มงคลหมู่ที่ 6 ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม

วันที่ 26 ตค. พ.ศ.2559

มงคลหมู่ที่ 6 ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม

พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง , GB 102 , มงคลหมู่ที่ 6 ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม

1. มงคลหมู่ที่ 16 ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม

มงคลที่ 19 งดเว้นจากบาป
มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรม

      จากมงคล 18 มงคลแรก เป็นเรื่องของการครองตน ครองชีวิตโดยเฉพาะสำหรับมนุษย์ทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา รวมถึงสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรด้านธุรกิจสังคมการเมืองการปกครอง เป็นการปรับปรุงอย่างเป็นขั้นตอน ให้มีความเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จส่วน 20 มงคลหลัง เป็นเรื่องของการพันาตนเองให้สูงขึ้น เป็นเรื่องการฝึกพันาจิตใจ เพิ่มพูนคุณธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์

     ในมงคลหมู่ที่ 6 การปรับเตรียม ภาพใจให้พร้อม เพื่อพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วยการฝึกใจให้มีคุณธรรมมากขึ้นมีกิเลสเบาบางลงตามลำดับขั้น เพื่อว่านอกจากจะ งเคราะห์ตนเองให้ดีขึ้นแล้ว เมื่อถึงคราวจะสงเคราะห์ญาติสงเคราะห์สังคม และสงเคราะห์โลก จะได้สงเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องฝึกดังนี้

      1. งดเว้นจากบาป หมายถึง การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจทำให้ใจเศร้าหมอง เสียคุณภาพอันดีไป ถ้าเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็ละเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาดเพราะการกระทำนั้นเป็นบาป บาปนั้นจะมาหุ้มใจ ทำให้ใจเสียคุณภาพ รองรับธรรมะไม่ได้ ดังนั้นคนที่ยังทำบาปสารพัดอยู่ ไม่ยอมเลิก จึงไม่มีทางที่จะฝึกได้เลย คนที่จะงดเว้นบาปได้ต้องมีความละอายใจ และเกรงกลัวต่อโทษภัยที่เกิดจากการทำบาป

      2.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา หมายถึง การระมัดระวังเมื่อใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิดไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม เพราะของมึนเมาเสพย์ติดทั้งหลายจะทำให้เราขาดสติ และใจที่ขาดสตินั้นก็ไม่สามารถฝึกคุณธรรมใดๆ ได้ เช่น ลองไปพูดธรรมะให้คนเมาเหล้าฟัง ว่าเขาจะรู้เรื่องหรือไม่

        3. ไม่ประมาทในธรรม หมายถึง ไม่ประมาทในเหตุ ให้มีสติรอบคอบกำกับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิดจะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้นตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้คุณธรรมความดีดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา เพราะสรุปคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ สอนให้เราไม่ประมาท

       เนื่องจากผู้ที่ประมาทมักจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม คิดแต่ว่า ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร เรายังอายุน้อยอยู่ รอแก่ๆ ค่อยทำความดี หรือ ไม่เป็นไรหรอกน่า เรายังแข็งแรง ทำเมื่อไรก็ได้ หรือ ไม่เป็นไรหรอกน่าเรายังมีชีวิตอีกนาน ทำเมื่อไรก็ได้ เขาเหล่านี้เมาแล้วในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความคิดว่ายังไม่ตาย จึงไม่ยอมทำความดี

     ส่วนผู้ที่ไม่ประมาทในธรรม จะคิดเสมอว่าเราอาจป่วยขึ้นมาเมื่อใดหรือตายเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า ไม่มีการบอกก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ประมาท รีบขวนขวายสร้างบุญสร้างกุศลตั้งใจฝึกตนเอง ซึ่งใจของคนอย่างนี้จะมีความกระตือรือร้น พร้อมที่จะรับการฝึกกุศลธรรมทั้งหลายให้สามารถเจริญขึ้นได้โดยง่าย

 

2. มงคลที่ 19 งดเว้นจากบาป

ก่อนจะแต่งตัวให้สวยงาม
เราจำต้องอาบน้ำชำระล้างสิ่งสกปรกออกก่อนฉันใด
ก่อนจะปรับปรุงใจให้สะอาดบริสุทธิ์ มีคุณธรรมสูงขึ้น
เราก็จำต้องงดเว้นจากบาปทั้งปวงก่อนฉันนั้น

2.1 บาปคืออะไร

      สิ่งของที่เสีย เรามีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น บ้านเสียเราเรียกบ้านชำรุด อาหารเสียเราเรียกอาหารบูด ฯลฯ คำว่า บูด ชำรุด แตก หัก ผุพัง เน่า ขึ้นรา ฯลฯ ถ้าพูดรวมๆ เราเรียกว่า เสีย หมายความว่าไม่ดี

     อาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกแยกได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจร้าย ใจดำ ใจขุ่นมัว ฯลฯ แล้วแต่จะบอกอาการทางไหน คำว่า เศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ เป็นคำบอกว่าจิตเสีย ซึ่งความเสียของจิตนี้ทางพระพุทธศาสนาท่านใช้คำสั้นๆ ว่า บาป คำว่าบาปจึงหมายถึง ความเสียของจิตนั่นเอง คือ การที่ใจมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น


2.2 กำเนิดบาป

     การกำเนิดของบาป ในทัศนะของศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลามสินดู ต่างกับของศาสนาพุทธโดยสิ้นเชิง เช่น แนวคิดในศาสนาคริสต์และ อิสลาม อนว่าบาปจะเกิดเมื่อผิดคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เช่น พระผู้เป็นเจ้าสั่งให้นึกถึงพระองค์อยู่เป็นประจำ ถ้าลืมนึกไปก็เป็นบาป หรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์สั่งไม่ให้เอ่ยนามพระองค์โดยไม่จำเป็น ถ้าใครเอ่ยนามพระเจ้าพร่ำเพรื่อก็เป็นบาป

      ยิ่งไปกว่านั้นตามความเชื่อของเขา บาปยังมีการตกทอดไปถึงลูกหลาน ได้อีกด้วย เช่น ในศาสนาคริสต์เขาถือว่าทุกคนเกิดมามีบาป คืออาดัมกับอีวา ซึ่งขัดคำสั่งพระเจ้า แอบไปกินแอปเปิลในสวนเอเดน ถูกพระเจ้าปรับโทษเอาเป็นบาป ลูกหลานทั่วโลกจึงมีบาปติดต่อมาด้วย โดยนัยนี้ศาสนาคริสต์เชื่อว่า บาปตกทอดถึงกันได้โดยสายเลือด

      สำหรับพระพุทธศาสนานั้น เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฝึกสมาธิมาอย่างดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เป็นผลให้พระองค์ทรงเห็นและรู้จักธรรมชาติของกิเลสอันเป็นต้นเหตุแห่งบาปทั้งหลายได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และสามารถกำจัดกิเลสเหล่านั้น ออกไปได้โดยสิ้นเชิงและเด็ดขาดพระองค์ได้ตรัสรุปเรื่องการกำเนิดของบาปไว้อย่างชัดเจนว่า

นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป

ขุ. ธ. 25/19/31

อตฺตนา ว กตํ ปาป อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ใครทำบาป คนนั้นก็เศร้าหมองเอง
อตฺตนา อกตํ ปาป อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ใครไม่ทำบาป คนนั้นก็บริสุทธิ์

ขุ. ธ. 25/22/37

     พระพุทธวจนะนี้เป็นเครื่องยืนยันการค้นพบของพระพุทธองค์ว่า บาปเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่สิ่งติดต่อกันได้ ใครทำบาปคนนั้นก็ได้บาป ใครไม่ทำบาปก็รอดตัวไป พ่อทำบาปก็เรื่องของพ่อ ลูกทำบาปก็เรื่องของลูก คนละคนกัน เปรียบเหมือนพ่อกินข้าวพ่อก็อิ่ม ลูกไม่ได้กินลูกก็หิว หรือลูกกินข้าวลูกก็อิ่มพ่อไม่ได้กินพ่อก็หิว ไม่ใช่พ่อกินข้าวอยู่ที่บ้าน ลูกอยู่บนยอดเขาแล้วจะอิ่มไปด้วย เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวใครทำใครได้

     ดังนั้นตามความเห็นของพระพุทธศาสนา บาปจึงเกิดที่ตัวคนทำเอง คือ เกิดที่ใจของคนทำใครไปทำชั่ว บาปก็กัดกร่อนใจของคนนั้นให้เสียคุณภาพ เศร้าหมองขุ่นมัวไป ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานไปไม่เกี่ยวกับคนอื่น


2.3 วิธีล้างบาป

      เมื่อทัศนะในเรื่องกำเนิดบาปต่างกันดังกล่าว วิธีล้างบาประหว่างศาสนา ที่มีพระเจ้ากับของพระพุทธศาสนาจึงห่างกันราวฟ้ากับดิน ศาสนาที่เชื่อพระเจ้า เชื่อผู้สร้างผู้ศักดิ์สิทธิ์สอนว่าพระเจ้า ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดที่จะยกเลิกบาปให้ใครๆ ได้โดยการไถ่บาป ขออย่างเดียวให้ผู้นั้นภักดีต่อ พระผู้เป็นเจ้าก็แล้วกันแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกหาใครเสมอเหมือนมิได้ตรัสสอนว่า

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องเฉพาะตัว
นาญฺโญฺ อญญํ วิโสธเย
ใครจะไถ่บาป ทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้

ขุ. ธ. 25/22/37

      พระพุทธวจนะทั้งหมดนี้ปฏิเสธทัศนะที่ว่า บาปของคนหนึ่งจะตกทอด ไปยังอีกคนหนึ่งได้ และปฏิเสธลัทธิที่ว่า บาปที่คนหนึ่งทำแล้วจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาไถ่ถอนให้ได้

