห่งหนึ่งทางสมุทรปราการ เค้ายินดีรับอุปการะเด็ก จะส่งเสียให้เล่าเรียนไปจนเต็มที่ตามความสามารถของแก ถ้าไปเรียนถึงเมืองนอกไหวเค้าก็มีทุนส่งให้เรียน มูลนิธินี้เป็นของฝรั่งมีเงินทุนมาก ขอให้ไปคิดตัดสินใจแล้วค่อยมาให้คําตอบนะ ไม่บังคับ

อีกหลายวันต่อมาสตรีนั้นก็กลับมาหาข้าพเจ้า กล่าวคําว่า

“เพื่ออนาคตของเด็ก ถ้าอาจารย์เห็นว่าดีก็ตกลงค่ะ” อนุญาตด้วยร้องไห้สะอึกสะอื้นไปด้วย

“ในชีวิตชั้นขณะนี้ก็มีแต่แกเป็นกําลังใจ เลี้ยงมาหลายปีไม่เคยนึกว่า

งั้นอาจารย์ว่าชั้นควรทํายังไงดี” เสียงที่ถามออกมาแผ่วเต็มที

“ก็ต้องให้เด็กเข้าโรงเรียน ไม่ต้องห่วง ทางโรงเรียนจะจัดการให้หมดทุกอย่าง เครื่องเรียน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหารกลางวันหรือเช้าเย็นด้วยก็ได้ เลี้ยงทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าคุณไม่ยอมยกลูกให้ใคร คุณก็ต้องกลับไปหากินอยู่ถิ่นเดิม หาบผลไม้ขาย หรือขายข้าวแกงอะไรก็ได้ที่คุณถนัด เพราะที่นั่นใกล้โรงเรียน ตกลงมั้ย ก็ไปปลูกกระต๊อบอย่างงี้แหละ ตามที่ดินว่างๆ ที่คนเค้าอยู่กันแถวนั้นนะ” ข้าพเจ้าสาธยาย

รอยยิ้มผุดขึ้นในใบหน้าหญิงชรา เธอตอบอย่างหนักแน่นมั่นคงว่า “ตกลงค่ะ”

ข้าพเจ้าให้ครูที่ไปด้วยวัดตัวเด็กเพื่อกลับไปเตรียมซื้อชุดเครื่องแบบนักเรียน วัดจนกระทั่งเท้าเพื่อซื้อรองเท้า ก่อนกลับข้าพเจ้าถามอีกครั้งเรื่องแม่ของเด็ก

“เค้าตายไปหลายปีแล้วค่ะ เอาลูกไปให้ครูฉลอมแล้วก็รับจ้างเค้ากิน ที่สุดมีสามีใหม่ ตอนหลังป่วยตาย ครูฉลอมไม่เคยติดต่อมาทางอาจารย์เลยหรือคะ”

“ไม่เคย อย่าพูดถึงเลย เค้ามีเมียใหม่แล้ว ป่านนี้อาจมีลูกใหม่ต่อไปแล้ว เค้าทิ้งแล้ว”

“ค่ะ ชั้นก็ว่ายังงั้น เพราะนี่หลายปีเต็มที คนเราถ้ามีเยื่อใยว่าเป็นลูก คงคิดถึงบ้าง” อีกฝ่ายกล่าว

ข้าพเจ้าเดินบุกกอแขมตามหัวคันนามาพักใหญ่จึงถึงถนน ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพราะทํางานสําเร็จสมดังใจ

เด็กได้มาเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนที่ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าบริหาร ครูทุกคนที่สอนเด็กคนนี้ก็เอ็นดูเด็กเป็นพิเศษ สายเลือดของความเป็นครูมีอยู่ แกเรียนหนังสือได้เก่งมาก กินดีอยู่ดี สุขภาพจิตดี สอบได้ที่หนึ่งทุกครั้ง ข้าพเจ้าจะให้สิ่งต่างๆ ที่จําเป็นแก่สองแม่ลูกบุญธรรมคู่นี้เสมอมา เรียกว่าเหมือนจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูแทนครูฉลอม เด็กเองก็รักข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าให้ความรักความสนิทสนมเป็นพิเศษมาตลอด

