วันสำคัญตามเทศกาลต่างๆ
วันแรงงานแห่งชาติ
วันแรงงาน (อังกฤษ : Labour Day) เป็นวันหยุดประจำปีที่เฉลิมฉลองไปทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะฉลองผลงานทางการเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้แรงงาน
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
ในสมัยก่อนประเทศในแถบยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
ในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานก็มีปัญหามากขึ้น รวมทั้งปัญหาแรงงานก็มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุมขึ้นพร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย
แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพียงแค่ 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปรจึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปี เพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี โดยมีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
ในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานก็มีปัญหามากขึ้น รวมทั้งปัญหาแรงงานก็มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุมขึ้นพร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย
แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพียงแค่ 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปรจึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปี เพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี โดยมีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยแต่เดิมนั้นการบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่รัฐบาลได้เล็งเห็นว่าควรจะมีการยกระดับหน่วยงานเพื่อให้มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่สำหรับการดูแลผู้ใช้แรงงานอย่างพอเพียง ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 จึงได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นเพื่อให้การบริหารงานมีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ และมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพ และความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ทั้งสองฝ่าย เข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่น ๆ
ส่วนด้านที่เกี่ยวกับกรรมกรก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายร้อยกลุ่ม และยังได้รวมตัวกันจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน มี 3 สภา ได้แก่
- สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
- สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
- สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
วันแรงงานแห่งชาติ หยุดไหม ?
สำหรับวันแรงงานแห่งชาตินั้น ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ดังนั้น หน่วยงานราชการยังคงเปิดทำงานและให้บริการปกติในวันแรงงานแห่งชาติ ส่วนที่หยุดจะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชนเท่านั้น
วันแรงงานธนาคารหยุดไหม ?
สำหรับวันแรงงานแห่งชาติถือเป็นวันหยุดของสถาบันทางการเงิน ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง
วันแรงงานรอบโลก
ประเทศที่ฉลองในวันที่ 1 พฤษภาคม
- ประเทศอินเดีย
- ประเทศโปแลนด์
- ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ และ ประเทศนอร์เวย์
- ประเทศอิตาลี
- ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ประเทศไอร์แลนด์
- ประเทศไทย
- ประเทศเวียดนาม
- ประเทศลาว
- ประเทศอียิปต์
- ประเทศกรีซ
- ประเทศบัลแกเรีย
- ประเทศเดนมาร์ก
- ประเทศเยอรมนี
- ประเทศศรีลังกา
- ประเทศจีน
- ไต้หวัน
- ฮ่องกง
- ประเทศเลบานอน
- ประเทศสิงคโปร์
- ประเทศไอซ์แลนด์
- สหรัฐอเมริกา
ไม่ว่าจะเป็นแรงงานระดับไหนก็ตาม เราสามารถวางผังชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้อย่างงดงาม ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวคือ
( พนักงานเก็บขยะเทศบาล เป็นงานที่หนักและต้องอดทนจริงๆ )
หนึ่ง รู้จักตั้งความคิดในเชิงบวก ไม่น้อยใจในโชคชะตา แต่ให้ภูมิใจในอาชีพของตน สมมติว่าเราเป็นลูกจ้างกวาดขยะบนท้องถนน ขอให้คิดในเชิงบวกเชิงกุศล มีความสุขกับการทำงานแล้วตั้งจิตอธิฐานว่า ความตั้งใจอันแน่วแน่ว่าจะกวาดขยะให้ถนนสะอาดทุกซอกมุม ขอให้เดินทางไปไหนมาไหนได้เจอแต่บ้านเมือง ถนนหนทางที่สวยงาม สะอาดทุกวันให้มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรค มีพลังแรงกายมหาศาล ทำงานได้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดชีวิต
( ปัดกวาดลานวัด ทำให้ขจัดอาสวะกิเลสออกจากใจ )
สอง ตามหลักพระพุทธศาสนา สอนว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำอย่างไรได้อย่างนั้น หากเอาแรงกายไปทำบุญกุศลปัดกวาดลานวัดให้สะอาดร่มรื่น ก็จะอานิสงส์ให้เราเป็นผู้มีผิวพรรณสวยงามผ่องใส มีร่างกายที่แข็งแรงได้สัดส่วนปราศจากโรค แต่หากทำด้วยแรงกายอย่างเดียว เราก็จะขาดแรงทรัพย์ขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีพ
เพราะฉะนั้นถึงจะเป็นผู้มีรายได้น้อย ก็ต้องแบ่งรายได้ออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ใช้ยามจำเป็นและสร้างบุญกุศล บริจาคทานอย่างสม่ำเสมอไม่ต้องกลัวว่าทรัพย์จะขาดมือ ต้องหาทรัพย์ได้ ใช้ทรัพย์เป็น
( ใส่บาตรพระทุกเช้า ชีวิตจะได้มีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามา )
หากเป็นหญิงต้องตั้งใจว่า เราต้องทำบุญใส่บาตรแด่พระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ที่หน้าบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านทุกวันพระหรือในวันหยุดเมื่อสั่งสมบุญมากเข้าเราจะมีทั้งร่างกายที่แข็งแรง มีทรัพย์สมบัติใช้ได้อย่างเต็มมือ
( การสั่งสมบุญ เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ และบริวารสมบัติ ผู้ใดหมั่นทำแต่กรรมดี ผู้นั้นมีสุคติเป็นที่ไป )
หากปรารถนาจะเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็ต้องเอาทั้งแรงกาย แรงทรัพย์และแรงใจที่งดงาม เลื่อมใสในพระรัตนตรัยสร้างบุญกุศลให้เต็มที่ ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไรก็ตามขอเพียงเป็นอาชีพสุจริต ถูกต้องตามข้อกฎหมายและศีลธรรม