       วิธีการล้างบาปในพระพุทธศาสนาสามารถทำได้อย่างมีเหตุผลดังนี้

       สมมุติว่าเรามีเกลืออยู่ช้อนหนึ่ง ใส่ลงไปในน้ำ 1 แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลเป็นอย่างไร    ก็เค็มถ้าเอาน้ำแก้วนี้ใส่ลงในถังน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็ม ชิมดูเป็นอย่างไร ก็แค่กร่อยๆ ถ้าเอาน้ำในถังนี้ใส่ลงในแท็งก์น้ำฝนใบใหญ่ ชิมดูเป็นอย่างไร ก็จืดสนิท เกลือหายไปไหนหรือเปล่า เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม
แล้วทำไมไม่เค็ม

     ก็เพราะน้ำในแท็งก์มีปริมาณมาก มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือจนกระทั่งหมดฤทธิ์เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็ม ภาษาพระท่านเรียก อัพโพหาริก แปลว่า มีเหมือนไม่มี คือเกลือนั้นยังมีอยู่แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี

     เช่นกัน วิธีล้างบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้บุญกุศลนั้นมาเจือจางบาปลงไป การทำบุญอุปมาเสมือนเติมน้ำ ทำบาปอุปมาเสมือนเติมเกลือ เมื่อเราทำบาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไป ไม่มีใครไถ่บาปแทนได้ แต่เราจะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มาก เพื่อมาเจือจางบาปให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้


2.4 งดเว้นจากบาปหมายความว่าอย่างไร

      งด หมายถึงสิ่งใดที่เคยทำแล้วหยุดเสีย เลิกเสีย

      เว้น หมายถึงสิ่งใดที่ไม่เคยทำ ก็ไม่ยอมทำเลย

     งดเว้นจากบาป จึงหมายความว่า การกระทำใดก็ตามทั้งกาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจทำให้ใจเศร้าหมอง ถ้าเราเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็จะเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด


2.5 สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป

      คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่

1. ฆ่าสัตว์ เช่น ฆ่าคน ยิงนกตกปลา รวมถึงทรมานสัตว์
2. ลักทรัพย์ เช่น ลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง หลอกลวง คอร์รัปชั่น
3. ประพฤติผิดในกาม เช่น เป็นชู้ ฉุดคร่า อนาจาร
4. พูดเท็จ เช่น พูดโกหก พูดเสริมความ ทำหลักฐานเท็จ
5. พูดส่อเสียด เช่น พุดยุยงให้เขาแตกกัน ใส่ร้ายป้ายสี
6. พูดคำหยาบ เช่น ด่า ประชด แช่งชักหักกระดูก ว่ากระทบ
7. พูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดพล่าม พูดเหลวไหล พูดโอ้อวด
8. คิดโลภมาก เช่น อยากได้ในทางทุจริต เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่น
9. คิดพยาบาท เช่น คิดอาฆาต คิดแก้แค้น คิดปองร้าย
10. คิดเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าตายแล้วสูญเห็นว่ากฎแห่งกรรมไม่มี


2.6 วิธีงดเว้นจากบาปให้สำเร็จ

    คนเราประกอบขึ้นด้วยกายและใจ โดยใจจะเป็นผู้คอยควบคุมกายให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งต่างๆตามที่ใจต้องการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

       ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใครมีใจชั่วเสียแล้ว การพูดการกระทำของเขาก็ย่อมชั่วตามไปด้วยเพราะการพูดชั่วทำชั่วนั้นความทุกข์ก็ย่อมตาม นองเขา เหมือนวงล้อเกวียนที่หมุนเวียนตามบดขยี้รอยเท้าโคที่ลากมันไป

       แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำ ก็ย่อมบริสุทธิ์ตามไปด้วย เพราะการพูด การกระทำที่บริสุทธิ์ดีงามนั้น ความสุขก็ย่อมตามสนองเขาเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากร่างฉะนั้น

ขุ. ธ. 25/11/15

       ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาหาความสุขความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงต้องฝึกใจตนเองให้งดเว้นบาป ซึ่งทำได้โดยต้องฝึกให้ใจมีหิริโอตตัปปะเสียก่อน


2.7 หิริโอตตัปปะคืออะไร

      หิริ คือ ความละอายบาป ถึงไม่มีใครรู้แต่นึกแล้วกินแหนงแคลงใจ ไม่สบายใจ เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของ กปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

      โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป

     สมมุติว่าเราเห็นเหล็กชิ้นหนึ่งเปื้อนอุจจาระอยู่ เราไม่อยากจับต้อง รังเกียจว่าอุจจาระจะมาเปื่อนมือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับหิริ คือ ความละอายต่อบาป