เรียนอยู่ได้ ๓ ปี ถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจะลาออกจากชีวิตราชการเพื่อดูแลบิดาผู้ชราภาพในต่างจังหวัด จึงคิดตัดภาระที่ตนเองกระทําอยู่มิให้มีสิ่งใดเป็นกังวลใจ ทุนสําหรับช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนข้าพเจ้าหาไว้ เป็นก้อนใหญ่ สามารถใช้แต่เพียงดอกผลก็พอเพียงในการบริหารงาน

เด็กคนอื่นข้าพเจ้าไม่ห่วง เพราะไม่มีใครที่มีผู้ปกครองอายุมากเหมือนรายลูกสาวครูฉลอม ถ้าหญิงสูงอายุผู้นี้ตายไป หรือทํามาหากินไม่ไหว จะต้องให้เด็กออกจากโรงเรียนช่วยตนทํามาหากิน เสียดายสติปัญญาและอนาคตของเด็ก ข้าพเจ้าจึงเรียกสตรีผู้นั้นมาพบปรึกษาหารือกัน ข้าพเจ้าเล่าความจําเป็นต่างๆ ให้ฟังและสรุปตอนท้ายว่า

“ดิฉันเป็นเพื่อนกับกรรมการมูลนิธิเด็กกําพร้าแห่งหนึ่งทางสมุทรปราการ เค้ายินดีรับอุปการะเด็ก จะส่งเสียให้เล่าเรียนไปจนเต็มที่ตามความสามารถของแก ถ้าไปเรียนถึงเมืองนอกไหวเค้าก็มีทุนส่งให้เรียน มูลนิธินี้เป็นของฝรั่งมีเงินทุนมาก ขอให้ไปคิดตัดสินใจแล้วค่อยมาให้คําตอบนะ ไม่บังคับ

อีกหลายวันต่อมาสตรีนั้นก็กลับมาหาข้าพเจ้า กล่าวคําว่า

“เพื่ออนาคตของเด็ก ถ้าอาจารย์เห็นว่าดีก็ตกลงค่ะ” อนุญาตด้วยร้องไห้สะอึกสะอื้นไปด้วย

“ในชีวิตชั้นขณะนี้ก็มีแต่แกเป็นกําลังใจ เลี้ยงมาหลายปีไม่เคยนึกว่า

งั้นอาจารย์ว่าชั้นควรทํายังไงดี” เสียงที่ถามออกมาแผ่วเต็มที

“ก็ต้องให้เด็กเข้าโรงเรียน ไม่ต้องห่วง ทางโรงเรียนจะจัดการให้หมดทุกอย่าง เครื่องเรียน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหารกลางวันหรือเช้าเย็นด้วยก็ได้ เลี้ยงทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าคุณไม่ยอมยกลูกให้ใคร คุณก็ต้องกลับไปหากินอยู่ถิ่นเดิม หาบผลไม้ขาย หรือขายข้าวแกงอะไรก็ได้ที่คุณถนัด เพราะที่นั่นใกล้โรงเรียน ตกลงมั้ย ก็ไปปลูกกระต๊อบอย่างงี้แหละ ตามที่ดินว่างๆ ที่คนเค้าอยู่กันแถวนั้นนะ” ข้าพเจ้าสาธยาย

รอยยิ้มผุดขึ้นในใบหน้าหญิงชรา เธอตอบอย่างหนักแน่นมั่นคงว่า “ตกลงค่ะ”

ข้าพเจ้าให้ครูที่ไปด้วยวัดตัวเด็กเพื่อกลับไปเตรียมซื้อชุดเครื่องแบบนักเรียน วัดจนกระทั่งเท้าเพื่อซื้อรองเท้า ก่อนกลับข้าพเจ้าถามอีกครั้งเรื่องแม่ของเด็ก

“เค้าตายไปหลายปีแล้วค่ะ เอาลูกไปให้ครูฉลอมแล้วก็รับจ้างเค้ากิน ที่สุดมีสามีใหม่ ตอนหลังป่วยตาย ครูฉลอมไม่เคยติดต่อมาทางอาจารย์เลยหรือคะ”

“ไม่เคย อย่าพูดถึงเลย เค้ามีเมียใหม่แล้ว ป่านนี้อาจมีลูกใหม่ต่อไปแล้ว เค้าทิ้งแล้ว”

