วันสงกรานต์

วันที่ 07 กพ. พ.ศ.2560

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ
วันสงกรานต์

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

ประวัติวันสงกรานต์ 

          สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง 

          ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ 

          - วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์  และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
          - วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หรือวันครอบครัว
          - วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่ 

       ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น


วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

ตำนานนางสงกรานต์
         สำหรับเรื่องราวความเป็นมาของนางสงกรานต์นั้น มีบันทึกไว้บนจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล โดยบ้านของเศรษฐีคนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีที่ไม่มีบุตร จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร แต่แม้ว่าเศรษฐีจะตั้งจิตอธิษฐานอยู่นานกว่าสามปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร

          กระทั่ง วันหนึ่งเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอไปถึงก็ได้นำข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานเทพบุตรให้องค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าเทพบุตรก็คลอดออกมา เศรษฐีจึงตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย

          เวลาผ่านไป ธรรมบาลกุมาร โตขึ้นได้เรียนรู้ภาษานก และเมื่ออายุเจ็ดขวบ ก็ได้เรียนไตรเภทจบ ธรรมบาลกุมาล จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร เสีย ซึ่งปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมาร ก็คือ "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน"

          เมื่อได้ฟังคำถามดังนั้น ธรรมบาลกุมาร ไม่สามารถตอบได้ จึงขอผัดผ่อนท้าวกบิลพรหมไปอีก 7 วัน ระหว่างนั้น ธรรมบาลกุมาร ก็ได้พยายามคิดหาคำตอบ กระทั่งล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่า หากไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้ ก็ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม 

          นับเป็นโชคดีที่ธรรมบาลกุมารสามารถฟังภาษานกได้ และบังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียเกาะทำรังอยู่ ธรรมบาลกุมารจึงได้ยินนกสองตัวผัวเมียสนทนากัน โดยนางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด สามีได้ตอบนางนกไปว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่า เพราะตอบปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่าคำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน 

          เมื่อได้ยินดังนั้น ธรรมบาลกุมาร ก็ได้จดจำสิ่งที่สามีนกพูดไว้ กระทั่งวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมาร ได้นำคำตอบดังกล่าวไปตอบกับท้าวกบิลพรหม เมื่อท้าวกบิลพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่าจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ตามคำท้าไว้ แต่ปัญหาก็คือ พระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น อย่างเช่น หากตั้งเศียรไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลก แต่ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง หรือถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง 

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

          ด้วยเหตุนี้ ท้าวกบิลพรหม จึงมอบหมายให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร โดยให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต เป็นผู้เริ่มต้น ซึ่งนางทุงษะก็เชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7 ก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุก ๆ ปี และเนื่องจากเทพธิดาทั้ง 7 ปรากฏตัวในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น นัยก็คือ พระอาทิตย์ เพราะกบิล หมายถึง สีแดง

          ทั้งนี้ ในแต่ละปี นางสงกรานต์ แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ และจะมีนาม อาหาร อาวุธ สัตว์ที่เป็นพาหนะต่าง ๆ กัน ดังนี้

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

นางทุงษะเทวี 
       * ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
        คำทำนาย : ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ  


นางโคราคะเทวี
      * ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
        คำทำนาย : ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ


นางรากษสเทวี
          * ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี 
         คำทำนาย : ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล 


นางมณฑาเทวี
    * ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพุธ ชื่อ นางมันทะ
          คำทำนาย : ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ


นางกิริณีเทวี
          * ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ 
          คำทำนาย : ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม


นางกิมิทาเทวี
          * ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
          คำทำนาย : ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก


นางมโหธรเทวี
       * ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทรายพระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
          คำทำนาย : ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู


วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

ความสำคัญของวันสงกรานต์
        พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

       เวลาได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ๆ และจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นวัน “กลับบ้าน” ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายขอเทศกาล  นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยัง ถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปัจจุบันนี้เทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาด เคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นเท่านั้น

วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

        ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก” จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง


วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

กิจกรรมที่ประชาชนทำในวันสงกรานต์
การก่อเจดีย์ทราย
        จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ 13-15 เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด 


การปล่อยนกปล่อยปลา

            เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น 


การสรงน้ำพระ 
         มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน          


การรดน้ำผู้ใหญ่
           เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า 1 สำรับ คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้มักจะรดหรืออาบท่านจริง ๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม 1 สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงความคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นต้นไป


การทำบุญอัฐิ 
              เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริงจัดขึ้นเพื่อเชิ่อม ความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย 


การสาดน้ำ
              เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย 


การแห่นางแมว
              บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน

          อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป ก็สมควรให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรแล้วว่า เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใด ๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ โดยตรงที่จะเลือกรับหรือไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งสิ่งใหม่ ๆ ที่แทรกเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง 


วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์ 
           1. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ 

           2. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด 

           3. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม 

           4. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ 

           5. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป 1 ปีแล้ว และในรอบปีที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง 

           6. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว 

           7. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน


วันสำคัญตามเทศกาลต่าง ๆ , วันสงกรานต์ , สงกรานต์ , เทศกาลสงกรานต์ , water festival , ประเพณีไทย , ไทย , thai festival , ประวัติวันสงกรานต์  , ตำนานนางสงกรานต์ , ความสำคัญของวันสงกรานต์

9 ข้อควรระวังในสงกรานต์ (Momypedia)
1. สุราและของมึนเมา 
        จะทำให้ขาดสติ และทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ตัวได้ ซึ่งจะทำให้ทั้งตัวเองและคนรอบข้างเดือดร้อนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเหตุทะเลาะวิวาทหลายครั้งก็มีผู้บาดเจ็บทั้ง ฝ่ายตนเอง ฝ่ายตรงข้ามและผู้ไม่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุรถชนที่มีทั้งคนเจ็บและคนตาย หรือเมาแล้วหลับ โดยเฉพาะผู้หญิงเรานะคะ ถ้าเมาขึ้นมาแล้วอันตรายมากเลยค่ะ ใครจะพาไปไหนทำอะไรก็ไม่รู้แล้วทีนี้