       สมมุติว่าเราเห็นเหล็กท่อนหนึ่งเผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัวไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่าความร้อนจะลวกเผาไหม้มือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป

        สัตบุรุษ ผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมขาว ท่านเรียกว่าผู้มีธรรมของเทวดาในโลก

ขุ. ชา. เอก. 27/6/3


2.8 เหตุที่ทำให้เกิดหิริ

       1. คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล เรานี้มีบุญอุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ ทำไมต้องมาขโมยเขากิน นั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน ทำไมต้องมาแย่งผัวแย่งเมียเขาไม่ใช่หมูหมากาไก่ในฤดูผสมพันธุ์นี่ เรานี่มันชาติคน เป็นมนุษย์สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว พอคำนึงถึงชาติตระกูล หิริก็เกิดขึ้น

       2. คำนึงถึงอายุ โธ่เอ๋ย เราก็แก่ป่านนี้แล้ว จะมานั่งเกี้ยวเด็กสาวๆ คราวลูกคราวหลานอยู่ได้อย่างไรโธ่เอ๋ย เราก็แก่ป่านนี้แล้วจะมาขโมยของเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างไร พอคำนึงถึงวัย หิริก็เกิดขึ้น

   3. คำนึงถึงความดีที่เคยทำ เราก็เคยมีความองอาจกล้าหาญ ทำความดีมาก็มากแล้ว ทำไมจะต้องมาทำความชั่วเสียตอนนี้ล่ะ ไม่เอาละ ไม่ยอมทำความชั่วละ พอคำนึงถึงความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น

       4. คำนึงถึงความเป็นพหูสูต ดูซิ เราก็มีความรู้ขนาดนี้แล้ว รู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ รู้สารพัดจะรู้แล้วจะมาทำความชั่วได้อย่างไร พอคำนึงถึงความเป็นพหูสูต หิริก็เกิดขึ้น

      5. คำนึงถึงพระศาสดา เราเองก็ลูกพระพุทธเจ้า พระองค์สู้ทนเหนื่อยยาก ตรัสรู้ธรรมแล้วทรงสั่งสอนอบรมพวกเราต่อๆ กันมา เราจะละเลยคำสอน ของพระองค์ไปทำชั่วได้อย่างไร พอคำนึงถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น

     6. คำนึงถึงครูอาจารย์สถานศึกษาสึ เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกัน ครูอาจารย์สู้อบรมสั่งสอนมาชื่อเสียง ถาบันของเราก็โด่งดังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญ แล้วเราจะมาทำชั่วได้อย่างไร พอคำนึงถึงครูอาจารย์สำนักเรียน หิริก็เกิดขึ้น


2.9 เหตุที่ทำให้เกิดโอตตัปปะ

     1. กลัวคนอื่นติ นี่ถ้าเราขืนไปขโมยของเขาเข้า คนอื่นรู้คงเอาไปพูดกันทั่ว ชื่อเสียงที่เราอุตส่าห์สร้างมาอย่างดี คงพังพินาศหมดคราวนี้เอง เมื่อกลัวว่าคนอื่นเขาจะติเอา โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

      2. กลัวการลงโทษ อย่าดีกว่า ขืนไปฆ่าเขาเข้า บาปกรรมตามทัน ตำรวจจับได้ มีหวังติดคุกตลอดชีวิตแน่ เมื่อกลัวว่าบาปจะส่งผลให้ถูกลงโทษ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

      3. กลัวการเกิดในทุคติ ไม่เอาละ ขืนไปขโมยของเขาอีกหน่อยต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ไม่ทำดีกว่า เมื่อกลัวว่าจะต้องไปเกิดในทุคติ โอตตัปปะก็เกิดขึ้นจึงไม่ยอมทำบาป


ข้อเตือนใจ

     การทำชั่วเหมือนการเดินตามกระแสน้ำ เดินไปได้ง่าย ทุกๆ คนพร้อมที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามกระแสกิเลสอยู่แล้ว ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ยอมตกเป็นทา ของกิเลสกระทำสิ่งต่างๆ ตามอำนาจของความอยากก็จะประสบทุกข์ในบั้นปลาย

    การทำดี เหมือนการเดินทวนกระแสน้ำ เดินลำบาก ต้องใช้ความอดทน ใช้ความมานะพยายามต้องระมัดระวังไม่ให้ลื่นล้ม การทำความดีเป็นการทวนกระแสกิเลสในตัว ไม่ทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจคำนึงถึงความถูก ความดีเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมเป็นทาสของความอยาก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ ใช้ความมานะพยายามสูง แต่จะประสบสุขในบั้นปลาย