“ค่ะ ชั้นก็ว่ายังงั้น เพราะนี่หลายปีเต็มที คนเราถ้ามีเยื่อใยว่าเป็นลูก คงคิดถึงบ้าง” อีกฝ่ายกล่าว

ข้าพเจ้าเดินบุกกอแขมตามหัวคันนามาพักใหญ่จึงถึงถนน ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพราะทํางานสําเร็จสมดังใจ

เด็กได้มาเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนที่ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าบริหาร ครูทุกคนที่สอนเด็กคนนี้ก็เอ็นดูเด็กเป็นพิเศษ สายเลือดของความเป็นครูมีอยู่ แกเรียนหนังสือได้เก่งมาก กินดีอยู่ดี สุขภาพจิตดี สอบได้ที่หนึ่งทุกครั้ง ข้าพเจ้าจะให้สิ่งต่างๆ ที่จําเป็นแก่สองแม่ลูกบุญธรรมคู่นี้เสมอมา เรียกว่าเหมือนจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูแทนครูฉลอม เด็กเองก็รักข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าให้ความรักความสนิทสนมเป็นพิเศษมาตลอด

เรียนอยู่ได้ ๓ ปี ถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจะลาออกจากชีวิตราชการเพื่อดูแลบิดาผู้ชราภาพในต่างจังหวัด จึงคิดตัดภาระที่ตนเองกระทําอยู่มิให้มีสิ่งใดเป็นกังวลใจ ทุนสําหรับช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนข้าพเจ้าหาไว้ เป็นก้อนใหญ่ สามารถใช้แต่เพียงดอกผลก็พอเพียงในการบริหารงาน

เด็กคนอื่นข้าพเจ้าไม่ห่วง เพราะไม่มีใครที่มีผู้ปกครองอายุมากเหมือนรายลูกสาวครูฉลอม ถ้าหญิงสูงอายุผู้นี้ตายไป หรือทํามาหากินไม่ไหว จะต้องให้เด็กออกจากโรงเรียนช่วยตนทํามาหากิน เสียดายสติปัญญาและอนาคตของเด็ก ข้าพเจ้าจึงเรียกสตรีผู้นั้นมาพบปรึกษาหารือกัน ข้าพเจ้าเล่าความจําเป็นต่างๆ ให้ฟังและสรุปตอนท้ายว่า

“ดิฉันเป็นเพื่อนกับกรรมการมูลนิธิเด็กกําพร้าแห่งหนึ่งทางสมุทรปราการ เค้ายินดีรับอุปการะเด็ก จะส่งเสียให้เล่าเรียนไปจนเต็มที่ตามความสามารถของแก ถ้าไปเรียนถึงเมืองนอกไหวเค้าก็มีทุนส่งให้เรียน มูลนิธินี้เป็นของฝรั่งมีเงินทุนมาก ขอให้ไปคิดตัดสินใจแล้วค่อยมาให้คําตอบนะ ไม่บังคับ

อีกหลายวันต่อมาสตรีนั้นก็กลับมาหาข้าพเจ้า กล่าวคําว่า

เพื่ออนาคตของเด็ก ถ้าอาจารย์เห็นว่าดีก็ตกลงค่ะ” อนุญาตด้วยร้องไห้สะอึกสะอื้นไปด้วย

“ในชีวิตชั้นขณะนี้ก็มีแต่แกเป็นกําลังใจ เลี้ยงมาหลายปีไม่เคยนึกว่าเป็นคนอื่น คิดแต่ว่าเป็นลูกตัวเองจริงๆ โธ่...ก็เลี้ยงแกมาตั้งแต่ตัวแดงๆ นะคะ จะตัดใจให้อาจารย์ยังงี้ เหมือนใจมันจะขาด”

ข้าพเจ้าปลอบใจเธอว่า

“ไม่ใช่มูลนิธิเค้าจะเอาเด็กของเราไปเลยนะ เค้าเอาไปช่วยเลี้ยงดูส่งเสียเรียนให้จบและมีงานทํา เค้าก็คืนให้เรา เด็กจะได้มีอาชีพและกลับมาเลี้ยงดูคุณในตอนแก่มากๆ ทํามาหากินไม่ไหวไงคะ เอางี้พรุ่งนี้เราไปดูที่มูลนิธิด้วยกัน ดูการเลี้ยงดูที่อยู่ที่อาศัยอะไรต่ออะไรให้หมดเลย คุณจะได้หายห่วง

วันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าขับรถพาหญิงนั้นไปชมกิจการทุกอย่างของมูลนิธิ ซึ่งเป็นที่พอใจของเธอเป็นอย่างยิ่ง เพราะเธอไม่สามารถให้ความสุขทางกายคือทางวัตถุแก่เด็กได้ดังที่มูลนิธิกระทําอยู่ เธอให้ได้แต่ความสุข ความอบอุ่นใจเท่านั้น วันมอบตัวเด็กเธอก็ไปด้วย แต่ทางมูลนิธิขอร้องมิให้เธอไปเยี่ยมในระยะแรกๆ นี้ เกรงเด็กจะพะวักพะวงอยากกลับมาอยู่กับแม่บุญธรรม

ส่วนข้าพเจ้าถือว่ามูลนิธิมิได้ห้ามจึงไปเยี่ยมเด็กหลายครั้ง เนื่องจากเป็นเด็กโตแล้วและค่อนข้างฉลาดจึงสามารถมองเห็นการกระทําของผู้ใหญ่บางคนของมูลนิธิว่าทํางานไม่จริงใจ เวลาข้าพเจ้าไปเยี่ยมเด็กจึงแอบฟ้องเรื่องที่ตนพบเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่าผู้ปกครองที่นั่นเป็นคนน่าเลื่อมใส จึงได้เรียนให้ท่านทราบถึงข้อบกพร่องบางประการที่เด็กได้พบเห็น เพื่อท่านจะได้หาวิธีแก้ไข แต่น่าเสียใจ ท่านคงจะเข้าใจเป็นไปในทํานองเหมือนข้าพเจ้าบังอาจก้าวก่ายการทํางานของท่าน ไม่เข้าใจถึงความหวังดีและความปรารถนาดีโดยบริสุทธิ์ใจ ท่านเขียนจดหมายสั่งห้ามมิให้ข้าพเจ้าไปเยี่ยมหรือไปติดต่อสิ่งใดกับเด็กอีก เด็กเขียนจดหมายมาถึงข้าพเจ้าอีกหลายฉบับ ข้าพเจ้ามิได้ตอบไป ถึงแม้ตอบก็คงไม่ถึงมือเด็ก ที่นั่นมีนโยบายปกครองเด็กโดยมิให้เด็กมีความหวังที่อื่น ให้เห็นแต่เพียงมีมูลนิธินั้นเป็นที่พึ่งได้เพียงแห่งเดียว เพื่อให้ง่ายในการปกครอง เด็กจะได้ไม่คิดหวังความช่วยเหลือจากใครภายนอก เวลาไม่พอใจอยู่ในปกครองของมูลนิธิ

มองในแง่ของมูลนิธิก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนทําให้ไมตรีจิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันขาดสิ้นไป นับเป็นเวลาสิบปีเศษมานี้ข้าพเจ้าไม่เคยลืมเด็กเล็กๆ คนนั้น เวลาได้รับจดหมายของเด็กแล้วตอบแกไม่ได้ หัวใจผู้ใหญ่อย่างข้าพเจ้ารู้สึกเจ็บปวด เป็นความเศร้าลึกๆ ที่แก้ไขได้ยากนัก ยิ่งเป็นความรู้สึกของเด็กด้วยแล้วคงว้าเหว่ น้อยใจว่าทําไมข้าพเจ้าจึงทอดทิ้งแก ข้าพเจ้าทําได้อย่างมากเพียงแผ่เมตตาไปยังเด็กให้ชีวิตของแกเจริญรุ่งเรือง...

