วันมาฆบูชา

วันที่ 01 กพ. พ.ศ.2560

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา , มาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ , มาฆบุรณมี , จาตุรงคสันนิบาต , ความสำคัญวันมาฆบูชา , ประวัติวันมาฆบูชา , ความหมายของวันมาฆบูชา ,

ความหมายของวันมาฆบูชา
      "มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ 


ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา
        ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

    เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


วันมาฆบูชา , มาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ , มาฆบุรณมี , จาตุรงคสันนิบาต , ความสำคัญวันมาฆบูชา , ประวัติวันมาฆบูชา , ความหมายของวันมาฆบูชา ,

เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ
         1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
       2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
        3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
        4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้


มีใครบ้างมาเข้าร่วมประชุม
        พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
        กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า และบริวารทั้งหมด 1,000 รูป 
        กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป

     และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

         จาตุร แปลว่า 4
         องค์ แปลว่า ส่วน
         สันนิบาต แปลว่า ประชุม

         ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4"


สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์     
    โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชา ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6

หลักการ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมี 3 ประการ ได้แก่
หลักการ 3 ได้แก่

       1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

        2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

       3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี 5 ประการ ได้แก่
            1. กามฉันทะ คือความพอใจในกาม
            2. พยาบาท คือความอาฆาตพยาบาท
            3. ถีนะมิทธะ คือความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจ
            4. อุทธัจจะ กุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
            5. วิจิกิจฉา คือความสงสัย    


สิ่งที่สามารถควบคุมนิวรณ์ได้คือ ศีล 5 ได้แก่
         กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย ศีลข้อ 3 คือการไม่ประพฤติผิดในกาม
         ความพยาบาทให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 1 คือการไม่ฆ่าสัตว์
         ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 5 การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
         อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 2 การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
         วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 4 การไม่พูดเท็จ


อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 4 ประการ ได้แก่
อุดมการณ์ 4 ได้แก่
         1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
         2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
         3. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
       4. นิพพาน  ได้แก่ การดับทุกข์  ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8


วิธีการ คือ แนวทางปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 6 ประการ คือ 
      1. อนูปวาโท ไม่ไปว่าร้ายกัน ผู้เผยแผ่คำสอนจะต้องไม่โจมตี ไม่นินทาใคร
 
      2. อนูปฆาโต ไม่ไปล้างผลาญกัน ไม่เผยแผ่ศาสนาด้วยการฆ่า และต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
 
      3. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่ได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
 
      4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ต้องรู้จักประมาณในการกิน การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง
 
      5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ เลือกที่นั่งที่นอนในที่สงบ เพื่อให้ตนเองมีโอกาสในการบำเพ็ญเพียรเต็มที่
 
      6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค ประกอบความเพียรในการทำใจหยุดนิ่งอยู่เสมอ มุ่งทำตนให้หลุดพ้นจากกิเลส


วันมาฆบูชา , มาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ , มาฆบุรณมี , จาตุรงคสันนิบาต , ความสำคัญวันมาฆบูชา , ประวัติวันมาฆบูชา , ความหมายของวันมาฆบูชา ,

      โอวาทปาฏิโมกข์ทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นหลักปฏิบัติและนโยบายในการเผยแผ่ของพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานให้แก่พระอรหันต์ชุดแรกที่ได้ออกไปประกาศพระศาสนาในโอกาสที่ได้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน เพื่อให้ถือเป็นนโยบายและหลักปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทาง เดียวกัน การประชุมพระอรหันตสาวกเช่นนี้ เพื่อประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ได้มีแต่ในยุคของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ในกัปนี้เท่านั้น แต่ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ในอดีตก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์  แต่จำนวนครั้งในการประชุมภิกษุสาวกและจำนวนพระอรหันตสาวกที่เข้าร่วมประชุมต่างกัน จะเห็นได้ว่า วิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ เมื่อทรงฝึกพระอรหันต์ชุดแรก สำหรับเป็นครูและเป็นต้นแบบให้กับชาวโลกได้จำนวนมากพอสมควรแล้ว ก็ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา และเมื่อคราวที่พระอรหันตสาวกเหล่านั้น มาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน พระพุทธองค์ก็ทรงประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อจะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทะเลแห่งทุกข์ ไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน


วันมาฆบูชา , มาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ , มาฆบุรณมี , จาตุรงคสันนิบาต , ความสำคัญวันมาฆบูชา , ประวัติวันมาฆบูชา , ความหมายของวันมาฆบูชา ,

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
      การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่าง ๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 

วันมาฆบูชา , มาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ , มาฆบุรณมี , จาตุรงคสันนิบาต , ความสำคัญวันมาฆบูชา , ประวัติวันมาฆบูชา , ความหมายของวันมาฆบูชา ,

 

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.038987151781718 Mins