      การทำกลางๆ เหมือนยืนอยู่เฉยๆ กลางกระแสน้ำ ไม่ช้าก็ถูกกระแสน้ำพัดพาไปได้ คนที่คิดว่าฉันอยู่ของฉันอย่างนี้ก็ดีแล้ว ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร แต่ความดีฉันก็ไม่สนใจที่จะทำ เข้าทำนองบุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง วัดไม่เข้า เหล้าไม่กิน เขาย่อมจะมีโอกาสเผลอไปทำความชั่วได้ในไม่ช้า เพราะใจของคนเราพร้อมที่จะไหลเลื่อนลงไปในที่ต่ำตามอำนาจกิเลสอยู่แล้ว ผู้ที่คิดอย่างนี้จึงเป็นคนประมาทอย่างยิ่ง

     ดังนั้นเราชาวพุทธทั้งหลาย นอกจากจะต้องพยายามงดเว้นบาปเพื่อป้องกันใจของเราไม่ให้ไหลเลื่อนไปทางต่ำแล้วจะต้องหมั่นยกใจของเราให้สูงอยู่เสมอ ด้วยการขวนขวายสร้าง มบุญกุศลอยู่เป็นนิตย์ ด้วยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น


2.10 อานิสงส์การงดเว้นบาป

1. ทำให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย
2. ทำให้เกิดมหากุศลตามมา
3. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน
4. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
5. ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น
6. ทำให้จิตใจผ่องใสพร้อมที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงต่อไป
ฯลฯ

     บัณฑิตเห็นภัยในนรกทั้งหลายแล้ว พึงงดเว้นบาปทั้งหลายเสีย พึง มาทานอริยธรรมแล้วงดเว้นเมื่อความบากบั่นมีอยู่ ชนไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ และรู้อยู่ไม่พึงพูดมุสา และไม่พึงหยิบฉวยของที่เขาไม่ให้ และพึงเป็นผู้ยินดีด้วยภรรยาของตน พึงงดภรรยาของคนอื่น และไม่พึงดื่มเมรัยสุราอันยังจิตให้หลง

อง. ปฺจก. 22/179/238

 

3. มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

ไม้ขีดเพียงก้านเดียวอาจเผาผลาญเมืองทั้งเมืองให้มอดไหม้ไปได้ฉันใด
น้ำเมาเพียงเล็กน้อยก็อาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่างของเราได้ฉันนั้น


3.1 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา หมายถึงอะไร

     น้ำเมา โดยทั่วไปหมายถึงเหล้า แต่ในที่นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั้งสิ่งเสพติดทุกชนิด

      ดื่ม ในที่นี้หมายถึง การทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่า จะโดยวิธี ดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีดก็ตาม

      สำรวม หมายถึง ระมัดระวังในนัยหนึ่ง และเว้นขาดในอีกนัยหนึ่ง


3.2 เหตุที่ใช้คำว่าสำรวม

      พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกออล์ เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้ จับต้องไม่ได้ คนตายแล้วเอาแอลกออล์มาเช็ด ล้างศพก็ไม่ได้ เพราะเป็นของบาป

      แต่ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น เพราะทรงมองเห็นว่า เหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์ แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น มอร์ฟีนใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้า กัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้ รักษาโรค คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรสไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้วหาข้ออ้าง นำเหล้ามาทั้งขวดเอายาใส่ไปนิดหน่อย อย่างนั้นเป็นการเอายามากระสายเหล้า ใช้ไม่ได้

     โดยสรุปสำรวมจากการดื่มน้ำเมาจึงหมายถึง การระมัดระวังเมื่อใช้สิ่งเสพติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม


3.3 โทษของการดื่มน้ำเมา

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง รุปโทษของการดื่มสุราไว้ 6 ประการ คือ

    1. ทำให้เสียทรัพย์ เพราะไหนจะต้องซื้อเหล้ามาดื่มเอง ไหนจะต้องเลี้ยงเพื่อน งานการก็ไม่ได้ทำดังนี้แม้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าติดเหล้าก็อาจจะล่มจมได้

    2. ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพราะกินเหล้าแล้วขาดสติไม่สามารถ ควบคุมตนเองได้ จะเห็นได้ว่าในวงเหล้ามักจะมีเรื่องชกต่อยตีรันฟันแทงอยู่เสมอ เพื่อนรักกันพอเหล้าเข้าปากประเดี๋ยวเดียวก็ฆ่ากันเสียแล้ว

     3. ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง ทั้งโรคตับแข็ง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตใน มองแตกโรคทางระบบประสาท ฯลฯ

       4. ทำให้เสียชื่อเสียง เพราะไปทำสิ่งที่ไม่ดีเข้า ใครรู้ว่าเป็นคนขี้เมา ก็จะดูถูกเหยียดหยามไม่มีใครไว้วางใจ

     5. ทำให้แสดงอุจาดขาดความละอาย พอเมาแล้วอะไรที่ไม่กล้าทำ ก็ทำได้ จะนอนอยู่กลางถนนจะเอะอะโวยวาย จะถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะทำได้ทั้งนั้น

    6. ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย พอเมาแล้ว จะคิดอะไรก็คิดไม่ออก อ่านหนังสือก็ไม่ถูก พูดจาวกวนพอดื่มมากๆ เข้าอีกหน่อยก็กลายเป็นคนหลง ลืม ปัญญาเสื่อม