เพื่ออนาคตของเด็ก ถ้าอาจารย์เห็นว่าดีก็ตกลงค่ะ” อนุญาตด้วยร้องไห้สะอึกสะอื้นไปด้วย

“ในชีวิตชั้นขณะนี้ก็มีแต่แกเป็นกําลังใจ เลี้ยงมาหลายปีไม่เคยนึกว่าเป็นคนอื่น คิดแต่ว่าเป็นลูกตัวเองจริงๆ โธ่...ก็เลี้ยงแกมาตั้งแต่ตัวแดงๆ นะคะ จะตัดใจให้อาจารย์ยังงี้ เหมือนใจมันจะขาด”

ข้าพเจ้าปลอบใจเธอว่า

“ไม่ใช่มูลนิธิเค้าจะเอาเด็กของเราไปเลยนะ เค้าเอาไปช่วยเลี้ยงดูส่งเสียเรียนให้จบและมีงานทํา เค้าก็คืนให้เรา เด็กจะได้มีอาชีพและกลับมาเลี้ยงดูคุณในตอนแก่มากๆ ทํามาหากินไม่ไหวไงคะ เอางี้พรุ่งนี้เราไปดูที่มูลนิธิด้วยกัน ดูการเลี้ยงดูที่อยู่ที่อาศัยอะไรต่ออะไรให้หมดเลย คุณจะได้หายห่วง

วันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าขับรถพาหญิงนั้นไปชมกิจการทุกอย่างของมูลนิธิ ซึ่งเป็นที่พอใจของเธอเป็นอย่างยิ่ง เพราะเธอไม่สามารถให้ความสุขทางกายคือทางวัตถุแก่เด็กได้ดังที่มูลนิธิกระทําอยู่ เธอให้ได้แต่ความสุข ความอบอุ่นใจเท่านั้น วันมอบตัวเด็กเธอก็ไปด้วย แต่ทางมูลนิธิขอร้องมิให้เธอไปเยี่ยมในระยะแรกๆ นี้ เกรงเด็กจะพะวักพะวงอยากกลับมาอยู่กับแม่บุญธรรม

ส่วนข้าพเจ้าถือว่ามูลนิธิมิได้ห้ามจึงไปเยี่ยมเด็กหลายครั้ง เนื่องจากเป็นเด็กโตแล้วและค่อนข้างฉลาดจึงสามารถมองเห็นการกระทําของผู้ใหญ่บางคนของมูลนิธิว่าทํางานไม่จริงใจ เวลาข้าพเจ้าไปเยี่ยมเด็กจึงแอบฟ้องเรื่องที่ตนพบเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่าผู้ปกครองที่นั่นเป็นคนน่าเลื่อมใส จึงได้เรียนให้ท่านทราบถึงข้อบกพร่องบางประการที่เด็กได้พบเห็น เพื่อท่านจะได้หาวิธีแก้ไข แต่น่าเสียใจ ท่านคงจะเข้าใจเป็นไปในทํานองเหมือนข้าพเจ้าบังอาจก้าวก่ายการทํางานของท่าน ไม่เข้าใจถึงความหวังดีและความปรารถนาดีโดยบริสุทธิ์ใจ ท่านเขียนจดหมายสั่งห้ามมิให้ข้าพเจ้าไปเยี่ยมหรือไปติดต่อสิ่งใดกับเด็กอีก เด็กเขียนจดหมายมาถึงข้าพเจ้าอีกหลายฉบับ ข้าพเจ้ามิได้ตอบไป ถึงแม้ตอบก็คงไม่ถึงมือเด็ก ที่นั่นมีนโยบายปกครองเด็กโดยมิให้เด็กมีความหวังที่อื่น ให้เห็นแต่เพียงมีมูลนิธินั้นเป็นที่พึ่งได้เพียงแห่งเดียว เพื่อให้ง่ายในการปกครอง เด็กจะได้ไม่คิดหวังความช่วยเหลือจากใครภายนอก เวลาไม่พอใจอยู่ในปกครองของมูลนิธิ

มองในแง่ของมูลนิธิก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนทําให้ไมตรีจิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันขาดสิ้นไป นับเป็นเวลาสิบปีเศษมานี้ข้าพเจ้าไม่เคยลืมเด็กเล็กๆ คนนั้น เวลาได้รับจดหมายของเด็กแล้วตอบแกไม่ได้ หัวใจผู้ใหญ่อย่างข้าพเจ้ารู้สึกเจ็บปวด เป็นความเศร้าลึกๆ ที่แก้ไขได้ยากนัก ยิ่งเป็นความรู้สึกของเด็กด้วยแล้วคงว้าเหว่ น้อยใจว่าทําไมข้าพเจ้าจึงทอดทิ้งแก ข้าพเจ้าทําได้อย่างมากเพียงแผ่เมตตาไปยังเด็กให้ชีวิตของแกเจริญรุ่งเรือง...

