วันฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี

วันที่ 08 กพ. พ.ศ.2560

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ

วันฉัตรมงคล
วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี

วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

     วันฉัตรมงคล คือ วันที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเข้าพระราชพิธีบรมราภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดยพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จากนั้นจึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรปจนกระทั่งพระองค์บรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติประเทศไทย จากนั้นรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็น วันฉัตรมงคลรำลึก

 

ความหมายของวันฉัตรมงคล
         วันฉัตรมงคล (Coronation Day) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

ความสำคัญของวันฉัตรมงคล
         วันฉัตรมงคล เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"เนื่อง จากยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทย

        ดังนั้นรัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรหรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งกระทำในวันบรมราชาภิเษก ถวายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

        ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พสกนิกรชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันฉัตรมงคล เพื่อน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
        การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึก วัดศรีชุมของพญาลิไทว่า เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว หรือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย

         จากนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า "พระบาท" นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" และอีกประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น 


ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคล
   ก่อนหน้ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีฉัตรมงคลถือเป็นพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐาน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก และเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง

         จนกระทั่ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีฉัตรมงคลขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2393 โดยมีพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัยที่ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้า แผ่นดิน จึงถือให้วันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทั้งเผอิญที่วันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่ เดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค จึงไม่มีใครติดใจสงสัย

         ดังนั้นจึงได้มีพระราชดำริจัดงานพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า "ฉัตรมงคล" นี้ ขึ้น โดยได้มีการเฉลิมฉลองด้วยการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก

          ต่อมาในสมัยรัชกาล ที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 แต่ไม่ได้รับการยินยอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม รูปแบบงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน

 

พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน
         ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน 3 วัน นั่นคือ

         - วันแรก ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม เป็น งานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบรมราชบุพการี เป็นพิธีสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิ สมเด็จสวดพระพุทธมนต์ แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล ที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย

        - วันที่ 4 พฤษภาคม เป็น วันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขึ้นประดิษฐานบนแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เวลาเที่ยง ทหารบก ทหารเรือ จะยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด 

        - ส่วนวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์ ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้ที่มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี

        ทั้งนี้ในวันฉัตรมงคล สำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคมอีกด้วย


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์
     สำหรับเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์นั้น เป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยศักดิ์แห่งความเป็นสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช พระมหาราชครูผู้ใหญ่นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายขณะประทับพระที่นั่งภัทรบิฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย

วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

      1. พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ พระมหาราชครูเป็นผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาราชในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อทรงรับพระปรมาภิไธยและทรงรับที่จะดำรงราชสมบัติ เพื่อเกื้อกูลประโยชน์สุขแห่งมหาชนแล้ว พระมหาพิชัยมงกุฎนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น ทำด้วยทองคำจำหลักลาย ลงยาราชาวดี ประดับด้วยรัตนชาติ โดยเฉพาะเพชรดวงใหญ่ประดับยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ มีชื่อว่า พระมหาวิเชียรมณี


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

      2. พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นเครื่องราชศัสตรา พระมหาราชครูเป็นผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาราชในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ต่อจากพระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรีองค์นี้ ส่วนองค์พระแสงขรรค์เป็นเหล็กกล้า ตรงโคนพระแสงทั้งสองข้าง จำหลักเป็นภาพพญาสุบรรณ สมเด็จพระ อมรินทราธิราชทรงช้างเอราวัณ พระนารายณ์เป็นเจ้า และพระพรหมธาดา ลำดับกันขึ้นไปในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้ามและฝักพระแสงขรรค์ชัยศรี หุ้มทองคำจำหลักลาย ลงยาราชาวดี ประดับด้วยรัตนชาติ


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

      3. ธารพระกรชัยพฤกษ์ พระมหาราชครูเป็นผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาราชในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นลำดับที่สามต่อจากพระแสงขรรค์ชัยศรี ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์หุ้มด้วยทองคำเกลี้ยง ส่วนศรีษะทำเป็นหัวเม็ดทรงบัวอ่อน เถลิงคอทำด้วยเหล็กคร่ำทองเป็นลายก้านแย่งดอกใน ประกอบแม่ลายกระหนาบทั้งล่างและบน ส่วนส้นทำเป็นส้อมสามขาด้วยเหล็กกล้าคร่ำทอง และรัดด้วยเถลิงส้นคร่ำทองลายเดียวกับเถลิงคอ


วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

      4. พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี พระมหาราชครูเป็นผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาราชในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นลำดับที่สี่ถัดจากธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนี จะทำด้วยใบตาลขลิบทองหุ้มขอบ ด้ามและนมพัดทำด้วยทองคำเพลาลาย ลงยาราชาวดี ประดับด้วยรัตนชาติ ส่วนพระแส้จามรี ด้ามเป็นแก้ว จงกลรัดโคนแส้และส้นทำด้วยทองคำเพลาลาย ลงยาราชาวดี ประดับด้วยรัตนชาติ

 
วันฉัตรมงคล , 5 พฤษภาคม , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช , พระราชพิธีบรมราภิเษก , พระมหากษัตริย์ , Coronation Day , เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ , พระมหาพิชัยมงกุฎ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกรชัยพฤกษ์ , พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี , ฉลองพระบาทเชิงงอน

    5. ฉลองพระบาทเชิงงอน พระมหาราชครูเป็นผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาราชในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นลำดับที่สุดในส่วนเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทำด้วยทองคำจำหลักลาย ลงยาราชาวดี ประดับด้วยรัตนชาติ ด้านในทั้งสององค์บุด้วยสักหลาดสีแดง

      เห็นได้ว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีหลวงของพระมหากษัตริย์ ที่ทุกพระองค์ทรงยึดถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนราชประเพณีมาแต่โบราณกาล ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะ เสียสละ เพื่อพสกนิกชาวไทยของพระองค์ได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข จึงขอเชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และพสกนิกรชาวไทย ร่วมกันถวายพระพรชัยมงคลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนานเป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยสืบไป

 

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันฉัตรมงคล
       1.ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

       2.ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

    3.น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกันกล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้้ทรงพระเกษมสำราญทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0051748832066854 Mins