2. การป้องกันตัวเอง 
         ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คุณผู้ชายทั้งหลายควรใส่เสื้อผ้าที่สุภาพและใส่ทั้งชั้นในและชั้นนอกให้เรียบร้อย ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะโดนลวนลามทางสายตาทั้งจากสาวแท้และสาวเทียมได้ และสาว ๆ อย่างเราก็ควรใส่เสื้อผ้าสีทึบ มิดชิด และไม่เปิดเนื้อหนังมากเกินความจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโดนลวนลามได้นะคะ

3. สุขภาพทั้งก่อนและเล่นสงกรานต์ 
          คววระวังไม่ให้เป็นหวัดก่อนเล่นน้ำ ไม่งั้นก็คงจะเล่นน้ำกับเพื่อน ๆ ไม่สนุกเท่าที่ควร แถมเป็นไข้หนักกว่าเดิม ต้องกลับมานอนซมอีกหลายวันด้วย แทนที่จะได้หยุดพักผ่อนสบาย ๆ และหลังเล่นสงกรานต์กลับบ้านมาตัวเปียก ๆ ก็ควรจะทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อยและพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะน้ำที่เล่นกันในสงกรานต์ก็มีทั้งสะอาดและไม่สะอาด ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นนะคะ

4. ความปลอดภัยในบ้าน 
     ก่อนไปเล่นสงกรานต์ที่ต่างจังหวัดหรือต้องค้างคืน ควรตรวจสอบความปลอดภัยในบ้านเสียก่อนให้เรียบร้อยดีกว่าค่ะ จะได้ออกไปเล่นน้ำกันได้อย่างสบายใจ ถอดปลั๊กเตารีดออกให้เรียบร้อย ดับเตาแก๊สหรือปิดแก๊สให้สนิท ตรวจว่ามีไฟดวงไหนที่ควรเปิดทิ้งไว้ ดวงไหนที่ควรปิด ปิดก๊อกน้ำให้สนิท แล้วก็สุดท้าย ล็อกบ้านให้แน่นหนา จะได้ไม่มีคนแปลกหน้าที่ไหนมาแอบเข้าบ้านเราได้

5. การเดินทาง 
          ผู้ใดที่เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงสงกรานต์อย่างนี้ ควรจะเป็นสถานที่ที่สามารถได้ใช้เวลาด้วยกันได้ทั้งครอบครัว เพื่อให้สายใยครอบครัวแน่นแฟ้นและอบอุ่นมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดีก็เป็นสถานที่ที่สามารถเล่นสงกรานต์อย่างสนุกสนานได้เต็มที่ และสามารถเดินทางไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพได้สะดวกรวดเร็ว

6. สิ่งของมีค่า 
          ควรจะเก็บสิ่งของมีค่า อย่างกระเป๋าสตางค์ สร้อยคอเครื่องประดับทั้งหลาย หรือโทรศัพท์มือถือเอาไว้ที่บ้านดีกว่านะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนน้ำเสียหายได้ แต่ถ้าต้องเอาไปด้วยจริง ๆ ก็ควรจะใส่ไว้ในถุงกันน้ำให้มิดชิดและสิ่งที่ควรระวังคืออาจจะโดนล้วงกระเป๋าจากพวกแก๊งมิจฉาชีพจนของมีค่าหายไปโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ

7. มารยาทในการเล่นน้ำ 
          จริงอยู่ว่าเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน แต่ก็อย่าถึงกับเอาน้ำเย็นเจี๊ยบมาสาดใส่คนอื่นเลยนะคะ ทั้งเย็นทั้งตกใจ แถมอาจจะได้หวัดหรือโรคอะไรแปลก ๆ กลับมาอีก เอาน้ำสะอาดธรรมดา ๆ สาดกันเองก็เย็นสบายแล้ว ส่วนการเปิดเพลงเสียงดังมันเป็นการรบกวนคนที่เขาไม่ได้อยากฟังด้วย ควรเปิดเอาแค่เฉพาะตัวเราได้ยินก็เพียงพอแล้วล่ะค่ะ อีกอย่างถ้าฟังเพลงเสียงดังมาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ระวังจะหูหนวก หูดับหรือ เป็นโรคอื่น ๆ ทางหูเอาได้นะคะ

8. อุปกรณ์ในการเล่นน้ำ 
          เลือกอุปกรณ์ในการเล่นน้ำให้เหมาะสม ใช้ง่าย และไม่รุนแรงเกินไป โดยเฉพาะพวกปืนฉีดน้ำที่มีแรงดันน้ำสูง ๆ ถ้าฉีดโดนหลัง โดนขาก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดโดนตา หรือโดนหู อาจจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในได้นะคะ

9. เล่นน้ำบนรถ 
          เล่นน้ำบนรถโดยเฉพาะรถที่กำลังวิ่งอยู่มันอันตรายนะคะ จริงอยู่ที่มันอยู่มุมสูงกว่าคนอื่น สาดได้ไกลกว่า แต่ว่าอย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองด้วยนะคะ เพราะรถกำลังวิ่งอยู่ แล้วยืนสาดน้ำคนอื่น เราจะยืนได้ไม่มั่นคง จนตกลงมาจากรถกระบะที่กำลังวิ่งเร็ว ๆ และอาจบาดเจ็บได้ ควรจะให้รถจอดก่อนถึงค่อยสาดคนอื่นดีกว่า

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.027805932362874 Mins