หนูอย่าโกรธครูนะจ๊ะ ครูก็ต้องอดทนเพื่ออนาคตของหนูเหมือนกัน
สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับเด็กคนนี้มีอยู่เรื่องหนึ่ง แกเป็นเด็กมีความกตัญญรู้คุณคนสูงมาก แกเคยพูดกับข้าพเจ้าว่า

“ครูขา หนูรู้ว่าแม่ไม่ใช่แม่จริงๆ ของหนู แต่แม่เลี้ยงหนูมาตั้งแต่เล็ก เหน็ดเหนื่อยยากลําบากมาก ถ้าแม่ทํากินไม่ไหวแล้ว หนูอยากจะทํางานหาเงินเลี้ยงแม่ ไม่ต้องเรียนหนังสือหรอกค่ะ หาบของขายหรือรับจ้างอะไรก็ได้ค่ะ ส่วนครูก็มีบุญคุณต่อหนูมากเหมือนกัน หนูจะไม่ลืมบุญคุณของครูตลอดชีวิต”

ข้าพเจ้าก็จะปลอบว่า “หนูเป็นเด็กเรียนเก่งนะลูก ถ้าเรียนสูงๆ ลูกก็จะมีงานที่มีรายได้สูงๆ มากกว่าหาบของขายนะ ชีวิตก็จะไม่ลําบากเหมือนแม่ทั้งสองคน คือทั้งแม่จริงและแม่บุญธรรมไงล่ะ อดทนหน่อยเถอะนะ เราจะอยู่ที่มูลนิธิเพียงเพื่อเรียนให้สําเร็จเท่านั้น”

นี่เป็นคําพูดที่ข้าพเจ้าปลอบไว้ในครั้งสุดท้ายที่เรามีโอกาสพบกัน เพราะหวั่นใจล่วงหน้า เกรงว่าเด็กจะหนีจากมูลนิธิเพราะห่วงแม่บุญธรรม

ก่อนเขียนเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้ตัดใจไปเยี่ยม ขอฝ่าฝืนคําสั่งที่เคยรับปากไว้สักครั้งเถอะ แม้ยังหวงอยู่ก็ขอเพียงทราบข่าวบ้าง จึงเดินทางไปตอนบ่ายวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๑ ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ว่า เด็กได้หนีออกจากมูลนิธิตั้งแต่เมื่อเรียนชั้นมัธยมปีที่สอง เข้าใจว่ากลับไปอยู่กับมารดาบุญธรรมตามเดิม เท่ากับเรียนอยู่ในอุปการะของมูลนิธิ ๕ ปีเศษ ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอยู่บ้างที่แกเรียนไม่จบ เหมือนที่สังหรณ์ใจอยู่แต่ต้น แต่เข้าใจว่าคงจะมาทํามาหากินเลี้ยงหญิงชราผู้นั้น ซึ่งถ้าบัดนี้ยังมีชีวิตอยู่ก็คงมีอายุราวๆ ๗๐ ปีเศษ ล่วงเลยมาถึงเวลานี้แล้วไม่รู้จะโทษว่าเป็นความผิดของใคร คงต้องยกให้เป็นเรื่องของกรรม กรรมของทุกคนที่เคยทำร่วมกันมา แม้จะพยายามช่วยเหลือเต็มที่เพียงใด กรรมก็จะทําให้มีเหตุเป็นไป ตัดรอนให้ยอมรับเพียงแค่นั้น

เด็กที่พ่อแม่ทิ้งนั้น มักจะเสียใจ น้อยใจ โกรธแค้น เกลียดชังพ่อแม่ของตนเอง ข้าพเจ้ามักจะพูดกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพ่อแม่ทิ้งดังนี้เสมอ

