วันตรุษจีน

วันที่ 28 มค. พ.ศ.2560

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ

วันตรุษจีน

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

       ตรุษจีน  เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่  หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
 

ตรุษจีนในประเทศไทย
           ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว

- วันจ่าย
         คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา

- วันไหว้
          - ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย"  เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
        - ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ"  คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
        - ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋"  เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

       - วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก"  ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ  แปลว่า โชคลาภ หรือ ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า "ก้าม"  ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง  เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

 

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

การไหว้เจ้า
       เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ

- ไหว้ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”

- ไหว้ครั้งที่สอง ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย”

- ไหว้ครั้งที่สาม ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง” เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย

- ไหว้ครั้งที่สี่ ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย” เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง

- ไหว้ครั้งที่ห้า ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย”

- ไหว้ครั้งที่หก ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย” ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์

- ไหว้ครั้งที่เจ็ด ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย”

- ไหว้ครั้งที่แปด ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย”


        ประเพณีการไหว้เจ้าทั้ง 8 ครั้งนี้ มีคำจีนเฉพาะเรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” โป๊ย คือ 8 โจ่ย แปลว่า เทศกาล โป๊ยโจ่ย จึงหมายความว่า การไหว้เจ้า 8 เทศกาล ซึ่งนอกจากการไหว้เจ้า 8 เทศกาลนี้แล้ว บางบ้านอาจมีวันไหว้พิเศษกับเจ้าบางองค์ที่นับถือศรัทธา คือ

- ไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่า “ทีกงแซ” หรือ “ทีตี่แซ” ก็ได้ ตรงกับวันที่ 9 เ เดือน 1 ของจีน

- ไหว้อาเนี้ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 เดือน 2, วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9

- ไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3

- ไหว้เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3

- ไหว้อาพั้ว “อาพั้ว” คือ พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก วันเกิดอาพั้ว หรือ “อาพั้วแซ” ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี


ไหว้เจ้าเตา ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า “ไหว้เจ๊าซิ้ง”

      การไหว้เจ้าพิเศษนี้ แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละบ้านและแล้วแต่ความจำเป็น เช่น ถ้าที่บ้านไม่มีเด็ก ก็ไม่จำเป็นต้องไปไหว้อาพั้ว หรือถ้าที่บ้านไม่ได้ทำนาทำไร่ก็ไม่มีที่ และไม่มีความจำเป็นต้องไหว้โท้วตี่วิ้ง หรือเทพยดาผืนดินเมื่อพูดถึงการไหว้เจ้า จะหมายถึงการไหว้เจ้าที่กับไหว้บรรพบุรุษ เครื่องเซ่นสำหรับไหว้เจ้าที่จะจัดเป็น 1 ชุด เครื่องเซ่นสำหรับบรรพบุรุษจะจัดเป็นอีกชุดต่างหาก การไหว้จะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้เจ้าที่ก่อน พอสายหน่อยจึงจะตั้งโต๊ะ ไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งของไหว้จะมีของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม โดยมีกับข้าวคาวเพิ่มเข้ามาสำหรับการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องให้มีของน้ำ 1 อย่าง เช่น แกงจืด

         นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมการไหว้ที่เรียกว่า”ไป๊เจีย “คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “กา” ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือเป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น


การจัดของไหว้วันตรุษจีน

        ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพง และหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย”

         หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี

         ไก่ มีมงคล 2 อย่างคือ

- หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน
- ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน
- ตับ คำจีนเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับคำว่า กัว ที่แปลว่าขุนนาง
- ปลา คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮื้อ โดยมีวลีมงคล อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง แปลว่า ให้เหลือกินเหลือใช้ ไหว้ปลาเพื่อให้มีเงินเหลือกินเหลือใช้มาก ๆ
- กุ้งมังกร ไหว้ด้วยรูปลักษณ์ของกุ้งที่หัวใหญ่ มีก้ามให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา


        ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย”ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้ ผลไม้ที่ใช้ไหว้ จะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว

- ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
- องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
- สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
- กล้วย มีความหมายถึง การมีลูกหลานสืบสกุล

          ชุดกับข้าว หลากหลายอย่าง บางบ้านเหมือน บางบ้านต่าง ซึ่งก็ไม่เป็นไร

- ลูกชิ้นปลา จีนแต่จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ ฮื้อหรือปลา คือให้เหลือกินเหลือใช้ อี๊ แปลว่ากลมๆ หมายถึงความราบรื่น