    เหล้าจึงผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง ผลาญทรัพย์ ผลาญไมตรี ผลาญสุขภาพ ผลาญเกียรติยศผลาญศักดิ์ศรี ผลาญสติปัญญา

      การดื่มเหล้านั้นทำให้เกิดความสุขได้บ้างสำหรับคนที่ติด แต่เป็นความสุขหลอกๆ บนความทุกข์เหล้าทำให้เพลิดเพลิน แต่เป็นการเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า

      การดื่มน้ำเมา นอกจากจะเป็นการมอมเมาตัวเองวันแล้ววันเล่า ยังเป็นการบั่นทอนทุกสิ่งทุกอย่างของตนเองอีกด้วย แม้ที่สุดความสุขทางใจที่คนเมาเห็นว่าตนได้จากการเสพสิ่งเสพติดนั้นก็เป็นความสุขจอมปลอม


3.4 โทษข้ามภพข้ามชาติขิงการดื่มสุรา

   เหล้าไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

      1. ทำให้เกิดเป็นคนใบ้ พวกนี้ตายในขณะเมาเหล้า คนที่เมาเหล้ากำลังได้ที่ ลิ้นจุกปากกันทั้งนั้น พูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง แบะๆ พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ กรรมยังติดตามมาเลยเป็นคนใบ้

       2. ทำให้เกิดเป็นคนบ้า พวกนี้ภพในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน วิบากกรรมนั้นติดตัวมาในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยินเสียงคนมากระซิบบ้าง เห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง

       3. จึงทำให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน พวกที่ดื่มเหล้าจัดๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้วด้วยกรรมสุรานี้จึงส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน

     4. ทำให้เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ว่าจะเป็น ตะกวด งู เหี้ย มาจากพวกขี้เมาทั้งนั้นพวกนี้ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคน พอตายไปก็ได้เกิดมาคลานสมใจนึก


3.5 วิธีเลิกเหล้าให้ได้อย่างเด็ดขาด

1. ตรองให้เห็นโทษ ว่าสุรามีโทษมหันต์ดังได้กล่าวมาแล้ว
2. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือกับพระภิกษุ
3.สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้าตัวอย่าง ขนไปทิ้งให้หมด
ถือเป็นของเสนียด นำอัปมงคลมาสู่บ้าน
4. นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มาก ว่าเราเป็นชาวพุทธ เป็นลูกพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครูเป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้
5. เพื่อนขี้เหล้าขี้ยาทั้งหลาย พยายามหลีกเลี่ยงออกห่าง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็มาชวนเราไปดื่มเหล้าอีก ข้อนี้สำคัญที่สุด ตราบใดยังคลุกคลีสนิทสนมกับเพื่อนขี้เหล้าอยู่ ยากจะเลิกเหล้าได้


3.6 อานิสงส์การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา

1. ทำให้เป็นคนมีสติดี
2. ทำให้ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา
3. ทำให้ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท
4. ทำให้รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว
5. ทำให้ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน
6. ทำให้มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง
7. ทำให้มีชื่อเสียง เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป
8. ทำให้มีความกตัญูกตเวที
9. ทำให้ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด
10. ทำให้ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
11. ทำให้มีหิริโอตตัปปะ
12. ทำให้มีความเห็นถูก มีปัญญามาก
13. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

 

4. มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรม

ในการก่อสร้างอาคาร
จำเป็นต้องมีเสาเป็นหลักค้ำจุนตัวอาคารไว้ฉันใด
ในการสร้างความดีทุกชนิด
ก็จำเป็นต้องมีความไม่ประมาท
เป็นแกนหลักรองรับฉันนั้น


4.1 ความไม่ประมาท คืออะไร

      ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้นใส่ใจสำนึกอยู่เสมอ ในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา

      ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง กล่าวได้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด เมื่อสรุปแล้วก็คือคำสอนให้เราไม่ประมาท ดังจะเห็นได้จากปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลายสังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

(มหาปรินิพพานสูตร) ที. ม. 10/143/180


4.2 ไม่ประมาทในธรรมหมายความว่าอย่างไร

        คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาแปลเอาความท่านแปลว่าเหตุหมายถึงต้นเหตุ ข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกข้อ ถ้าดูให้ดีแล้วล้วนแต่เป็นคำบอกเหตุทั้งสิ้นคือบอกว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนั้น หรือไม่ก็บอกว่าผลอย่างนี้เกิดมาจากเหตุอย่างนั้น เช่น ความขยันหมั่นเพียรเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ความเกียจคร้านเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม

      ดังนั้น ไม่ประมาทในธรรม จึงหมายถึง ไม่ประมาทในเหตุ ให้มีสติรอบคอบ ตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้บังเกิดผลดีตามมานั่นเอง