“ลูกเอ๋ย แค่เค้าปั๊มให้เราได้เกิดมาเป็นลูกคนนี่ นับว่าโชคดีเหลือหลายแล้ว เกิดเป็นคนมีโอกาสได้สดับตรับฟังข้อคิดและหลักธรรมทั้งปวง ทําให้เรารู้บุญรู้บาป มีโอกาสร้างสั่งสมอบรมบารมีให้เกิดแก่ตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งเกิดเป็นสัตว์อื่นทําไม่ได้อย่างนี้ ถ้าเราต้องไปเกิดเป็น หมู หมา กา ไก่ ล่ะ เราก็หมดโอกาส เรื่องสร้างบารมีนี่เป็นเรื่องใหญ่ เกิดมาแต่ละชาติถ้าไม่มีทางสร้าง นับว่าเสียชาติเกิด ต้องได้สร้างให้ครบทั้งทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา จึงจะสมบรูณ์

พ่อแม่ของเราเค้าเป็นคน เค้าจึงให้กําเนิดเราเป็นคน ถ้าเค้าเป็นสัตว์เดรัจฉานล่ะเราก็ต้องออกมาเป็นเดรัจฉานใช่มั้ย นี่เค้าให้แค่หุ่นเท่านี้ถือเป็นบุญคุณล้นเหลือแล้ว ลองคิดดูนะ ก้อนดินที่อยู่ที่พื้นดินใครๆ ก็เหยียบย่ำด้วยเท้า เดินไปเดินมา ไม่มีใครเห็นคุณค่า นึกจะเทสิ่งโสโครกใดๆ ก็เทราดรดลงไป ไม่ต้องเกรงใจ แต่ดินนั้นเมื่อมีใครสักคนเอาไปใส่ในพิมพ์ ปั้นเป็นพระพุทธรูปออกมา ผู้คนเห็นเข้าก็พากันกราบไหว้เคารพหุ่นที่ใส่ดิน ก็เหมือนพ่อแม่ที่เค้าปั้นเราขึ้นมา ฉันใดฉันนั้นปลอบไปอย่างนี้เพื่อมิให้เด็กๆ รังเกียจพ่อแม่ที่ทอดทิ้งตน

กรรมกาเมสุมิจฉาจารที่ครูฉลอมทําขึ้น ไม่ได้ทําความเดือดร้อนให้ครูฉลอมเพียงคนเดียว แต่ยังทําให้ผู้คนต้องพลอยวุ่นวายเดือดร้อนตามกันอีกหลายราย เช่น คนรับเลี้ยงดูเด็ก ข้าพเจ้า และผู้ปกครองของมูลนิธิ ทราบว่าเมื่อเด็กหนีหายไปท่านต้องออกติดตามไปในบริเวณชุมชนแออัดเหล่านั้นอยู่หลายวัน ไม่ได้ข่าวคราวหรือพบเห็น ท่านต้องเสียใจไปด้วย เพราะเห็นเป็นเด็กเรียนเก่ง เกรงจะเสียอนาคต วันที่ข้าพเจ้าไปถามข่าวคราว ไม่ได้พบท่านเพราะท่านไปธุระเรื่องงานทางภาคใต้ ได้เขียนบันทึกถึงท่านไว้ว่า เราต่างฝ่ายต่างทําหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วช่วยได้แค่นั้น ก็ต้องนึกว่าเป็นกรรมของเด็ก ในสังคมมนุษย์เราอยู่ร่วมกันต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาอาศัยกัน ถ้าทุกคนคํานึงถึงหน้าที่ของตนและกระทําจนเต็มความสามารถแล้ว ก็จะไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผู้ที่ไม่ทำหน้าที่ของตนเพียงคนเดียว จะกระเทือนคนอื่นๆ ไปหลายคน เหมือนเรา เกี่ยวข้องกันดั่งใยแมงมุมในรังเดียวกัน เมื่อมีอะไรทํากระเทือนในที่ใดที่หนึ่งในรังนั้น ก็จะพากันกระเทือนไปทั้งรัง
หัดอายต่อการกระทําชั่ว หัดกลัวเกรงบาปกรรม ย่อมทําให้ตนเองเป็นสุขแท้จริง (ไม่ใช่สุขจอมปลอมเพียงชั่วคราว) และไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน ท่านว่าจริงหรือไม่
 
 
ชื่อเรื่องเดิม ครูฉลอมทิ้งลูก
Cr. อุบาสิกาถวิล(บุญทรง) วัติรางกูล
จากความทรงจำ เล่ม2 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018647599220276 Mins