- ผัดต้นกระเทียม เพราะคนจีนแต้จิ๋ว เรียกกระเทียมว่า สึ่ง พ้องเสียงกับสึ่งที่แปลว่านับ ไหว้ต้นกระเทียม เพื่อให้มีเงินมีทองให้ได้นับอยู่เสมอ

- ผัดตับกับกุยช่าย ตับคือ การเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับกัวที่แปลว่า ขุนนาง กุยช่ายเป็นการพ้องเสียงของคำว่ากุ่ย แปลว่า แพง รวย

- แกงจืด คนจีนเรียกว่า เช็ง-ทึง เช็ง แปลว่า ใส หวาน ซดคล่องคอ การไหว้น้ำแกงก็เพื่อให้ชีวิตลูกหลานหวานราบรื่น

- เป๊าฮื้อ เป๊า หรือ เปา แปลว่า ห่อ ส่วน ฮื้อ คือเหลือกินเหลือใช้ ไหว้เป๊าฮื้อ เพื่อห่อความมั่งคั่เหลือกินเหลือใช้มาให้ลูกหลาน

- ผัดถั่วงอก คนจีนแต้จิ๋วเรียกถั่วงอกว่า เต๋าแหง๊ แต่ภาษาวิชาการเรียกว่า เต้าเหมี่ยว เหมี่ยว แปลว่า งอกงาม ไหว้ถั่วงอกเพื่อให้งอกงามรุ่งเรือง

- เต้าหู้ เป็นคำเรียกแบบชาวบ้านที่อาจเรียกเป็นเต้าฮกก็ได้ ฮก คำนี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงเต้าหู้ว่า โต ฟู ฟู แปลว่า บุญ ความสุข

- สาหร่ายทะเล เรียกว่า ฮวกฉ่าย ถ้าออกเสียงเป็นฮวดไช้ ก็แปลว่า โชคดี ร่ำรวย


ชุดขนมไหว้ ก็ล้วนมีความหมายมงคล เช่นกัน

- ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน

- ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม

- ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่างๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว

- ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต

- ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียก คือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพองฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม

- ขนมอี๊ อี๊ หรืออี๋ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ต้มกับน้ำตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน

      ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์)โดยถือว่าเมล็ดทั้งห้า คือบ่อเกิดของการเจริญเติบโตอุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้ แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้าน ต้องใช้ข้าวสารหรือทราย มิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝนหรือน้ำค้าง จะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นการปิดท้ายรายการ


ความเชื่อในวันตรุษจีน
     - ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่

       - หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน

       - การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดง เป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตน ในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

        - วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล

        - บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี

        - การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี

      - ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมา แต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน


15 วัน แห่งการฉลองวันตรุษจีน
         วันที่ 1 ของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์ และโลกหลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้เชื่อกันว่าจะเป็นการต่ออายุ  และนำมาซึ่ง ความสุขในชีวิต

           วันที่ 2 ชาวจีนจะไหว้บรรพชน รวมถึงเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับ "สุนัข"

           วันที่ 3-4 เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่ พ่อตา แม่ยาย ของตน

           วันที่ 5 เรียกว่า "พูวู" ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้าน เพื่อต้อนรับการมาเยือนของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย

        วันที่ 6 ชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง พร้อมทั้งไปวัดสวดมนต์ เพื่อความร่ำรวย และความสุข

           วันที่ 7 ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวไร่ ชาวนา นำเอาผลผลิตของตนออกมาทำน้ำที่ทำมาจาก ผักเจ็ดชนิด เพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิดของมนุษย์ และอาหารในวันนี้จะเป็น หมี่ซั่ว-กินเพื่อชีวิตที่ยาวนาน และปลาดิบ-กินเพื่อความสำเร็จ

           วันที่ 8 ชาวฟูเจี้ยน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคื นทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์

           วันที่ 9 สวดมนต์ไหว้พระ และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้

           วันที่ 10-12 เป็นวันของเพื่อน และญาติพี่น้อง ซึ่งเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น

           วันที่ 13 ถือเป็นวันที่ควรทานข้าวธรรมดา กับผักดอง ถือเป็นการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธ์

           วันที่ 14 เป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟ

           วันที่ 15 คืนแห่งการฉลองโคมไฟวันตรุษจีน


ตัวอย่างคำอวยพร

- ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวังปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