4.3 ลักษณะของผู้ที่ยังประมาทอยู่

     1. พวกกุสีตะ คือ พวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี เป็นพวกเกียจคร้าน เช่น เวลาเรียนไม่ตั้งใจเรียนแต่อยากสอบได้ งานการไม่ทำ แต่ความดีความชอบจะเอา ไม่ทำประโยชน์แก่ใคร แต่อยากให้คนทั้งหลายนิยมชมชอบ ทานศีลภาวนาไม่ปฏิบัติ แต่อยากไปสวรรค์ไปนิพพาน ฯลฯ

    2. พวกทุจริตะ คือ พวกทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี เป็นพวกทำอะไรตามอำเภอใจ แต่อยากได้ผลดี เช่น ทำงานเหลวไหลเสียหาย แต่พอถึงเวลา พิจารณาผลงานอยากได้เงินเดือนเพิ่ม 2 ขั้น ปากเสียเที่ยวด่าว่าชาวบ้านทั่วเมือง แต่อยากให้ทุกคนรักตัว ฯลฯ

     3. พวกสิถิละ คือ พวกทำเหตุดีเล็กน้อยแต่จะเอาผลดีมากๆ เป็นพวกค้ากำไรเกินควร เช่น จุดธูป 3 ดอกบูชาพระ แต่จะเอาสวรรค์วิมาน มีนางฟ้าเทวดาคอยรับใช้นับหมื่นนับแสน อ่านหนังสือแค่ 1 ชั่วโมง แต่จะเอาที่ 1 ในชั้น เลี้ยงข้าวเขาจานหนึ่ง แต่จะให้เขาจงรักภักดีต่อตัวไปจนตาย

      รวมความแล้วผู้ที่ยังประมาทอยู่มี 3 จำพวก คือ พวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุเลวแต่จะเอาผลดี และพวกทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมากส่วนผู้ไม่ประมาทในธรรม มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับคน 3 จำพวกดังกล่าว คือจะต้องไม่เป็นคนดูเบาในการทำเหตุ ต้องทำแต่เหตุที่ดี ทำให้เต็มที่ และทำให้สมผลผู้ที่ไม่ประมาททุกคนจะต้องมีสติอยู่เสมอ


4.4 สติคืออะไร

       สติ คือความระลึกนึกได้ถึงความผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้องทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้

      ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับ ก็จะกลายเป็น ความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ


4.5 หน้าที่ของสติ

     1. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือระแวงในสิ่งที่ควรระแวงและระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต ความระแวง หมายถึง ความกริ่งเกรงล่วงหน้าว่าจะมีความเสียหาย อันใดเกิดขึ้น เช่นคนกำลังขับรถขณะฝนตก ถนนลื่น ก็ระแวงว่ารถจะคว่ำ ระแวงว่าจะมีรถอื่น วนมาในระยะกระชั้นชิดส่วนความระวัง คือการป้องกันไม่ให้ภัยชนิดนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ลดความเร็วลง ตั้งใจขับมากขึ้นอย่างนี้เป็นต้น

     2. สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไปในสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มี สติยับยั้งตัวเองไว้ว่าอย่าไป เพราะเป็นโทษต่อตัวเอง ฯลฯ

  3. สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรค นอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี

     4. สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือเมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้ว ก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ

     5. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

     6. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้นๆเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร


4.6 คำอุปมาของสติ

      สติเสมือนเสาหลัก ปักแน่นในอารมณ์ คือคนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิด ฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้งทะลุปรุโปร่ง ท่านจึงเปรียบสติเสมือนเสาหลัก

     สติเสมือนนายประตู คือ สติจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่างๆ ที่จะผ่านเข้ามากระทบใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนเฝ้าดู ถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อน ปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน

     สติเสมือนขุนคลัง เพราะคอยตรวจตราอยู่ทุกเมื่อ ว่าของที่ได้เข้ามาและใช้ออกไปมีเท่าไรงบบุญงบบาปของเราเป็นอย่างไร ตรวจตราดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ยอมให้ตัวเองเป็นหนี้บาป

    สติเสมือนหางเสือเพราะ ติจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเรา ให้มุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คอยระมัดระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น ไม่ให้ตัวของเราไปทำในสิ่งที่ไม่ควร


4.7 ประโยชน์ข์ของสติ

      1. ควบคุมรักษา ภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น เมื่อจะดูหนังสือก็สนใจคิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิใจก็จรดนิ่งสงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เพราะฉะนั้นที่ใดมีสติ ที่นั่นมีสมาธิ ที่ใดมีสมาธิ ที่นั่นมีสติ

     2. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ใน ภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทา ของอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดย ภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความ เป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม

    3. ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระมีพลัง เพราะมีสติควบคุม เสมือนเรือที่มีหางเสือควบคุมอย่างดีย่อมสามารถแล่นตรงไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่วกวน