- เจาไฉจิ้นเป้า เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติเข้าบ้าน

- ฟู๋ลู่ซวงฉวน ศิริมงคลเงินทองอำนาจวาสนา

- กงซีฟาไฉ ขอแสดงความยินดีที่คุณร่ำรวย

- จู้หนี่เจี้ยนคัง ขอให้คุณสุขภาพแข็งแรง

- จู้หนี่ฉางโส่ว ขอให้คุณอายุยืนยาว

- จู้หนี่ซุ่นลี่ ขอให้คุณประสบความสำเร็จ

- จู้หนี่อี๋ลู่ซุ่นเฟิง ขอให้คุณเดินทางโดยความปลอดภัย

- จู้เห้อซินเหนียน การอวยพรปีใหม่

- จู้เห้อเซริงรื่อ การอวยพรวันเกิด

- จ่ายหงวนก้องเจี่ยน เงินทองไหลมาเทมา

- หง่อฮกหลิ่มห บุญทั้งห้ามาถึงประตู

- กิ้มยกหมั่วต๋อง เงินทองเต็มบ้าน

- จิดจู๋นห้องสูน ราบรื่นลิ่วลม

- บ่านสู่อยู่อี่ ทุกเรื่องสมปรารถนา

- หับเก้เป่งอ้าน ทั้งบ้านสงบสุข

- เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ

- ตั่งตังยู่อี่ ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
 

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

อั่งเปา
      - สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

         - อั้งเปา ในวันตรุษจีน มีคำจีนโบราณเรียกว่า “เอี๊ยบซ้วยจี๊” เป็นเงินสิริมงคลที่ผู้ใหญ่ให้แก่ลูกหลาน เพื่ออวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญก้าวหน้า

        - ธรรมเนียมหนึ่งในวันตรุษจีนคือการไป “ไป๊เจีย” หรือการไปไหว้ขอพร และอวยพรผู้ใหญ่ หรือญาติมิตร โดยส้มสีทอง 4 ผลห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าผู้ชาย ที่นิยม ใช้กันแต่ส้มสีทอง ไม่ใช้ส้มเขียว เพราะสีทองเป็นสีมงคล ทองอร่ามเรืองจะอวยพรให้รุ่งเรือง เช่นเดียวกับส้ม ที่คนจีนเรียกว่า ไต้กิก แปลว่า โชคดี ส้มสีทองที่ มอบแก่กันคือ นัยอวยพรให้ “นี้นี้ไต้กิก” แปลว่า ทุกๆ ปีให้โชคดีตลอดไป
 

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

ประทัด
        จุดประทัดการจุดประทัด  ธรรมเนียมจุดประทัด เกิดจากในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็กๆ แล้วจุด เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า บรรดาสุนัข และสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้ ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้ ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า นี้ แปลว่า ปี คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก เพราะเจ้าตัวเหนียนออกมาอาละวาด การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บให้ตกใจกลัวหนีไปได้ แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า จุดประทัดให้เสียงดังๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา บ้างก็ว่า เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง
 

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

การเชิดสิงโต
         เชิดสิงโต เป็นการละเล่นของชาวจีนเหนือ และจีนใต้ ทางเหนือนิยมเล่นกันในช่วงตรุษจีน ส่วนทางจีนใต้นิยมการเชิดสิงโตมากกว่า นอกจากจะเล่นกันในช่วงมีงานแห่เจ้าแล้ว แม้แต่พิธีเซ่นสังเวยเพื่อขอฝนหลังงานเทศกาลงานชุนนุมใหญ่ ก็จะต้องมีรายการเชิดสิงโตด้วยการเชิดสิงโตของชาวจีนใต้ครึกครื้นและโลดโผนกว่าทางเหนือมากนัก เมื่อใกล้ถึงวันตรุษจีน ก็จะมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งจัดให้มีการเชิดสิงโต ซึ่งเรียกว่า “ ซิ่งฮุ่ย” โดยไปขอเงินบริจาคจากพวกคหบดี และก็จะมีอีก กลุ่มหนึ่งจัดเครื่องดนตรีและเตรียมทำตัวสิงโตสำหรับวันงานเมื่อเตรียมงานแล้วผู้จัดงานก็จะประกาศเส้นทางที่ขบวนสิงโตจะผ่านให้ชาวบ้านทราบ พอวันงานมาถึงหัวหน้าทีมจะนำเอาสิงโตไปแสดงความเคารพต่อคหบดี และมือกลองก็เริ่มตีกลอง จากนั้นก็เริ่มแสดงการเชิดสิงโต เมื่อมีบ้านใดนำเอาซองรางวัลไปแขวนไว้บนยอดไม้ ยิ่งสูงเท่าใดผู้แสดงก็ต้องต่อตัวกันขึ้นไปเพื่อเอาซองรางวัลนั้น การเชิดสิงโตแบบนี้เรียกว่า “ ซิ่งจือไชชิง” สิงโตที่เชิดนี้มักทำด้วนแกนไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษสี แล้วใช้ผ้าปักไหมทำเป็นตัวสิงโตมีการเชิดอีกแบบหนึ่งที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าเรียกว่าชุดสิงโตกินประทัด เนื่องจากการเชิดชุดนี้สิงโตต้องกินประทัดตลอดเวลา


การเชิดมังกร
         มังกรแม้เป็นสัตว์ในเทพนิยาย แต่ชาวจีนให้ความสำคัญต่อมังกรมาก เพราะมังกรเป็นเทพผู้กำหนดให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลสามารถ ให้ความอุดมสมบูรณ์ ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทั้งยังเป็นสัตว์สิริมงคลที่ชาวจีนนับถือมานาน การเชิดมังกรจะเริ่มเมื่อใดนั้นยากที่จะกำหนดให้แน่ชัดลงไปแต่เนื่องจากมังกรเป็นเทพแห่งลม และฝน สามารถเปลี่ยนลมให้กลายเป็นฝน และกลับก้อนเมฆให้ฝนตกพิธีขอฝน จึงขาดการเซ่นไหว้มังกรไปไม่ได้ จากพิธีกรรมทางศาสนาในการเซ่นไหว้นี้เอง ก็ได้กลายมาเป็นการละเล่นพื้นบ้านในเวลาต่อมา หมิงตงจิงเปิ่งหวาลู่ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งได้กล่าวไว้ว่าการละเล่นของชาวจีนในวันเทศกาลหยวนเชียว ว่า “มีประตูซ้ายขวา 2 ข้าง จะใช้หญ้าผูกมัดให้ดูเป็นรูปมังกรที่หญ้าจะติดดวงไฟไว้เป็นหมื่นดวงแล้วคลุมด้วยผ้าสีเขียวข้างบนอีกครั้ง ดูไกล ๆ เหมือนตัวมังกรคดเคี้ยวไปมา คล้ายมังกรกำลังเหินฟ้าสวยงามยิ่งนำ”จากข้อความนี้จะเห็นว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น การแสดงโคมไฟมังกรก็เป็นที่นิยมกันแล้วในปัจจุบันนี้การเชิดมังกรเป็น ที่รู้จักกันทั่วไป ทั้งจีนทางเหนือและทางใต้การแสดงดูจะครึกครื้นมากกว่าการเชิดสิงโตเสียอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิดมังกรในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นงานเชิดที่ยิ่งใหญ่หรือแม้ในงานแห่เจ้า ก็จะเว้นการเชิดมังกรเงินและมังกรทองเสียไม่ได้เช่นกัน

          การเชิดมังกรจะเชิดในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ถ้าเชิดเวลากลาวงวันก็ไม่ต้องมีโคมไฟหรือดวงไฟ ถ้าเชิดกลางคืนดวงไฟต่าง ๆ จะทำให้มังกรดูสวยงาม มากขึ้น ทั้งยังสามารถให้ความสว่าง ในเส้นทางที่ขบวนมังกรผ่านอีกด้วย ตัวมังกรจะทำด้วยโครงไม้ไผ่แล้วคลุมด้วยผ้าแพรปักลวดลายสวยงาม โดยเย็บเป็นเกล็ดด้วย ผ้าหลากสีก็ได้หรือจะนำเอาหญ้าและแผ่นกระดาษทำเป็นตัวมังกรแล้วตกแต่งด้วยสีสันก็ได้ เมื่อมีคนเชิดตัวมังกรก็ต้องมีอีกคนหนึ่งเชิดลูกแก้ว ทั้งนี้เพราะลูกแก้ว เป็นของวิเศษที่มังกรชอบมากที่สุด บางครั้งก็จะมีคนใส่หน้ากากเป็นพระหัวโตทำหน้าที่ล่อมังกร ให้เดินไปมาในท่าทางต่าง 
 

ตรุษจีน , เทศกาลตรุษจีน , วันไหว้เจ้า , เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ , เทศกาลตรุษจีน , อั่งเปา , ประทัด , เชิดสิงโต , เชิดมังกร , ปีใหม่จีน