     4. ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริบูรณ์

     5. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติจึงไม่เผลอไปเกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์


4.8 การฝึกสติให้เป็นคนไม่ประมาท

     1. มีสติระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้าก็มีสติระลึกได้ทันทีว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาปหรือไม่ ถ้าเป็นบาปก็ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

      2. มีสติระลึกถึงการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะทำอะไรก็มีสติระลึกได้เสมอว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบุญเป็นกุศลหรือไม่ ถ้าเป็นกุศลจึงทำ

      3. มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมิเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกายสัตว์เดียรัจฉาน นั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลยเพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิเช่นนั้น

     4. มีสติระลึกถึงความทุกข์ อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในวัฏ สงสารอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่าถ้าเรายังต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่อย่างนี้ ก็ต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป จึงหาโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อให้เข้านิพพานให้ได้เร็วที่สุดจะได้หมดทุกข์ เมื่อระลึกเช่นนี้บ่อยๆ ย่อมไม่หลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองได้ในที่สุด

     5. มีสติระลึกถึงกรรมฐานภาวนาที่จะละราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาด จากสันดานอยู่เนืองๆ มิได้ขาดมีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้น ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ ว่าใจของเราจะเข้มแข็งทรงพลัง เอาชนะความทะยานอยากต่างๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุด คือ การฝึกทำสมาธิจึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ


4.9 สิ่งที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง

     1. ไม่ประมาทในเวลา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่อย่ามัวเมาทำในสิ่งไร้สาระ เช่น เล่นไพ่ คุยโม้ ดูแฟชั่น ให้เร่งรีบทำงานให้เต็มที่แข่งกับเวลาเพราะเวลามีน้อย เมื่อกลืนกินชีวิตไปแล้วก็เรียกกลับคืนไม่ได้

     2. ไม่ประมาทในวัย มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าตัวยังเป็นเด็กอยู่ จึงเที่ยวเล่นเพลิดเพลินไปวันหนึ่งๆ เพราะถ้านับอายุตั้งแต่ชาติแรกๆ จนถึงบัดนี้ แต่ละคนต่างมีอายุคนละหลายกัปแล้ว

     3. ไม่ประมาทในความไม่มีโรค มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเราจะแข็งแรงอยู่อย่างนี้ตลอดไปถ้ากรรมชั่วในอดีตตามมาทันอาจป่วยเป็นโรค ไม่สบายเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่นี้ต้องรีบขวนขวายสร้างความดีให้เต็มที่

      4. ไม่ประมาทในชีวิต มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเรายังมีชีวิตอยู่สุข บายดี เราจะยังมีชีวิตอยู่อีกนาน เพราะจริงๆ แล้วเราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า จึงควรเร่งรีบขวนขวายในการละความชั่วสร้างความดีและทำจิตใจให้ผ่องใสอย่างเต็มที่ ทุกรูปแบบ ทุกโอกาส

      5. ไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่าจะทำงานทุกอย่าง ที่มาถึงมือให้ดีที่สุดทำอย่างทุ่มเทไม่ออมมือ ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ไม่ท้อถอย ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

      6. ไม่ประมาทในการศึกษา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะขวนขวายหาความรู้อย่างเต็มที่ อะไรที่ควรอ่านควรท่องก็จะรีบอ่านรีบท่องโดยไม่แชเชือน ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจไขปัญหาชีวิตทุกๆ อย่าง

     7. ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะปฏิบัติธรรมอย่าง สม่ำเสมอไม่ย่อท้อโดยเริ่มตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่รอจนแก่ค่อยเข้าวัด จะฟังเทศน์ก็หูตึงฟังไม่ถนัด จะนั่งสมาธิก็ปวดเมื่อยขัดยอกไปหมดลุกก็โอย นั่งก็โอย เมื่อระลึกได้เช่นนี้จึงมีความเพียรใส่ใจในการปฏิบัติธรรม เพราะทราบดีว่าการปฏิบัติธรรม
นั้น ทำให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้า และเป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดแห่งชีวิต คือ นิพพาน


4.10 อานิสงส์การไม่ประมาทในธรรม

1. ทำให้ได้รับมหากุศล
2. ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ตายสมดังพุทธวจนะ
3. ทำให้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ
4. ทำให้คลายจากความทุกข์
5. ทำให้เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี
6. ย่อมมีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่นๆ
7. ย่อมได้รับความสุขในการดำรงชีพ
8. เป็นผู้ตื่นตัว ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี
9. ความชั่วความไม่ดีต่างๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยพลัน
ฯลฯ

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ

ขุ. ธ. 25/12/18

เวลาใด บัณฑิตกำจัดความประมาท ด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้น เขานับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท คือปัญญา
ไร้ความเศร้าโศกสามารถมองเห็นประชาชนผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา
มองลงมาเห็นฝูงชน ที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น

ขุ. ธ. 25/12/18


 


หนังสือ GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.027304685115814 Mins