สิบอย่างที่ต้องกระทำใน “วันตรุษจีน”
        คนส่วนมากรู้จัก “ตรุษจีน” ว่าเป็นวันรับ “อั่งเปา” แต่จริงๆ แล้วตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่จีน คนจีนก็มีกิจกรรมคล้ายๆ กับคนไทยกระทำในวันปีใหม่ คือเป็นวันพบปะญาติมิตร ไหว้พระ อวยพรผู้ใหญ่ ส่วนอั่งเปานั้นเป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ ที่สร้างความสุขความตื่นเต้นให้กับเด็กน้อย ตรุษจีนคือ “วันชิวอิก” วันแรกของปี จะเริ่มต้นเมื่อหลังเที่ยงคืนของ “วันซาจั๊บ” ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี เรียกอีกอย่างว่า “วันถือ” เพราะถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นมงคล ทั้งนี้ กิจที่คนจีนจะต้องกระทำในเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่ “วันจ่าย” ซึ่งเป็นวันจ่ายตลาดเตรียมข้าวของสำหรับไหว้ในวันรุ่งขึ้น รวมทั้งเป็นวันจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง

      1. ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ วันซาจั๊บ ช่วงเช้าหลังจากไหว้เจ้าในบ้าน คือ “ตีจูเอี๊ย” ไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงจึงไหว้ ผีไม่มีญาติ ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะของผู้ไหว้ และมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร เกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติพกไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย เมื่อไหว้เสร็จจะจุดประทัด จากนั้นจะโปรยข้าวสารผสมเกลือ ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป

     2. รวมญาติกินเกี๊ยว ความสำคัญอีกประการของตรุษจีน คือเป็นวัน รวมญาติ โดยทุกคนจะเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวในวันซาจั๊บมื้อสุดท้ายก่อน ขึ้นปีใหม่ และที่ต้องเป็น “เกี๊ยว” ก็เพราะลักษณะของเกี๊ยวที่เหมือนกับ “เงิน” ของจีน ให้ความหมายว่า ให้มั่งมีเงินทอง

      3. กินเจมื้อเช้า คือมื้อแรกของปี ส่วนในวันชิวอิก คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี เชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี

    4. ทำพิธีรับ “ไช่ซิงเอี้ย” “ไช่ซิงเอี้ย” เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บจน ถึงก่อนตี 1

     5. ห้ามกวาดบ้าน ก่อนตรุษจีน จะมีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่ เมื่อถึงวันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวสี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น วันแรกของการเริ่มต้นทำงาน เพราะถือว่าจะกวาดเอาสิ่งที่เป็นมงคลทิ้งไป แต่ถ้าบ้านใครสกปรกจนทนไม่ไหว ก็จะกวาดเข้าคือ กวาดจากหน้าบ้านเข้าไปในบ้าน

     6. ติด “ตุ๊ยเลี้ยง” หรือคำอวยพรปีใหม่ เมื่อก่อนคนจีนที่พอมีความรู้จะเขียน “ตุ๊ยเลี้ยง” เอง โดยใช้หมึกดำหรือสีทองเขียนคำอวยพรลงบน กระดาษสีแดง ถ้าไม่มีความรู้ก็จะไปจ้างมืออาชีพเขียนให้ ซึ่งแหล่งใหญ่ก็คือที่เยาวราช คำอวยพรที่เขียนจะประกอบด้วยตัวอักษร 7 ตัว เขียนเป็นคำกลอน โดยมาก จะอวยพรให้ทำมาค้าขึ้น ให้มั่งมีเงินทอง ติดตามสองข้างประตูบ้าน และมีอีกแผ่นสำหรับติดทางขวางตรงกลางทางเข้า-ออก เขียนคำว่า “ชุก ยิบ เผ่ง อัง” แปลว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย รวมทั้งติดภาพเด็กผู้หญิง-เด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า “หนี่อ่วย” ซึ่งเป็นภาพมงคลของจีน ถือเป็นงานศิลปะที่สำคัญอีกอย่างนอกเหนือจาก การตัดกระดาษ มักติดที่ประตูหน้าบ้าน

      7. ใส่เสื้อผ้าใหม่ สีสันสดใส

    8. ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่ วันชิวอิกทุกคนจะนำส้ม 4 ผล ไปกราบผู้ใหญ่ขอพร เจ้าบ้านเองนอกจากจะเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ 1 พาน และลูกสมอจีนไว้รับแขกแล้ว เมื่อมีผู้มาอวยพร จะรับส้มขึ้นมา 2 ผล และนำส้มในบ้านที่เตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล

      9. รับอั่งเปา

      10. ไหว้เจ้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018999381860097 Mins